นัดเวลามาเจอกัน. ส่งข้อความหรืออีเมลหาเขาเพื่อให้มาเจอคุณในสถานที่ที่เป็นกลาง ถ้าคุณอยู่เมืองเดียวกัน นี่ก็เป็นวิธีที่ดีเพื่อพูดเกี่ยวกับการเลิกเป็นเพื่อนกัน [1]
ถ้าเขาถามคุณว่าคุณอยากพูดเรื่องอะไรก็ให้ตอบแบบไม่ชัดเจน เช่น “ฉันแค่อยากบอกการตัดสินใจของฉันบางอย่าง” ถ้าเขายืนยันที่จะให้คุณบอกก็บอกเขาว่าคุณอยากพูดต่อหน้าเขามากกว่า
ถ้าเพื่อนของคุณอยู่เมืองอื่นก็ให้ส่งอีเมลหรือข้อความเพื่อนัดเวลาคุยโทรศัพท์กัน แน่นอนว่าการคุยต่อหน้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่ถ้าคุณอยู่คนละเมืองก็อาจจะไม่สามารถทำวิธีนี้ได้
รับรู้ว่าภาษาเขียนอาจจะถูกตีความผิด นี่คือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการพูดต่อหน้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถึงแม้ว่าอาจจะทำได้ยาก

2
เตรียมตัวให้พร้อม. คุณอาจจะอยากเลิกเป็นเพื่อนกันมานานแล้ว แต่เมื่อคุณเจอเขา คุณก็จะต้องชัดเจนกับเหตุผลว่าทำไมคุณถึงอยากเลิกเป็นเพื่อนกับเขา [2]
ถ้าคุณต้องบอกเขาว่าเขาได้ทำอะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจแบบนั้นก็ให้นึกว่าคุณจะพูดออกมาให้ฟังดูนิ่มนวลและปราณีมากที่สุดได้อย่างไร
คุณอาจจะไม่อยากให้เขารู้ว่าทำไมคุณถึงอยากเลิกเป็นเพื่อนกับเขาและมันไม่เป็นไร คุณสามารถบอกเหตุผลที่ไม่ชัดเจนหรือพูดว่า “สิ่งต่างๆ ได้เปลี่ยนไปแล้วสำหรับฉัน”
อย่ารู้สึกว่าคุณต้องบอกเหตุผลหรือแก้ตัว

3
จำไว้ว่าการตัดสินใจของคุณอาจจะทำให้เพื่อนประหลาดใจ. เขาอาจจะเสียใจหรือโกรธเมื่อได้ยินข่าวคราวหรืออาจจะต้องการเยียวยามิตรภาพ คุณต้องตัดสินใจล่วงหน้าว่าคุณอยากจะรักษามิตรภาพเอาไว้หรือว่าการตัดสินใจของคุณสิ้นสุดแล้ว [3]
ถ้าเขาโกรธ คุณก็ต้องเตรียมดูแลตัวเอง คุณไม่จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เพียงแค่เดินหนีไป
พูดสั้นๆ นอกเสียจากว่าคุณตัดสินใจว่าคุณพร้อมที่จะเยียวยามิตรภาพ คุณไม่จำเป็นต้องดูแลจนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้น เพียงแค่บอกว่าคุณได้ตัดสินใจแล้วและบอกเขาว่ามันถึงเวลาที่ต้องเดินหน้าต่อไปในชีวิต
อย่าโต้เถียงว่าคุณผิดหรือถูก

4
รับรู้ว่าคุณอาจจะผิดใจกัน. ถ้าคุณเป็นเพื่อนกันมานาน คุณก็อาจจะมีเพื่อนร่วมกับเขา เพื่อนเหล่านี้อาจจะถูกบังคับให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่างคุณกับอดีตเพื่อนของคุณ [4]
หลีกเลี่ยงความต้องการที่จะบอกเพื่อนของคุณทุกคนว่าอดีตเพื่อนของคุณทำอะไรที่ทำให้คุณเลิกเป็นเพื่อนกับเขา
อย่ารู้สึกว่าคุณต้องแก้ต่างการตัดสินใจของคุณให้เพื่อนๆ เพราะมันจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง

5
อย่าพูดอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อดีตเพื่อนของคุณได้ทำ. อธิบายว่ามันคือการตัดสินใจของคุณ เพื่อนที่ดีอาจจะเข้าใจเหตุผลของคุณโดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม [5]
เพื่อนที่คุณมีร่วมกันอาจจะพยายามทำให้คุณคืนดีกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณก็ควรเบี่ยงเบนประเด็นของบทสนทนา บอกเพื่อนๆ ว่าคุณแค่อยากเดินหน้าต่อไปในชีวิต
พยายามอย่าทำให้ใครโกรธอดีตเพื่อนของคุณ ถ้าคุณสูญเสียเพื่อนเพราะการตัดสินใจของคุณ พวกเขาก็อาจจะไม่ใช่เพื่อนที่ดีอยู่แล้ว

6
เดินหน้าต่อไปในชีวิต. อย่าติดอยู่กับการตัดสินใจที่จะเลิกเป็นเพื่อนกับเขา สิ่งใดที่ทำไปแล้วก็จบไปแล้ว คุณได้ตัดสินใจอย่างดีที่สุดแล้วถ้าคุณรอบคอบ คุณไม่ต้องนึกถึงมันอีกต่อไป การทบทวนทางเลือกที่คุณสร้างหรือแก้ต่างการตัดสินใจของคุณ (แม้แต่กับตัวเอง) จะยิ่งทำให้ขั้นตอนนี้ยาวนานยิ่งขึ้น [6]
มันอาจจะรู้สึกแปลกที่ไม่มีเพื่อนคนนี้ในชีวิตอีกต่อไปแต่คุณจะไม่เป็นไร
คุณต้องใช้เวลากับเพื่อนคนอื่นๆ ลองทำสิ่งใหม่ๆ และไปในที่ใหม่ๆ กับเพื่อนคนอื่นๆ

7
ดูแลตัวเอง. กินให้อิ่ม นอนให้หลับ และทำสิ่งที่คุณชอบ ปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความปราณีและความเห็นอกเห็นใจ และจำไว้ว่าการจบมิตรภาพอาจจะทำให้คุณเสียใจบ้าง [7]
การจดจ่อกับส่วนที่ดีของชีวิต เช่น สิ่งที่คุณชอบในชีวิตตอนนี้ สามารถช่วยให้คุณไม่รู้สึกเสียใจกับมิตรภาพที่เพิ่งสูญเสีย
ถ้าคุณพบว่าตัวเองมีความคิดเชิงลบก็ควรเปลี่ยนความคิดให้เป็นเชิงบวกมากขึ้น
กุลชญา ศิริไทย
เพื่อนคนไหนไม่อยากเป็นเพื่อนด้วยคุณมีไหม
ถ้าเขาถามคุณว่าคุณอยากพูดเรื่องอะไรก็ให้ตอบแบบไม่ชัดเจน เช่น “ฉันแค่อยากบอกการตัดสินใจของฉันบางอย่าง” ถ้าเขายืนยันที่จะให้คุณบอกก็บอกเขาว่าคุณอยากพูดต่อหน้าเขามากกว่า
ถ้าเพื่อนของคุณอยู่เมืองอื่นก็ให้ส่งอีเมลหรือข้อความเพื่อนัดเวลาคุยโทรศัพท์กัน แน่นอนว่าการคุยต่อหน้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่ถ้าคุณอยู่คนละเมืองก็อาจจะไม่สามารถทำวิธีนี้ได้
รับรู้ว่าภาษาเขียนอาจจะถูกตีความผิด นี่คือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการพูดต่อหน้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดถึงแม้ว่าอาจจะทำได้ยาก

2
เตรียมตัวให้พร้อม. คุณอาจจะอยากเลิกเป็นเพื่อนกันมานานแล้ว แต่เมื่อคุณเจอเขา คุณก็จะต้องชัดเจนกับเหตุผลว่าทำไมคุณถึงอยากเลิกเป็นเพื่อนกับเขา [2]
ถ้าคุณต้องบอกเขาว่าเขาได้ทำอะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจแบบนั้นก็ให้นึกว่าคุณจะพูดออกมาให้ฟังดูนิ่มนวลและปราณีมากที่สุดได้อย่างไร
คุณอาจจะไม่อยากให้เขารู้ว่าทำไมคุณถึงอยากเลิกเป็นเพื่อนกับเขาและมันไม่เป็นไร คุณสามารถบอกเหตุผลที่ไม่ชัดเจนหรือพูดว่า “สิ่งต่างๆ ได้เปลี่ยนไปแล้วสำหรับฉัน”
อย่ารู้สึกว่าคุณต้องบอกเหตุผลหรือแก้ตัว

