เนื่องจากการพิจารณาสินเชื่ออยู่ที่ฝ่ายพิจารณาของสถาบันการเงินนั้นๆ ในความเป็นจริงสถาบันการเงินจะสามารถทำได้จริงหรือปล่าว กับมาตราการเพิ่ม ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศมาตรการเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 สนับสนุนการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ได้อย่างยั่งยืน เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ได้มากขึ้นในสถานการณ์ที่ยังต้องเผชิญกับภาวะการระบาดของโควิด-19 โดยมาตรการเพิ่มเติมดังกล่าวประกอบด้วยการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และลูกหนี้รายย่อย รวมถึงมาตรการสนับสนุนการแก้ไขหนี้เดิมอย่างยั่งยืน มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564
มาตรการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ได้แก่
1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อกว่าคาดและยังมีความไม่แน่นอนสูง เพื่อช่วยให้บางกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ได้แก่
(1.1) ขยายวงเงินสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่เดิมมีวงเงินสินเชื่อเดิมต่ำ หรือไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงิน เพราะใช้เงินทุนส่วนตัวหรือรายได้ของบริษัทในการประกอบธุรกิจเป็นหลัก
(1.2) เพิ่มการค้ำประกันและปรับลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้กับลูกหนี้กลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น micro-SMEs และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้มากขึ้น
ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟูมายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564
2) การผ่อนปรนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสินเชื่อลูกหนี้รายย่อยเป็นการชั่วคราว ในส่วนของบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อลดภาระการจ่ายชำระหนี้ ตลอดจนเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 โดย
(2.1) ขยายเพดานวงเงินเป็น 2 เท่าของเงินเดือน สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 30,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้กู้สามารถขอสินเชื่อได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ให้บริการ
(2.2) คงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตที่ถูกปรับลดลงในช่วงการแพร่ระบาดก่อนหน้าเหลือร้อยละ 5 ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 และ
(2.3) ขยายเพดานวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจากรายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท และขยายระยะเวลาการชำระคืนจากไม่เกิน 6 เดือน เป็น 12 เดือน
อ่านต่อ(ข้อมูลจาก www.bot.or.th)
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/JointPress_03092021.aspx
ส่วนตัวมองว่า ฝ่ายพิจารณาสินเชื่อก็อาจจะไม่อนุมัติ เพราะ มีวงเงินสินเชื่ออื่นๆ เยอะอยู่แล้ว จนมองว่าเกินความสามารถในการชำระหนี้หรือมั้ย ? เหตุผลที่ปฏิเสธเหมือนๆกัน ณ ปัจจุบัน ก็ยังเหมือนเดิม ขออภัย ......ไม่สามารถอนุมัติบัตรเครดิต/สินเชื่อ ...... ให้คุณได้ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ของธนาคาร ขอขอบคุณ ซึ่งเกือบทุกสถาบันก็ไม่ได้ลงเหตุผลที่ชัดเจน สุดท้ายแล้วก็อยากให้ ทุกสถาบันทำได้จริงครับ
มีสถาบันการเงินไหนทำแล้วบ้างครับ ในความเป็นจริงสถาบันการเงินจะสามารถทำได้จริงหรือปล่าว กับมาตราการเพิ่มเติมนี้
มาตรการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ได้แก่
1) การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อกว่าคาดและยังมีความไม่แน่นอนสูง เพื่อช่วยให้บางกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น ได้แก่
(1.1) ขยายวงเงินสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่เดิมมีวงเงินสินเชื่อเดิมต่ำ หรือไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงิน เพราะใช้เงินทุนส่วนตัวหรือรายได้ของบริษัทในการประกอบธุรกิจเป็นหลัก
(1.2) เพิ่มการค้ำประกันและปรับลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้กับลูกหนี้กลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น micro-SMEs และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อแก่ลูกหนี้กลุ่มเปราะบางได้มากขึ้น
ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถยื่นคำขอสินเชื่อฟื้นฟูมายัง ธปท. ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นได้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564
2) การผ่อนปรนหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสินเชื่อลูกหนี้รายย่อยเป็นการชั่วคราว ในส่วนของบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพื่อลดภาระการจ่ายชำระหนี้ ตลอดจนเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564 จนถึงสิ้นปี 2565 โดย
(2.1) ขยายเพดานวงเงินเป็น 2 เท่าของเงินเดือน สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กรณีผู้มีรายได้ ต่ำกว่า 30,000 บาท นอกจากนี้ สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ผู้กู้สามารถขอสินเชื่อได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ให้บริการ
(2.2) คงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตที่ถูกปรับลดลงในช่วงการแพร่ระบาดก่อนหน้าเหลือร้อยละ 5 ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2565 และ
(2.3) ขยายเพดานวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลจากรายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท และขยายระยะเวลาการชำระคืนจากไม่เกิน 6 เดือน เป็น 12 เดือน
อ่านต่อ(ข้อมูลจาก www.bot.or.th)
https://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/Activities/Pages/JointPress_03092021.aspx
ส่วนตัวมองว่า ฝ่ายพิจารณาสินเชื่อก็อาจจะไม่อนุมัติ เพราะ มีวงเงินสินเชื่ออื่นๆ เยอะอยู่แล้ว จนมองว่าเกินความสามารถในการชำระหนี้หรือมั้ย ? เหตุผลที่ปฏิเสธเหมือนๆกัน ณ ปัจจุบัน ก็ยังเหมือนเดิม ขออภัย ......ไม่สามารถอนุมัติบัตรเครดิต/สินเชื่อ ...... ให้คุณได้ เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ของธนาคาร ขอขอบคุณ ซึ่งเกือบทุกสถาบันก็ไม่ได้ลงเหตุผลที่ชัดเจน สุดท้ายแล้วก็อยากให้ ทุกสถาบันทำได้จริงครับ