หลังจากที่การกลายพันธ์สุดโหดเหมือนโกรธใครมาอย่าง Omicron เริ่มการระบาดในแอฟริกา และพบผู้ติดเชื้อจากการเดินทางในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่มีผู้สังเหตุพบความผิดปกติของการตั้งชื่อไวรัสสายพันธ์ต่างๆ ที่ครั้งนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เลือกที่จะข้ามตัวอักษรถึง 2 ตัว เรามาฟังคำอธิบายจาก WHO กันครับ
หลักการตั้งชื่อสายพันธ์ไวรัส
แต่เดิมเมื่อยังไม่มีการตั้งชื่อไวรัสอย่างเป็นทางการ ประชาคมโลกมักจะตั้งชื่อสายพันธ์ Coronavirus ตามถิ่นที่ได้พบการระบาดครั้งแรกๆ เช่น สายพันธ์ B.1.1.7 พบการระบาดที่อังกฤษจึงเรียกว่าสายพันธ์อังกฤษ (UK Variant) ในขณะที่พบการระบาดของสายพันธ์ B.1.1.128 ที่บราซิลก็เรียกว่าสายพันธ์บราซิล (Brazilian Variant) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อแบบนี้ก่อให้เกิดความกังวลใจจากประเทศที่เกิดการระบาดว่าเป็นการกล่าวโทษและสร้างทัศนคติที่ไม่ดีต่อประเทศเหล่านั้น ในขณะที่การตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความมึนงงสับสนได้ว่า B.1.617.2 และ B.1.351 มันต่างกันอย่างไรกันแน่ (สำหรับท่านที่ทายไว้ B.1.617.2 คือสายพันธ์ Delta และ B.1.351 คือสายพันธ์ Alpha) จึงทำให้ WHO ได้ใช้การตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษรกรีก (The Greek Alphabet) ขึ้นมาโดยไล่จากตัวแรกคือ Alpha ไปเรื่อยๆ ตามสายพันธ์ที่ค้นพบใหม่ในปัจจุบัน
เกรงใจพญามังกร?
การบังคับใช้มาตรฐานใหม่เป็นไปได้ด้วยดี โดยไวรัสตัวก่อน Omicron คือสายพันธ์ Mu (B.1.1621) ที่มีการพบที่ประเทศโคลัมเบียในช่วงมกราคม 2021 ที่ผ่านมาก็ตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษรเป็นอย่างดี ซึ่งหากเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวไวรัสตัวต่อไปควรจะมีชื่อว่า Nu และ Xi ตามลำดับ แต่ทาง WHO กลับเลือกที่จะข้ามตัวอักษร 2 ตัวนั้นอย่างน่าใจหายและไปตั้งสายพันธ์ B.1.1.529 ว่า Omicron แทน
เรื่องการข้ามตัวอักษรถึง 2 ตัวทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคม Online โดยคุณ Jonathan Turley ได้แสดงความคิดเห็นว่าบางทีการข้ามตัวอักษร Nu และ Xi อาจเป็นเพราะต้องการรักษาน้ำใจไม่ให้ประเทศจีนต้องรู้สึกไม่ดีก็เป็นได้ เพราะทุกคนทราบดีว่าผู้นำจีนคนปัจจุบันก็นามสกุล Xi นั่นเอง
คุณ Ted Cruz ออกมาวิจารณ์ว่า WHO ว่าหากทาง WHO ยังเกรงกลัวพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงเพียงนี้ เราจะเชื่อพวกเขาได้อย่างไร ในขณะที่คุณ Tom Cotton ได้ให้ความเห็นว่าถ้าทาง WHO ยังต้องมาวิตกเรื่องความรู้สึกของพญามังกรแบบนี้ ประธานาธิบดี Joe Biden ก็ไม่ควรจะให้เงินสนับสนุนกับองค์กรหุ่นเชิดนี้อีก
การชี้แจงของ WHO
คุณ Paul Nuki ได้ออกมาแจ้งว่าแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ให้ความเห็นว่าตัวอักษร Nu และ Xi เป็นตัวอักษรที่สใควรจะข้ามไป เพราะว่า Nu อ่านได้ว่า New ที่แปลว่าใหม่ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นการใช้คำว่า Nu อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นไวรัสตัวใหม่ได้ ในขณะที่ Xi เป็นนามสกุลที่ใช้กันโดยทั่วไป การใช้คำว่า Xi จะเป็นการทำร้ายจิตใจคนแซ่ Xi จำนวนมากทั่วโลก ดังนั้นการข้ามไปจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว ทางคุณ Ben Zimmer ได้ออกมาให้ความเห็นสนับสนุนการข้ามตัวอักษรของ Nu และ Xi เช่นกันครับ
