หุ้น-ราคาน้ำมันดิบร่วงทั่วโลก หลังโมเดอร์นาชี้ วัคซีนที่มีเอา โอไมครอน ไม่อยู่
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3066064
หุ้น-ราคาน้ำมันดิบร่วงทั่วโลก หลังโมเดอร์นาชี้ วัคซีนที่มีเอา โอไมครอน ไม่อยู่
สำนักข่าวเอเอฟพีและซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกและราคาน้ำมันดิบร่วงลงหนักอีกครั้งในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากเพิ่งฟื้นตัวได้เพียงวันเดียวจากการเทขายอย่างหนักเพราะการพบเชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่ปรับลดลงหลังจากนายสเตฟาน บองเซล ซีอีโอของโมเดอร์นา ออกมาให้ความเห็นว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่น่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโอไมครอน
โดยดัชนีหุ้นดาวโจนส์ฟิวเจอร์ ร่วงลง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลกระทบถึงตลาดหุ้นในเอเชียพากันร่วงลงหนัก โดยดัชนีคอสปิของเกาหลีใต้รูดลงมากที่สุดถึง 2.4 เปอร์เซ็นต์, นิกเกอิ 225 ของญี่ปุ่นปิดลดลง 1.6 เปอร์เซ็นต์, หั่งเส็งของฮ่องกง ร่วงลง 1.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปซึ่งเพิ่งเปิดตลาดก็ร่วงลงทันที กว่า 1 เปอร์เซ็นต์
ราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์ซึ่งใช้อ้างอิงสำหรับตลาดระหว่างประเทศ ร่วงลงอีก 2 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบดับเบิลยูทีไอ ก็ร่วงหนักพอๆ กัน ตกลงซื้อขายกันที่ 69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในขณะที่การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอไมครอน ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักพากันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับปีหน้าลง โดยออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ จัดทำรายงานคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าใหม่ และชี้ว่าในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุด จีดีพีของโลกอาจลดลงถึงครึ่งหนึ่งในปีหน้าสืบเนื่องจากการระบาดของเชื้อโอไมครอน
นาย
เกรกอรี ดาโก หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิค ระบุว่า ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด คือ โอไมครอนก่อให้เกิดอาการป่วยค่อนข้างเบา และ วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ผลกระทบจากโอไมครอนจะไม่มากนัก โดยจะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกลดลงเพียง 0.25 จุดเปอร์เซ็นต์
แต่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งเชื้อโอไมครอน กลายเป็นเชื้ออันตรายร้ายแรง และส่งผลให้ส่วนใหญ่ของโลกต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง อัตราการขยายตัวของโลกจะลดลงมาก เหลือเพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ก่อนโอไมครอนระบาด
นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์กันด้วยว่า การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้อาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ชะลอหรือเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป จนกว่าภาพรวมของการระบาดจะกระจ่างชัด โดยที่ กองทุนสำรองแห่งสหรัฐ (เฟด) หรือธนาคารกลางของสหรัฐมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ต่อด้วยการประชุมของธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางแห่งอังกฤษ ในวันถัดไป
แอฟริกาใต้ผงะ! ผู้ป่วยแอดมิตรพ. เพิ่ม 330% นับตั้งแต่พบเชื้อ “โอไมครอน”
