ศรีลังกา’ หนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่ทันสมัย เอื้อต่อนักลงทุน สำหรับประเทศไทยซึ่งมีการติดต่อทางการค้ากับศรีลังกามาอย่างยาวนาน จึงเล็งเห็นโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะพัