‘ชนบทไทยในละคร’ ภาพสะท้อนแช่แข็งของท้องถิ่นแสนสุข จากยุคสงครามเย็น

‘มนต์รักหนองผักกะแยง’, ‘ผู้ใหญ่ลีกับนางมา’, ‘เขยบ้านนอก’, ‘นางแบบโคกกระโดน’, ‘ความสุขของกะทิ’ คือตัวอย่างของผลงานส่วนหนึ่งที่พูดถึงความใจร้ายของคนเมือง และความจริงใจของคนชนบท ซึ่งถูกผลิตซ้ำทั้งในละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ไทยมาแล้วไม่รู้กี่เรื่องต่อกี่เรื่อง

สิ่งที่น่าสนใจคือ ดูเหมือนว่าภาพลักษณ์เหล่านี้ เพิ่งจะถูกสร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็น และภายใต้การผลิตซ้ำๆ ของผู้คนในรัฐไทย -ทั้งผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ- มันจึงได้กลายมาเป็น ‘ภาพจำ’ ที่คนไทยในเมืองหลวง มองชนบทมาอย่างยาวนาน และกินเวลามาจนถึงปัจจุบัน

ด้านหนึ่งจึงเท่ากับว่า ละครนี่เองที่ช่วยผลิตซ้ำอุดมคติเก่าคร่ำสมัยสงครามเย็นมาอย่างยาวนาน จนมันได้กลายเป็นภาพจำในหัวสมองของผู้คนจำนวนมาก โดยทำหน้าที่ในการบอกชาวบ้านหรือคนที่อยู่ในชนบทว่า ความไกลปืนเที่ยงนั้นเป็นสิ่งที่ ‘ดีแล้ว’ และชีวิตอันพออยู่พอกินนั้นก็เป็นสิ่งที่ ‘ดีแล้ว’ อีกเหมือนกัน ...ทั้งๆ ที่มันอาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป

อ่านเต็มๆ ได้ที่นี่ : https://plus.thairath.co.th/topic/spark/100695

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่