ปี 2022 ไทยฟื้นตัวลำบาก หนี้ครัวเรือนมาก SME รับศึกหนักต้องปรับโครงสร้างหนี้
https://brandinside.asia/thailand-economics-2022-by-dr-supawut-saichue/
ดร.
ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ซวนเซจากโควิด-19 ในช่วงบรรยายพิเศษ Thailand 2022 เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ในงานสัมมนาส่งท้ายปีของประชาชาติธุรกิจ “
Thailand 2022 Unlock Value” ก้าวสู่เส้นทางใหม่ ไร้ขีดจำกัด
เรากำลังเปิดประเทศในช่วงที่โควิดกำลังติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป มีผู้เสียชีวิตตลอดเวลา ไทยก็มีคนเสียชีวิตวันละ 50 คน แต่ก่อนเราเคยพูดว่าคนเสียชีวิตบนท้องถนนเยอะ ตอนนี้สัดส่วนตัวเลขลดลง ก่อนโควิดเสียชีวิตวันละ 20 คน น้อยกว่าโควิดที่เสียชีวิตวันละ 50 คน สิ่งที่ Unlock อันที่ 1 คือ อย่าให้คนเสียชีวิตมากไปกว่านี้
การฟื้นเศรษฐกิจโดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คงได้ไม่มาก อาจต้องอาศัยนักท่องเที่ยวไทยมากกว่า ในอเมริกามีการไปตรวจในสัตว์เช่นในกวางมีการติดเชื้อโควิดมากกว่า 80% โควิดอาจจะอยู่กับเราจริงๆ ต้องระมัดระวัง ไวรัสตัวนี้ จากการวิจัยล่าสุดมันกลายพันธุ์ค่อนข้างช้า ปกติ ไวรัสที่มีแต่ rna กลายพันธุ์ค่อนข้างเร็ว แต่อันนี้กลายเป็นแค่ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนคือค่อนข้างช้า
ตอนนี้เรารู้ว่าโควิดกระทบทั้งอุปสงค์และอุปทาน แต่กระทบอะไรมากกว่ากัน? เพราะมันกระทบต่อเงินเฟ้อ
การติดโควิดในช่วงที่เหลือจะกระทบอุปทานมากกว่าอุปสงค์ คนยังอยากใช้อยากกิน อยากเที่ยว แต่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบมากกว่า ในอดีตจีนมีประชากรเยอะ แรงงานเยอะ สินค้าราคาถูก แต่กำลังปิดประเทศเพราะใช้นโยบาย Zero tolerance ทำให้กำลังผลิตลดลง ขณะที่อเมริกามีการว่างงานเยอะ มีรายงานระบุว่าการเตรียมหางาน 7 ล้านคนและมีคนที่หางาน แต่หางานไม่ได้ 27 สัปดาห์มากถึง 2 ล้านคน แต่มีการประกาศจ้างงาน 10 ล้านตำแหน่ง ที่อเมริกากำลังขาดแคลนแรงงาน คนหางานเหลืออยู่จริงๆ แค่ 5 ล้านคน ตอนนี้ อเมริกาเริ่มปรับเงินเดือนแล้ว สองประเทศนี้ GDP รวมกันได้ 1 ใน 3 ของโลก
ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน
Bank of America ประเมินว่า ธนาคารกลางอเมริกาจะคุมเงินเฟ้ออยู่ คุมให้สูงในปีหน้าและปรับลดลงในปีต่อไป คาดว่าผู้ว่าแบงก์ชาติในอเมริกาต้องขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้ง (คือ 3 ครั้งปีหน้าและ 4 ครั้งปีถัดไป) ถ้าเป็นเช่นนั้นปัญหาจะเกิดสำหรับลูกหนี้ หนี้ของโลกจาก IRE สูงมาก 300 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หนี้ต่อ GDP คือ 300% หนี้ภาครัฐกลับขึ้นมาสูงเท่ากับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ถ้าดอกเบี้ยขึ้นเยอะ ลูกหนี้จะเหนื่อย อเมริกา หนี้เยอะที่สุดคือรัฐบาล หนี้ 125% ต่อ GDP ทำให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากไม่ได้เพราะหนี้เยอะแล้ว ภาคอุตสาหกรรมใช้ได้แต่ไม่ได้ดีเท่าไร
ขณะที่จีนบริษัทธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นหนี้ 160.7% ของ GDP ปัญหาของจีนจะมาจากภาคธุรกิจที่กู้เงินเยอะมาก ถ้าของไทย ภาคที่มีปัญหาคือครัวเรือน ถ้าตัวอย่างจากครัวเรือนจีนและสหรัฐไม่เยอะ แต่ของไทยหนี้ครัวเรือน 90% ของ GDP สภาวะเศรษฐกิจ
จากภาพ บรรทัดสุดท้ายคือตัวเลขของแบงก์ชาติที่ระบุว่า การขาดดุลของรัฐบาล (การยืมเงินในอนาคตมาใส่เพื่อพยุงเศรษฐกิจในปีนี้) รัฐบาลเกินดุลงบประมาณ การขาดดุลเงินสุดของรัฐบาลช่วง 2016-2019 เท่ากับ -2.7% ของ GDP สถานะแบบนี้คือปัญหาใหญ่ สถานการณ์ค่อนข้างลำบากในการฟื้นเศรษฐกิจในช่วงถัดไป
หนี้ภาคครัวเรือนของไทยตัวเลขล่าสุดคือ 14.27 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2 จีดีพีไทยโตเยอะเพราะเงินเฟ้อสูงและเพราะการส่งออก แต่ครัวเรือนไม่ได้ประโยชน์จากการส่งออกนัก นอกจากนี้ SMEs ไทยมีหนี้ที่มีปัญหาและน่าจะมีปัญหารวมกัน 20% ซึ่ง SMEs ราว 1 ใน 5 มีปัญหาหนี้ เราต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ SMEs ให้เขาสามารถเดินต่อไปได้ นี่คือประเด็นสำคัญ ทำยากแต่สามารถทำได้
ความเสี่ยงของโลก
หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีนที่รุนแรงมากทำให้เกิด decoupling in the global economy หมายความว่าทำให้ซัพพลายเชนพัง
สอง ปัจจัยที่ธนาคารกลางไล่ตามเงินเฟ้อไม่ทัน แล้วไปไล่ขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงภายหลังจะกระทบหุ้น และกระทบการขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนของทุนมันแพง ภาคการผลิตเราใช้สี่ปัจจัยหลักคือทุน แรงงาน เทคโนโลยี และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ทั้งที่ดินหรือน้ำมัน ทั้งสี่ปัจจัยนี้ขาดแคลนถ้าเทียบกับปีก่อนๆ ความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเกิดขึ้นมีไม่น้อยเลย
ที่โลกเรามีเงินเฟ้อต่ำ ส่วนหนึ่งมาจากจีนที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำป้อนโลกอยู่มาก แต่จีนก็กลัวกำลังการผลิตที่อยู่ในวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเหลือกว่า 800 ล้านคน ทำให้เห็นเทรนด์ใหญ่ว่าจะมีการขาดแคลนแรงงานด้วย
สำหรับไทย ในส่วนของ Global Innovation Index โดย WIPO เราอยู่ที่ 43 เวียดนาม 44 เมื่อย้อน 10 ปีที่แล้วเกาหลีใต้ที่ 16 เพียงสิบปีขึ้นเป็นอันดับ 5 ของโลก ประเทศไทยปี 2011 อยู่ที่ 48 เป็น 43 ส่วนเวียดนามสิบปีจาก 51 เป็น 44 เรียกว่าเวียดนามหายใจรดเรา
ส่วนที่เราอ่อนแอเรื่อง Innovation เป็นยังไงบ้าง?
