“เอไอเอส” ดอดยื่นหนังสือทักท้วง กสทช.พิจารณาดีลควบรวมกิจการ”ทรู-ดีแทค”อย่างเข้มข้น หลังถูกสังคมสัพยอกรับอานิสงค์ควบรวม-ลดคู่แข่งขัน ยัน กสทช.ยังคงมีอำนาจติดเบรกควบรวมเต็มพิกัด อย่าทำไขสืออ้าง กม.ไม่ให้อำนาจ ด้านผู้ถือหุ้นทรู-ดีแทคไฟเขียวฉลุยแผนควบรวมกิจการ
หลังจากถูกสังคมตั้งข้อกังขามาโดยตลอดว่า ได้รับ “อานิสงค์” จากดีลควบรวมกิจการ“ทรูและดีแทค” จากแนวโน้มตลาดโทรคมนาคมที่เหลือผู้ให้บริการหลักเหลืออยู่เพียง 2 รายเท่านั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่าล่าสุด เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ผู้บริหารบริษัทแอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด(AWN)ในเครือ เอไอเอส (AIS) ได้ทำหนังสือถึงประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)เพื่อชี้แจงผลกระทบและผลเสียจากดีลควบรวมกิจการ “ทรู-ดีแทค”แล้ว
ยันกระทบตลาด-ผู้ใช้บริการร้ายแรง
ในหนังสือดังกล่าวระบุว่า ดีลควบรวมกิจการทรู-ดีแทคก่อให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาด และต่อผู้บริโภคอย่างร้ายแรง ทั้งยังขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดสรรคลื่นความถี่ และขัดต่อหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ด้วย เพราะการปล่อยให้เกิดดีลการควบรวม “ทรู-ดีแทค” จะทำให้ตลาดมีการกระจุกตัวสูง ส่งผลเสียต่อการแข่งขัน โดยเมื่อพิจารณาค่าดัชนีการแข่งขัน (HHI) ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ 3 รายในสิ้นไปมาส 3 ปี 2564 ที่แม้ยังไม่มีการควบรวม ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศก็มีการกระจุกตัวในอัตราที่สูงมากอยู่แล้ว หาก กสทช.อนุญาตให้มีการควบรวมธุรกิจก็จะยิ่งทำให้บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 53 4 ส่งผลต่อค่าดัชนี HHI หลังการควบรวมมากขึ้นไปอีก ทำให้บริษัทใหม่เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการแข่งขัน และเข้าข่ายเป็นการครอบงำตลาด
นอกจากนี้ ดึลควบรวมกิจการ "ทรู-ดีแทค"จะเป็นการกีดกันการเข้าสู่ตลาดของผู้แข่งขันรายใหม่ และการเติบโตของผู้แข่งขันรายเล็ก แม้แต่บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติหรือ NT ทิ่เป็นผู้ให้บริการอยู่ก่อน มีโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ก็ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมาก
“ที่สำคัญการอนุญาตให้เกิดดีลควบรวมกิจการทรู-ดีแทคจะก่อให้เกิดการกระจุกตัวของคลื่นความถี่ ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดสรรคลื่นความถี่ เพราะการจัดสรรคลื่นความถี่ในแต่ละครั้ง กสทช.ได้กำหนดจำนวนคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถประมูลถือครองได้ หากมีการอนุญาตให้ทรูละดีแทคควบรวมกิจการกัน จะทำให้คลื่นความถี่ย่านต่างๆ ถือครองโดยบริษัทลูกอยู่ภายใต้ความเป็นเจ้าของของบริษัทแม่เดียวกันมีจำนวนที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด”
ชี้ กสทช.มีอำนาจอนุมัติ-ไม่อนุมัติเต็มที่
ในหนังสือของ AWN ยังระบุด้วยว่า กสทช.มีหน้าที่ตามกฎหมายในการพิจารณาดีลควบรวมกิจการ “ทรู-ดีแทค” ตามมาตรา 60 แห่งรัฐธรรมนูญฯพ. ศ.2560 ที่บัญญัติไว้ว่า รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน .....และรัฐต้องจัดให้มีองค์กรของรัฐที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรับผิดชอบ และกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามวรรคสอง ในการนี้องค์กรดังกล่าวต้องจัดให้มีการมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น....
