Taylor Swift - “Red (Taylor’s Version) (2021)”
การเดินทางในเส้นทางดนตรีอาชีพที่แสนท้าทาย กลับมาบรรจบอีกครั้งเมื่อ 9 ปีผ่าน จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ‘RED’ สู่การเกิดใหม่อีกครั้งของงาน re-record ลำดับที่สองของศิลปินหญิงคันทรี่/ป๊อปสตาร์สาวสามทศวรรษ ‘Taylor Swift’ ภายใต้ไตเติ้ลเรียบง่ายแต่ยังแฝงนัยควาเก๋ ‘Red (Taylor’s Version)’ ที่ยกเครื่องอัดใหม่ร่วมรวมเพลงเก่าและเพลงใหม่ซึ่งก็คือเพลงเก่าที่หยิบมาจากคลังเพลงของเธอที่รังสรรค์ไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วยกันอย่างจุใจถึง 30 แทร็ค บรรจุในอัลบั้มที่กลับมาเปิดตัวอีกครั้งในปลายปี 2021 นี้อย่างร้อนแรง โดยเปิดตัวด้วยยอดผู้ฟังในช่องทางonline straming
ที่สูงติดอันดับต้นๆ และทุบสถิติผู้ฟังรายวัน (90.8 ล้านครั้งการฟังต่อวันบน spotify เทียบกับสถิติ 80.6 ล้านครั้งจากอัลบั้ม folklore ที่เธอครองสถิติเดิมไว้) ชนิดที่ว่าไม่เคยมีศิลปินหญิงท่านใดมาถึงจุดนี้ได้มาก่อน
จากเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์ในงานสตูดิโอ 6 อัลบั้มแรกนั้นทำให้เธอตัดสินใจลุกขึ้นสู้ด้วยการหวนกลับมาจับไมค์สร้างเวอร์ชั่นใหม่มาสู้กับของเดิม โดยที่เธอจะกลายมาเป็นเจ้าของเพลงที่เธอแต่งเองหรือมีส่วนร่วมแต่งได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยเหนือไปกว่าเรื่องของเม็ดเงิน นี่คือการทวงคืนถึงสิทธิ์ของความเป็นผู้ประพันธ์ โดยงาน re-record ชิ้นนี้อิงจากงานต้นฉบับอย่างอัลบั้ม RED (2012) ที่มีการเลือกโปรโมทซิงเกิ้ลจากอัลบั้มในจำนวนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งนับใน Standard Edition ไล่มาตั้งแต่ We Are Never Ever Getting Back Together, Begin Again, I Knew You Were Trouble, 22, Everything Has Changed ft.Ed Sheeran, Red และ The Last Time ft.Gary Lightbody บ่งชี้ถึงความเป็นที่นิยมของงานชุดนี้ได้เป็นอย่างดี ยังไม่รวมถึง Promotional Single อย่าง State Of Grace ที่ถูกปล่อยมาในช่วงพรีวิวอัลบั้มซึ่งก็มีความยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ส่งผลให้ยอดขายอัลบั้ม Red ในส่วนของต้นฉบับนั้นพุ่งทะยานไปถึงกว่า 4.49 ล้านชุด (ข้อมูลจากสิ้นปี 2020)
อัลบั้ม Red นั้น เดิมทีจัดเป็นอัลบั้มในหมวดแนวเพลง Pop, Country Pop และ Pop Rock ผสมผสานกัน แต่ในงานที่ re-released นั้น จัดไปในทาง Pop โดดเด่นที่สุดโดยมีกลิ่นของดนตรีคันทรี่แทกเสริมเข้ามาในบางช่วงบางแทร็คเฉกเช่นเดียวกับพาร์ทของ Rock และ Alternative ที่เธอเริ่มชิมลางและสนุกกับแนวทดลองของเธอ รวมถึงเพลงที่รื้อทำใหม่อย่าง Girl At Home เพลงพิเศษใน Deluxe edition ของงานเดิม ที่มาในแนว electropop จึงจัดว่าเป็นอัลบั้มที่ผสมผสานไปด้วยภาคดนตรีที่หลากหลายแนว สิ่งที่ชัดที่สุดจากการ re-record งานชุดนี้ คือเนื้อเสียงของเธอที่เปลี่ยนไปอย่างสังเกตได้ชัด โดยมีความทุ้มและมีความเป็นผู้ใหญ่สูงขึ้น รวมไปถึงอารมณ์เพลงที่ผ่านการถ่ายทอดจากผู้หญิงวัย 31 ปี เทียบกับช่วงวัย 22 ปีในต้นฉบับซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของตัวบุคคลที่หนึ่งอย่างเธอในการเล่าเรื่องชีวิตของเธอผ่านเพลงในมุมมองที่ต่างออกไปแม้จะคงไว้ซึ่งเนื้อร้องแบบเดิม รวมถึงเพลงที่ไม่เคยถูกบรรจุลงในอัลบั้มจำนวน 11 แทร็ค ซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน บางแทร็คเคยถูกปล่อยออกมาแล้วแบบ non-album เช่น Ronan บางเพลงเคยถูกหยิบไปตัดเป็นซิงเกิ้ลของศิลปินท่านอื่น เช่น Better Man (Little Big Town), Babe (Sugarland) ซึ่งประสบความสำเร็จในคลื่นวิทยุคันทรี่ทั้งสองเพลง รวมถึงแทร็คพิเศษที่ขยายมาจากเพลงหลัก ได้แก่ State Of Grace (Acoustic Ver.) และแทร็คที่ทุกคนรอคอยอย่าง All Too Well (10 Minutes) ก็จะคงเหลือเพลงใหม่เอี่ยมสิริรวม 6 เพลง นี่คือ 30 แทร็คที่เธอบรรจงคัดมาบรรจุไว้ในงานชุดนี้รอให้ท่านเข้ามาพบกับความบันเทิงอย่างจุใจ
State of Grace (4.5/5)
Track01ที่เหมาะเจาะกับการเปิดอัลบั้มที่สุดตลอดกาลของเธอ กับครั้งนี้ที่มากับความ Fresh ยิ่งขึ้น ดนตรีที่โปร่งขึ้นเสมือนเล่นอยู่ในสเตเดียมขับให้มีความรู้สึกที่ใหญ่ของสถานที่มากขึ้น โหมโรงให้ทุกคนวอร์มอัพพร้อมที่เข้าสู่โหมดเกมรักเกมร้อนใน state of RED ที่ต้องมาลุ้นกันอีกทีว่า คุณยังเลือกที่จะทำตามกฏกติการักษาน้ำใจหรือจะระเริงไปอย่างไรกฏเกณฑ์ จัดเป็นหนึ่งเพลงคูล ๆ ของเธอในไม่กี่ขวบปีแรกบนเส้นทางบันเทิง
Red (4.5/5)
เพลงที่ทำใหม่แล้วออกมาดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ทั้งดนตรีที่หนักแน่นขึ้น และเสียงร้องที่ mature ขึ้น ร่วมถึงเนื้อหาของเพลงซึ่งมีความอุปมาอยู่เดิมนั้นเสริมให้ผลลัพธ์ของเพลงผลิผลออกมาได้อย่างพอเหมาะพอเจาะพอดีคำ มีการไล่กราฟอารมณ์เรียงจากท่อนสะสมพลังงานและท่อนปล่อยของที่ชัดเจน ทำให้ถึงอารมณ์คลั่งรักร้อนแรงมากขึ้นในฉากเข้มข้น
Treacherous (4.5/5)
หนึ่งในเพลงที่อ่อนไหวที่สุด ออกตัวก่อนว่าเป็นเอฟซีเพลงนี้ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก เพราะรู้สึกว่าเทย์แต่งไว้ดีมากด้วย lyrics ที่กระชับลงสัมผัส Sync. กับดนตรีแบบฉับๆ เปรียบเหมือนคำกลอนร้อยเรียงไปพร้อมกับการไล่อารมณ์เพลงพร้อมบรรยายภาพการดำเนินเรื่องควบรวมการตัดสินใจกระทำการใด ๆข องตัวเธอออกมาเป็นฉาก ๆ เรียงไปจนถึงจุดไคลแมกซ์ ทำให้เราเชื่อว่าความรู้สึกนี้มันมีอยู่จริง นั่นคือความยอดเยี่ยมของเพลงนี้ ในส่วนของการทำใหม่นั้น passion ของเพลงอ่อนลงส่วนหนึ่ง มองว่าจากมุมมองของวัยที่มากขึ้นนั้นเห็นจะไม่เร่าร้อนหรือมุทะลุเท่าเทียบกับยุคสาวน้อยที่กล้าได้กล้าเสียกว่า ในวัยที่ยังพร้อมเสี่ยงทุ่มเทเพื่อความรักนำหน้าตรรกะเหตุผลอื่นใด
I Knew You Were Trouble (5/5)
บอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่าชอบเวอร์ชั่นใหม่มาก เพราะเนื้อเสียงเทย์แน่นขึ้นมาก ๆ เสริมกับเนื้อหาที่เข้มข้นอยู่แล้วผนวกกับจังหวะเร้าอารมณ์ที่ส่งให้ไฟของนางแค้นที่อยากจะออกไปตะโกนใส่หน้าคนเฮงซวยที่เข้ามาในชีวิตนั้น ถูกพ่นออกไปได้อย่างมิหวั่นเกรง ต้นฉบับเสียงหวานของความแซ่บกว่าพริก 20 เม็ด และเป็นหนึ่งในเพลงฮิตตลอดกาลและประหนึ่งใบเบิกทางเข้าสู่วงการป๊อปของเธออย่างเป็นทางการ ในช่วงที่เพลงถูกปล่อยออกมาเป็นซิงเกิ้ลในปลายปี 2012 นั้นได้รับความนิยมสูงที่สุดของเธอนับตั้งแต่ยุค You Belong With Me เลยทีเดียว
All Too Well (4.5/5)
เพลงนี้เปรียบเสมือนคนเคยรักที่ยังผูกพันของเรายืนหนึ่งในคลังมาสเตอร์พีซของเธอ โดยที่การกลับมาทวงผ้าพันคอผืนน้อยของเธอในครั้งนี้นั้นดำเนินไปอย่างสุขุมขึ้น ด้วยเนื้อเพลงและดนตรีที่บรรยายถึงเหตุการณ์ระหว่างที่เริ่มสานสัมพันธ์รักจนถึงบทแตกหักอันเป็นตำนานที่ล้วนส่งอารมณ์เพลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามเรากลับรู้สึกว่าเนื้อเสียง ดีไซน์การร้องและอารมณ์เพลงในครั้งนี้ยังทำได้ไม่ถึง ด้วยอินเนอร์ที่พร่องไปทำให้เธอไม่อาจสามารถนำพาผู้ฟังไปได้สุดถึงที่หมาย จนสุดท้ายเราต้องมานั่งตั้งคำถามว่าเธอ Remember it All Too Well สาสมใจแน่แท้แล้วจริงหรือ?