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6759801
แอฟริกาใต้ผงะ! – วันที่ 30 พ.ย. มิร์เรอร์ รายงานกระแสวิตกกังวลการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ “โอไมครอน” ใน แอฟริกาใต้ หลังจากอัตราผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในจังหวัดเคาเต็ง ที่ตั้งของเมืองโจฮันเนสเบิร์ก แลกรุงพริทอเรีย เมืองหลวงฝ่ายบริหาร
เพิ่มขึ้นถึง 330% นับตั้งแต่มีการพบเชื้อกลายพันธุ์ โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโควิดแอดมิตเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 580 คน เพิ่มจากผู้ป่วยราว 120 คนที่แอดมิตเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านั้น
รายงานระบุว่า สัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ทางการจังหวัดเคาเต็งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์จำนวนผู้ป่วยที่แอดมิตเพิ่มขึ้นเป็น 276 คน และเพิ่มขึ้นมาถึง 580 ในสัปดาห์ถัดมา
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลเกิดจากเชื้อกลายพันธุ์มากน้อยเพียงใด เนื่องจากมีการตรวจหาลำดับพันธุกรรมของเชื้อในผู้ป่วยไม่กี่คนเท่านั้น
ขณะที่ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พ.ย. พบว่ามีผู้ติดเชื้อโอไมครอนแล้วอย่างน้อย 203 คน ใน 18 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก แอฟริกาใต้พบผู้ป่วย 124 คน บอตสวานา 19 คน เนเธอร์แลนด์ 14 คน สหราชอาณาจักร 14 คน โปรตุเกส 13 คน ออสเตรเลีย 6 คน อิตาลี 4 คน เยอรมนีและฮ่องกงที่ละ 3 คน เดินมาร์ก แคนาดา และอิสราเอล ประเทศละ 2 คน เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย สเปน สวีเดน และญี่ปุ่น ประเทศละ 1 คน
ด้าน นาย
โจ ฟาอาฮ์ลา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้ ตำหนิว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อโอไมครอนพบในหลายประเทศ แต่ทั่วโลกยังจำกัดการเดินทางจากแอฟริกาใต้
ขณะที่นายแพทย์
มัตชิดิโซ โมเอติ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ภูมิภาคแอฟริกา กล่าวว่า
“การจำกัดการเดินทางอาจมีช่วยลดการแพร่กระจายของโควิด-19 กลายพันธุ์ได้เล็กน้อย แต่จะส่งผลกระทบและการใช้ชีวิตอย่างมาก”
นักลงทุนกระเจิงผวาโอไมครอน เทขายดันวอลุ่มเฉียด 1.6 แสนล้านสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปี
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/98031/
ตลาดหุ้นไทยแดงยกแผง หลังเผชิญโอไมครอนถล่ม 3 วันดัชนีร่วงกว่า 80 จุด ด้านมูลค่าการซื้อขายวันนี้แตะ 1.59 แสนล้านบาทสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปี โบรกมองแนวโน้มตลาดไซด์เวย์ดาวน์ เน้นลงทุนหุ้นมีเกราะป้องกันโควิด
นาย
ภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยถึงภาวะตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,568.69 จุด ลบ 21 จุด หรือ 1.32 % โดยระหว่างวันดัชนีเคลื่อนไหวสูงสุดที่ระดับ 1,612.10 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,565.95 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 159,490.87 ล้านบาทว่าตลาดหุ้นไทยช่วงเช้ารีบาวด์ขึ้นไป 22 จุด แต่ช่วงเที่ยงหลังจาก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท โมเดอร์นา อิงค์ออกมาพูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโมเดอร์นาลดลงเมื่อเจอไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ตลาดหุ้นไทยพลิกสู่แดนลบ 21 จุด ประกอบกับในวันนี้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตการลงทุนตาม MSCI ในช่วงก่อนตลาดปิดราว25,000 ล้านบาท หนุนมูลค่าการซื้อขายวันนี้ถือว่ามากสุดเป็นอันดับ 2 ของปี และหากรวม 3 วันหุ้นไทยลงไปแล้ว 80 จุด หรือเกือบ -5%
