ท่ามกลางแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เมื่อหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown และเปิดให้คนในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนว่าสงครามกับโรคร้ายยังไม่จบง่ายๆ เมื่อมีการค้นพบสายพันธ์มหาภัยตัวใหม่ที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงมากกว่าสายพันธ์สุดโหดอย่าง Delta ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Omicron และผลกระทบที่เกิดขึ้นกันครับ
เรื่องควรทราบเกี่ยวกับ Omicron สายพันธ์สุดโหดจากแดนแอฟริกา
สายพันธ์ Omicron มีเป็นเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธ์รหัส B.1.1.529 คนพบครั้งแรกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเทศแอฟริกาใต้และแจ้งให้กับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจากหลักฐานเบื้องต้นพบว่า Omicron มีความสามารถในการติดต่อและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมาก และอาจมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ด้วย จนทาง WHO ได้จัดให้ Omicron เป็นสายพันธ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern)
ศาสตราจารย์ทางด้านไวรัสวิทยา Lawrence Yong ได้กล่าวว่าสายพันธ์ Omicron เป็นที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องมาจาก Omicron มีการกลายพันธ์ที่มากที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน การกลายพันธ์บางจุดไม่เคยพบในไวรัสสายพันธ์ก่อนหน้า และมีการกลายพันธ์ใหม่ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย Omicron มีการกลายพันธ์มากถึง 50 จุด และที่ต้องกังวลเนื่องมาจากมีการกลายพันธ์มากกว่า 30 จุดเกิดขึ้นที่โปรตีนหนาม (Spike Protein) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ไวรัสใช้ในการเข้าโจมตีเซลล์ของมนุษย์
คุณ Neil Ferguson ผู้อำนวยการของศูนย์วิเคราะห์โรคติดเชื้อแห่ง Imperial College ได้กล่าวว่าการกลายกพันธ์จำนวนมากที่โปรตีนหนามเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โปรตีนหนามเป็นปัจจัยสำคัญมากในเรื่องนี้เรื่องมาจากวัคซีนต่างๆ กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเข้าดักจับไวรัส การกลายพันธ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้ไวรัสสามารถหลบการดักจับของภูมิคุ้มกันไม่มากก็น้อย
การระบาดของ Omicron และมาตรการป้องกัน
ศาสตราจารย์ Sharon Peacok แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge กล่าวว่าจากการดูสัดส่วนการติดเชื้อของ Omicron ในประเทศแอฟริกาใต้จะพบว่าช่วงแรกมีการระบาดที่ค่อนข้างต่ำ แต่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วง 7 วันที่ผ่านมา โดยเริ่มจากผู้ติดเชื้อใหม่ที่ 273 คนในวันที่ 16 พฤศจิกายน และก้าวกระโดดเป็น 1,200 คนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า Omicron มีอัตราการระบาดสูงมากเนื่องมาจากการกลายพันธ์ในหลายจุด
นอกจากที่ประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ยังพบการระบาดของสายพันธ์ Omicron ที่หลายประเทศ โดยเฉพาะการตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากจากผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศแอฟริกาใต้ที่สนามบินที่ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีการพบผู้ติดเชื้อที่หลากหลายพื้นที่ เช่น บอตสวานา, เบลเยียม, อิสลาเอล และฮ่องกง
เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดดังกล่าวอย่างเร่งด่วน หลายๆ ประเทศได้ดำเนินมาตรการป้องกันโดยทันที เช่น
1. อเมริกาประกาศห้ามไม่ให้เที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ บอตสวานา ซิมบับเว นามิเบีย เลโซโท เอสวาตินี โมซัมบิก และมาลาวี เข้าอเมริกาโดยมีผลในวันจันทร์ที่จะถึงนี้
2. สหภาพยุโรปประกาศห้ามไม่ให้เที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ บอตสวานา ซิมบับเว นามิเบีย เลโซโท เอสวาตินี โมซัมบิก และมาลาวี เข้าสหภาพยุโรป
3. ออสเตรเลียประกาศห้ามเที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตินี เซเชลส์ มาลาวี และโมซัมบิกเข้าประเทศเป็นเวลา 14 วัน และห้ามไม่ให้นักเดินทางต่างชาติที่เข้าไปในประเทศดังกล่าวใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเข้าประเทศ
4. ญี่ปุ่นประกาศให้นักท่องเที่ยวที่มาจากแอฟริกาใต้ต้องกักตัวเป็นเวลา 10 วัน และต้องมีการตรวจโรค 4 ครั้งระหว่างนั้น
5. อินเดียสั่งการให้มีการคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ บอตสวานา และฮ่องกง อย่างเข้มงวด
