✈︎
✈︎
เก็บตะวัน
✈︎
✈︎
เจ้าชายน้อยเห็นดวงอาทิตย์ตกวันละ 44 ครั้ง
© Shutterstock
✈︎
เจ้าชายน้อยเพื่อนไร้เดียงสาจากดาวเคราะห์น้อย B-612
ในนวนิยายคลาสสิกของ
Antoine de Saint-Exupéry
เจ้าชายน้อย The Little Prince (1943)
ที่บอกกับนักบินว่า ทุกวันจะเห็นดวงอาทิตย์ตกถึง 44 ครั้ง
ทั้งหมดที่เจ้าชายน้อยต้องทำ ก็แค่ขยับเก้าอี้นั่งเท่านั้น
แต่โลกมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อย B-612 มาก
แต่มีพื้นที่บนโลกนี้ที่จะเห็นดวงอาทิตย์ตก
ได้วันละหลาย ๆ ครั้งในแต่ละวัน
ตามสมมุติฐาน
หากเริ่มต้นจากตำแหน่งบนโลกที่ดวงอาทิตย์กำลังจะตก
แล้วเดินทางไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว
ที่โลกหมุนไปทางทิศตะวันออก
ก็จะอยู่ในสถานะดวงอาทิตย์ตกดินตลอดเวลา
ในปี 2014 อดีตนักบิน NATO ช่างภาพ และผู้สร้างภาพยนตร์
ต่างพยายามติดตามดวงอาทิตย์ตกไปทั่วโลก
ผ่านเขตเวลาทั้งหมด 24 โซน
เพื่อประชาสัมพันธ์นาฬิกา Citizen
แต่ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้
เพราะปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ
แต่ความพยายามของพวกเขาเหล่านี้
ทำให้เห็นถึงศาสตร์ในการไล่ล่าติดตามดวงอาทิตย์ตก
✈︎
✈︎
วิธีตามดวงอาทิตย์ตกในทางทฤษฎี
Gerd Kortemeyer รองศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์
จาก Michigan State University อธิบายว่า
" เมื่อใดก็ตาม เมื่อโลกหมุนรอบตัวไปทางทิศตะวันออก
ตำแหน่งที่กำหนดว่า จะผ่านเข้า ผ่านออก จากพื้นที่ที่มีแสงสว่างนั้น
จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น กลางวัน และดวงอาทิตย์ตก กลางคืน
เรื่องที่ต้องทำ ถ้าอยากจะติดตามดวงอาทิตย์ขึ้นหรือดวงอาทิตย์ตก
จะต้องบินไปจนกว่าอยู่บนเส้นเขตแดนนั้นเสมอ
(ระหว่างพื้นที่ของโลกที่ส่องสว่างกับพื้นที่มืด)
นั่นหมายความว่า ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับดวงอาทิตย์
ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองอยู่พร้อมกับคนดู
ราวกับว่าโลกเป็นลู่วิ่ง และดวงอาทิตย์เป็นไฟเพดาน
ที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะโลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออก
จึงต้องบินไปทางตะวันตกด้วยความเร็วเท่ากับที่โลกหมุนตัวเอง
และควรทำเรื่องนี้ที่เส้นศูนย์สูตร
เพราะที่นี้มึเส้นรอบวงโลกยาวที่สุด
รอบแกนหมุนรอบตัวของโลกดาวเคราะห์ดวงนี้
เครื่องบินจำเป็นต้องบินด้วยความเร็ว 1,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,609 กม./ชม.)
ตามการคำนวณของ
HowStuffWorks นั่นคือ ต้องบินเร็วมาก
เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินด้วยความเร็ว 460 ถึง 575 ไมล์ต่อชั่วโมง (740 ถึง 925 กม. / ชม.)
ในขณะที่ทีมแสดงการบินทางอากาศ
Blue Angels
ของกองทัพเรือสหรัฐฯ บินด้วยความเร็วสูงสุด 700 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,126 กม. / ชม.)