ส่วนหุ้นที่กดตลาดในวันนี้มากสุดเป็นหุ้นขนาดใหญ่มีหลากหลายกลุ่ม เช่น ADVANC ลง 2.37% PTT 1.39% KBANK 3.3%SCC 2.36% และ CPALL 1.68% ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ปิดลบ
ส่วนปัจจัยที่ติดตามเป็นเรื่องโควิดสายพันธุ์ใหม่ว่าจะระบาดรุนแรงมากน้อยแค่ไหนในต่างประเทศ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดเพิ่มจะกดดันSET ปรับตัวลงต่อ รวมถึงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ตลาดคาดปรับเพิ่มขึ้น 5.63 แสนตำแหน่งการว่างงานเหลือ 4.5% ถ้าออกมาดีจะกดดันตลาดอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้าจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบหายไปเร็วขึ้น
โดยมองแนวโน้มทิศทางหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ยังไซด์เวย์ดาวน์ ยกเว้นมีสัญญาณดีจากวัคซีนถึงจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากสถิติข้อมูลที่ผ่านมาในช่วงที่โควิดสายพันธุ์อัลฟาระบาดต้องใช้เวลาถึง 1.5 เดือนกว่าตลาดจะฟื้นตัวขณะที่สายพันธุ์เดลต้าระบาดใช้เวลา 2 เดือน โดยในช่วงนั้นดัชนีติดลบ 3- ติดลบ 6.6% แต่สายพันธุ์โอไมครอนนี้ทำให้ดัชนีติดลบไปแล้ว 5% มองแนวรับแรกพรุ่งนี้ที่ 1,560 จุดแนวรับถัดไปที่ 1,540 จุด แนวต้านที่ 1,590 จุด
ด้านกลยุทธ์การลงทุนแนะถือเงินสด 25% รอจังหวะสัญญาณที่ดีขึ้นเข้าทยอยสะสม ส่วนพอร์ตที่เหลือสร้างสมดุลกระจายความเสี่ยง เน้นหุ้นที่มีเกราะป้องกันโควิด เช่น STGT ,TU และ BCH
JJNY : 4in1 หุ้น-น้ำมันดิบร่วง│แอฟริกาใต้ผงะ!แอดมิตรพ.เพิ่ม330%│นักลงทุนผวาโอไมครอน│กกต.เปิดรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.ป.
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3066064
หุ้น-ราคาน้ำมันดิบร่วงทั่วโลก หลังโมเดอร์นาชี้ วัคซีนที่มีเอา โอไมครอน ไม่อยู่
สำนักข่าวเอเอฟพีและซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกและราคาน้ำมันดิบร่วงลงหนักอีกครั้งในวันที่ 30 พฤศจิกายน หลังจากเพิ่งฟื้นตัวได้เพียงวันเดียวจากการเทขายอย่างหนักเพราะการพบเชื้อกลายพันธุ์โอไมครอนก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ตลาดส่วนใหญ่ปรับลดลงหลังจากนายสเตฟาน บองเซล ซีอีโอของโมเดอร์นา ออกมาให้ความเห็นว่าวัคซีนที่มีอยู่ไม่น่าจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโอไมครอน
โดยดัชนีหุ้นดาวโจนส์ฟิวเจอร์ ร่วงลง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลกระทบถึงตลาดหุ้นในเอเชียพากันร่วงลงหนัก โดยดัชนีคอสปิของเกาหลีใต้รูดลงมากที่สุดถึง 2.4 เปอร์เซ็นต์, นิกเกอิ 225 ของญี่ปุ่นปิดลดลง 1.6 เปอร์เซ็นต์, หั่งเส็งของฮ่องกง ร่วงลง 1.6 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปซึ่งเพิ่งเปิดตลาดก็ร่วงลงทันที กว่า 1 เปอร์เซ็นต์
ราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์ซึ่งใช้อ้างอิงสำหรับตลาดระหว่างประเทศ ร่วงลงอีก 2 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 72 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบดับเบิลยูทีไอ ก็ร่วงหนักพอๆ กัน ตกลงซื้อขายกันที่ 69 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ในขณะที่การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโอไมครอน ส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักพากันปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับปีหน้าลง โดยออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ จัดทำรายงานคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าใหม่ และชี้ว่าในกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุด จีดีพีของโลกอาจลดลงถึงครึ่งหนึ่งในปีหน้าสืบเนื่องจากการระบาดของเชื้อโอไมครอน