6. บราซิลจำกัดการเดินทางไปยัง 6 ประเทศในทวีปแอฟริกา
7. แคนาดาห้ามชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางผ่านแอฟริกาใต้ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตินี หรือโมซัมบิกในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเข้าประเทศ
8. ไทยห้ามนักท่องเที่ยวจาก 8 ประเทศทางตอนใต้ของแอฟริกาเข้าประเทศ
แอฟริกาใต้ไม่ถูกใจสิ่งนี้
ถึงแม้จะมีมาตรการห้ามการเดินทางจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยปกติการกลายพันธ์เกิดขึ้นเมื่อมีการแพร่ของไวรัสจากคนสู่คน อย่างไรก็ตามประชาชนชาวแอฟริกาใต้ได้รับวัคซีนครบถ้วนเพียง 24% เท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีการแพร่ระบาดและการกลายพันธ์ต่อไปเรื่อยๆ ในแอฟริกาใต้
คุณ Joe Phaahla รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของแอฟริกาใต้กล่าวกับสื่อมวลชนว่ามาตรการปิดกันการเดินทางเป็นเรื่องที่ไร้ความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการระงับการเดินทางจากประเทศแถบแอฟริกาเป็นการละเมิดแนวทางและบรรทัดฐานของ WHO อย่างร้ายแรงและสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคตามดูกันต่อไปคือการกลายพันธ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพวัคซีนได้แค่ไหน และการปรับปรุงวัคซีนให้รองรับเชื้อร้ายที่มีการกลายพันธ์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ Omicron ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่กลายพันธ์มากที่สุดนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ
https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref:
https://www.bbc.com/news/world-59442129
Ref:
https://edition.cnn.com/2021/11/26/africa/new-covid-variant-discovered-south-africa-b11529-intl/index.html
Ref:
https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern
Ref:
https://www.scmp.com/news/world/africa/article/3157579/who-designates-coronavirus-variant-found-south-africa-concern
ต้องรู้!!! ข้อมูลที่ควรทราบของ Omicron และปฏิกิริยาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ท่ามกลางแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เมื่อหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown และเปิดให้คนในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นเศรษฐกิจ แต่ดูเหมือนว่าสงครามกับโรคร้ายยังไม่จบง่ายๆ เมื่อมีการค้นพบสายพันธ์มหาภัยตัวใหม่ที่คาดการณ์ว่าจะรุนแรงมากกว่าสายพันธ์สุดโหดอย่าง Delta ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Omicron และผลกระทบที่เกิดขึ้นกันครับ
เรื่องควรทราบเกี่ยวกับ Omicron สายพันธ์สุดโหดจากแดนแอฟริกา
สายพันธ์ Omicron มีเป็นเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 กลายพันธ์รหัส B.1.1.529 คนพบครั้งแรกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเทศแอฟริกาใต้และแจ้งให้กับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ในวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจากหลักฐานเบื้องต้นพบว่า Omicron มีความสามารถในการติดต่อและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมาก และอาจมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ด้วย จนทาง WHO ได้จัดให้ Omicron เป็นสายพันธ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern)
ศาสตราจารย์ทางด้านไวรัสวิทยา Lawrence Yong ได้กล่าวว่าสายพันธ์ Omicron เป็นที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องมาจาก Omicron มีการกลายพันธ์ที่มากที่สุดอย่างไม่เคยมีมาก่อน การกลายพันธ์บางจุดไม่เคยพบในไวรัสสายพันธ์ก่อนหน้า และมีการกลายพันธ์ใหม่ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอีกด้วย Omicron มีการกลายพันธ์มากถึง 50 จุด และที่ต้องกังวลเนื่องมาจากมีการกลายพันธ์มากกว่า 30 จุดเกิดขึ้นที่โปรตีนหนาม (Spike Protein) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ไวรัสใช้ในการเข้าโจมตีเซลล์ของมนุษย์
คุณ Neil Ferguson ผู้อำนวยการของศูนย์วิเคราะห์โรคติดเชื้อแห่ง Imperial College ได้กล่าวว่าการกลายกพันธ์จำนวนมากที่โปรตีนหนามเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โปรตีนหนามเป็นปัจจัยสำคัญมากในเรื่องนี้เรื่องมาจากวัคซีนต่างๆ กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายคนเข้าดักจับไวรัส การกลายพันธ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้ไวรัสสามารถหลบการดักจับของภูมิคุ้มกันไม่มากก็น้อย