ในระหว่างการแสดงการบินทางอากาศ
แต่เมื่อเคลื่อนที่ไปยังขั้วต่าง ๆ ของเส้นรอบวง
รอบ ๆ แกนหมุน(โลก) ยิ่งสูงเส้นรอบวงก็จะลดลง
และความเร็วที่โลกหมุนรอบตัวเอง
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ จะลดลงตามไปด้วย
ยิ่งละติจูดที่อยู่สูงเท่าไหร่
เครื่องบินก็จะเคลื่อนที่ช้าลงได้เท่านั้น "
✈︎
✈︎
✈︎
Chasing Horizons | Citizen + Simon Roberts
✈︎
ในปี 2014 นาฬิกา
Citizen ทำงานร่วมกับ
บริษัทโฆษณา
Wieden+Kennedy
เพื่อโฆษณานาฬิกา
Eco-Drive Satellite Wave F100
ซึ่งมีความสามารถในการปรับเวลาโดยอัตโนมัติ
ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงโซนเวลาโลกภายใน 4 วินาที
ด้วยการปรับเวลากับสัญญานจากดาวเทียมนำทาง
ตามที่
Fast Company รายงาน
การที่บริษัทตัดสินใจทำเช่นนั้น โดยบินผ่านเขตเวลาทั้งหมด
และบันทึกความสามารถของนาฬิกาในการปรับตัว/เวลา
บริษัทได้รวบรวมทีมเทพ มี Jonathan Nicol อดีตนักบิน NATO
Simon Roberts ช่างภาพจากสหราชอาณาจักร
และ
Tristan Patterson ผู้สร้างภาพยนตร์
ทั้งนี้เพื่อพยายามและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ
การแสดงเวลาเปลี่ยนผ่านทุกเขตเวลาตอนดวงอาทิตย์ตกดิน
แต่งานนี้ ไม่ได้บินตรงแถวเส้นศูนย์สูตร
แต่บินสูงขึ้นในเขต
Arctic ที่ละติจูด 80 องศา
ซึ่งโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว
ประมาณ 180 ไมล์ต่อชั่วโมง (290 กม./ชม.)
ตามรายงานของ Fast Company
" ทีมงานได้ออกเดินทางในไอซ์แลนด์
บินขึ้นเหนือและตะวันออกไปถึงเส้นขนานที่ 80 เหนือและลองจิจูดศูนย์องศา
(เส้นสมมุติที่ลากจากเหนือ-ใต้กำหนดเส้นเมริเดียนที่สำคัญ)
จากนั้นจึงหันหลังกลับ เพื่อเริ่มต้นการเดินทางไปทางตะวันตก
ไล่ตามดวงอาทิตย์ตกทั่วเกาะกรีนแลนด์ จากนั้นในแคนาดา "
Simon Roberts ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับ WordsSideKick.com
" แม้ว่า ตามแผนงานเดิมจะมีการบินเหนือรัสเซีย
รวมถึงการหยุดเติมน้ำมันในไซบีเรีย
แต่รัสเซียปฏิเสธไม่ให้ยอมให้บินผ่าน/ลงจอด "
ตามรายงานของ Tristan Patterson
ผู้สร้างหนังสั้นสำหรับโครงการโฆษณาครั้งนี้
" ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
(หลังจากรัสเซียยึดพื้นที่
คาบสมุทรไครเมีย
บางส่วนของยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน
แล้วยังให้ท้ายคนเชื้อสายรัสเซียในยูเครน
ประกาศ/สู้รบแยกดินแดนจากยูเครนแถมอีก)
เพิ่งเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์
ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและตะวันตก(กลุ่ม NATO)