นายเกรกอรี ดาโก หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ของออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิค ระบุว่า ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด คือ โอไมครอนก่อให้เกิดอาการป่วยค่อนข้างเบา และ วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ผลกระทบจากโอไมครอนจะไม่มากนัก โดยจะทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกลดลงเพียง 0.25 จุดเปอร์เซ็นต์
แต่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งเชื้อโอไมครอน กลายเป็นเชื้ออันตรายร้ายแรง และส่งผลให้ส่วนใหญ่ของโลกต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง อัตราการขยายตัวของโลกจะลดลงมาก เหลือเพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์ก่อนโอไมครอนระบาด
นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์กันด้วยว่า การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้อาจส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ชะลอหรือเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป จนกว่าภาพรวมของการระบาดจะกระจ่างชัด โดยที่ กองทุนสำรองแห่งสหรัฐ (เฟด) หรือธนาคารกลางของสหรัฐมีกำหนดจะประชุมกันในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ ต่อด้วยการประชุมของธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) และธนาคารกลางแห่งอังกฤษ ในวันถัดไป
แอฟริกาใต้ผงะ! ผู้ป่วยแอดมิตรพ. เพิ่ม 330% นับตั้งแต่พบเชื้อ “โอไมครอน”
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6759801
แอฟริกาใต้ผงะ! – วันที่ 30 พ.ย. มิร์เรอร์ รายงานกระแสวิตกกังวลการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ “โอไมครอน” ใน แอฟริกาใต้ หลังจากอัตราผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในจังหวัดเคาเต็ง ที่ตั้งของเมืองโจฮันเนสเบิร์ก แลกรุงพริทอเรีย เมืองหลวงฝ่ายบริหาร
เพิ่มขึ้นถึง 330% นับตั้งแต่มีการพบเชื้อกลายพันธุ์ โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโควิดแอดมิตเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 580 คน เพิ่มจากผู้ป่วยราว 120 คนที่แอดมิตเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านั้น
รายงานระบุว่า สัปดาห์แรกของเดือนพ.ย. ทางการจังหวัดเคาเต็งพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์จำนวนผู้ป่วยที่แอดมิตเพิ่มขึ้นเป็น 276 คน และเพิ่มขึ้นมาถึง 580 ในสัปดาห์ถัดมา
อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลเกิดจากเชื้อกลายพันธุ์มากน้อยเพียงใด เนื่องจากมีการตรวจหาลำดับพันธุกรรมของเชื้อในผู้ป่วยไม่กี่คนเท่านั้น
ขณะที่ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 พ.ย. พบว่ามีผู้ติดเชื้อโอไมครอนแล้วอย่างน้อย 203 คน ใน 18 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก แอฟริกาใต้พบผู้ป่วย 124 คน บอตสวานา 19 คน เนเธอร์แลนด์ 14 คน สหราชอาณาจักร 14 คน โปรตุเกส 13 คน ออสเตรเลีย 6 คน อิตาลี 4 คน เยอรมนีและฮ่องกงที่ละ 3 คน เดินมาร์ก แคนาดา และอิสราเอล ประเทศละ 2 คน เบลเยียม สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย สเปน สวีเดน และญี่ปุ่น ประเทศละ 1 คน
