บิดคอ บิดหลัง หรือหักนิ้วบ่อยๆ เสี่ยงอันตรายหรือไม่?
หนุ่มสาวยุคนี้หนีไม่พ้นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ 💻 ยิ่งบางคนต้อง work from home หรือต้องนั่งประชุมยาวๆ ก็ยิ่งแทบจะไม่ได้ลุกไปไหน ซึ่งการนั่งทำงานนานๆ นี้เอง คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ซึ่งแต่ละคนก็พยายามหาวิธีเพื่อคลายความเมื่อยล้าให้ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ทำท่ากายบริหารตามที่มีคนแนะนำในอินเตอร์เน็ต หรือถ้ามีเวลามากหน่อย ก็ไปร้านนวดเลย
แต่มีอยู่วิธีหนึ่งที่เรามักจะทำกันบ่อยๆ ก็คือ การบิดคอ บิดหลัง รวมถึงหักนิ้วมือ จนเกิดเสียงดังเป๊าะ 😲 เพราะเชื่อว่าจะช่วยคลายความเมื่อยล้าได้ แล้วอยากรู้มั้ยครับว่า เสียงที่ดังตอนที่เราหักนิ้วเกิดจากอะไร แล้วการทำแบบนั้นสามารถแก้อาการปวดเมื่อยได้จริงหรือไม่ ถ้าทำแล้วจะเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับร่างกายส่วนไหนบ้างหรือเปล่า พี่หมอไปหาคำตอบมาให้แล้วครับ
เสียงดังในข้อเกิดจากอะไรได้บ้าง
1. ก๊าซภายในข้อ
ในข้อต่อจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสารหล่อลื่นภายในข้อต่อ ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ง่าย
และสะดวกขึ้น และลดการเสียดสีของข้อต่อ
ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ จะประกอบไปด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ และเมื่อมีการขยับข้อต่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันภายในข้อต่อ ทำให้ก๊าซเหล่านี้รวมตัวเป็นฟองก๊าซขึ้นในช่วงข้อต่อนั้นๆ ยิ่งถ้ามีการขยับมากขึ้น ก๊าซก็จะรวมตัวเป็นฟองก๊าซมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นความดันและความเครียดสะสมมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น เมื่อเราบิดตัวหรือหักข้อนิ้ว ก๊าซที่อยู่ข้างในก็จะถูกระบายออกมาจากช่องว่างขนาดเล็กภายในข้อ เกิดเป็นเสียงดังเป๊าะที่เราได้ยิน และเมื่อฟองก๊าซเหล่านี้ถูกปล่อยออกมา เราก็จะรู้สึกสบายตัวขึ้น
2. การเคลื่อนไหวหรือเสียดสีของเส้นเอ็นและกระดูก
ในขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ จะเกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ตำแหน่งของเส้นเอ็นต่างๆ รอบข้อต่อก็จะเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย เกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นกับเส้นเอ็น หรือเส้นเอ็นกับกระดูก ทำให้เกิดเสียงขึ้น ซึ่งสาเหตุนี้เกิดได้บ่อยกว่าสาเหตุแรก
3. ผิวข้อไม่เรียบ
อาการข้อเสื่อมนั้น เกิดจากลักษณะของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อเกิดการเสื่อมสภาพหรือสึกหรอ ยิ่งข้อต่อเสื่อมมากก็หมายความว่ากระดูกอ่อนที่ผิวข้อบางลงและขรุขระมากขึ้น หรือบางครั้งเมื่อข้อต่อมีการอักเสบเรื้อรังก็อาจมีปุ่มกระดูกงอกออกมาได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่อยู่ในลักษณะนี้ จึงอาจเกิดเสียงดังในข้อได้เช่นกัน
การบิดคอ บิดหลัง หรือหักนิ้ว เสี่ยงอันตรายหรือไม่❓
ส่วนของข้อต่อกระดูกสันหลัง มีการศึกษาพบว่า การบิดหลังหรือบิดคอแล้วเกิดเสียงนั้น หากทำอย่างเหมาะสมและไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวด เจ็บหรือชา ก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย เพราะช่วยลดอาการปวด ทำให้เรารู้สึกสบายตัว และยังเพิ่มองศาในการเคลื่อนไหว (Range Of Motion) ได้อีกด้วย
ในทางตรงกันข้าม หากเราบิดตัวหรือบิดคออย่างไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดหรือเส้นประสาทถูกหนีบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชาได้ หรือหากทำอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนเกินไป ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณลำคอ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้ในที่สุด
หรือหากทำบ่อยๆ โดยไม่มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดการหย่อนยานของเส้นเลือดที่ยึดรอบข้อต่อ ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังหลวมได้ ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังอ่อนแรงลงและเส้นเอ็นหย่อนยาน ก็อาจส่งผลให้ข้อต่อเกิดการเสียดสีกันได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่มีแรงพยุงกระดูก และเมื่อเสียดสีกันบ่อยๆ สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ภาวะข้อเสื่อม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอได้