ถ้า rank ทั่วโลกเราอยู่อันดับที่ 43 พบว่าสิ่งที่อ่อนแอมากที่สุดคือสถาบัน Regulatory Environment กฎเกณฑ์มากมายมหาศาล ขับเคลื่อนไม่ได้ การวิจัยก็ย่ำแย่ ทุนในการวิจัยก็น้อย ส่วนโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่ค่อยดี ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ได้เรื่อง ส่วนจุดแข็งของเราคือตลาดมีความซับซ้อน ครบถ้วน กว้างขวาง (Market Sophistication) ส่วน business sophistication ก็ทำได้ดี รวมทั้ง knowledge sophistication หรือการกระจายความรู้ด้านนี้ก็ถือว่าทำได้ดี
ไทยไม่ถูกเชิญ ร่วมประชุมประชาธิปไตย สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ ธ.ค. นี้
https://workpointtoday.com/thai-democracy-summit/
ไทยไม่ปรากฎชื่อได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตย ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพเดือนหน้า ขณะที่หลายฝ่ายจับตาท่าทีจีน หลังปรากฎชื่อไต้หวันได้รับคำเชิญด้วย
วันที่ 24 พ.ย. 2564 เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายชื่อชาติที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดจัดขึ้นแบบออนไลน์ในวันที่ 9-10 ธ.ค. นี้ โดยจากการตรวจสอบของทีมข่าว workpointTODAY พบว่า มีอยู่ราว 110 ชาติปรากฎอยู่ในรายชื่อดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎชื่อประเทศไทยอยู่ในรายชื่อชาติที่ถูกเชิญ โดยในภูมิภาคอาเซียน มี 3 ประเทศได้รับเชิญร่วมประชุมครั้งนี้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ขณะเดียวกัน รายชื่อชาติที่ถูกเชิญยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศเชิญไต้หวันเข้าร่วมการประชุม ซึ่งท่าทีดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนได้ เพราะอาจถูกมองว่าไม่เคารพหลักการจีนเดียวของจีน และอาจหมายความถึงการตีความสถานะของไต้หวันเทียบเท่ากับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับมาโดยตลอด
หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เลือกที่จะไม่เชิญชาติพันธมิตรที่มีความแน่นแฟ้นกับสหรัฐฯ อีกหลายชาติ เช่น อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน กาตาร์ รวมทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งอาจสะท้อนถึงความคิดของสหรัฐฯ ว่า ชาติเหล่านี้อาจไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่เสรี โดยชาติในตะวันออกกลางที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมมีเพียงอิสราเอลและอิรักเท่านั้น
สำหรับการประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตยครั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุเป้าหมายว่า เป็นไปเพื่อจับตาโอกาสและความท้าทายที่ประชาธิปไตยกำลังเผชิญ พร้อมตั้งประเด็นสำคัญเอาไว้ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ ป้องกันการปกครองแบบ[เผล่ะจัง], ต่อสู้กับการทุจริต และสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
ชาวสวนปาล์มฮึ่ม ค้านปรับสูตรดีเซล เหลือแค่บี7 เตรียมเคลื่อนไหวพรุ่งนี้
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6749308
