ละครไทยในปัจจุบัน กำลังเจอศึกหนักจากการเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัลที่มีช่องเกิดใหม่จำนวนมาก
ทำให้เกิดการกระจายตัวของฐานคนดู จากเดิมที่รับชมแต่ช่องหลักเพียงไม่กี่ช่อง
อีกทั้งยังมีคู่แข่งรายใหญ่จากต่างประเทศ อย่างเช่น Netflix หรือ Disney Plus
ที่มีคอนเทนต์มากมาย คอยแย่งเวลาละครจากจอทีวีแบบเดิม ๆ
แล้วตอนนี้ ละครไทยได้รับผลกระทบแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในอดีตตอนช่วงหัวค่ำเป็นเวลาที่คนไทยต่างรอเฝ้าดูละคร
หรือที่เราเรียกละครที่ฉายในช่วงเวลานี้ว่า “ละครหลังข่าว”
ซึ่งละครหลังข่าวถือเป็นกิจกรรมยอดนิยมของคนไทยสมัยก่อน
โดยละครที่ฉายในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างก็ได้เรตติงสูงทั้งนั้น
แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าเรตติงทีวีนั้น เขาวัดกันอย่างไร ?
เรตติงทีวีทุก ๆ 1 หน่วยจะเทียบได้กับประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป 1 เปอร์เซ็นต์
หรือเทียบกับประชากรไทยในปัจจุบัน ก็จะคิดเป็นราว 700,000 คน
ถึงแม้จะมีช่องโหว่ของการวัดค่าเรตติงอยู่บ้าง แต่นี่ก็เป็นวิธีการสำรวจข้อมูลที่มีกระบวนการเป็นไปตามทฤษฎีทางสถิติ ซึ่งหากลองดูค่าเรตติงทีวีในอดีตของละครไทยจะพบว่า
5 อันดับละครที่มีเรตติงทีวีสูงสุดตลอดกาล ได้แก่
อันดับที่ 5 ทัดดาวบุษยา ช่อง 7 เรตติง 32
อันดับที่ 4 สายโลหิต ช่อง 7 เรตติง 34
อันดับที่ 3 มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 7 เรตติง 36
อันดับที่ 2 ดาวพระศุกร์ ช่อง 7 เรตติง 38
อันดับที่ 1 คู่กรรม ช่อง 7 เรตติง 40
สำหรับ เรื่องคู่กรรม ที่แสดงโดยคุณธงไชย แมคอินไตย์ และคุณกมลชนก โกมลฐิติ กวาดเรตติงไปที่ 40
หรือพูดง่าย ๆ ในช่วงนั้น มีคนไทย ดูละครเรื่องนี้พร้อม ๆ กัน มากถึง 28,000,000 คน
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในยุคปัจจุบัน
สาเหตุก็เพราะว่าในตอนนี้มีแพลตฟอร์มมาแย่งเวลาการดูละครไทยมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube หรือแม้แต่ Netflix
อ่านต่อ……
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ด้วยความที่แพลตฟอร์มดังกล่าว อาศัยอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นโลกที่อยู่ติดกับผู้คนตลอดเวลา
ทำให้เราเข้าถึงคอนเทนต์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกกว่าทีวี เป็นอย่างมาก
และจุดเด่นของแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่นี้ คือการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดีกว่า เช่น
YouTube ที่สามารถดูย้อนหลัง ดูไฮไลต์ ดูสรุปละครได้ แบบไม่ต้องรอชมสด
ทำให้ยืดหยุ่นในการรับชมได้มากกว่า
ในขณะที่ ผู้ให้บริการวิดีโอสตรีมมิงอย่าง Netflix ก็มีตัวเลือกมากมาย
โดยเฉพาะคอนเทนต์จากต่างประเทศทั้งการซื้อลิขสิทธิ์เข้ามาฉายบนแพลตฟอร์ม
หรือการลงทุนสร้างซีรีส์เป็นของตัวเอง
อย่างที่เราเห็นเป็นปรากฏการณ์ในช่วงที่ผ่านมา เช่น Squid Game จากเกาหลีใต้,
Stranger Things จากสหรัฐอเมริกา, Lupin จากฝรั่งเศส หรือแม้แต่ Money Heist จากสเปน
จะเห็นได้ว่า พอเรามีตัวเลือกมากขึ้นและในหนึ่งวันเรามีเวลาจำกัด
เพียง 24 ชั่วโมง มีตาเพียงคู่เดียว ทำให้พฤติกรรมการเลือกเสพคอนเทนต์ของเรา
เปลี่ยนจากการรอคอย รายการที่ยัดเยียดให้เราดูตามเวลา
ไปเป็นการเลือกช่องทางที่สะดวกและเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองมากที่สุด
นั่นจึงทำให้ในช่วงที่ผ่านมา เราก็น่าจะมีโอกาสได้เห็นว่าวงการละครไทยเริ่มปรับตัวและมีการนำละครไทยมาลง Netflix บ้าง เพื่อแย่งสายตาจากคนกลุ่มเดิมที่เคยดูละครไทยกลับคืนมา และเพื่อเพิ่มฐานคนดูจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ ก็ยังมีการสร้างแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง อย่างเช่น ช่อง 3 ที่มีการสร้างแอปพลิเคชันเป็นของตัวเองขึ้นมา เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคให้มากขึ้น
ซึ่งเรื่องดังกล่าว ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปก็คือละครทุกประเทศ ต่างเข้ามาแข่งกันในแพลตฟอร์มสตรีมมิง เช่น ที่ประเทศอินเดีย เกาหลีใต้ รวมถึงจีน
ซึ่งสุดท้ายแล้วผู้บริโภคก็จะเลือกจากคุณภาพของสินค้าหรือก็คือละครที่จะรับชม
และเมื่อเรามาพูดถึงเรื่องงบการลงทุนในคอนเทนต์ ปัจจุบัน บริษัทที่ชื่อว่า Netflix นี้เอง
เป็นบริษัทที่มีงบลงทุนในการสร้างคอนเทนต์ สูงที่สุดในโลก
ทำให้ Netflix ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้คนทั่วโลก และผู้ใช้งานยอมจ่ายค่าสมาชิกเพราะคิดว่าคุ้มค่า ในขณะที่ละครไทย ที่มีคุณภาพตามงบการลงทุน สำหรับคนที่เป็นสมาชิก Netflix ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ละครไทยจะกลายมาเป็นตัวเลือกรองลงมาโดยปริยาย
คำถามสำคัญคือ ละครไทยจะแข่งกับละครต่างประเทศอย่างไร ?
หากเรามาพิจารณาจากความสำเร็จของประเทศเกาหลีใต้
ซึ่งเป็นประเทศในเอเชียที่ประสบความสำเร็จ ในระดับสากล
จะพบว่าข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดก็ยังเป็นเรื่องของเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรม
รู้หรือไม่ว่างบประมาณในการผลิตละครไทยต่อตอนอยู่ในระดับหลักล้านต้น ๆ
ในขณะที่ซีรีส์จากเกาหลีใต้จะใช้งบประมาณในการผลิตต่อตอน อาจสูงถึงหลายสิบล้านบาท
เรื่องนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพในการผลิต รวมถึงระดับการแข่งขันเพื่อแย่งชิง
เงินลงทุนจำนวนมากจากนายทุนซึ่งก็มีผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม เช่นกัน
อีกส่วนสำคัญก็คือ นโยบายจากภาครัฐก็มีส่วนเป็นอย่างมาก
ในการวางรากฐานและผลักดันอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้
ทั้งการสนับสนุนทางด้านกฎหมายและงบประมาณในการผลิต
รวมถึงการอำนวยความสะดวกในการส่งออกละครหรือซีรีส์ไปยังต่างประเทศ
ซึ่งในภาพอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยนั้น ยังดูเหมือนว่าจะถูกขับเคลื่อนด้วยภาคเอกชนเพียงฝ่ายเดียว
ซึ่งประเด็นนี้ ก็ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจต่อทั้งผู้ผลิตละคร ไปจนถึงนักเรียน นักศึกษา
ที่ต้องการจะหาเลี้ยงชีพและใฝ่ฝันจะทำงานในด้านนี้ เช่นกัน
แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าละครไทยแข่งขันไม่ได้ในระดับสากล
เพราะที่ผ่านมา ละครไทยบางเรื่องก็ได้รับความนิยมอย่างสูงจากประเทศในอาเซียน
เช่น พม่า, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และฟิลิปปินส์
อีกทั้งละครรูปแบบใหม่ ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะ “ซีรีส์วาย” ต่างก็ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วเอเชีย แม้กระทั่งประเทศที่มีความเข้มงวดสูง อย่างประเทศจีน
ที่เป็นเช่นนี้เพราะในแง่ของความหลากหลายทางด้านเนื้อหาแล้ว ประเทศไทยถือว่าเปิดกว้างและมีความหลากหลายสำหรับการผลิตละครมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ซึ่งเราก็น่าจะใช้เรื่องนี้เป็นจุดแข็ง ที่แตกต่างจากประเทศอื่น ที่ทำไม่ได้แบบเรา
ซึ่งนี่ก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะบทละครที่หลากหลายจะทำให้จับตลาดได้มากขึ้น
ตามแต่รสนิยมและความชอบของแต่ละประเทศ
หากมองในจุดนี้ การเข้ามาของแพลตฟอร์มสมัยใหม่อย่าง YouTube และ Netflix
ที่ตอนแรกหลายคนคิดว่าเป็นคู่แข่งของอุตสาหกรรมละครไทย ก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป
เพราะหากว่าเราสามารถหาจุดแข็งของเราเจอและทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาโฟกัสพร้อม ๆ กัน
ก็ไม่แน่ว่าแพลตฟอร์มสมัยใหม่เหล่านี้ แทนที่จะเข้ามาทำให้อุตสาหกรรมละครไทยแย่ลง
อาจจะกลายเป็นว่ามันได้เข้ามาช่วยให้เรา เติบโตขึ้น ก็เป็นได้
แต่ ณ วันนี้ เมื่อดูคู่แข่งที่อยู่ในตลาด ก็ต้องยอมรับว่า ละครไทย ยังต้องปรับตัวอีกเยอะเลย..
https://www.facebook.com/113397052526245/posts/1174816796384260/?d=n
ละครไทย กำลังเจอ แพลตฟอร์มต่างประเทศ แย่งเวลา /โดย ลงทุนแมน
ทำให้เกิดการกระจายตัวของฐานคนดู จากเดิมที่รับชมแต่ช่องหลักเพียงไม่กี่ช่อง
อีกทั้งยังมีคู่แข่งรายใหญ่จากต่างประเทศ อย่างเช่น Netflix หรือ Disney Plus
ที่มีคอนเทนต์มากมาย คอยแย่งเวลาละครจากจอทีวีแบบเดิม ๆ
แล้วตอนนี้ ละครไทยได้รับผลกระทบแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ในอดีตตอนช่วงหัวค่ำเป็นเวลาที่คนไทยต่างรอเฝ้าดูละคร
หรือที่เราเรียกละครที่ฉายในช่วงเวลานี้ว่า “ละครหลังข่าว”
ซึ่งละครหลังข่าวถือเป็นกิจกรรมยอดนิยมของคนไทยสมัยก่อน
โดยละครที่ฉายในช่วงเวลาดังกล่าว ต่างก็ได้เรตติงสูงทั้งนั้น
แล้วเราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่าเรตติงทีวีนั้น เขาวัดกันอย่างไร ?
เรตติงทีวีทุก ๆ 1 หน่วยจะเทียบได้กับประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป 1 เปอร์เซ็นต์
หรือเทียบกับประชากรไทยในปัจจุบัน ก็จะคิดเป็นราว 700,000 คน
ถึงแม้จะมีช่องโหว่ของการวัดค่าเรตติงอยู่บ้าง แต่นี่ก็เป็นวิธีการสำรวจข้อมูลที่มีกระบวนการเป็นไปตามทฤษฎีทางสถิติ ซึ่งหากลองดูค่าเรตติงทีวีในอดีตของละครไทยจะพบว่า
5 อันดับละครที่มีเรตติงทีวีสูงสุดตลอดกาล ได้แก่
อันดับที่ 5 ทัดดาวบุษยา ช่อง 7 เรตติง 32
อันดับที่ 4 สายโลหิต ช่อง 7 เรตติง 34
อันดับที่ 3 มนต์รักลูกทุ่ง ช่อง 7 เรตติง 36
อันดับที่ 2 ดาวพระศุกร์ ช่อง 7 เรตติง 38
อันดับที่ 1 คู่กรรม ช่อง 7 เรตติง 40
สำหรับ เรื่องคู่กรรม ที่แสดงโดยคุณธงไชย แมคอินไตย์ และคุณกมลชนก โกมลฐิติ กวาดเรตติงไปที่ 40
หรือพูดง่าย ๆ ในช่วงนั้น มีคนไทย ดูละครเรื่องนี้พร้อม ๆ กัน มากถึง 28,000,000 คน
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในยุคปัจจุบัน
สาเหตุก็เพราะว่าในตอนนี้มีแพลตฟอร์มมาแย่งเวลาการดูละครไทยมากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube หรือแม้แต่ Netflix
อ่านต่อ……
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.facebook.com/113397052526245/posts/1174816796384260/?d=n