ประเทศไทยเอง เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดต่ำมาก หลายคนบอกว่าสมัยนี้คนไทยกลุ่มที่มีลูก ถ้าไม่รวยไปเลย ก็หาเช้ากินค่ำ ชนชั้นกลางส่วนใหญ่ไม่มีลูก
แต่ทำไมผมกลับไม่เคยเห็นมีหน่วยงานไหน จัดทำสถิติว่าเด็กไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวรายได้เท่าไหร่
จะมีก็เพียง สถิติจำนวนประชากรเกิดแบ่งตามช่วงอายุของมารดา และลำดับการคลอดบุตรเท่านั้น
ซึ่งพบว่า ช่วงอายุของผู้หญิงไทยที่นิยมคลอดบุตรกันมากที่สุด คือ อายุ 20-30 ปี
และส่วนใหญ่นิยมมีลูกกันเพียง 1-3 คนเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลายคนบอกว่า ปัจจุบันนี้เด็กไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับครอบครัวที่ยากจน หาเช้ากินค่ำจริงๆ จากส่วนตัวที่ผมเห็นได้เห็นมาทั้งครอบครัวคนในเมืองกับชนบท
1.โรงเรียนมัธยมรัฐบาลชื่อดังทุกแห่ง ทั้งกทม.และตจว. ค่าเทอม 3,xxx-5,xxx บาท ยังมีคนเข้าเรียนแน่นเต็มทุกที่ทุกปี
ในขณะที่โรงเรียนมัธบาลรัฐบาลขนาดเล็กตามนอกเมืองชนบท ค่าเทอมไม่กี่ร้อย กลับมีเด็กเข้าเรียนน้อยและลดลงเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าปีไหนจะถูกยุบ
2.ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เทศกาล
สวนสนุก สวนน้ำ บ้านบอล ทั้งกทม.และตจว. ครึกครื้นเต็มไปด้วยเด็กๆและครอบครัว
โดยเฉพาะบ้านบอล ค่าเข้าเล่นก็ไม่ใช่ถูกๆเลยนะ ช่วงก่อนโควิดนี่พ่อแม่ผู้ปกครอง ช่วงวันหยุดเทศกาล เสาร์-อาทิตย์ ต่างคนต่างพาลูกหลานมาเล่นกันเยอะมากๆ
สวนสนุก สวนน้ำ ก็เช่นกัน
3.ช่วงก่อนโควิด ก่อนที่จะมีการนิยมเรียนออนไลน์กันนั้น
ครอบครัวแถวบ้านนอก ตจว. ทุกๆหลังคาเรือน
ผมเห็นบ้านหลายหลังเลย ลูกๆอายุไม่ถึง 10 ขวบ ก็ซื้อสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ให้ลูกได้เล่นเกม ดูการ์ตูนกันแล้ว
พอลูกๆขึ้นเรียนชั้น ม.ต้น พ่อแม่ตามชนบทต่างคนต่างออกรถมอไซค์ให้ลูกขับกันแล้วทั้งนั้น
4.ร้านชาบู หมูกระทะ บุฟเฟ่ต์ ค่าหัว 2XX฿
ทั้งกทม.และตจว.