ความตึงเครียดเหล่านี้หลั่งไหลมา ส่งผลลงมา
ที่โครงการของทีมงาน ในการไล่ตามดวงอาทิตย์ตกดิน
การที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เติมน้ำมันในรัสเซีย
พวกเราจึงต้องตัดสินใจว่า จะไม่บินผ่านน่านฟ้ารัสเซีย
โดยบินไปทางตะวันตกเพียง 8 ชั่วโมง
ผ่าน Greenland และลงจอดที่ Resolute Bay ใน Canada
แทนที่จะบินต่อไปเหนือช่องแคบ Bering Strait
ที่อาจจะบินหลงเข้าไปในเขตรัสเซียได้
จึงต้องหยุดเพียงแค่นี้ก่อน
(กลัวโดนสอยเพราะรัสเซียยิงตกมาหลายลำแล้ว)
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ทีมไล่ล่าตาม
ดวงอาทิตย์ตกดินไปทั่วโลก
ไม่ใช่ความท้าทายทางวิทยาศาสตร์
แต่เป็นความท้าทายทางการเมือง
(ที่ขั้วอำนาจทะเลาะกัน)
ยังมีเวลาและยังต้องพยายามอีกมาก
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หรือสมการคณิตศาสตร์
วิธีอยู่ท่ามกลางดวงอาทิตย์ตกหลายครั้งในหนึ่งวัน
ถ้าลดเรื่องราวปัญหาความขัดแย้ง/สั่นคลอน
จากสถานการณ์ทางการเมือง ปัจจัยที่เราทำอะไรไม่ได้เลย "
Simon Roberts ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
" ในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงนั้น
การไล่ตามดวงอาทิตย์ตก น่าตื่นเต้นมาก
มีความตื่นเต้นเร้าใจมากเกี่ยวกับ
การอยู่ในสภาวะดวงอาทิตย์ตกดินตลอดเวลา
ความรู้สึกของเวลาพลบค่ำ และดวงอาทิตย์ตกเป็นเรื่องที่โรแมนติกอย่างยิ่ง
ความพยายามที่จะอยู่ในสถานะการณ์นั้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง/วัน
เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมมาก ในแง่ของแนวคิด
ผมคิดว่า ความพยายามครั้งนั้นเป็นสิ่งพิเศษอย่างแรง "
Tristan Patterson รำลึกถึงเรื่องนี้กับ Live Science
ผลลัพธ์ของโครงการประชาสัมพันธ์นี้รวมถึงโฆษณา
ที่มีภาพดวงอาทิตย์ตกของ Simon Roberts
รวมถึงภาพยนตร์ความยาว 5 นาที กำกับโดย Tristan Patterson
นักไล่ล่าดวงอาทิตย์ตกดินรายอื่น ๆ
" เครื่องบินไอพ่น
Concorde สามารถบิน 1,354 ไมล์ต่อชั่วโมง (2,179 กม. / ชม.)
จึงสามารถไล่ตามการหมุนรอบตัวเองของโลกได้ แม้ว่าจะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร
แต่เครื่องบินเจ็ทรุ่นนี้ที่บินเร็วกว่าเสียง
และเพิ่งหยุดบินไปในปี 2003
(เพราะเสียงที่รบกวนชาวบ้านรอบสนามบิน
กับยิ่งบินยิ่งขาดทุนมากกว่าเก่า)
เครื่องบินนี้ไม่ได้ไล่ล่าตามดวงอาทิตย์ตก
เพราะบินจาก London ไปลงจอดที่
Dulles International Airport ใน Virginia
ผู้โดยสารจะเห็นดวงอาทิตย์ตกถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรกจากการขึ้นบินจาก London
และอีกครั้งก่อนลงจอดใกล้กับ D.C.
