มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชี้ควบรวม TRUE-DTAC ผู้บริโภคไร้ทางเลือกและอำนาจต่อรองต่ำ ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว อำนาจเพิ่มขึ้น กสทช. อาจต่อรองไม่ไหว อิงเรื่องไม่แก้ไขปัญหา SMS มูลนิธิฯ ร้อง กสทช. ทบทวนการควบรวมของผู้ประกอบธุรกิจ และฝากถึง กขค. เร่งแก้ปัญหาไม่ให้เกิดการควบรวมธุรกิจ เพราะเป็นการผูกขาดและทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์
จากกรณี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เกิดการควบรวมกิจการธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) กับกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม มูนิเคชั่น (DTAC) นั้น
วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2564) ด้าน นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ให้ความเห็นว่า การควบรวมทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง เนื่องจากเป็นเจ้าใหญ่ มีการแข่งขันอยู่แค่ 2 เจ้า เหมือนเป็นเชิงบังคับให้ผู้บริโภคใช้บริการ หากต้องการเปลี่ยนค่ายโทรศัพท์จะมีให้เลือกเพียงแค่ 2 ค่ายใหญ่ ซ้ายหรือขวาเท่านั้น ส่วนค่ายเล็กจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย เพราะการแข่งขันทางการตลาดสู้เจ้าที่ควบรวมธุรกิจรายใหญ่ไม่ได้ โดยการที่จะให้ลูกค้าซื้อโปรโมชั่น 3 เครือข่ายโทรศัพท์ต้องแข่งขันกัน เรื่องโปรโมชั่น ความสะดวก หรือ พื้นที่การให้บริการ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะใช้บริการกับผู้ที่ให้บริการที่ต้องการและดีที่สุดได้ ในขณะที่ถ้าควบรวมธุรกิจ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ต่อให้ให้บริการไม่ดีก็ยังต้องใช้อยู่ ค่ายอื่นที่มีทุนน้อยกว่า หรือไม่สามารถลงทุนในพื้นที่ตรงนั้นได้ก็ไม่กล้ามาลงทุน กลายเป็นว่าธุรกิจที่ควบรวมเป็นมหาอำนาจในการจัดการพื้นที่ตรงนั้นอย่างไรก็ได้
“ในการควบรวมธุรกิจต่างๆ ยังไม่เห็นประโยชน์ของผู้บริโภคเลย เห็นแต่ประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุน แต่ผู้บริโภคกลับมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตหรือการดูแลผู้บริโภคนั้นเป็นหน้าที่ของค่ายโทรศัพท์อยู่แล้ว ผู้บริโภคจึงรู้สึกว่าการควบรวมในครั้งนี้เป็นเพียงการสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคล ทางผู้ประกอบการนั้นมีความชัดเจนในการดูแลและให้บริการที่ดีกับผู้บริโภคอย่างไร” รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มพบ. กล่าว
นางนฤมล กล่าวอีกว่า ในเรื่องของอำนาจการต่อรอง ค่ายโทรศัพท์มือถือจะมีอำนาจมากขึ้น จนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อาจจะต่อรองยาก ล่าสุดปัญหาเรื่องบล็อก SMS หรือ ผู้จัดให้มีเนื้อหา (content provider) ยังแก้ไขปัญหาได้ล่าช้าและพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ กสทช. มีประกาศกำหนดอย่างชัดเจน ต่อไปเมื่อควบรวมกันแล้วไม่ยิ่งทำให้แก้ไขปัญหาแย่กว่าเดิมหรือ
เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการมีอำนาจการต่อรองมากจนส่งผลกระทบกับผู้บริโภค มูลนิธิฯ คาดหวังให้รัฐควรเป็นผู้จัดการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคในการตรวจสอบกระบวนการปัญหาของบริษัท และจัดการปัญหาแทนผู้บริโภค ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลาง เนื่องจากการแข่งขันทางการตลาดน้อยลง การผูกขาดตลาดหรือใช้ข้อมูลในการควบรวมธุรกิจจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐก่อน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอเรียกร้องให้ กสทช. ในฐานะคณะกรรมการกำกับดูแลควรมีบทบาทในการพิจารณาทบทวนการควบรวมธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจทั้ง 2 ราย ว่ามีการดูแลผู้บริโภคให้ได้รับประโยชน์อย่างไร เพราะระบบอินเทอร์เน็ต การจัดการโปรโมชั่น หรือการดูแลลูกค้าในพื้นที่ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดการปัญหาอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องควบรวมธุรกิจ และการควบรวมธุรกิจไม่ควรให้บริษัทได้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว ควรให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้ให้ประโยชน์กับบริษัทได้รับประโยชน์ด้วย
และอยากฝากถึงคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ให้เร่งแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดการควบรวมธุรกิจ เพราะเป็นการผูกขาดและทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ การรวมธุรกิจในรูปแบบเดียวกันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันมากที่สุด ทำให้คู่แข่งในตลาดลดลงอย่างน้อย 1 ราย มักมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคู่แข่งในตลาด ทำให้ระดับการแข่งขันในตลาดลดลง ตามพรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 51 การรวมธุรกิจที่อาจลดการแข่งขันต้องแจ้งผลการรวมธุรกิจต่อ กขค. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รวมธุรกิจ และการรวมธุรกิจที่อาจเกิดการผูกขาด หรือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด คือ มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% จะต้องได้รับอนุญาตจาก กขค. ก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ
https://www.consumerthai.org/consumers-news/ffc-news/4656-ffc-true-dtac-231164.html
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชี้ควบรวม TRUE-DTAC ผู้บริโภคไร้ทางเลือก-อำนาจต่อรองต่ำ ร้อง กสทช. ทบทวนการควบรวม
จากกรณี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เกิดการควบรวมกิจการธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) กับกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอม มูนิเคชั่น (DTAC) นั้น
วันนี้ (23 พฤศจิกายน 2564) ด้าน นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ให้ความเห็นว่า การควบรวมทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง เนื่องจากเป็นเจ้าใหญ่ มีการแข่งขันอยู่แค่ 2 เจ้า เหมือนเป็นเชิงบังคับให้ผู้บริโภคใช้บริการ หากต้องการเปลี่ยนค่ายโทรศัพท์จะมีให้เลือกเพียงแค่ 2 ค่ายใหญ่ ซ้ายหรือขวาเท่านั้น ส่วนค่ายเล็กจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย เพราะการแข่งขันทางการตลาดสู้เจ้าที่ควบรวมธุรกิจรายใหญ่ไม่ได้ โดยการที่จะให้ลูกค้าซื้อโปรโมชั่น 3 เครือข่ายโทรศัพท์ต้องแข่งขันกัน เรื่องโปรโมชั่น ความสะดวก หรือ พื้นที่การให้บริการ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะใช้บริการกับผู้ที่ให้บริการที่ต้องการและดีที่สุดได้ ในขณะที่ถ้าควบรวมธุรกิจ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ต่อให้ให้บริการไม่ดีก็ยังต้องใช้อยู่ ค่ายอื่นที่มีทุนน้อยกว่า หรือไม่สามารถลงทุนในพื้นที่ตรงนั้นได้ก็ไม่กล้ามาลงทุน กลายเป็นว่าธุรกิจที่ควบรวมเป็นมหาอำนาจในการจัดการพื้นที่ตรงนั้นอย่างไรก็ได้
“ในการควบรวมธุรกิจต่างๆ ยังไม่เห็นประโยชน์ของผู้บริโภคเลย เห็นแต่ประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ต้องการลดต้นทุน แต่ผู้บริโภคกลับมีทางเลือกน้อยลง อำนาจการต่อรองน้อยลง การพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตหรือการดูแลผู้บริโภคนั้นเป็นหน้าที่ของค่ายโทรศัพท์อยู่แล้ว ผู้บริโภคจึงรู้สึกว่าการควบรวมในครั้งนี้เป็นเพียงการสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มบุคคล ทางผู้ประกอบการนั้นมีความชัดเจนในการดูแลและให้บริการที่ดีกับผู้บริโภคอย่างไร” รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มพบ. กล่าว
นางนฤมล กล่าวอีกว่า ในเรื่องของอำนาจการต่อรอง ค่ายโทรศัพท์มือถือจะมีอำนาจมากขึ้น จนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อาจจะต่อรองยาก ล่าสุดปัญหาเรื่องบล็อก SMS หรือ ผู้จัดให้มีเนื้อหา (content provider) ยังแก้ไขปัญหาได้ล่าช้าและพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ กสทช. มีประกาศกำหนดอย่างชัดเจน ต่อไปเมื่อควบรวมกันแล้วไม่ยิ่งทำให้แก้ไขปัญหาแย่กว่าเดิมหรือ
เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการมีอำนาจการต่อรองมากจนส่งผลกระทบกับผู้บริโภค มูลนิธิฯ คาดหวังให้รัฐควรเป็นผู้จัดการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคในการตรวจสอบกระบวนการปัญหาของบริษัท และจัดการปัญหาแทนผู้บริโภค ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลาง เนื่องจากการแข่งขันทางการตลาดน้อยลง การผูกขาดตลาดหรือใช้ข้อมูลในการควบรวมธุรกิจจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐก่อน
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอเรียกร้องให้ กสทช. ในฐานะคณะกรรมการกำกับดูแลควรมีบทบาทในการพิจารณาทบทวนการควบรวมธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจทั้ง 2 ราย ว่ามีการดูแลผู้บริโภคให้ได้รับประโยชน์อย่างไร เพราะระบบอินเทอร์เน็ต การจัดการโปรโมชั่น หรือการดูแลลูกค้าในพื้นที่ ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่จัดการปัญหาอยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องควบรวมธุรกิจ และการควบรวมธุรกิจไม่ควรให้บริษัทได้ประโยชน์เพียงอย่างเดียว ควรให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้ให้ประโยชน์กับบริษัทได้รับประโยชน์ด้วย
และอยากฝากถึงคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ให้เร่งแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดการควบรวมธุรกิจ เพราะเป็นการผูกขาดและทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ การรวมธุรกิจในรูปแบบเดียวกันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันมากที่สุด ทำให้คู่แข่งในตลาดลดลงอย่างน้อย 1 ราย มักมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนคู่แข่งในตลาด ทำให้ระดับการแข่งขันในตลาดลดลง ตามพรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มาตรา 51 การรวมธุรกิจที่อาจลดการแข่งขันต้องแจ้งผลการรวมธุรกิจต่อ กขค. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่รวมธุรกิจ และการรวมธุรกิจที่อาจเกิดการผูกขาด หรือเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด คือ มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% จะต้องได้รับอนุญาตจาก กขค. ก่อนดำเนินการรวมธุรกิจ
https://www.consumerthai.org/consumers-news/ffc-news/4656-ffc-true-dtac-231164.html