การระบาดของ Omicron และมาตรการป้องกัน
ศาสตราจารย์ Sharon Peacok แห่งมหาวิทยาลัย Cambridge กล่าวว่าจากการดูสัดส่วนการติดเชื้อของ Omicron ในประเทศแอฟริกาใต้จะพบว่าช่วงแรกมีการระบาดที่ค่อนข้างต่ำ แต่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วง 7 วันที่ผ่านมา โดยเริ่มจากผู้ติดเชื้อใหม่ที่ 273 คนในวันที่ 16 พฤศจิกายน และก้าวกระโดดเป็น 1,200 คนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่า Omicron มีอัตราการระบาดสูงมากเนื่องมาจากการกลายพันธ์ในหลายจุด
นอกจากที่ประเทศแอฟริกาใต้แล้ว ยังพบการระบาดของสายพันธ์ Omicron ที่หลายประเทศ โดยเฉพาะการตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากจากผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศแอฟริกาใต้ที่สนามบินที่ Amsterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีการพบผู้ติดเชื้อที่หลากหลายพื้นที่ เช่น บอตสวานา, เบลเยียม, อิสลาเอล และฮ่องกง
เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดดังกล่าวอย่างเร่งด่วน หลายๆ ประเทศได้ดำเนินมาตรการป้องกันโดยทันที เช่น
1. อเมริกาประกาศห้ามไม่ให้เที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ บอตสวานา ซิมบับเว นามิเบีย เลโซโท เอสวาตินี โมซัมบิก และมาลาวี เข้าอเมริกาโดยมีผลในวันจันทร์ที่จะถึงนี้
2. สหภาพยุโรปประกาศห้ามไม่ให้เที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ บอตสวานา ซิมบับเว นามิเบีย เลโซโท เอสวาตินี โมซัมบิก และมาลาวี เข้าสหภาพยุโรป
3. ออสเตรเลียประกาศห้ามเที่ยวบินที่มาจากประเทศแอฟริกาใต้ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตินี เซเชลส์ มาลาวี และโมซัมบิกเข้าประเทศเป็นเวลา 14 วัน และห้ามไม่ให้นักเดินทางต่างชาติที่เข้าไปในประเทศดังกล่าวใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเข้าประเทศ
4. ญี่ปุ่นประกาศให้นักท่องเที่ยวที่มาจากแอฟริกาใต้ต้องกักตัวเป็นเวลา 10 วัน และต้องมีการตรวจโรค 4 ครั้งระหว่างนั้น
5. อินเดียสั่งการให้มีการคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ บอตสวานา และฮ่องกง อย่างเข้มงวด
6. บราซิลจำกัดการเดินทางไปยัง 6 ประเทศในทวีปแอฟริกา
7. แคนาดาห้ามชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางผ่านแอฟริกาใต้ นามิเบีย ซิมบับเว บอตสวานา เลโซโท เอสวาตินี หรือโมซัมบิกในช่วง 14 วันที่ผ่านมาเข้าประเทศ
8. ไทยห้ามนักท่องเที่ยวจาก 8 ประเทศทางตอนใต้ของแอฟริกาเข้าประเทศ
แอฟริกาใต้ไม่ถูกใจสิ่งนี้
ถึงแม้จะมีมาตรการห้ามการเดินทางจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาด แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยปกติการกลายพันธ์เกิดขึ้นเมื่อมีการแพร่ของไวรัสจากคนสู่คน อย่างไรก็ตามประชาชนชาวแอฟริกาใต้ได้รับวัคซีนครบถ้วนเพียง 24% เท่านั้น นั่นหมายความว่าจะมีการแพร่ระบาดและการกลายพันธ์ต่อไปเรื่อยๆ ในแอฟริกาใต้
คุณ Joe Phaahla รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของแอฟริกาใต้กล่าวกับสื่อมวลชนว่ามาตรการปิดกันการเดินทางเป็นเรื่องที่ไร้ความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการระงับการเดินทางจากประเทศแถบแอฟริกาเป็นการละเมิดแนวทางและบรรทัดฐานของ WHO อย่างร้ายแรงและสิ้นเชิง
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคตามดูกันต่อไปคือการกลายพันธ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพวัคซีนได้แค่ไหน และการปรับปรุงวัคซีนให้รองรับเชื้อร้ายที่มีการกลายพันธ์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ Omicron ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่กลายพันธ์มากที่สุดนี้จะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดครับ
ขอฝากติดตาม กด like กด share ข้อมูลดีๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/Unboxthinking
หรือ https://www.blockdit.com/pages/5f4b6519e807060cb777cdbf ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Ref: https://www.bbc.com/news/world-59442129
Ref: https://edition.cnn.com/2021/11/26/africa/new-covid-variant-discovered-south-africa-b11529-intl/index.html
Ref: https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern
Ref: https://www.scmp.com/news/world/africa/article/3157579/who-designates-coronavirus-variant-found-south-africa-concern