สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) แถลงด่วนตอกย้ำจุดยืน ไม่เห็นด้วย ทรู ควบรวม ดีแทค หวั่นเกิดอำนาจเหนือตลาด - ผูกขาดตลาดและผู้บริโภคถูกริดรอนสิทธิ์ในการเลือกใช้บริการ วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “ล้ม” บิ๊กดิลนี้
ภาพการประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างผู้เล่น 2ใน3 ของตลาดโทรคมนาคมอย่างเครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค ในการควบรวมกิจการ ก่อให้เกิดแรงกระเพื้อมและกะแสวิพากษ์วิจารย์อย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.)แสดงออกถึงความกังวลต่อบิ๊กดิลระหว่างทรูและดีแทคว่าจะส่งผลกระทบผู้ต่อบริโภคในเชิงลบ พร้อมแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการควบรวมกิจการครั้งนี้
โดยนางบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยว่า จุดยืนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่ได้ขัดขวางการเติบโตหรือการร่วมทุนของธุรกิจใดๆ แต่สอบ.ในฐานะผู้บริโภคมีความกังวลว่าการควบรวมครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องทางเลือกหรือไม่
เพราะเดิมผู้บริโภคมี 3 ทางเลือกแต่ถ้าเกิดการควบรวมทางเลือกจะถูกตัดออกไปเหลือเพียง 2 ทางเลือก ดังนั้นจะมีหลักประกันอะไรว่าการควบร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะไม่ไปริดรอนทางเลือกของผู้บริโภคและจะไม่มีการเอาเปรียบผู้บริโภคมากกว่าปัจจุบัน
“จริงๆภาคธุรกิจเติบโตเราก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่ทางเลือกของผู้บริโภคก็ควรจะมีมากขึ้นไม่ใช่ลดน้อยถอยลงอย่างที่เป็นในตอนนี้ เราควรจะมีทางเลือกมากขึ้นเพราะประเทศไทยมีการแข่งขันการค้าเสรี หมายความว่ามีหลายเจ้ามาแข่งกัน แต่ถ้าการแข่งขันนั้นมันเหมือนไม่มีทางเลือกเลย ผู้บริโภคถูกบังคับให้เลือก มันก็จะกลายเป็นความกังวลของผู้บริโภว่าจะถูกเอาเปรียบมากเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นการควบรวมทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเราสนับสนุน แต่ก็ควรจะเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากกว่านี้ไม่ใช่ลิดรอนสิทธิในการเลือกของผู้บริโภค เราไม่มีเหตุขัดแย้งเป็นการส่วนตัวกลับค่ายใด เช่นเราฟ้องเรื่องของการเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นจริงเราก็ฟ้องทั้ง 3 ค่าย
ผู้บริโภคไม่ได้เป็นศัตรูกับผู้ให้บริการ แต่เราคิดว่าทางเลือกกับความเป็นธรรมในการให้บริการเป็นหัวใจของผู้บริโภค ดังนั้นทางเลือกผู้บริโภคต้องมี"
ด้านนางสารี อ๋องสมหวัง : เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทรูเป็นผู้บริการโทรคมนาคมลำดับที่ 2 ของประเทศไทยมีผู้ใช้บริการ 32 ล้านเลขหมาย ขณะที่ ดีแทค มีผู้ใช้งานกว่า 1.3 ล้านเลขหมาย หากสองบริษัทควบรวมกันจะทำให้มีผู้ใช้งานในมือ 51.3 ล้านเลขหมาย ซึ่งจะกินส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าเจ้าใหญ่เดิมคือ AIS ทันที ที่มีผู้ใช้บริการอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย
ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายทางการค้า จะพบว่ากฏหมายระบุชัดเจนว่าห้ามมีอำนาจเหนือตลาดเกิน 50% ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องสอบถามไปถึง กสทช. ซึ่งดูแลโดยตรงในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่
“สิ่งที่พวกเราเป็นกังวลนอกเหนือจากการที่ผู้บริโภคจะถูกตัดสิทธิ์ในทางเลือกลดลงไปก็คือ กลัวว่าจะการแบ่งตลาดกันเล่น ซึ่งต้องมาศึกษาต่อว่ากรณีนี้จะส่งผลต่อเรื่องราคาหรือไม่เมื่อไม่มีการแข่งขัน หรือว่าจะส่งผลต่อคุณภาพการบริการหรือไม่ เพราะตอนนี้ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่จะกำกับดูแลเรื่องการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม
สอบ.จึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคในบื้องต้น สอบ.จะทำข้อเสนอไปถึงกสทช.ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น และมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองผู้บริโภค ว่าควรสั่งห้ามการควบรวมกิจการที่ทำให้เกิดอำนาจเหนือตลาดในครั้งนี้ เพราะส่งผลทางลบต่อผู้บริโภคและทำให้มีการแข่งขันน้อยลงท้ายที่สุดไม่เกิดแรงจูงใจในการแข่งขัน
ส่วนที่ 2 เป็นการทำข้อเสนอถึงตลาดหลักทรัพย์ เพราะแน่นอนว่าโครงสร้างโทรคมนาคมถือเป็นเป็นเรื่องจำเป็นในการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวันไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การแข่งขันมีมากขึ้น นอกจากนี้ สอบ. ยังมีแผนเปิดเวทีให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมีโอกาสร่วมเวทีเพื่อให้สาธารณะหรือผู้บริโภคมีโอกาสตั้งคำถามว่ากรณีที่เกิดขึ้นนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป
สำหรับผู้ใช้บริการ DTAC และ TRUE โดยสิทธิของผู้บริโภคมีสิทธิ์ย้ายค่ายส่วน AIS อาจได้รับผลกระทบจากคู่แข่งที่ลดลงแต่ได้คู่แข่งรายใหญ่มาแทนที่”
นอกจากนี้นางพวงทอง ว่องไว อนุกรรมการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันแม้การควบรวมกิจการจะยังอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้นคือเทเลนอร์กับ CP แต่ท้ายที่สุดแล้วน่าจะเห็นการควบรวมของบริษัทลูกแน่นอน ถ้าเกิดการควบรวมจริงจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคชัดเจน อาจทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดน้อยลง ผู้บริโภคเองอาจจะไม่มีทางเลือกในการขอใช้บริการ
มากไปกว่านั้นถ้า 2 บริษัทที่มีอยู่เกิดมีการกำหนดค่าบริการที่สูงขึ้น หรือการบริการที่เอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งส่วนนี้ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบแน่นอน สอบ.ในฐานะตัวแทนผู้บริโภคไม่เห็นด้วยกับการควบรวมเพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเลือกใช้สินค้าและบริการ และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการอย่านิ่งนอนใจ
นางชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีค่ายมือถือ 3 ราย ซึ่งจะมีการแข่งขันกันทางด้านพัฒนาการบริการ การขยายพื้นที่การให้บริการ รวมไปถึงการแข่งขันด้านราคา การแข่งขันต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
แต่เมื่อมีการควบรวมกันแม้จะเป็นในระดับผู้ถือหุ้นก็ตาม ก็อาจจะทำให้สัดส่วนของการแข่งขันในตลาดเปลี่ยนไปหรือลดลง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญและเป็นปัญหาในขณะนี้ก็คือเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสอบ.มองว่าถ้ามีการควบรวมกัน จะมีผลกระทบอย่างมากแน่นอนโดยเฉพาะเรื่องของการการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นจึงไม่ควรให้มีการควบรวมในครั้งนี้
“หากมีการควบรวมเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ให้บริการมีส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้นและอาจจะเป็นลักษณะกึ่งผูกขาดหรือการผูกขาดตลาดซึ่งไม่ส่งผลดีกับผู้บริโภค และยังทำให้ให้ผู้บริการรายเล็กไม่เกิดและผู้เล่นรายใหม่ไม่กล้าเข้ามาแข่งขันในตลาดเพราะมองว่าการลงทุนครั้งนี้ไม่คุ้มค่า เราจึงไม่เห็นด้วยที่ควบรวมกิจการจนทำให้ผู้เล่นในตลาดเหลือเพียง 2 รายจนไม่เกิดการแข่งขันและในอนาคตอาจเกิดการฮั้วกันเกิดขึ้นก็ได้”