3
จำไว้ว่าการตัดสินใจของคุณอาจจะทำให้เพื่อนประหลาดใจ. เขาอาจจะเสียใจหรือโกรธเมื่อได้ยินข่าวคราวหรืออาจจะต้องการเยียวยามิตรภาพ คุณต้องตัดสินใจล่วงหน้าว่าคุณอยากจะรักษามิตรภาพเอาไว้หรือว่าการตัดสินใจของคุณสิ้นสุดแล้ว [3]
ถ้าเขาโกรธ คุณก็ต้องเตรียมดูแลตัวเอง คุณไม่จำเป็นต้องสร้างสถานการณ์เพียงแค่เดินหนีไป
พูดสั้นๆ นอกเสียจากว่าคุณตัดสินใจว่าคุณพร้อมที่จะเยียวยามิตรภาพ คุณไม่จำเป็นต้องดูแลจนกว่าเขาจะรู้สึกดีขึ้น เพียงแค่บอกว่าคุณได้ตัดสินใจแล้วและบอกเขาว่ามันถึงเวลาที่ต้องเดินหน้าต่อไปในชีวิต
อย่าโต้เถียงว่าคุณผิดหรือถูก

4
รับรู้ว่าคุณอาจจะผิดใจกัน. ถ้าคุณเป็นเพื่อนกันมานาน คุณก็อาจจะมีเพื่อนร่วมกับเขา เพื่อนเหล่านี้อาจจะถูกบังคับให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่างคุณกับอดีตเพื่อนของคุณ [4]
หลีกเลี่ยงความต้องการที่จะบอกเพื่อนของคุณทุกคนว่าอดีตเพื่อนของคุณทำอะไรที่ทำให้คุณเลิกเป็นเพื่อนกับเขา
อย่ารู้สึกว่าคุณต้องแก้ต่างการตัดสินใจของคุณให้เพื่อนๆ เพราะมันจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง

5
อย่าพูดอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่อดีตเพื่อนของคุณได้ทำ. อธิบายว่ามันคือการตัดสินใจของคุณ เพื่อนที่ดีอาจจะเข้าใจเหตุผลของคุณโดยไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม [5]
เพื่อนที่คุณมีร่วมกันอาจจะพยายามทำให้คุณคืนดีกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณก็ควรเบี่ยงเบนประเด็นของบทสนทนา บอกเพื่อนๆ ว่าคุณแค่อยากเดินหน้าต่อไปในชีวิต
พยายามอย่าทำให้ใครโกรธอดีตเพื่อนของคุณ ถ้าคุณสูญเสียเพื่อนเพราะการตัดสินใจของคุณ พวกเขาก็อาจจะไม่ใช่เพื่อนที่ดีอยู่แล้ว

6
เดินหน้าต่อไปในชีวิต. อย่าติดอยู่กับการตัดสินใจที่จะเลิกเป็นเพื่อนกับเขา สิ่งใดที่ทำไปแล้วก็จบไปแล้ว คุณได้ตัดสินใจอย่างดีที่สุดแล้วถ้าคุณรอบคอบ คุณไม่ต้องนึกถึงมันอีกต่อไป การทบทวนทางเลือกที่คุณสร้างหรือแก้ต่างการตัดสินใจของคุณ (แม้แต่กับตัวเอง) จะยิ่งทำให้ขั้นตอนนี้ยาวนานยิ่งขึ้น [6]
มันอาจจะรู้สึกแปลกที่ไม่มีเพื่อนคนนี้ในชีวิตอีกต่อไปแต่คุณจะไม่เป็นไร
คุณต้องใช้เวลากับเพื่อนคนอื่นๆ ลองทำสิ่งใหม่ๆ และไปในที่ใหม่ๆ กับเพื่อนคนอื่นๆ

7
ดูแลตัวเอง. กินให้อิ่ม นอนให้หลับ และทำสิ่งที่คุณชอบ ปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความปราณีและความเห็นอกเห็นใจ และจำไว้ว่าการจบมิตรภาพอาจจะทำให้คุณเสียใจบ้าง [7]
การจดจ่อกับส่วนที่ดีของชีวิต เช่น สิ่งที่คุณชอบในชีวิตตอนนี้ สามารถช่วยให้คุณไม่รู้สึกเสียใจกับมิตรภาพที่เพิ่งสูญเสีย
ถ้าคุณพบว่าตัวเองมีความคิดเชิงลบก็ควรเปลี่ยนความคิดให้เป็นเชิงบวกมากขึ้น
กุลชญา ศิริไทย