ชาวสวนปาล์มฮึ่ม ค้านปรับสูตรดีเซล เหลือแค่บี7 เตรียมเคลื่อนไหวพรุ่งนี้ ระบุรัฐบาลกดหัวเอาใจนายทุน
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. นาย
ชโยดม สุวรรณวัฒนะ ประธานกลุ่มคนปลูกปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้ปรับสูตรน้ำมันดีเซล ยกเลิก บี10และบี20 เหลือเพียง บี7ชนิดเดียวว่า สมาชิกของกลุ่มที่มีกว่า 2 แสนคน ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก
เนื่องจากการปรับสูตรน้ำมันทำให้มีการใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นไบโอดีเซลลดลง ส่งให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง จากปัจจุบันที่ราคาผลปาล์มปรับขึ้นไปสูงถึงกิโลกรัมละ 8 บาท ตามทิศทางราคาตลาดโลกที่มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น
ถือเป็นช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรจะขายผลปาล์มได้ในราคาดังกล่าวจากที่เคยได้กิโลกรัมละ 2-4 บาทมาโดยตลอดและรัฐบาลก็ไม่เคยเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน และราคาในปัจจุบันก็ไม่ถือว่าเป็นราคาที่ชดเชยการขาดทุนแต่ก็พอทำให้เกษตรกรพออยู่ได้บ้าง
ดังนั้นกลุ่มคนปลูกปาล์มจึงเตรียมที่จะเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านมติดังกล่าวของรัฐบาล เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมต่อชาวสวนเลย นโยบายเอื้อให้กับนายทุนรายใหญ่ทั้งๆที่เคยมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน
ชาวสวนก็มีความหวังว่าปลูกปาล์มน้ำมันแล้วจะมีตลาดรองรับนำไปผลิตเป็นพลังงานแต่นโยบายก็ไม่มีความแน่นอน ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมายุ่งเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลจากบี10,บี 20 ขณะนี้เกษตรกรรู้สึกได้ว่ารัฐบาลกำลังกดหัวอยู่ ดังนั้นชาวสวนจะออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านมติดังกล่าวแน่นอน โดยจะมีความชัดเจนในวันพรุ่งนี้
JJNY : 4in1 ปี2022 ไทยฟื้นลำบาก│ไทยไม่ถูกเชิญร่วมประชุมประชาธิปไตย│ชาวสวนปาล์มฮึ่มค้านปรับสูตรดีเซล│รถไฟลาว-จีนพร้อมแล้ว
https://brandinside.asia/thailand-economics-2022-by-dr-supawut-saichue/
ดร. ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยที่ซวนเซจากโควิด-19 ในช่วงบรรยายพิเศษ Thailand 2022 เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ในงานสัมมนาส่งท้ายปีของประชาชาติธุรกิจ “Thailand 2022 Unlock Value” ก้าวสู่เส้นทางใหม่ ไร้ขีดจำกัด
เรากำลังเปิดประเทศในช่วงที่โควิดกำลังติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป มีผู้เสียชีวิตตลอดเวลา ไทยก็มีคนเสียชีวิตวันละ 50 คน แต่ก่อนเราเคยพูดว่าคนเสียชีวิตบนท้องถนนเยอะ ตอนนี้สัดส่วนตัวเลขลดลง ก่อนโควิดเสียชีวิตวันละ 20 คน น้อยกว่าโควิดที่เสียชีวิตวันละ 50 คน สิ่งที่ Unlock อันที่ 1 คือ อย่าให้คนเสียชีวิตมากไปกว่านี้
