บอร์ด กสทช. จี้ สำนักงานกสทช.ทำรายงานด่วนภายใน 7 วัน แจงประเด็นสภาพัฒน์ฯ ร้องขอให้ทบทวนมาตรการกำกับดูแลโทรคมนาคมหลังควบรวมทรู-ดีแทค เหตุมีการร้องเรียนเรื่องคุณภาพสัญญาณ และราคาเพิ่มขึ้น คาดดัชนีราคาค่าบริการมือถือออกไตรมาส 2 ปีนี้
นางสาวพิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยถึงผลสำรวจของ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กรณีการควบรวมกิจการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่า ที่ประชุมมีการเร่งให้ สำนักงาน กสทช. ทำรายงานความคืบหน้ามาตรการกำกับดูแลกิจการหลังควบรวมทรู-ดีแทค ส่งให้ภายใน 7 วัน เพื่อชี้แจงเรื่องคุณภาพการให้บริการ ราคาและแพ็กเกจที่ละเอียดมากกกว่าการเฉลี่ยราคา ชี้ให้เห็นว่าค่าบริการพื้นฐานในปัจจุบันถูกหรือแพง จากนั้นบอร์ด กสทช. จะพิจารณา และจะรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้แจงแก่สาธารณชนต่อไป
ด้านนายศุภัช ศุภชลาศัย กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ในเรื่องการวัดค่าเรื่องราคาค่าบริการยังมีความซับซ้อนจากบริบทการให้บริการที่หลอมรวมหลายบริการ นอกจากนี้แต่ละหน่วยงานก็มีตัวเลขที่ชี้วัดเฉพาะของตน และข้อร้องเรียนเรื่องราคาจากที่ได้รับร้องเรียนยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชี้วัด ซึ่งขณะนี้การสร้างดัชนีโทรคมนาคม โดยฝ่ายวิชาการ ของ กสทช. ได้ออกแบบระเบียบวิธีเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงการประสานทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒน์ฯ ภาคเอกชน และส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ยอมรับระเบียบวิธีและใช้ตัวเลขเดียวกันชี้วัดราคาโทรคมนาคม เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงจะใส่ตัวเลขลงในเครื่องมือและประเมินภาพของตลาด ตอบคำถามเรื่องราคาได้ทันสิ้นไตรมาสที่ 2 ปีนี้
อย่างไรก็ตาม การแถลงข้อมูลภาวะสังคมไตรมาสที่ 4 ปี 2566 และภาพรวมปี 2566 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สศช.) มีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วนของผลกระทบของผู้บริโภคหลังการควบรวมกิจการโทรคมนาคม จากกรณีการควบรวมธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดโทรคมนาคม ทั้งนี้ จากข้อร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับพบว่าภายหลังการควบรวมกิจการค่าบริการรายเดือนของโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นและบางโปรโมชันยังถูกลดนาทีค่าโทรลง เช่น แพ็กเกจราคา 349 บาท ปรับราคาขึ้นเป็น 399 บาท พร้อมทั้งมีการลดปริมาณและความเร็วอินเทอร์เน็ตลง , แพ็กเกจราคา 499 และ 599 บาท ถูกลดนาทีค่าโทรลงจาก 300 นาที เหลือ 250 นาที
อีกทั้งผู้บริโภคยังเริ่มประสบปัญหาด้านคุณภาพสัญญาณมากขึ้น จากผลสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายมือถือทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค' ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง81% พบปัญหาการใช้งานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยเครือข่ายของบริษัทที่มีการควบรวมพบมากที่สุด คือ ปัญหา สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า รองลงมาเป็นปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตหลุดบ่อย เป็นต้น
โดย 91% ของผู้ได้รับผลกระทบเคยร้องเรียนไปยังคอลเซ็นเตอร์ของเครือข่ายที่ใช้บริการแล้วแต่ยังพบปัญหาอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม แม้สำนักงาน กสทช.จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการควบรวม เช่น การลดอัตราค่าบริการเฉลี่ยลง 12% เพื่อควบคุมราคาค่าบริการแต่จากสถานการณ์ข้างต้น
ทั้งนี้เห็นว่า มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้เท่าที่ควร ขณะที่ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรีย ได้กำหนดเงื่อนไขการควบรวมธุรกิจ T-Mobile และ tele.ring ในปี 2006ให้ผู้ควบรวมต้องขายคลื่นความถี่และเสาสัญญาณบางส่วนให้กับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กมีโครงข่ายที่แข็งแกร่งสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าบริการไม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้นและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
ดังนั้น สำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม จึงควรมีการทบทวน/เพิ่มเติมแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจนและเข้มข้นมากขึ้น อาทิ การกำหนดเพดาน/ควบคุมราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ยให้เหมาะสม ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่อย่างจริงจัง
ขอบคุณ Post Today
หลังควบรวมทรู-ดีแทค คุณภาพสัญญาณแย่ลง และราคาเพิ่มขึ้น จริงไหม?
นางสาวพิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยถึงผลสำรวจของ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กรณีการควบรวมกิจการบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ว่า ที่ประชุมมีการเร่งให้ สำนักงาน กสทช. ทำรายงานความคืบหน้ามาตรการกำกับดูแลกิจการหลังควบรวมทรู-ดีแทค ส่งให้ภายใน 7 วัน เพื่อชี้แจงเรื่องคุณภาพการให้บริการ ราคาและแพ็กเกจที่ละเอียดมากกกว่าการเฉลี่ยราคา ชี้ให้เห็นว่าค่าบริการพื้นฐานในปัจจุบันถูกหรือแพง จากนั้นบอร์ด กสทช. จะพิจารณา และจะรวบรวมข้อมูลเพื่อชี้แจงแก่สาธารณชนต่อไป
ด้านนายศุภัช ศุภชลาศัย กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ในเรื่องการวัดค่าเรื่องราคาค่าบริการยังมีความซับซ้อนจากบริบทการให้บริการที่หลอมรวมหลายบริการ นอกจากนี้แต่ละหน่วยงานก็มีตัวเลขที่ชี้วัดเฉพาะของตน และข้อร้องเรียนเรื่องราคาจากที่ได้รับร้องเรียนยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชี้วัด ซึ่งขณะนี้การสร้างดัชนีโทรคมนาคม โดยฝ่ายวิชาการ ของ กสทช. ได้ออกแบบระเบียบวิธีเสร็จสิ้นแล้ว เหลือแต่เพียงการประสานทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒน์ฯ ภาคเอกชน และส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ยอมรับระเบียบวิธีและใช้ตัวเลขเดียวกันชี้วัดราคาโทรคมนาคม เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงจะใส่ตัวเลขลงในเครื่องมือและประเมินภาพของตลาด ตอบคำถามเรื่องราคาได้ทันสิ้นไตรมาสที่ 2 ปีนี้
อย่างไรก็ตาม การแถลงข้อมูลภาวะสังคมไตรมาสที่ 4 ปี 2566 และภาพรวมปี 2566 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สศช.) มีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ในส่วนของผลกระทบของผู้บริโภคหลังการควบรวมกิจการโทรคมนาคม จากกรณีการควบรวมธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดโทรคมนาคม ทั้งนี้ จากข้อร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับพบว่าภายหลังการควบรวมกิจการค่าบริการรายเดือนของโทรศัพท์มือถือปรับตัวเพิ่มขึ้นและบางโปรโมชันยังถูกลดนาทีค่าโทรลง เช่น แพ็กเกจราคา 349 บาท ปรับราคาขึ้นเป็น 399 บาท พร้อมทั้งมีการลดปริมาณและความเร็วอินเทอร์เน็ตลง , แพ็กเกจราคา 499 และ 599 บาท ถูกลดนาทีค่าโทรลงจาก 300 นาที เหลือ 250 นาที
อีกทั้งผู้บริโภคยังเริ่มประสบปัญหาด้านคุณภาพสัญญาณมากขึ้น จากผลสำรวจความคิดเห็นผู้ใช้บริการทุกเครือข่ายมือถือทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค' ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง81% พบปัญหาการใช้งานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยเครือข่ายของบริษัทที่มีการควบรวมพบมากที่สุด คือ ปัญหา สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า รองลงมาเป็นปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตหลุดบ่อย เป็นต้น
โดย 91% ของผู้ได้รับผลกระทบเคยร้องเรียนไปยังคอลเซ็นเตอร์ของเครือข่ายที่ใช้บริการแล้วแต่ยังพบปัญหาอยู่เช่นเดิม อย่างไรก็ตาม แม้สำนักงาน กสทช.จะมีการกำหนดเงื่อนไขในการควบรวม เช่น การลดอัตราค่าบริการเฉลี่ยลง 12% เพื่อควบคุมราคาค่าบริการแต่จากสถานการณ์ข้างต้น
ทั้งนี้เห็นว่า มาตรการดังกล่าวยังไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้เท่าที่ควร ขณะที่ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรีย ได้กำหนดเงื่อนไขการควบรวมธุรกิจ T-Mobile และ tele.ring ในปี 2006ให้ผู้ควบรวมต้องขายคลื่นความถี่และเสาสัญญาณบางส่วนให้กับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กมีโครงข่ายที่แข็งแกร่งสามารถแข่งขันได้มากขึ้น ส่งผลให้อัตราค่าบริการไม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้คุณภาพสัญญาณดีขึ้นและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
ดังนั้น สำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการด้านโทรคมนาคม จึงควรมีการทบทวน/เพิ่มเติมแนวทางการกำกับดูแลที่ชัดเจนและเข้มข้นมากขึ้น อาทิ การกำหนดเพดาน/ควบคุมราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ยให้เหมาะสม ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่อย่างจริงจัง
ขอบคุณ Post Today