Concorde มีชื่อเสียง/ตำนานในเรื่องนี้มาก "
Gerd Kortemeyer ให้ความเห็นเรื่องนี้
นักบินอวกาศที่สถานีอวกาศนานาชาติ
ซึ่งโคจรรอบโลกทุก ๆ 90 นาที
จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น 16 ครั้ง/วัน
และดวงอาทิตย์ตก 16 ครั้ง/วัน
Saint-Exupéry คือ นักบินในตำนานที่โด่งดัง
ท่านอาจจะคุ้นเคยกับความท้าทายประเภทต่างๆ
ที่นักไล่ล่าดวงอาทิตย์ตกต้องเผชิญ
จึงไม่น่าแปลกใจเลยกับจินตนาการของท่าน ที่เขียนว่า
เจ้าชายน้อยดูดวงอาทิตย์ตก เพียงแค่ขยับเก้าอี้เท่านั้น
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3H2YuH1
https://bit.ly/3kfARBc
https://bit.ly/3mVdzmg
ดูดวงตะวันลับขอบฟ้าวันละหลายครั้ง
✈︎
เก็บตะวัน
✈︎
✈︎
เจ้าชายน้อยเห็นดวงอาทิตย์ตกวันละ 44 ครั้ง
© Shutterstock
✈︎
เจ้าชายน้อยเพื่อนไร้เดียงสาจากดาวเคราะห์น้อย B-612
ในนวนิยายคลาสสิกของ Antoine de Saint-Exupéry
เจ้าชายน้อย The Little Prince (1943)
ที่บอกกับนักบินว่า ทุกวันจะเห็นดวงอาทิตย์ตกถึง 44 ครั้ง
ทั้งหมดที่เจ้าชายน้อยต้องทำ ก็แค่ขยับเก้าอี้นั่งเท่านั้น
แต่โลกมีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อย B-612 มาก
แต่มีพื้นที่บนโลกนี้ที่จะเห็นดวงอาทิตย์ตก
ได้วันละหลาย ๆ ครั้งในแต่ละวัน
ตามสมมุติฐาน
หากเริ่มต้นจากตำแหน่งบนโลกที่ดวงอาทิตย์กำลังจะตก
แล้วเดินทางไปทางตะวันตกด้วยความเร็ว
ที่โลกหมุนไปทางทิศตะวันออก
ก็จะอยู่ในสถานะดวงอาทิตย์ตกดินตลอดเวลา
ในปี 2014 อดีตนักบิน NATO ช่างภาพ และผู้สร้างภาพยนตร์
ต่างพยายามติดตามดวงอาทิตย์ตกไปทั่วโลก
ผ่านเขตเวลาทั้งหมด 24 โซน
เพื่อประชาสัมพันธ์นาฬิกา Citizen
แต่ไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้
เพราะปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ
แต่ความพยายามของพวกเขาเหล่านี้
ทำให้เห็นถึงศาสตร์ในการไล่ล่าติดตามดวงอาทิตย์ตก
✈︎
วิธีตามดวงอาทิตย์ตกในทางทฤษฎี
Gerd Kortemeyer รองศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์
จาก Michigan State University อธิบายว่า
" เมื่อใดก็ตาม เมื่อโลกหมุนรอบตัวไปทางทิศตะวันออก
ตำแหน่งที่กำหนดว่า จะผ่านเข้า ผ่านออก จากพื้นที่ที่มีแสงสว่างนั้น
จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น กลางวัน และดวงอาทิตย์ตก กลางคืน
เรื่องที่ต้องทำ ถ้าอยากจะติดตามดวงอาทิตย์ขึ้นหรือดวงอาทิตย์ตก
จะต้องบินไปจนกว่าอยู่บนเส้นเขตแดนนั้นเสมอ
(ระหว่างพื้นที่ของโลกที่ส่องสว่างกับพื้นที่มืด)
นั่นหมายความว่า ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับดวงอาทิตย์
ในขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองอยู่พร้อมกับคนดู
ราวกับว่าโลกเป็นลู่วิ่ง และดวงอาทิตย์เป็นไฟเพดาน
ที่ต้องทำเช่นนั้น เพราะโลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออก
จึงต้องบินไปทางตะวันตกด้วยความเร็วเท่ากับที่โลกหมุนตัวเอง
และควรทำเรื่องนี้ที่เส้นศูนย์สูตร
เพราะที่นี้มึเส้นรอบวงโลกยาวที่สุด
รอบแกนหมุนรอบตัวของโลกดาวเคราะห์ดวงนี้
เครื่องบินจำเป็นต้องบินด้วยความเร็ว 1,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,609 กม./ชม.)
ตามการคำนวณของ HowStuffWorks นั่นคือ ต้องบินเร็วมาก
เครื่องบินพาณิชย์ส่วนใหญ่บินด้วยความเร็ว 460 ถึง 575 ไมล์ต่อชั่วโมง (740 ถึง 925 กม. / ชม.)
ในขณะที่ทีมแสดงการบินทางอากาศ Blue Angels
ของกองทัพเรือสหรัฐฯ บินด้วยความเร็วสูงสุด 700 ไมล์ต่อชั่วโมง (1,126 กม. / ชม.)