การฟื้นเศรษฐกิจโดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศ คงได้ไม่มาก อาจต้องอาศัยนักท่องเที่ยวไทยมากกว่า ในอเมริกามีการไปตรวจในสัตว์เช่นในกวางมีการติดเชื้อโควิดมากกว่า 80% โควิดอาจจะอยู่กับเราจริงๆ ต้องระมัดระวัง ไวรัสตัวนี้ จากการวิจัยล่าสุดมันกลายพันธุ์ค่อนข้างช้า ปกติ ไวรัสที่มีแต่ rna กลายพันธุ์ค่อนข้างเร็ว แต่อันนี้กลายเป็นแค่ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนคือค่อนข้างช้า
ตอนนี้เรารู้ว่าโควิดกระทบทั้งอุปสงค์และอุปทาน แต่กระทบอะไรมากกว่ากัน? เพราะมันกระทบต่อเงินเฟ้อ
การติดโควิดในช่วงที่เหลือจะกระทบอุปทานมากกว่าอุปสงค์ คนยังอยากใช้อยากกิน อยากเที่ยว แต่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบมากกว่า ในอดีตจีนมีประชากรเยอะ แรงงานเยอะ สินค้าราคาถูก แต่กำลังปิดประเทศเพราะใช้นโยบาย Zero tolerance ทำให้กำลังผลิตลดลง ขณะที่อเมริกามีการว่างงานเยอะ มีรายงานระบุว่าการเตรียมหางาน 7 ล้านคนและมีคนที่หางาน แต่หางานไม่ได้ 27 สัปดาห์มากถึง 2 ล้านคน แต่มีการประกาศจ้างงาน 10 ล้านตำแหน่ง ที่อเมริกากำลังขาดแคลนแรงงาน คนหางานเหลืออยู่จริงๆ แค่ 5 ล้านคน ตอนนี้ อเมริกาเริ่มปรับเงินเดือนแล้ว สองประเทศนี้ GDP รวมกันได้ 1 ใน 3 ของโลก
ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยมากน้อยแค่ไหน
Bank of America ประเมินว่า ธนาคารกลางอเมริกาจะคุมเงินเฟ้ออยู่ คุมให้สูงในปีหน้าและปรับลดลงในปีต่อไป คาดว่าผู้ว่าแบงก์ชาติในอเมริกาต้องขึ้นดอกเบี้ย 7 ครั้ง (คือ 3 ครั้งปีหน้าและ 4 ครั้งปีถัดไป) ถ้าเป็นเช่นนั้นปัญหาจะเกิดสำหรับลูกหนี้ หนี้ของโลกจาก IRE สูงมาก 300 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หนี้ต่อ GDP คือ 300% หนี้ภาครัฐกลับขึ้นมาสูงเท่ากับหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ถ้าดอกเบี้ยขึ้นเยอะ ลูกหนี้จะเหนื่อย อเมริกา หนี้เยอะที่สุดคือรัฐบาล หนี้ 125% ต่อ GDP ทำให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากไม่ได้เพราะหนี้เยอะแล้ว ภาคอุตสาหกรรมใช้ได้แต่ไม่ได้ดีเท่าไร
ขณะที่จีนบริษัทธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารเป็นหนี้ 160.7% ของ GDP ปัญหาของจีนจะมาจากภาคธุรกิจที่กู้เงินเยอะมาก ถ้าของไทย ภาคที่มีปัญหาคือครัวเรือน ถ้าตัวอย่างจากครัวเรือนจีนและสหรัฐไม่เยอะ แต่ของไทยหนี้ครัวเรือน 90% ของ GDP สภาวะเศรษฐกิจ
จากภาพ บรรทัดสุดท้ายคือตัวเลขของแบงก์ชาติที่ระบุว่า การขาดดุลของรัฐบาล (การยืมเงินในอนาคตมาใส่เพื่อพยุงเศรษฐกิจในปีนี้) รัฐบาลเกินดุลงบประมาณ การขาดดุลเงินสุดของรัฐบาลช่วง 2016-2019 เท่ากับ -2.7% ของ GDP สถานะแบบนี้คือปัญหาใหญ่ สถานการณ์ค่อนข้างลำบากในการฟื้นเศรษฐกิจในช่วงถัดไป
หนี้ภาคครัวเรือนของไทยตัวเลขล่าสุดคือ 14.27 ล้านล้านบาทในไตรมาส 2 จีดีพีไทยโตเยอะเพราะเงินเฟ้อสูงและเพราะการส่งออก แต่ครัวเรือนไม่ได้ประโยชน์จากการส่งออกนัก นอกจากนี้ SMEs ไทยมีหนี้ที่มีปัญหาและน่าจะมีปัญหารวมกัน 20% ซึ่ง SMEs ราว 1 ใน 5 มีปัญหาหนี้ เราต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ SMEs ให้เขาสามารถเดินต่อไปได้ นี่คือประเด็นสำคัญ ทำยากแต่สามารถทำได้
ความเสี่ยงของโลก
หนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีนที่รุนแรงมากทำให้เกิด decoupling in the global economy หมายความว่าทำให้ซัพพลายเชนพัง