นอกจากนี้ มาตรา 274 ยังกำหนดให้ กสทช. มีหน้าที่โดยตรงในการรับผิดชอบและกำกับการดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ ดังนั้นเมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้งสองมาตราข้างต้น กสทช.จึงมีหน้าที่ในการกำกับดูแลคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะ ทั้งยังต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น รวมทั้งการป้องกันไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ตามมาตรา 60 ดังกล่าว
นอกจากนี้ ในหมวด 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 75 วรรคแรก ยังบัญญัติไว้ด้วยว่า รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซี่งกิจการโทรคมนาคม เป็นกิจการสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นและมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนรองจากสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เห็นได้จากจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันที่มีมากกว่า 120 84 ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรที่มีอยู่จำนวน 66. 7 ล้านคน
ดังนั้นในฐานะองค์กรของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแลคลื่นความถี่ รวมทั้งการให้บริการโทรคมนาคม จึงมีหน้าที่ตามมาตรา 27( 11 ) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2553 ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน รวมทั้งป้องกันหรือขจัดการกีดกัน หรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมตามแนวนโยบายแห่งรัฐ
สอนมวย กสทช.ดูอำนาจหน้าที่ตัวเอง
นอกจาก กสทช.จะมีหน้าที่ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ แล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตรา 21 พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นการเฉพาะที่บัญญัติไว้ว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคมนอกจากต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการเฉพาะตามลักษณะประกอบกิจการโทรคมนาคมมิให้ผู้รับอนุญาตกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการการโทรคมนาคม
ด้วยบทบัญญัติกฎหมายข้างต้นทำให้ กสทช.มีหน้าที่นำหลักเกณฑ์ของประกาศป้องกันการผูกขาด พ.ศ 2549 และประกาศควบรวมธุรกิจ 2561 มาใช้ควบคู่กันเพื่อเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งในอดีต กสทช.ได้ออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมพ.ศ 2549 ซึ่งกำหนดห้ามมิให้มีการซื้อของธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันไม่ว่าจะทำโดยทางตรง หรือทางอ้อม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กสทช.
ต่อมาเมื่อ กสทช. พิจารณารายละเอียดประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 แล้วเห็นว่า ยังไม่ครอบคลุมการควบรวมกิจการได้ทั้งหมด จึงออกประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ 2553 โดยในข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศควบรวมธุรกิจดังกล่าว กำหนดห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตกระทำการควบรวมกิจการอันส่งผลให้เกิดการครอบงำตลาดที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากค่าดัชนี HHI ที่วัดจากส่วนแบ่งตลาดของผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายในตลาดก่อนและหลังการควบรวม
ยันเป็นธุรกรรมที่ไฟเขียวไม่ได้
กรณีดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" จึงไม่อยู่ในลักษณะที่กสทช.จะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการกันได้ หากประกาศควบรวมธุรกิจปี 2553 ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากประกาศควบรวมธุรกิจปี 2553 ดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปในปี 2561 จากการที่ กสทช.ได้ออกประกาศควบรวมปี 2561 กำหนดให้ กสทช.มีหน้าที่ต้องพิจารณาว่าจะอนุมัติให้มีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมได้หรือไม่ตามข้อ 9 ซึ่งกำหนดว่า การรายงานตามข้อ 5 ข้อ6 ข้อ 7 หรือข้อ 8 ให้ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช.ตามข้อ 8 ของประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเรื่องมาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2549
“กรณีการรายงานการรวมธุรกิจตามประกาศควบรวมปี 2561 นั้นกำหนดให้เป็นการขออนุญาตเท่านั้น มิได้กำหนดว่า การรายงานการรวมธุรกิจถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการรายงานการควบคุมธุรกิจตามนัยข้อ 5 แห่งประกาศควบรวมปี 2561 แล้ว ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช.ตามนัยข้อ 8 แห่งประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 ซึ่งกำหนดว่ากรณีที่ กสทช. เห็นว่าการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน อาจส่งผลให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคม กสทช.อาจสั่งห้ามการถือครองกิจการได้ ดังนั้นในการพิจารณาดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" กสทช.จึงมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณา “อนุญาต”หรือ “ไม่อนุญาต” โดยนำหลักเกณฑ์ของประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 มาใช้ควบคู่กันไปด้วย
นอกจากนี้ กสทช.มีหน้าที่ในการนำกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้ามาใช้ในการพิจารณา เพราะดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค"นั้น ตามมาตรา 21 พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่กำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งกำหนดไว้ว่า นอกจากต้องอยู่ในบังคับกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการเฉพาะตามลักษณะการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม มิให้ผู้รับอนุญาตกระทำการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการกิจการโทรคมนาคม
“จากบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น น่าจะพิจารณาได้ว่า ดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" นั้น นอกจาก กสทช.จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าด้วย ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงขอให้ กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาตการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรูและดีแทคอย่างรอบคอบ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและป้องกันการกระทำอันก่อให้เกิดการผูกขาด มีอำนาจเหนือตลาด ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศและผู้ใช้บริการมากที่สุด”
อย่างไรก็ตาม ดีลควบรวมกิจการ "ทรู-ดีแทค"ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยในระหว่างนี้ ทรูยังให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องตามปกติเช่นเดิม
หนังสือที่บริษัทแอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด(AWN)ในเครือ เอไอเอส ยื่นต่อประธานกสทช.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา
thansettakij
“เอไอเอส”ท้วง กสทช. ค้านควบรวม “ทรู-ดีแทค” ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของคลื่นความถี่ จำนวนที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ ในหมวด 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 75 วรรคแรก ยังบัญญัติไว้ด้วยว่า รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซี่งกิจการโทรคมนาคม เป็นกิจการสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นและมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชนรองจากสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เห็นได้จากจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันที่มีมากกว่า 120 84 ล้านเลขหมาย มากกว่าจำนวนประชากรที่มีอยู่จำนวน 66. 7 ล้านคน
ดังนั้นในฐานะองค์กรของรัฐที่เป็นผู้กำกับดูแลคลื่นความถี่ รวมทั้งการให้บริการโทรคมนาคม จึงมีหน้าที่ตามมาตรา 27( 11 ) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2553 ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน รวมทั้งป้องกันหรือขจัดการกีดกัน หรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค และจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมตามแนวนโยบายแห่งรัฐ
ด้วยบทบัญญัติกฎหมายข้างต้นทำให้ กสทช.มีหน้าที่นำหลักเกณฑ์ของประกาศป้องกันการผูกขาด พ.ศ 2549 และประกาศควบรวมธุรกิจ 2561 มาใช้ควบคู่กันเพื่อเป็นการกำหนดมาตรการป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งในอดีต กสทช.ได้ออกประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมพ.ศ 2549 ซึ่งกำหนดห้ามมิให้มีการซื้อของธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันไม่ว่าจะทำโดยทางตรง หรือทางอ้อม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กสทช.
ต่อมาเมื่อ กสทช. พิจารณารายละเอียดประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 แล้วเห็นว่า ยังไม่ครอบคลุมการควบรวมกิจการได้ทั้งหมด จึงออกประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการการควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ 2553 โดยในข้อ 8 และข้อ 9 แห่งประกาศควบรวมธุรกิจดังกล่าว กำหนดห้ามมิให้ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตกระทำการควบรวมกิจการอันส่งผลให้เกิดการครอบงำตลาดที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากค่าดัชนี HHI ที่วัดจากส่วนแบ่งตลาดของผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายในตลาดก่อนและหลังการควบรวม
“กรณีการรายงานการรวมธุรกิจตามประกาศควบรวมปี 2561 นั้นกำหนดให้เป็นการขออนุญาตเท่านั้น มิได้กำหนดว่า การรายงานการรวมธุรกิจถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว ดังนั้นเมื่อมีการรายงานการควบคุมธุรกิจตามนัยข้อ 5 แห่งประกาศควบรวมปี 2561 แล้ว ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช.ตามนัยข้อ 8 แห่งประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 ซึ่งกำหนดว่ากรณีที่ กสทช. เห็นว่าการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน อาจส่งผลให้เกิดการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการโทรคมนาคม กสทช.อาจสั่งห้ามการถือครองกิจการได้ ดังนั้นในการพิจารณาดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" กสทช.จึงมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณา “อนุญาต”หรือ “ไม่อนุญาต” โดยนำหลักเกณฑ์ของประกาศป้องกันการผูกขาดปี 2549 มาใช้ควบคู่กันไปด้วย
นอกจากนี้ กสทช.มีหน้าที่ในการนำกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้ามาใช้ในการพิจารณา เพราะดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค"นั้น ตามมาตรา 21 พรบ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมปี 2544 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่กำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งกำหนดไว้ว่า นอกจากต้องอยู่ในบังคับกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าแล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการเฉพาะตามลักษณะการประกอบธุรกิจโทรคมนาคม มิให้ผู้รับอนุญาตกระทำการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันในการให้บริการกิจการโทรคมนาคม
“จากบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น น่าจะพิจารณาได้ว่า ดีลควบรวมกิจการ"ทรู-ดีแทค" นั้น นอกจาก กสทช.จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าด้วย ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงขอให้ กสทช.ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอนุญาตการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรูและดีแทคอย่างรอบคอบ เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายและป้องกันการกระทำอันก่อให้เกิดการผูกขาด มีอำนาจเหนือตลาด ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันเพื่อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศและผู้ใช้บริการมากที่สุด”
อย่างไรก็ตาม ดีลควบรวมกิจการ "ทรู-ดีแทค"ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยในระหว่างนี้ ทรูยังให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องตามปกติเช่นเดิม