ในขณะที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับโรคระบาด การเมืองระหว่างประเทศก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้จริงๆ ครับ ทั้งนี้คงต้องมาดูกันอีกทีว่าทาง WHO ที่เป็นองค์กรนานาชาติจะต้องเกรงใจพี่จีนจริงๆ หรือไม่ หลังจากที่เคยไม่พูดถึงไต้หวันอย่างมีนัยยะเมื่อปี 2020 มาแล้วครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref:
https://www.foxnews.com/world/who-nu-xi-omicron-variant
Ref:
https://www.firstpost.com/world/why-who-chose-to-skip-nu-and-xi-and-named-new-covid-19-variant-as-omicron-10169131.html
Ref:
https://www.indiatimes.com/news/world/why-did-who-skip-nu-xi-to-name-new-covid-variant-as-omicron-555301.html
Ref:
https://nypost.com/2021/11/26/who-skips-two-letters-in-alphabet-in-naming-omicron-variant/
Ref:
https://www.nationalgeographic.com/science/article/how-virus-variants-get-their-confusing-names-and-how-to-make-them-better
Ref:
https://www.who.int/news/item/31-05-2021-who-announces-simple-easy-to-say-labels-for-sars-cov-2-variants-of-interest-and-concern
ไม่เอานะเกรงใจ!!! WHO เลือกที่จะข้ามตัวอักษร Nu และ Xi ในการตั้งชื่อสายพันธ์ใหม่
หลังจากที่การกลายพันธ์สุดโหดเหมือนโกรธใครมาอย่าง Omicron เริ่มการระบาดในแอฟริกา และพบผู้ติดเชื้อจากการเดินทางในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่มีผู้สังเหตุพบความผิดปกติของการตั้งชื่อไวรัสสายพันธ์ต่างๆ ที่ครั้งนี้องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) เลือกที่จะข้ามตัวอักษรถึง 2 ตัว เรามาฟังคำอธิบายจาก WHO กันครับ
หลักการตั้งชื่อสายพันธ์ไวรัส
แต่เดิมเมื่อยังไม่มีการตั้งชื่อไวรัสอย่างเป็นทางการ ประชาคมโลกมักจะตั้งชื่อสายพันธ์ Coronavirus ตามถิ่นที่ได้พบการระบาดครั้งแรกๆ เช่น สายพันธ์ B.1.1.7 พบการระบาดที่อังกฤษจึงเรียกว่าสายพันธ์อังกฤษ (UK Variant) ในขณะที่พบการระบาดของสายพันธ์ B.1.1.128 ที่บราซิลก็เรียกว่าสายพันธ์บราซิล (Brazilian Variant) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การตั้งชื่อแบบนี้ก่อให้เกิดความกังวลใจจากประเทศที่เกิดการระบาดว่าเป็นการกล่าวโทษและสร้างทัศนคติที่ไม่ดีต่อประเทศเหล่านั้น ในขณะที่การตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความมึนงงสับสนได้ว่า B.1.617.2 และ B.1.351 มันต่างกันอย่างไรกันแน่ (สำหรับท่านที่ทายไว้ B.1.617.2 คือสายพันธ์ Delta และ B.1.351 คือสายพันธ์ Alpha) จึงทำให้ WHO ได้ใช้การตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษรกรีก (The Greek Alphabet) ขึ้นมาโดยไล่จากตัวแรกคือ Alpha ไปเรื่อยๆ ตามสายพันธ์ที่ค้นพบใหม่ในปัจจุบัน
เกรงใจพญามังกร?