ด้าน นายโจ ฟาอาฮ์ลา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้ ตำหนิว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อโอไมครอนพบในหลายประเทศ แต่ทั่วโลกยังจำกัดการเดินทางจากแอฟริกาใต้
ขณะที่นายแพทย์มัตชิดิโซ โมเอติ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ภูมิภาคแอฟริกา กล่าวว่า “การจำกัดการเดินทางอาจมีช่วยลดการแพร่กระจายของโควิด-19 กลายพันธุ์ได้เล็กน้อย แต่จะส่งผลกระทบและการใช้ชีวิตอย่างมาก”
นักลงทุนกระเจิงผวาโอไมครอน เทขายดันวอลุ่มเฉียด 1.6 แสนล้านสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปี
https://www.tnnthailand.com/news/wealth/98031/
ตลาดหุ้นไทยแดงยกแผง หลังเผชิญโอไมครอนถล่ม 3 วันดัชนีร่วงกว่า 80 จุด ด้านมูลค่าการซื้อขายวันนี้แตะ 1.59 แสนล้านบาทสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของปี โบรกมองแนวโน้มตลาดไซด์เวย์ดาวน์ เน้นลงทุนหุ้นมีเกราะป้องกันโควิด
นายภราดร เตียรณปราโมทย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยถึงภาวะตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,568.69 จุด ลบ 21 จุด หรือ 1.32 % โดยระหว่างวันดัชนีเคลื่อนไหวสูงสุดที่ระดับ 1,612.10 จุด และต่ำสุดที่ระดับ 1,565.95 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 159,490.87 ล้านบาทว่าตลาดหุ้นไทยช่วงเช้ารีบาวด์ขึ้นไป 22 จุด แต่ช่วงเที่ยงหลังจาก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท โมเดอร์นา อิงค์ออกมาพูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโมเดอร์นาลดลงเมื่อเจอไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ตลาดหุ้นไทยพลิกสู่แดนลบ 21 จุด ประกอบกับในวันนี้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตการลงทุนตาม MSCI ในช่วงก่อนตลาดปิดราว25,000 ล้านบาท หนุนมูลค่าการซื้อขายวันนี้ถือว่ามากสุดเป็นอันดับ 2 ของปี และหากรวม 3 วันหุ้นไทยลงไปแล้ว 80 จุด หรือเกือบ -5%
ส่วนหุ้นที่กดตลาดในวันนี้มากสุดเป็นหุ้นขนาดใหญ่มีหลากหลายกลุ่ม เช่น ADVANC ลง 2.37% PTT 1.39% KBANK 3.3%SCC 2.36% และ CPALL 1.68% ขณะที่ตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่ปิดลบ
ส่วนปัจจัยที่ติดตามเป็นเรื่องโควิดสายพันธุ์ใหม่ว่าจะระบาดรุนแรงมากน้อยแค่ไหนในต่างประเทศ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดเพิ่มจะกดดันSET ปรับตัวลงต่อ รวมถึงตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ตลาดคาดปรับเพิ่มขึ้น 5.63 แสนตำแหน่งการว่างงานเหลือ 4.5% ถ้าออกมาดีจะกดดันตลาดอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีหน้าจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบหายไปเร็วขึ้น
โดยมองแนวโน้มทิศทางหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ยังไซด์เวย์ดาวน์ ยกเว้นมีสัญญาณดีจากวัคซีนถึงจะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากสถิติข้อมูลที่ผ่านมาในช่วงที่โควิดสายพันธุ์อัลฟาระบาดต้องใช้เวลาถึง 1.5 เดือนกว่าตลาดจะฟื้นตัวขณะที่สายพันธุ์เดลต้าระบาดใช้เวลา 2 เดือน โดยในช่วงนั้นดัชนีติดลบ 3- ติดลบ 6.6% แต่สายพันธุ์โอไมครอนนี้ทำให้ดัชนีติดลบไปแล้ว 5% มองแนวรับแรกพรุ่งนี้ที่ 1,560 จุดแนวรับถัดไปที่ 1,540 จุด แนวต้านที่ 1,590 จุด
ด้านกลยุทธ์การลงทุนแนะถือเงินสด 25% รอจังหวะสัญญาณที่ดีขึ้นเข้าทยอยสะสม ส่วนพอร์ตที่เหลือสร้างสมดุลกระจายความเสี่ยง เน้นหุ้นที่มีเกราะป้องกันโควิด เช่น STGT ,TU และ BCH