ช่วงวันหยุด เทศกาล หลายๆครอบครัว คนแถวบ้านผม พาลูกพาหลานมากินกันเยอะมาก
ที่ผมเห็นหลายๆครอบครัวมีลูก 2-3 คน พาลูกๆมากินบุฟเฟ่ต์ ชาบู หมูกระทะ กันอย่างมีความสุข
5.ปัจจุบันนี้ ชนบทตามต่างจังหวัด บ้านหลายหลังเกือบทุกหลังคาเรือนเลย ต่างคนต่างมีรถยนต์ รถมอไซค์ กันทั้งนั้น
(ไม่แปลกหรอกว่าทำไมช่วงเทศกาล ถนนขาเข้าภาคเหนือ ภาคอีสาน ถึงรถติดมากๆ)
6.งานโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
คนชนบทต่างจังหวัด ร้อยพ่อพันแม่ วุฒิ ม.3/ม.6/ปวช. ต่างคนต่างไปทำกันเยอะมาก
และรายได้ต่อเดือนของพนักงานโรงงานก็ไม่ใช่น้อยๆด้วย
อีกอย่างพนักงานโรงงานฝ่ายผลิต ที่ทำงานมาหลายๆปี ต่างคนต่างมีรถยนต์ขับกันแทบทุกคน หลายๆคนทำโรงงานมาสิบกว่าปี เก็บทุน ลาออกแล้วกลับไปทำมาค้าขาย ทำธุรกิจส่วนตัว ที่บ้านเกิดกันก็มีให้เห็นอีกเยอะ
ปล. ฝ่ายผลิตในโรงงานรายได้ต่อเดือนได้เยอะกว่าพนักงานออฟฟิศหลายๆแห่งซะอีก
7.มหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง ยังมีการสอบแข่งขันสอบเข้าสูงมาก ซึ่งค่าเทอมมหาลัยเหล่านี้ และค่าครองชีพ ก็สูงมากพอสมควร
และแน่นอนเด็กไทยที่เรียนจบมหาลัยเหล่านี้ไป โอกาสที่จะมีหน้าที่การงานที่ดี รายได้ ก็สูงมาก
จากที่ผมสรุปมาทั้งหมด ผมเองก็เห็นเด็กไทยรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่ก็เกิดกับครอบครัวที่พอมีพอกิน ไม่ได้ยากจนขัดสนขนาดนั้น
จากตัวอย่างที่ผมยกมานี้ ผมเลยสงสัย ที่หลายคนบอกว่าเด็กไทยรุ่นใหม่สมัยนี้ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวหาเช้ากินค่ำ ยากจน จะทำให้สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น จริงเท็จกันแค่ไหนครับ เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆสมัยนี้ที่ผมเห็น ก็อยู่ดีกินดีกันหมด
เด็กไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวยากจน จะทำให้สังคมไทยเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น จริงเท็จแค่ไหน
แต่ทำไมผมกลับไม่เคยเห็นมีหน่วยงานไหน จัดทำสถิติว่าเด็กไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวรายได้เท่าไหร่
จะมีก็เพียง สถิติจำนวนประชากรเกิดแบ่งตามช่วงอายุของมารดา และลำดับการคลอดบุตรเท่านั้น
ซึ่งพบว่า ช่วงอายุของผู้หญิงไทยที่นิยมคลอดบุตรกันมากที่สุด คือ อายุ 20-30 ปี
และส่วนใหญ่นิยมมีลูกกันเพียง 1-3 คนเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
หลายคนบอกว่า ปัจจุบันนี้เด็กไทยรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะเกิดกับครอบครัวที่ยากจน หาเช้ากินค่ำจริงๆ จากส่วนตัวที่ผมเห็นได้เห็นมาทั้งครอบครัวคนในเมืองกับชนบท
1.โรงเรียนมัธยมรัฐบาลชื่อดังทุกแห่ง ทั้งกทม.และตจว. ค่าเทอม 3,xxx-5,xxx บาท ยังมีคนเข้าเรียนแน่นเต็มทุกที่ทุกปี
ในขณะที่โรงเรียนมัธบาลรัฐบาลขนาดเล็กตามนอกเมืองชนบท ค่าเทอมไม่กี่ร้อย กลับมีเด็กเข้าเรียนน้อยและลดลงเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าปีไหนจะถูกยุบ
2.ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เทศกาล
สวนสนุก สวนน้ำ บ้านบอล ทั้งกทม.และตจว. ครึกครื้นเต็มไปด้วยเด็กๆและครอบครัว
โดยเฉพาะบ้านบอล ค่าเข้าเล่นก็ไม่ใช่ถูกๆเลยนะ ช่วงก่อนโควิดนี่พ่อแม่ผู้ปกครอง ช่วงวันหยุดเทศกาล เสาร์-อาทิตย์ ต่างคนต่างพาลูกหลานมาเล่นกันเยอะมากๆ
สวนสนุก สวนน้ำ ก็เช่นกัน
3.ช่วงก่อนโควิด ก่อนที่จะมีการนิยมเรียนออนไลน์กันนั้น
ครอบครัวแถวบ้านนอก ตจว. ทุกๆหลังคาเรือน
ผมเห็นบ้านหลายหลังเลย ลูกๆอายุไม่ถึง 10 ขวบ ก็ซื้อสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ให้ลูกได้เล่นเกม ดูการ์ตูนกันแล้ว
พอลูกๆขึ้นเรียนชั้น ม.ต้น พ่อแม่ตามชนบทต่างคนต่างออกรถมอไซค์ให้ลูกขับกันแล้วทั้งนั้น
4.ร้านชาบู หมูกระทะ บุฟเฟ่ต์ ค่าหัว 2XX฿
ทั้งกทม.และตจว.