ในระหว่างการแสดงการบินทางอากาศ
แต่เมื่อเคลื่อนที่ไปยังขั้วต่าง ๆ ของเส้นรอบวง
รอบ ๆ แกนหมุน(โลก) ยิ่งสูงเส้นรอบวงก็จะลดลง
และความเร็วที่โลกหมุนรอบตัวเอง
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ จะลดลงตามไปด้วย
ยิ่งละติจูดที่อยู่สูงเท่าไหร่
เครื่องบินก็จะเคลื่อนที่ช้าลงได้เท่านั้น "
✈︎
✈︎
Chasing Horizons | Citizen + Simon Roberts
✈︎
ในปี 2014 นาฬิกา Citizen ทำงานร่วมกับ
บริษัทโฆษณา Wieden+Kennedy
เพื่อโฆษณานาฬิกา Eco-Drive Satellite Wave F100
ซึ่งมีความสามารถในการปรับเวลาโดยอัตโนมัติ
ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงโซนเวลาโลกภายใน 4 วินาที
ด้วยการปรับเวลากับสัญญานจากดาวเทียมนำทาง
ตามที่ Fast Company รายงาน
การที่บริษัทตัดสินใจทำเช่นนั้น โดยบินผ่านเขตเวลาทั้งหมด
และบันทึกความสามารถของนาฬิกาในการปรับตัว/เวลา
บริษัทได้รวบรวมทีมเทพ มี Jonathan Nicol อดีตนักบิน NATO
Simon Roberts ช่างภาพจากสหราชอาณาจักร
และ Tristan Patterson ผู้สร้างภาพยนตร์
ทั้งนี้เพื่อพยายามและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับ
การแสดงเวลาเปลี่ยนผ่านทุกเขตเวลาตอนดวงอาทิตย์ตกดิน
แต่งานนี้ ไม่ได้บินตรงแถวเส้นศูนย์สูตร
แต่บินสูงขึ้นในเขต Arctic ที่ละติจูด 80 องศา
ซึ่งโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว
ประมาณ 180 ไมล์ต่อชั่วโมง (290 กม./ชม.)
ตามรายงานของ Fast Company
" ทีมงานได้ออกเดินทางในไอซ์แลนด์
บินขึ้นเหนือและตะวันออกไปถึงเส้นขนานที่ 80 เหนือและลองจิจูดศูนย์องศา
(เส้นสมมุติที่ลากจากเหนือ-ใต้กำหนดเส้นเมริเดียนที่สำคัญ)
จากนั้นจึงหันหลังกลับ เพื่อเริ่มต้นการเดินทางไปทางตะวันตก
ไล่ตามดวงอาทิตย์ตกทั่วเกาะกรีนแลนด์ จากนั้นในแคนาดา "
Simon Roberts ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับ WordsSideKick.com
" แม้ว่า ตามแผนงานเดิมจะมีการบินเหนือรัสเซีย
รวมถึงการหยุดเติมน้ำมันในไซบีเรีย
แต่รัสเซียปฏิเสธไม่ให้ยอมให้บินผ่าน/ลงจอด "
ตามรายงานของ Tristan Patterson
ผู้สร้างหนังสั้นสำหรับโครงการโฆษณาครั้งนี้
" ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน
(หลังจากรัสเซียยึดพื้นที่ คาบสมุทรไครเมีย
บางส่วนของยูเครนเมื่อ 3 ปีก่อน
แล้วยังให้ท้ายคนเชื้อสายรัสเซียในยูเครน
ประกาศ/สู้รบแยกดินแดนจากยูเครนแถมอีก)
เพิ่งเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์
ยิ่งเพิ่มความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและตะวันตก(กลุ่ม NATO)
ความตึงเครียดเหล่านี้หลั่งไหลมา ส่งผลลงมา
ที่โครงการของทีมงาน ในการไล่ตามดวงอาทิตย์ตกดิน
การที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เติมน้ำมันในรัสเซีย
พวกเราจึงต้องตัดสินใจว่า จะไม่บินผ่านน่านฟ้ารัสเซีย
โดยบินไปทางตะวันตกเพียง 8 ชั่วโมง
ผ่าน Greenland และลงจอดที่ Resolute Bay ใน Canada