สอง ปัจจัยที่ธนาคารกลางไล่ตามเงินเฟ้อไม่ทัน แล้วไปไล่ขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงภายหลังจะกระทบหุ้น และกระทบการขึ้นดอกเบี้ย จะทำให้ต้นทุนของทุนมันแพง ภาคการผลิตเราใช้สี่ปัจจัยหลักคือทุน แรงงาน เทคโนโลยี และทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้ทั้งที่ดินหรือน้ำมัน ทั้งสี่ปัจจัยนี้ขาดแคลนถ้าเทียบกับปีก่อนๆ ความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเกิดขึ้นมีไม่น้อยเลย
ที่โลกเรามีเงินเฟ้อต่ำ ส่วนหนึ่งมาจากจีนที่ผลิตสินค้าต้นทุนต่ำป้อนโลกอยู่มาก แต่จีนก็กลัวกำลังการผลิตที่อยู่ในวัยทำงานลดลงเรื่อยๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะเหลือกว่า 800 ล้านคน ทำให้เห็นเทรนด์ใหญ่ว่าจะมีการขาดแคลนแรงงานด้วย
สำหรับไทย ในส่วนของ Global Innovation Index โดย WIPO เราอยู่ที่ 43 เวียดนาม 44 เมื่อย้อน 10 ปีที่แล้วเกาหลีใต้ที่ 16 เพียงสิบปีขึ้นเป็นอันดับ 5 ของโลก ประเทศไทยปี 2011 อยู่ที่ 48 เป็น 43 ส่วนเวียดนามสิบปีจาก 51 เป็น 44 เรียกว่าเวียดนามหายใจรดเรา
ส่วนที่เราอ่อนแอเรื่อง Innovation เป็นยังไงบ้าง?
ถ้า rank ทั่วโลกเราอยู่อันดับที่ 43 พบว่าสิ่งที่อ่อนแอมากที่สุดคือสถาบัน Regulatory Environment กฎเกณฑ์มากมายมหาศาล ขับเคลื่อนไม่ได้ การวิจัยก็ย่ำแย่ ทุนในการวิจัยก็น้อย ส่วนโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่ค่อยดี ดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ได้เรื่อง ส่วนจุดแข็งของเราคือตลาดมีความซับซ้อน ครบถ้วน กว้างขวาง (Market Sophistication) ส่วน business sophistication ก็ทำได้ดี รวมทั้ง knowledge sophistication หรือการกระจายความรู้ด้านนี้ก็ถือว่าทำได้ดี
ไทยไม่ถูกเชิญ ร่วมประชุมประชาธิปไตย สหรัฐฯ เป็นเจ้าภาพ ธ.ค. นี้
https://workpointtoday.com/thai-democracy-summit/
ไทยไม่ปรากฎชื่อได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตย ที่สหรัฐฯ จะเป็นเจ้าภาพเดือนหน้า ขณะที่หลายฝ่ายจับตาท่าทีจีน หลังปรากฎชื่อไต้หวันได้รับคำเชิญด้วย
วันที่ 24 พ.ย. 2564 เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เผยแพร่รายชื่อชาติที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดจัดขึ้นแบบออนไลน์ในวันที่ 9-10 ธ.ค. นี้ โดยจากการตรวจสอบของทีมข่าว workpointTODAY พบว่า มีอยู่ราว 110 ชาติปรากฎอยู่ในรายชื่อดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฎชื่อประเทศไทยอยู่ในรายชื่อชาติที่ถูกเชิญ โดยในภูมิภาคอาเซียน มี 3 ประเทศได้รับเชิญร่วมประชุมครั้งนี้ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ขณะเดียวกัน รายชื่อชาติที่ถูกเชิญยังมีความน่าสนใจ เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศเชิญไต้หวันเข้าร่วมการประชุม ซึ่งท่าทีดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลจีนได้ เพราะอาจถูกมองว่าไม่เคารพหลักการจีนเดียวของจีน และอาจหมายความถึงการตีความสถานะของไต้หวันเทียบเท่ากับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับมาโดยตลอด
หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เลือกที่จะไม่เชิญชาติพันธมิตรที่มีความแน่นแฟ้นกับสหรัฐฯ อีกหลายชาติ เช่น อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน กาตาร์ รวมทั้งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งอาจสะท้อนถึงความคิดของสหรัฐฯ ว่า ชาติเหล่านี้อาจไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่เสรี โดยชาติในตะวันออกกลางที่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมมีเพียงอิสราเอลและอิรักเท่านั้น
สำหรับการประชุมสุดยอดด้านประชาธิปไตยครั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุเป้าหมายว่า เป็นไปเพื่อจับตาโอกาสและความท้าทายที่ประชาธิปไตยกำลังเผชิญ พร้อมตั้งประเด็นสำคัญเอาไว้ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ ป้องกันการปกครองแบบ[เผล่ะจัง], ต่อสู้กับการทุจริต และสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
ชาวสวนปาล์มฮึ่ม ค้านปรับสูตรดีเซล เหลือแค่บี7 เตรียมเคลื่อนไหวพรุ่งนี้
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6749308
ชาวสวนปาล์มฮึ่ม ค้านปรับสูตรดีเซล เหลือแค่บี7 เตรียมเคลื่อนไหวพรุ่งนี้ ระบุรัฐบาลกดหัวเอาใจนายทุน
เมื่อวันที่ 24 พ.ย. นายชโยดม สุวรรณวัฒนะ ประธานกลุ่มคนปลูกปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณี คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้ปรับสูตรน้ำมันดีเซล ยกเลิก บี10และบี20 เหลือเพียง บี7ชนิดเดียวว่า สมาชิกของกลุ่มที่มีกว่า 2 แสนคน ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรอย่างมาก
เนื่องจากการปรับสูตรน้ำมันทำให้มีการใช้น้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นไบโอดีเซลลดลง ส่งให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง จากปัจจุบันที่ราคาผลปาล์มปรับขึ้นไปสูงถึงกิโลกรัมละ 8 บาท ตามทิศทางราคาตลาดโลกที่มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น
ถือเป็นช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรจะขายผลปาล์มได้ในราคาดังกล่าวจากที่เคยได้กิโลกรัมละ 2-4 บาทมาโดยตลอดและรัฐบาลก็ไม่เคยเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน และราคาในปัจจุบันก็ไม่ถือว่าเป็นราคาที่ชดเชยการขาดทุนแต่ก็พอทำให้เกษตรกรพออยู่ได้บ้าง
ดังนั้นกลุ่มคนปลูกปาล์มจึงเตรียมที่จะเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านมติดังกล่าวของรัฐบาล เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมต่อชาวสวนเลย นโยบายเอื้อให้กับนายทุนรายใหญ่ทั้งๆที่เคยมีนโยบายส่งเสริมให้ปลูกพืชพลังงาน
ชาวสวนก็มีความหวังว่าปลูกปาล์มน้ำมันแล้วจะมีตลาดรองรับนำไปผลิตเป็นพลังงานแต่นโยบายก็ไม่มีความแน่นอน ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมายุ่งเกี่ยวกับน้ำมันดีเซลจากบี10,บี 20 ขณะนี้เกษตรกรรู้สึกได้ว่ารัฐบาลกำลังกดหัวอยู่ ดังนั้นชาวสวนจะออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านมติดังกล่าวแน่นอน โดยจะมีความชัดเจนในวันพรุ่งนี้