การบังคับใช้มาตรฐานใหม่เป็นไปได้ด้วยดี โดยไวรัสตัวก่อน Omicron คือสายพันธ์ Mu (B.1.1621) ที่มีการพบที่ประเทศโคลัมเบียในช่วงมกราคม 2021 ที่ผ่านมาก็ตั้งชื่อเรียงตามตัวอักษรเป็นอย่างดี ซึ่งหากเป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าวไวรัสตัวต่อไปควรจะมีชื่อว่า Nu และ Xi ตามลำดับ แต่ทาง WHO กลับเลือกที่จะข้ามตัวอักษร 2 ตัวนั้นอย่างน่าใจหายและไปตั้งสายพันธ์ B.1.1.529 ว่า Omicron แทน
เรื่องการข้ามตัวอักษรถึง 2 ตัวทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสื่อสังคม Online โดยคุณ Jonathan Turley ได้แสดงความคิดเห็นว่าบางทีการข้ามตัวอักษร Nu และ Xi อาจเป็นเพราะต้องการรักษาน้ำใจไม่ให้ประเทศจีนต้องรู้สึกไม่ดีก็เป็นได้ เพราะทุกคนทราบดีว่าผู้นำจีนคนปัจจุบันก็นามสกุล Xi นั่นเอง
คุณ Ted Cruz ออกมาวิจารณ์ว่า WHO ว่าหากทาง WHO ยังเกรงกลัวพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงเพียงนี้ เราจะเชื่อพวกเขาได้อย่างไร ในขณะที่คุณ Tom Cotton ได้ให้ความเห็นว่าถ้าทาง WHO ยังต้องมาวิตกเรื่องความรู้สึกของพญามังกรแบบนี้ ประธานาธิบดี Joe Biden ก็ไม่ควรจะให้เงินสนับสนุนกับองค์กรหุ่นเชิดนี้อีก
การชี้แจงของ WHO
คุณ Paul Nuki ได้ออกมาแจ้งว่าแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ให้ความเห็นว่าตัวอักษร Nu และ Xi เป็นตัวอักษรที่สใควรจะข้ามไป เพราะว่า Nu อ่านได้ว่า New ที่แปลว่าใหม่ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นการใช้คำว่า Nu อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าเป็นไวรัสตัวใหม่ได้ ในขณะที่ Xi เป็นนามสกุลที่ใช้กันโดยทั่วไป การใช้คำว่า Xi จะเป็นการทำร้ายจิตใจคนแซ่ Xi จำนวนมากทั่วโลก ดังนั้นการข้ามไปจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดแล้ว ทางคุณ Ben Zimmer ได้ออกมาให้ความเห็นสนับสนุนการข้ามตัวอักษรของ Nu และ Xi เช่นกันครับ
ในขณะที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับโรคระบาด การเมืองระหว่างประเทศก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้จริงๆ ครับ ทั้งนี้คงต้องมาดูกันอีกทีว่าทาง WHO ที่เป็นองค์กรนานาชาติจะต้องเกรงใจพี่จีนจริงๆ หรือไม่ หลังจากที่เคยไม่พูดถึงไต้หวันอย่างมีนัยยะเมื่อปี 2020 มาแล้วครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref: https://www.foxnews.com/world/who-nu-xi-omicron-variant
Ref: https://www.firstpost.com/world/why-who-chose-to-skip-nu-and-xi-and-named-new-covid-19-variant-as-omicron-10169131.html
Ref: https://www.indiatimes.com/news/world/why-did-who-skip-nu-xi-to-name-new-covid-variant-as-omicron-555301.html
Ref: https://nypost.com/2021/11/26/who-skips-two-letters-in-alphabet-in-naming-omicron-variant/
Ref: https://www.nationalgeographic.com/science/article/how-virus-variants-get-their-confusing-names-and-how-to-make-them-better
Ref: https://www.who.int/news/item/31-05-2021-who-announces-simple-easy-to-say-labels-for-sars-cov-2-variants-of-interest-and-concern