22 (4/5)
ถ้าถามว่าวัย 22 มันสนุกแค่ไหน มันจักจี้ที่จะตอบว่า อุ้ย ใช่ สนุกแน่นอน แซ่บปังเลยละ แต่เพลงจังหวะอัพบีทที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่นนี้กลับเนือยและหน่วงลงในงานชุดปัจจุบัน ลด energy ลงกลายเป็นฟีลงานคืนสู่เหย้า รำลึกความหลังครั้งอดีตของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมากกว่าที่จะลงไปแดนซ์ดีดดิ้นเหมือนอย่างเคย ๆ
I Almost Do (5/5)
ถึงกับต้องเอาศอกไปกระทุ้งคนข้าง ๆ ด้วยเสียงอันตื่นเต้นสั่นระริกว่า เฮ้ย นี่เพลงอะไรอ้ะ สวยมากๆๆๆ ดูดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาแบบหงายไปเลย ความที่เสียงของเธอผู้ใหญ่สุขุมขึ้นทำให้เพลงนี้นำพาเราไปสุดถึงจุดที่เปราะบางที่สุดในความเด็ดเดี่ยวของการ move on จากความสัมพันธ์ครั้งนี้ได้อย่างเด็ดขาด เพลงนี้อธิบายความอัดอั้นและเบื้องหลังของการเก็บงำความรู้สึกที่ระคนกันระหว่างสิ่งที่คิดอยู่ในหัวหลังม่านและสิ่งที่ต้องทำต้องแสดงออกมาหน้าม่านได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน คำถามที่ค้างไว้คือ เธอสามารถอัดเพลงนี้อย่างไรให้จบได้โดยที่ไม่เผลอกรี๊ดออกมากลางคัน โอ๊ย อินมาก
We Are Never Ever Getting Back Together (4/5)
ลีดซิงเกิ้ลจากงานต้นฉบับ แบบจิก ๆ แย๊บ ๆ แสบ ๆ คัน ๆ กับอดีตคนรักที่มาตามง้อ แต่เธอยืนกรานเซย์ โน กับจังหวะสนุกๆโยกได้ ในเรื่องของความติดหูนั้นเพลงนี้ทำได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ความพร่องในส่วนของอินเนอร์ของความสวยเริ่ดเชิ่ดผู้ชายต้องมาง้อที่สัมผัสกลิ่นได้แรงมากในงานเดิมที่ถูกลดทอนไปในเวอร์ชั่นนี้จนดูเสียทิศทางที่มั่นคงทำให้เสน่ห์ของเพลงนั้นดร็อปลงไปอย่างน่าเสียดาย
Stay Stay Stay (3/5)
นอกจากจังหวะที่น่ารักแก่นแก้วสนุกสนานและเนื้อเรื่องบรรยายการจับเข่าคุยของคู่รักถึงช่วงชีวิตขม ๆ กลายเป็นหวานกุ๊กกิ๊กอวยกันเองแล้ว เราไม่ได้จดจำแทร็คนี้มากไปกว่าการฟังผ่านไป ฟิ้วว
The Last Time ft.Gary Lightbody (5/5)
น่าจะเป็นเพลงจาก 16 แทร็คหลักที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดแล้ว เหมือนได้ฟังเพลงใหม่เลย พาร์ทของพี่แกรี่ที่อัดใหม่มีความนุ่มนวลขึ้น ส่งให้ท่อนร้องและอารมณ์ทั้งสองสอดประสานกันมากขึ้น ทำให้ความรู้สึกที่ได้นั้นเหมือนย้ายพวกเรามาชมละครทีวีแทนที่ละครเวทีในแบบต้นฉบับ ความเล่นใหญ่ที่ลดลงทำให้ภาพรวมนั้นกลมกล่อมขึ้นแม้จะไม่ได้สั้นกระชับตัดฉับหมือนหนังจอเงินก็ตาม แต่ก็เป็นหนังจอแก้วที่ไม่ต้องไปตัดต่อเสริมตอนออนแอร์เพิ่มให้ยืดยาวในภาคนี้ แต่อาจต้องติดตามภาคต่อหรือไม่ หรือความสัมพันธ์จะมีอีกหลายภาคแค่ไหน ใครจะทราบ