แทนที่จะบินต่อไปเหนือช่องแคบ Bering Strait
ที่อาจจะบินหลงเข้าไปในเขตรัสเซียได้
จึงต้องหยุดเพียงแค่นี้ก่อน
(กลัวโดนสอยเพราะรัสเซียยิงตกมาหลายลำแล้ว)
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ขัดขวางไม่ให้ทีมไล่ล่าตาม
ดวงอาทิตย์ตกดินไปทั่วโลก
ไม่ใช่ความท้าทายทางวิทยาศาสตร์
แต่เป็นความท้าทายทางการเมือง
(ที่ขั้วอำนาจทะเลาะกัน)
ยังมีเวลาและยังต้องพยายามอีกมาก
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หรือสมการคณิตศาสตร์
วิธีอยู่ท่ามกลางดวงอาทิตย์ตกหลายครั้งในหนึ่งวัน
ถ้าลดเรื่องราวปัญหาความขัดแย้ง/สั่นคลอน
จากสถานการณ์ทางการเมือง ปัจจัยที่เราทำอะไรไม่ได้เลย "
Simon Roberts ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า
" ในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงนั้น
การไล่ตามดวงอาทิตย์ตก น่าตื่นเต้นมาก
มีความตื่นเต้นเร้าใจมากเกี่ยวกับ
การอยู่ในสภาวะดวงอาทิตย์ตกดินตลอดเวลา
ความรู้สึกของเวลาพลบค่ำ และดวงอาทิตย์ตกเป็นเรื่องที่โรแมนติกอย่างยิ่ง
ความพยายามที่จะอยู่ในสถานะการณ์นั้นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง/วัน
เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมมาก ในแง่ของแนวคิด
ผมคิดว่า ความพยายามครั้งนั้นเป็นสิ่งพิเศษอย่างแรง "
Tristan Patterson รำลึกถึงเรื่องนี้กับ Live Science
ผลลัพธ์ของโครงการประชาสัมพันธ์นี้รวมถึงโฆษณา
ที่มีภาพดวงอาทิตย์ตกของ Simon Roberts
รวมถึงภาพยนตร์ความยาว 5 นาที กำกับโดย Tristan Patterson
นักไล่ล่าดวงอาทิตย์ตกดินรายอื่น ๆ
" เครื่องบินไอพ่น Concorde สามารถบิน 1,354 ไมล์ต่อชั่วโมง (2,179 กม. / ชม.)
จึงสามารถไล่ตามการหมุนรอบตัวเองของโลกได้ แม้ว่าจะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร
แต่เครื่องบินเจ็ทรุ่นนี้ที่บินเร็วกว่าเสียง
และเพิ่งหยุดบินไปในปี 2003
(เพราะเสียงที่รบกวนชาวบ้านรอบสนามบิน
กับยิ่งบินยิ่งขาดทุนมากกว่าเก่า)
เครื่องบินนี้ไม่ได้ไล่ล่าตามดวงอาทิตย์ตก
เพราะบินจาก London ไปลงจอดที่
Dulles International Airport ใน Virginia
ผู้โดยสารจะเห็นดวงอาทิตย์ตกถึง 2 ครั้ง
ครั้งแรกจากการขึ้นบินจาก London
และอีกครั้งก่อนลงจอดใกล้กับ D.C.
Concorde มีชื่อเสียง/ตำนานในเรื่องนี้มาก "
Gerd Kortemeyer ให้ความเห็นเรื่องนี้
นักบินอวกาศที่สถานีอวกาศนานาชาติ
ซึ่งโคจรรอบโลกทุก ๆ 90 นาที
จะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น 16 ครั้ง/วัน
และดวงอาทิตย์ตก 16 ครั้ง/วัน
Saint-Exupéry คือ นักบินในตำนานที่โด่งดัง
ท่านอาจจะคุ้นเคยกับความท้าทายประเภทต่างๆ
ที่นักไล่ล่าดวงอาทิตย์ตกต้องเผชิญ
จึงไม่น่าแปลกใจเลยกับจินตนาการของท่าน ที่เขียนว่า
เจ้าชายน้อยดูดวงอาทิตย์ตก เพียงแค่ขยับเก้าอี้เท่านั้น
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3H2YuH1
https://bit.ly/3kfARBc
https://bit.ly/3mVdzmg