https://www.thansettakij.com/business/504288
สอบ. ไม่เห็นด้วย "ทรู" ควบรวม "ดีแทค" วอน "กสทช." ล้มดิล
ภาพการประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างผู้เล่น 2ใน3 ของตลาดโทรคมนาคมอย่างเครือซีพี และกลุ่มเทเลนอร์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค ในการควบรวมกิจการ ก่อให้เกิดแรงกระเพื้อมและกะแสวิพากษ์วิจารย์อย่างมากในช่วงเวลาไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา
สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.)แสดงออกถึงความกังวลต่อบิ๊กดิลระหว่างทรูและดีแทคว่าจะส่งผลกระทบผู้ต่อบริโภคในเชิงลบ พร้อมแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อการควบรวมกิจการครั้งนี้
โดยนางบุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยว่า จุดยืนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ไม่ได้ขัดขวางการเติบโตหรือการร่วมทุนของธุรกิจใดๆ แต่สอบ.ในฐานะผู้บริโภคมีความกังวลว่าการควบรวมครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องทางเลือกหรือไม่
เพราะเดิมผู้บริโภคมี 3 ทางเลือกแต่ถ้าเกิดการควบรวมทางเลือกจะถูกตัดออกไปเหลือเพียง 2 ทางเลือก ดังนั้นจะมีหลักประกันอะไรว่าการควบร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะไม่ไปริดรอนทางเลือกของผู้บริโภคและจะไม่มีการเอาเปรียบผู้บริโภคมากกว่าปัจจุบัน
“จริงๆภาคธุรกิจเติบโตเราก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่ทางเลือกของผู้บริโภคก็ควรจะมีมากขึ้นไม่ใช่ลดน้อยถอยลงอย่างที่เป็นในตอนนี้ เราควรจะมีทางเลือกมากขึ้นเพราะประเทศไทยมีการแข่งขันการค้าเสรี หมายความว่ามีหลายเจ้ามาแข่งกัน แต่ถ้าการแข่งขันนั้นมันเหมือนไม่มีทางเลือกเลย ผู้บริโภคถูกบังคับให้เลือก มันก็จะกลายเป็นความกังวลของผู้บริโภว่าจะถูกเอาเปรียบมากเพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นการควบรวมทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเราสนับสนุน แต่ก็ควรจะเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากกว่านี้ไม่ใช่ลิดรอนสิทธิในการเลือกของผู้บริโภค เราไม่มีเหตุขัดแย้งเป็นการส่วนตัวกลับค่ายใด เช่นเราฟ้องเรื่องของการเก็บค่าบริการที่ไม่เป็นจริงเราก็ฟ้องทั้ง 3 ค่าย
ผู้บริโภคไม่ได้เป็นศัตรูกับผู้ให้บริการ แต่เราคิดว่าทางเลือกกับความเป็นธรรมในการให้บริการเป็นหัวใจของผู้บริโภค ดังนั้นทางเลือกผู้บริโภคต้องมี"
ด้านนางสารี อ๋องสมหวัง : เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ทรูเป็นผู้บริการโทรคมนาคมลำดับที่ 2 ของประเทศไทยมีผู้ใช้บริการ 32 ล้านเลขหมาย ขณะที่ ดีแทค มีผู้ใช้งานกว่า 1.3 ล้านเลขหมาย หากสองบริษัทควบรวมกันจะทำให้มีผู้ใช้งานในมือ 51.3 ล้านเลขหมาย ซึ่งจะกินส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าเจ้าใหญ่เดิมคือ AIS ทันที ที่มีผู้ใช้บริการอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย
ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายทางการค้า จะพบว่ากฏหมายระบุชัดเจนว่าห้ามมีอำนาจเหนือตลาดเกิน 50% ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องสอบถามไปถึง กสทช. ซึ่งดูแลโดยตรงในเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องที่ทำได้หรือไม่
“สิ่งที่พวกเราเป็นกังวลนอกเหนือจากการที่ผู้บริโภคจะถูกตัดสิทธิ์ในทางเลือกลดลงไปก็คือ กลัวว่าจะการแบ่งตลาดกันเล่น ซึ่งต้องมาศึกษาต่อว่ากรณีนี้จะส่งผลต่อเรื่องราคาหรือไม่เมื่อไม่มีการแข่งขัน หรือว่าจะส่งผลต่อคุณภาพการบริการหรือไม่ เพราะตอนนี้ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่จะกำกับดูแลเรื่องการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม
สอบ.จึงทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคในบื้องต้น สอบ.จะทำข้อเสนอไปถึงกสทช.ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น และมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองผู้บริโภค ว่าควรสั่งห้ามการควบรวมกิจการที่ทำให้เกิดอำนาจเหนือตลาดในครั้งนี้ เพราะส่งผลทางลบต่อผู้บริโภคและทำให้มีการแข่งขันน้อยลงท้ายที่สุดไม่เกิดแรงจูงใจในการแข่งขัน
ส่วนที่ 2 เป็นการทำข้อเสนอถึงตลาดหลักทรัพย์ เพราะแน่นอนว่าโครงสร้างโทรคมนาคมถือเป็นเป็นเรื่องจำเป็นในการใช้ชีวิตในชีวิตประจำวันไปแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การแข่งขันมีมากขึ้น นอกจากนี้ สอบ. ยังมีแผนเปิดเวทีให้หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมีโอกาสร่วมเวทีเพื่อให้สาธารณะหรือผู้บริโภคมีโอกาสตั้งคำถามว่ากรณีที่เกิดขึ้นนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลต่างๆจะมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป
สำหรับผู้ใช้บริการ DTAC และ TRUE โดยสิทธิของผู้บริโภคมีสิทธิ์ย้ายค่ายส่วน AIS อาจได้รับผลกระทบจากคู่แข่งที่ลดลงแต่ได้คู่แข่งรายใหญ่มาแทนที่”
นอกจากนี้นางพวงทอง ว่องไว อนุกรรมการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันแม้การควบรวมกิจการจะยังอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่านั้นคือเทเลนอร์กับ CP แต่ท้ายที่สุดแล้วน่าจะเห็นการควบรวมของบริษัทลูกแน่นอน ถ้าเกิดการควบรวมจริงจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคชัดเจน อาจทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดน้อยลง ผู้บริโภคเองอาจจะไม่มีทางเลือกในการขอใช้บริการ
มากไปกว่านั้นถ้า 2 บริษัทที่มีอยู่เกิดมีการกำหนดค่าบริการที่สูงขึ้น หรือการบริการที่เอาเปรียบผู้บริโภคซึ่งส่วนนี้ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบแน่นอน สอบ.ในฐานะตัวแทนผู้บริโภคไม่เห็นด้วยกับการควบรวมเพราะผู้บริโภคมีสิทธิ์ในการเลือกใช้สินค้าและบริการ และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการอย่านิ่งนอนใจ
นางชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีค่ายมือถือ 3 ราย ซึ่งจะมีการแข่งขันกันทางด้านพัฒนาการบริการ การขยายพื้นที่การให้บริการ รวมไปถึงการแข่งขันด้านราคา การแข่งขันต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
แต่เมื่อมีการควบรวมกันแม้จะเป็นในระดับผู้ถือหุ้นก็ตาม ก็อาจจะทำให้สัดส่วนของการแข่งขันในตลาดเปลี่ยนไปหรือลดลง อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญและเป็นปัญหาในขณะนี้ก็คือเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสอบ.มองว่าถ้ามีการควบรวมกัน จะมีผลกระทบอย่างมากแน่นอนโดยเฉพาะเรื่องของการการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นจึงไม่ควรให้มีการควบรวมในครั้งนี้
“หากมีการควบรวมเกิดขึ้นจะทำให้ผู้ให้บริการมีส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้นและอาจจะเป็นลักษณะกึ่งผูกขาดหรือการผูกขาดตลาดซึ่งไม่ส่งผลดีกับผู้บริโภค และยังทำให้ให้ผู้บริการรายเล็กไม่เกิดและผู้เล่นรายใหม่ไม่กล้าเข้ามาแข่งขันในตลาดเพราะมองว่าการลงทุนครั้งนี้ไม่คุ้มค่า เราจึงไม่เห็นด้วยที่ควบรวมกิจการจนทำให้ผู้เล่นในตลาดเหลือเพียง 2 รายจนไม่เกิดการแข่งขันและในอนาคตอาจเกิดการฮั้วกันเกิดขึ้นก็ได้”
https://www.thansettakij.com/business/504288