ช่วงวันหยุด เทศกาล หลายๆครอบครัว คนแถวบ้านผม พาลูกพาหลานมากินกันเยอะมาก
ที่ผมเห็นหลายๆครอบครัวมีลูก 2-3 คน พาลูกๆมากินบุฟเฟ่ต์ ชาบู หมูกระทะ กันอย่างมีความสุข
5.ปัจจุบันนี้ ชนบทตามต่างจังหวัด บ้านหลายหลังเกือบทุกหลังคาเรือนเลย ต่างคนต่างมีรถยนต์ รถมอไซค์ กันทั้งนั้น
(ไม่แปลกหรอกว่าทำไมช่วงเทศกาล ถนนขาเข้าภาคเหนือ ภาคอีสาน ถึงรถติดมากๆ)
6.งานโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม
คนชนบทต่างจังหวัด ร้อยพ่อพันแม่ วุฒิ ม.3/ม.6/ปวช. ต่างคนต่างไปทำกันเยอะมาก
และรายได้ต่อเดือนของพนักงานโรงงานก็ไม่ใช่น้อยๆด้วย
อีกอย่างพนักงานโรงงานฝ่ายผลิต ที่ทำงานมาหลายๆปี ต่างคนต่างมีรถยนต์ขับกันแทบทุกคน หลายๆคนทำโรงงานมาสิบกว่าปี เก็บทุน ลาออกแล้วกลับไปทำมาค้าขาย ทำธุรกิจส่วนตัว ที่บ้านเกิดกันก็มีให้เห็นอีกเยอะ
ปล. ฝ่ายผลิตในโรงงานรายได้ต่อเดือนได้เยอะกว่าพนักงานออฟฟิศหลายๆแห่งซะอีก
7.มหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง ยังมีการสอบแข่งขันสอบเข้าสูงมาก ซึ่งค่าเทอมมหาลัยเหล่านี้ และค่าครองชีพ ก็สูงมากพอสมควร
และแน่นอนเด็กไทยที่เรียนจบมหาลัยเหล่านี้ไป โอกาสที่จะมีหน้าที่การงานที่ดี รายได้ ก็สูงมาก
จากที่ผมสรุปมาทั้งหมด ผมเองก็เห็นเด็กไทยรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่ก็เกิดกับครอบครัวที่พอมีพอกิน ไม่ได้ยากจนขัดสนขนาดนั้น
จากตัวอย่างที่ผมยกมานี้ ผมเลยสงสัย ที่หลายคนบอกว่าเด็กไทยรุ่นใหม่สมัยนี้ส่วนใหญ่เกิดจากครอบครัวหาเช้ากินค่ำ ยากจน จะทำให้สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น จริงเท็จกันแค่ไหนครับ เพราะเด็กรุ่นใหม่ๆสมัยนี้ที่ผมเห็น ก็อยู่ดีกินดีกันหมด