ส่วนของข้อนิ้วมือ 🖐️ จากการวิจัยในคน 300 คน ซึ่งชอบหักนิ้วมือมาตลอด 35 ปี พบว่า การหักนิ้วมือเป็นประจำไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพแต่อย่างใด แต่อาจมีผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ข้อนิ้วมือปูดบวมหรือผิดรูป เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงแรงในการกำมือลดลง เมื่อทำต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติตัว เพื่อชะลอวามเสื่อมของกระดูกสันหลังและข้อนิ้วมือ
✅ ควรปรับอิริยาบถของท่าทางต่างๆให้ถูกต้อง เพื่อให้คอและหลังอยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยลดอาการปวดตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และหลัง
✅ ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อคอ หลัง และท้อง รวมถึงกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงอยู่เสมอ หรือจะเล่นโยคะ หรือพิลาทิส เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน
✅ หลีกเลี่ยงการนั่งทำงาน หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ และควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ ชม. เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดเมื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เราต้องบิดตัว บิดคอ หรือหักนิ้ว
✅ หากเกิดอาการปวดตึงหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พี่หมอแนะนำให้ลองหาวิธียืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมืออย่างสม่ำเสมอ
✅ หลีกเลี่ยงการบิดตัว บิดคอ หรือสะบัดคออย่างรุนแรงบ่อยๆ
✅ หลีกเลี่ยงการรักษาด้วยการดัด ดึง หรือบิดหมุนหลัง หมุนคอด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดจะปลอดภัยที่สุด
ข้อต่อและกระดูกสันหลังก็ไม่ต่างจากอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่จะต้องเสื่อมสภาพไปตามอายุและการใช้งานของแต่ละคน ดังนั้น ถ้าอยากให้ข้อต่อแข็งแรงและอยู่กับเราไปนานๆ ก็อย่าลืมดูแลตัวเองและออกกำลังกายตามที่พี่หมอแนะนำด้วยนะครับ แต่ถ้ามีอาการปวดบริเวณหลังหรือคอมากๆ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชา ปวดร้าวลงไปที่แขนหรือขา ก็ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด 💪💪💪
บิดคอ บิดหลัง หรือหักนิ้วบ่อยๆ เสี่ยงอันตรายหรือไม่?
หนุ่มสาวยุคนี้หนีไม่พ้นที่จะต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ 💻 ยิ่งบางคนต้อง work from home หรือต้องนั่งประชุมยาวๆ ก็ยิ่งแทบจะไม่ได้ลุกไปไหน ซึ่งการนั่งทำงานนานๆ นี้เอง คือหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ซึ่งแต่ละคนก็พยายามหาวิธีเพื่อคลายความเมื่อยล้าให้ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ทำท่ากายบริหารตามที่มีคนแนะนำในอินเตอร์เน็ต หรือถ้ามีเวลามากหน่อย ก็ไปร้านนวดเลย
แต่มีอยู่วิธีหนึ่งที่เรามักจะทำกันบ่อยๆ ก็คือ การบิดคอ บิดหลัง รวมถึงหักนิ้วมือ จนเกิดเสียงดังเป๊าะ 😲 เพราะเชื่อว่าจะช่วยคลายความเมื่อยล้าได้ แล้วอยากรู้มั้ยครับว่า เสียงที่ดังตอนที่เราหักนิ้วเกิดจากอะไร แล้วการทำแบบนั้นสามารถแก้อาการปวดเมื่อยได้จริงหรือไม่ ถ้าทำแล้วจะเสี่ยงให้เกิดอันตรายกับร่างกายส่วนไหนบ้างหรือเปล่า พี่หมอไปหาคำตอบมาให้แล้วครับ
1. ก๊าซภายในข้อ
ในข้อต่อจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสารหล่อลื่นภายในข้อต่อ ช่วยให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้ง่าย
และสะดวกขึ้น และลดการเสียดสีของข้อต่อ
ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อ จะประกอบไปด้วย ก๊าซออกซิเจน ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ และเมื่อมีการขยับข้อต่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความดันภายในข้อต่อ ทำให้ก๊าซเหล่านี้รวมตัวเป็นฟองก๊าซขึ้นในช่วงข้อต่อนั้นๆ ยิ่งถ้ามีการขยับมากขึ้น ก๊าซก็จะรวมตัวเป็นฟองก๊าซมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นความดันและความเครียดสะสมมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น เมื่อเราบิดตัวหรือหักข้อนิ้ว ก๊าซที่อยู่ข้างในก็จะถูกระบายออกมาจากช่องว่างขนาดเล็กภายในข้อ เกิดเป็นเสียงดังเป๊าะที่เราได้ยิน และเมื่อฟองก๊าซเหล่านี้ถูกปล่อยออกมา เราก็จะรู้สึกสบายตัวขึ้น
2. การเคลื่อนไหวหรือเสียดสีของเส้นเอ็นและกระดูก