Holy Ground (4/5)
การได้นั่งทอดถอนอารมณ์ถึงห้วงความทรงจำในอดีตกับเพลงที่เร่งจังหวะกลองชวนให้ออกมาเต้นโลกลืม คิดถึงวันเก่าๆที่ได้รู้จัก อินกับห้วงอารมณ์คลั่งรัก ออกไปทำอะไรบ้าๆกับเธอ แม้วันนี้มันจะกลายเป็นแค่อดีต หงอย ๆ หน่อย แต่ความทรงจำเหล่านั้นมันมีคุณค่ามากๆ เพ้อมากไปจนลืมรีวิว อ่อ แทร็คนี้เข้ากับเสียงและอารมณ์จากมุมมองจากยุค Taylor’s version อันใหม่นี้มากๆ เสียงร้องที่แข็งแรงขึ้นสู้กับดนตรีได้สนุกขึ้น สบายๆ
Sad Beautiful Tragic (2.5/5)
ถ้าถามว่าโหมดเพลงเศร้าจะคาดหวังให้มันเศร้าให้มันซึมแค่ไหน ตัวผู้ถามเองคงจะคาดหวังคำตอบจากปากผู้ตอบแบบหลากหลายหรือลึกซึ่ง แต่กับเธอคนนี้ในเพลงนี้ คงตอบออกมาอย่างแผ่วๆว่า “อืม เ ศ ร้า” เรียบ ๆ ตอบเสร็จก็หลับไปเลย
The Lucky One (4/5)
ใครๆก็อยากจะเป็นดาว พลิกดินสู่ดาว แล้วหัวใจคนเป็นดาวล่ะ มีใครไหนบ้างมาเข้าใจไหม หรือว่าคุณหลอกดาว แต่ในเมื่อเพลงนี้ถูกรีเรคในช่วงล็อคดาวน์ เธอคงได้คำตอบแล้วนะน้องดาว ว่าหากเทียบชื่อเสียงและคำวิจารณ์กับช่วงทศวรรษที่ผ่าน การเดินทางสู่เส้นทางดาวของดาวนั้นไม่เหนื่อยป่าว อาจมีบางช่วงมาแนวรำวงด๊าวด่าว ประเดี๋ยวประด๋าว มีข่าวคาว แต่นั่นไม่ได้ลดคุณค่าของดาวลงไปเลย ถ่ายทอดอารมณ์ตัวเองได้ดีขนาดนี้ แม้จะร้องซ้ำๆจนเทปยาน แต่เบนซ์ให้สามผ่านค่ะ
Everything Has Changed ft.Ed Sheeran (4.5/5)
อีกหนึ่งเพลงโปรดขึ้นหิ้ง เดิมเป็นงานคอลแลบของสองศิลปินที่เราชอบมากอยู่แล้ว ยิ่งทำให้คลั่งไคล้มากขึ้นไปอีก ฟังจนเทปยานยืดยังไม่เบื่อทั้ง album version และ remix (Pop Radio edit) เนื่องจากดนตรีที่กล่อมอารมณ์ให้รู้สึกอบอุ่น ในเนื้อความถึงความรู้สึกกำลังตกหลุมรักคนใหม่ที่เพิ่งได้พบเจอ ตามมาด้วยความตลบอบอวลด้วยเมฆหมอกความฉงนสงสัยในตัวเธอลอยฟุ้งเหมือนวิ่งอยู่ในฝันในวิมาน อยากจะรู้จักเธอคนนี้ให้มากและมากยิ่งไปกว่านี้ แต่เวอร์ชั่นอัดใหม่นี้เสมือนถูกปู้ยี่ปู้ยำด้วยเสียงคลอของพี่เอ็ดที่ดังโดดขโมยซีนมากๆและไม่ได้มีความเข้ากันกับเพลงเลย พลอยทำให้ผีเสื้อที่บินอยู่เต็มท้องเราในการตกหลุมรักครั้งนี้ที่กล่าวไว้ในตอนแรกนั้นพร้อมใจกันบินหนีแตกรังกระเจิงออกนอกพุงกันไปแบบวุ่นวายเลยทีเดียว ใครแกงใครนี่ให้โอกาสสารภาพออกมา!
Starlight (3.5/5)
เพลงที่อบอุ่น ให้vibesที่แสดงความรู้สึกเชิงบวกที่สุดในอัลบั้ม ทั้งแสงดาว แสงเหนือ ดาวเหนือ ดาวตก ผีพุ่งใต้ใด ๆ ดนตรีเจ๋ง ๆ(ดนตรีในเส้นเรื่อง) ช่วยขับกล่อมบรรยากาศให้สิ่งมหัศจรรย์ในบทกวีนี้เป็นจริง ได้แก่อะ
[CR] รีวิวอัลบั้ม Taylor Swift - 'Red (Taylor's Version) (2021)'
การเดินทางในเส้นทางดนตรีอาชีพที่แสนท้าทาย กลับมาบรรจบอีกครั้งเมื่อ 9 ปีผ่าน จากสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ‘RED’ สู่การเกิดใหม่อีกครั้งของงาน re-record ลำดับที่สองของศิลปินหญิงคันทรี่/ป๊อปสตาร์สาวสามทศวรรษ ‘Taylor Swift’ ภายใต้ไตเติ้ลเรียบง่ายแต่ยังแฝงนัยควาเก๋ ‘Red (Taylor’s Version)’ ที่ยกเครื่องอัดใหม่ร่วมรวมเพลงเก่าและเพลงใหม่ซึ่งก็คือเพลงเก่าที่หยิบมาจากคลังเพลงของเธอที่รังสรรค์ไว้ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วยกันอย่างจุใจถึง 30 แทร็ค บรรจุในอัลบั้มที่กลับมาเปิดตัวอีกครั้งในปลายปี 2021 นี้อย่างร้อนแรง โดยเปิดตัวด้วยยอดผู้ฟังในช่องทางonline straming
ที่สูงติดอันดับต้นๆ และทุบสถิติผู้ฟังรายวัน (90.8 ล้านครั้งการฟังต่อวันบน spotify เทียบกับสถิติ 80.6 ล้านครั้งจากอัลบั้ม folklore ที่เธอครองสถิติเดิมไว้) ชนิดที่ว่าไม่เคยมีศิลปินหญิงท่านใดมาถึงจุดนี้ได้มาก่อน
จากเหตุผลเรื่องลิขสิทธิ์ในงานสตูดิโอ 6 อัลบั้มแรกนั้นทำให้เธอตัดสินใจลุกขึ้นสู้ด้วยการหวนกลับมาจับไมค์สร้างเวอร์ชั่นใหม่มาสู้กับของเดิม โดยที่เธอจะกลายมาเป็นเจ้าของเพลงที่เธอแต่งเองหรือมีส่วนร่วมแต่งได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยโดยเหนือไปกว่าเรื่องของเม็ดเงิน นี่คือการทวงคืนถึงสิทธิ์ของความเป็นผู้ประพันธ์ โดยงาน re-record ชิ้นนี้อิงจากงานต้นฉบับอย่างอัลบั้ม RED (2012) ที่มีการเลือกโปรโมทซิงเกิ้ลจากอัลบั้มในจำนวนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งนับใน Standard Edition ไล่มาตั้งแต่ We Are Never Ever Getting Back Together, Begin Again, I Knew You Were Trouble, 22, Everything Has Changed ft.Ed Sheeran, Red และ The Last Time ft.Gary Lightbody บ่งชี้ถึงความเป็นที่นิยมของงานชุดนี้ได้เป็นอย่างดี ยังไม่รวมถึง Promotional Single อย่าง State Of Grace ที่ถูกปล่อยมาในช่วงพรีวิวอัลบั้มซึ่งก็มีความยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน ส่งผลให้ยอดขายอัลบั้ม Red ในส่วนของต้นฉบับนั้นพุ่งทะยานไปถึงกว่า 4.49 ล้านชุด (ข้อมูลจากสิ้นปี 2020)
อัลบั้ม Red นั้น เดิมทีจัดเป็นอัลบั้มในหมวดแนวเพลง Pop, Country Pop และ Pop Rock ผสมผสานกัน แต่ในงานที่ re-released นั้น จัดไปในทาง Pop โดดเด่นที่สุดโดยมีกลิ่นของดนตรีคันทรี่แทกเสริมเข้ามาในบางช่วงบางแทร็คเฉกเช่นเดียวกับพาร์ทของ Rock และ Alternative ที่เธอเริ่มชิมลางและสนุกกับแนวทดลองของเธอ รวมถึงเพลงที่รื้อทำใหม่อย่าง Girl At Home เพลงพิเศษใน Deluxe edition ของงานเดิม ที่มาในแนว electropop จึงจัดว่าเป็นอัลบั้มที่ผสมผสานไปด้วยภาคดนตรีที่หลากหลายแนว สิ่งที่ชัดที่สุดจากการ re-record งานชุดนี้ คือเนื้อเสียงของเธอที่เปลี่ยนไปอย่างสังเกตได้ชัด โดยมีความทุ้มและมีความเป็นผู้ใหญ่สูงขึ้น รวมไปถึงอารมณ์เพลงที่ผ่านการถ่ายทอดจากผู้หญิงวัย 31 ปี เทียบกับช่วงวัย 22 ปีในต้นฉบับซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของตัวบุคคลที่หนึ่งอย่างเธอในการเล่าเรื่องชีวิตของเธอผ่านเพลงในมุมมองที่ต่างออกไปแม้จะคงไว้ซึ่งเนื้อร้องแบบเดิม รวมถึงเพลงที่ไม่เคยถูกบรรจุลงในอัลบั้มจำนวน 11 แทร็ค ซึ่งมีที่มาแตกต่างกัน บางแทร็คเคยถูกปล่อยออกมาแล้วแบบ non-album เช่น Ronan บางเพลงเคยถูกหยิบไปตัดเป็นซิงเกิ้ลของศิลปินท่านอื่น เช่น Better Man (Little Big Town), Babe (Sugarland) ซึ่งประสบความสำเร็จในคลื่นวิทยุคันทรี่ทั้งสองเพลง รวมถึงแทร็คพิเศษที่ขยายมาจากเพลงหลัก ได้แก่ State Of Grace (Acoustic Ver.) และแทร็คที่ทุกคนรอคอยอย่าง All Too Well (10 Minutes) ก็จะคงเหลือเพลงใหม่เอี่ยมสิริรวม 6 เพลง นี่คือ 30 แทร็คที่เธอบรรจงคัดมาบรรจุไว้ในงานชุดนี้รอให้ท่านเข้ามาพบกับความบันเทิงอย่างจุใจ
State of Grace (4.5/5)
Track01ที่เหมาะเจาะกับการเปิดอัลบั้มที่สุดตลอดกาลของเธอ กับครั้งนี้ที่มากับความ Fresh ยิ่งขึ้น ดนตรีที่โปร่งขึ้นเสมือนเล่นอยู่ในสเตเดียมขับให้มีความรู้สึกที่ใหญ่ของสถานที่มากขึ้น โหมโรงให้ทุกคนวอร์มอัพพร้อมที่เข้าสู่โหมดเกมรักเกมร้อนใน state of RED ที่ต้องมาลุ้นกันอีกทีว่า คุณยังเลือกที่จะทำตามกฏกติการักษาน้ำใจหรือจะระเริงไปอย่างไรกฏเกณฑ์ จัดเป็นหนึ่งเพลงคูล ๆ ของเธอในไม่กี่ขวบปีแรกบนเส้นทางบันเทิง
Red (4.5/5)
เพลงที่ทำใหม่แล้วออกมาดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ทั้งดนตรีที่หนักแน่นขึ้น และเสียงร้องที่ mature ขึ้น ร่วมถึงเนื้อหาของเพลงซึ่งมีความอุปมาอยู่เดิมนั้นเสริมให้ผลลัพธ์ของเพลงผลิผลออกมาได้อย่างพอเหมาะพอเจาะพอดีคำ มีการไล่กราฟอารมณ์เรียงจากท่อนสะสมพลังงานและท่อนปล่อยของที่ชัดเจน ทำให้ถึงอารมณ์คลั่งรักร้อนแรงมากขึ้นในฉากเข้มข้น
Treacherous (4.5/5)
หนึ่งในเพลงที่อ่อนไหวที่สุด ออกตัวก่อนว่าเป็นเอฟซีเพลงนี้ตั้งแต่เวอร์ชั่นแรก เพราะรู้สึกว่าเทย์แต่งไว้ดีมากด้วย lyrics ที่กระชับลงสัมผัส Sync. กับดนตรีแบบฉับๆ เปรียบเหมือนคำกลอนร้อยเรียงไปพร้อมกับการไล่อารมณ์เพลงพร้อมบรรยายภาพการดำเนินเรื่องควบรวมการตัดสินใจกระทำการใด ๆข องตัวเธอออกมาเป็นฉาก ๆ เรียงไปจนถึงจุดไคลแมกซ์ ทำให้เราเชื่อว่าความรู้สึกนี้มันมีอยู่จริง นั่นคือความยอดเยี่ยมของเพลงนี้ ในส่วนของการทำใหม่นั้น passion ของเพลงอ่อนลงส่วนหนึ่ง มองว่าจากมุมมองของวัยที่มากขึ้นนั้นเห็นจะไม่เร่าร้อนหรือมุทะลุเท่าเทียบกับยุคสาวน้อยที่กล้าได้กล้าเสียกว่า ในวัยที่ยังพร้อมเสี่ยงทุ่มเทเพื่อความรักนำหน้าตรรกะเหตุผลอื่นใด
I Knew You Were Trouble (5/5)
บอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่าชอบเวอร์ชั่นใหม่มาก เพราะเนื้อเสียงเทย์แน่นขึ้นมาก ๆ เสริมกับเนื้อหาที่เข้มข้นอยู่แล้วผนวกกับจังหวะเร้าอารมณ์ที่ส่งให้ไฟของนางแค้นที่อยากจะออกไปตะโกนใส่หน้าคนเฮงซวยที่เข้ามาในชีวิตนั้น ถูกพ่นออกไปได้อย่างมิหวั่นเกรง ต้นฉบับเสียงหวานของความแซ่บกว่าพริก 20 เม็ด และเป็นหนึ่งในเพลงฮิตตลอดกาลและประหนึ่งใบเบิกทางเข้าสู่วงการป๊อปของเธออย่างเป็นทางการ ในช่วงที่เพลงถูกปล่อยออกมาเป็นซิงเกิ้ลในปลายปี 2012 นั้นได้รับความนิยมสูงที่สุดของเธอนับตั้งแต่ยุค You Belong With Me เลยทีเดียว
All Too Well (4.5/5)
เพลงนี้เปรียบเสมือนคนเคยรักที่ยังผูกพันของเรายืนหนึ่งในคลังมาสเตอร์พีซของเธอ โดยที่การกลับมาทวงผ้าพันคอผืนน้อยของเธอในครั้งนี้นั้นดำเนินไปอย่างสุขุมขึ้น ด้วยเนื้อเพลงและดนตรีที่บรรยายถึงเหตุการณ์ระหว่างที่เริ่มสานสัมพันธ์รักจนถึงบทแตกหักอันเป็นตำนานที่ล้วนส่งอารมณ์เพลงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามเรากลับรู้สึกว่าเนื้อเสียง ดีไซน์การร้องและอารมณ์เพลงในครั้งนี้ยังทำได้ไม่ถึง ด้วยอินเนอร์ที่พร่องไปทำให้เธอไม่อาจสามารถนำพาผู้ฟังไปได้สุดถึงที่หมาย จนสุดท้ายเราต้องมานั่งตั้งคำถามว่าเธอ Remember it All Too Well สาสมใจแน่แท้แล้วจริงหรือ?
22 (4/5)
ถ้าถามว่าวัย 22 มันสนุกแค่ไหน มันจักจี้ที่จะตอบว่า อุ้ย ใช่ สนุกแน่นอน แซ่บปังเลยละ แต่เพลงจังหวะอัพบีทที่ต้องใช้พลังงานสูงเช่นนี้กลับเนือยและหน่วงลงในงานชุดปัจจุบัน ลด energy ลงกลายเป็นฟีลงานคืนสู่เหย้า รำลึกความหลังครั้งอดีตของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นมากกว่าที่จะลงไปแดนซ์ดีดดิ้นเหมือนอย่างเคย ๆ
I Almost Do (5/5)
ถึงกับต้องเอาศอกไปกระทุ้งคนข้าง ๆ ด้วยเสียงอันตื่นเต้นสั่นระริกว่า เฮ้ย นี่เพลงอะไรอ้ะ สวยมากๆๆๆ ดูดีขึ้นแบบผิดหูผิดตาแบบหงายไปเลย ความที่เสียงของเธอผู้ใหญ่สุขุมขึ้นทำให้เพลงนี้นำพาเราไปสุดถึงจุดที่เปราะบางที่สุดในความเด็ดเดี่ยวของการ move on จากความสัมพันธ์ครั้งนี้ได้อย่างเด็ดขาด เพลงนี้อธิบายความอัดอั้นและเบื้องหลังของการเก็บงำความรู้สึกที่ระคนกันระหว่างสิ่งที่คิดอยู่ในหัวหลังม่านและสิ่งที่ต้องทำต้องแสดงออกมาหน้าม่านได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน คำถามที่ค้างไว้คือ เธอสามารถอัดเพลงนี้อย่างไรให้จบได้โดยที่ไม่เผลอกรี๊ดออกมากลางคัน โอ๊ย อินมาก
We Are Never Ever Getting Back Together (4/5)
ลีดซิงเกิ้ลจากงานต้นฉบับ แบบจิก ๆ แย๊บ ๆ แสบ ๆ คัน ๆ กับอดีตคนรักที่มาตามง้อ แต่เธอยืนกรานเซย์ โน กับจังหวะสนุกๆโยกได้ ในเรื่องของความติดหูนั้นเพลงนี้ทำได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ความพร่องในส่วนของอินเนอร์ของความสวยเริ่ดเชิ่ดผู้ชายต้องมาง้อที่สัมผัสกลิ่นได้แรงมากในงานเดิมที่ถูกลดทอนไปในเวอร์ชั่นนี้จนดูเสียทิศทางที่มั่นคงทำให้เสน่ห์ของเพลงนั้นดร็อปลงไปอย่างน่าเสียดาย
Stay Stay Stay (3/5)
นอกจากจังหวะที่น่ารักแก่นแก้วสนุกสนานและเนื้อเรื่องบรรยายการจับเข่าคุยของคู่รักถึงช่วงชีวิตขม ๆ กลายเป็นหวานกุ๊กกิ๊กอวยกันเองแล้ว เราไม่ได้จดจำแทร็คนี้มากไปกว่าการฟังผ่านไป ฟิ้วว
The Last Time ft.Gary Lightbody (5/5)
น่าจะเป็นเพลงจาก 16 แทร็คหลักที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดแล้ว เหมือนได้ฟังเพลงใหม่เลย พาร์ทของพี่แกรี่ที่อัดใหม่มีความนุ่มนวลขึ้น ส่งให้ท่อนร้องและอารมณ์ทั้งสองสอดประสานกันมากขึ้น ทำให้ความรู้สึกที่ได้นั้นเหมือนย้ายพวกเรามาชมละครทีวีแทนที่ละครเวทีในแบบต้นฉบับ ความเล่นใหญ่ที่ลดลงทำให้ภาพรวมนั้นกลมกล่อมขึ้นแม้จะไม่ได้สั้นกระชับตัดฉับหมือนหนังจอเงินก็ตาม แต่ก็เป็นหนังจอแก้วที่ไม่ต้องไปตัดต่อเสริมตอนออนแอร์เพิ่มให้ยืดยาวในภาคนี้ แต่อาจต้องติดตามภาคต่อหรือไม่ หรือความสัมพันธ์จะมีอีกหลายภาคแค่ไหน ใครจะทราบ
Holy Ground (4/5)
การได้นั่งทอดถอนอารมณ์ถึงห้วงความทรงจำในอดีตกับเพลงที่เร่งจังหวะกลองชวนให้ออกมาเต้นโลกลืม คิดถึงวันเก่าๆที่ได้รู้จัก อินกับห้วงอารมณ์คลั่งรัก ออกไปทำอะไรบ้าๆกับเธอ แม้วันนี้มันจะกลายเป็นแค่อดีต หงอย ๆ หน่อย แต่ความทรงจำเหล่านั้นมันมีคุณค่ามากๆ เพ้อมากไปจนลืมรีวิว อ่อ แทร็คนี้เข้ากับเสียงและอารมณ์จากมุมมองจากยุค Taylor’s version อันใหม่นี้มากๆ เสียงร้องที่แข็งแรงขึ้นสู้กับดนตรีได้สนุกขึ้น สบายๆ
Sad Beautiful Tragic (2.5/5)
ถ้าถามว่าโหมดเพลงเศร้าจะคาดหวังให้มันเศร้าให้มันซึมแค่ไหน ตัวผู้ถามเองคงจะคาดหวังคำตอบจากปากผู้ตอบแบบหลากหลายหรือลึกซึ่ง แต่กับเธอคนนี้ในเพลงนี้ คงตอบออกมาอย่างแผ่วๆว่า “อืม เ ศ ร้า” เรียบ ๆ ตอบเสร็จก็หลับไปเลย
The Lucky One (4/5)
ใครๆก็อยากจะเป็นดาว พลิกดินสู่ดาว แล้วหัวใจคนเป็นดาวล่ะ มีใครไหนบ้างมาเข้าใจไหม หรือว่าคุณหลอกดาว แต่ในเมื่อเพลงนี้ถูกรีเรคในช่วงล็อคดาวน์ เธอคงได้คำตอบแล้วนะน้องดาว ว่าหากเทียบชื่อเสียงและคำวิจารณ์กับช่วงทศวรรษที่ผ่าน การเดินทางสู่เส้นทางดาวของดาวนั้นไม่เหนื่อยป่าว อาจมีบางช่วงมาแนวรำวงด๊าวด่าว ประเดี๋ยวประด๋าว มีข่าวคาว แต่นั่นไม่ได้ลดคุณค่าของดาวลงไปเลย ถ่ายทอดอารมณ์ตัวเองได้ดีขนาดนี้ แม้จะร้องซ้ำๆจนเทปยาน แต่เบนซ์ให้สามผ่านค่ะ
Everything Has Changed ft.Ed Sheeran (4.5/5)
อีกหนึ่งเพลงโปรดขึ้นหิ้ง เดิมเป็นงานคอลแลบของสองศิลปินที่เราชอบมากอยู่แล้ว ยิ่งทำให้คลั่งไคล้มากขึ้นไปอีก ฟังจนเทปยานยืดยังไม่เบื่อทั้ง album version และ remix (Pop Radio edit) เนื่องจากดนตรีที่กล่อมอารมณ์ให้รู้สึกอบอุ่น ในเนื้อความถึงความรู้สึกกำลังตกหลุมรักคนใหม่ที่เพิ่งได้พบเจอ ตามมาด้วยความตลบอบอวลด้วยเมฆหมอกความฉงนสงสัยในตัวเธอลอยฟุ้งเหมือนวิ่งอยู่ในฝันในวิมาน อยากจะรู้จักเธอคนนี้ให้มากและมากยิ่งไปกว่านี้ แต่เวอร์ชั่นอัดใหม่นี้เสมือนถูกปู้ยี่ปู้ยำด้วยเสียงคลอของพี่เอ็ดที่ดังโดดขโมยซีนมากๆและไม่ได้มีความเข้ากันกับเพลงเลย พลอยทำให้ผีเสื้อที่บินอยู่เต็มท้องเราในการตกหลุมรักครั้งนี้ที่กล่าวไว้ในตอนแรกนั้นพร้อมใจกันบินหนีแตกรังกระเจิงออกนอกพุงกันไปแบบวุ่นวายเลยทีเดียว ใครแกงใครนี่ให้โอกาสสารภาพออกมา!
Starlight (3.5/5)
เพลงที่อบอุ่น ให้vibesที่แสดงความรู้สึกเชิงบวกที่สุดในอัลบั้ม ทั้งแสงดาว แสงเหนือ ดาวเหนือ ดาวตก ผีพุ่งใต้ใด ๆ ดนตรีเจ๋ง ๆ(ดนตรีในเส้นเรื่อง) ช่วยขับกล่อมบรรยากาศให้สิ่งมหัศจรรย์ในบทกวีนี้เป็นจริง ได้แก่อะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้