ปวดสะโพกแบบไหน สัญญาณอันตรายของข้อสะโพกเสื่อม


โรคข้อสะโพกเสื่อมไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในผู้สูงอายุ บางคนอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติ จึงทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป ซึ่งพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี เช่น ภาวะเบ้าสะโพกชันผิดปกติ ผู้ที่ข้อสะโพกติดเชื้อหรือมีอุบัติเหตุบาดเจ็บข้อสะโพกตั้งแต่เด็ก ภาวะหัวข้อสะโพกขาดเลือด เป็นต้น
อาการโรคข้อสะโพกเสื่อม สังเกตได้ ดังนี้

- เริ่มแรกจะมีอาการปวดเวลาเคลื่อนไหว บางครั้งรู้สึกข้อสะโพกติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
- หากปล่อยไว้จะมีอาการปวดสะโพกเรื้อรังทั้งในขณะขยับตัวและขณะพัก
- ปวดเวลากลางคืน
- รู้สึกตึงสะโพกเมื่อลุกหรือนั่ง เจ็บเวลาเดินลงน้ำหนักและขึ้นลงบันไดไม่สะดวก ในบางรายอาจจะมีอาการข้อสะโพกไม่มั่นคง รู้สึกข้อสะโพกติด และมีขาสั้นยาวไม่เท่ากันได้

เมื่อมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัย ประเมินความรุนแรงของโรคและเริ่มการรักษา หากเป็นในระยะเริ่มต้น แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาร่วมกับกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง

แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือมีภาวะกระดูกสะโพกเสื่อมรุนแรงหรือข้อสะโพกผิดรูป

แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยผู้ป่วยสามารถลุกยืนได้ภายใน 6 – 12 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติที่สุด ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ กรณีที่ผู้ป่วยขาสั้นยาวไม่เท่ากันจากภาวะข้อสะโพกเสื่อมรุนแรง หลังการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมก็จะสามารถกลับมามีขาที่ยาวเท่ากันกับข้างที่ปกติได้อีกด้วย

ข้อมูลโดย นพ. ธนรัตน์ เหรียญเจริญ - ศัลยแพทย์กระดูกและข้อเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และข้อสะโพกเทียม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่