ในขณะที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ จะเกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ตำแหน่งของเส้นเอ็นต่างๆ รอบข้อต่อก็จะเคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย เกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นกับเส้นเอ็น หรือเส้นเอ็นกับกระดูก ทำให้เกิดเสียงขึ้น ซึ่งสาเหตุนี้เกิดได้บ่อยกว่าสาเหตุแรก
3. ผิวข้อไม่เรียบ
อาการข้อเสื่อมนั้น เกิดจากลักษณะของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อเกิดการเสื่อมสภาพหรือสึกหรอ ยิ่งข้อต่อเสื่อมมากก็หมายความว่ากระดูกอ่อนที่ผิวข้อบางลงและขรุขระมากขึ้น หรือบางครั้งเมื่อข้อต่อมีการอักเสบเรื้อรังก็อาจมีปุ่มกระดูกงอกออกมาได้เช่นกัน ดังนั้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อที่อยู่ในลักษณะนี้ จึงอาจเกิดเสียงดังในข้อได้เช่นกัน
การบิดคอ บิดหลัง หรือหักนิ้ว เสี่ยงอันตรายหรือไม่❓
ส่วนของข้อต่อกระดูกสันหลัง มีการศึกษาพบว่า การบิดหลังหรือบิดคอแล้วเกิดเสียงนั้น หากทำอย่างเหมาะสมและไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวด เจ็บหรือชา ก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย เพราะช่วยลดอาการปวด ทำให้เรารู้สึกสบายตัว และยังเพิ่มองศาในการเคลื่อนไหว (Range Of Motion) ได้อีกด้วย
ในทางตรงกันข้าม หากเราบิดตัวหรือบิดคออย่างไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดหรือเส้นประสาทถูกหนีบ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการชาได้ หรือหากทำอย่างรุนแรงและรวดเร็วจนเกินไป ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณลำคอ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้ในที่สุด
หรือหากทำบ่อยๆ โดยไม่มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย ก็อาจทำให้เกิดการหย่อนยานของเส้นเลือดที่ยึดรอบข้อต่อ ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลังหลวมได้ ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังอ่อนแรงลงและเส้นเอ็นหย่อนยาน ก็อาจส่งผลให้ข้อต่อเกิดการเสียดสีกันได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อไม่มีแรงพยุงกระดูก และเมื่อเสียดสีกันบ่อยๆ สิ่งที่จะเกิดตามมาก็คือ ภาวะข้อเสื่อม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอได้
ส่วนของข้อนิ้วมือ 🖐️ จากการวิจัยในคน 300 คน ซึ่งชอบหักนิ้วมือมาตลอด 35 ปี พบว่า การหักนิ้วมือเป็นประจำไม่เป็นอันตรายกับสุขภาพแต่อย่างใด แต่อาจมีผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ข้อนิ้วมือปูดบวมหรือผิดรูป เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงแรงในการกำมือลดลง เมื่อทำต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ
✅ ควรปรับอิริยาบถของท่าทางต่างๆให้ถูกต้อง เพื่อให้คอและหลังอยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยลดอาการปวดตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ และหลัง
✅ ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อคอ หลัง และท้อง รวมถึงกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรงอยู่เสมอ หรือจะเล่นโยคะ หรือพิลาทิส เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน
✅ หลีกเลี่ยงการนั่งทำงาน หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ และควรเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ ชม. เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดเมื่อย ซึ่งเป็นสาเหตุให้เราต้องบิดตัว บิดคอ หรือหักนิ้ว
✅ หากเกิดอาการปวดตึงหรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ พี่หมอแนะนำให้ลองหาวิธียืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ หลัง สะโพก และมืออย่างสม่ำเสมอ
✅ หลีกเลี่ยงการบิดตัว บิดคอ หรือสะบัดคออย่างรุนแรงบ่อยๆ
✅ หลีกเลี่ยงการรักษาด้วยการดัด ดึง หรือบิดหมุนหลัง หมุนคอด้วยตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดจะปลอดภัยที่สุด
ข้อต่อและกระดูกสันหลังก็ไม่ต่างจากอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่จะต้องเสื่อมสภาพไปตามอายุและการใช้งานของแต่ละคน ดังนั้น ถ้าอยากให้ข้อต่อแข็งแรงและอยู่กับเราไปนานๆ ก็อย่าลืมดูแลตัวเองและออกกำลังกายตามที่พี่หมอแนะนำด้วยนะครับ แต่ถ้ามีอาการปวดบริเวณหลังหรือคอมากๆ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชา ปวดร้าวลงไปที่แขนหรือขา ก็ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด 💪💪💪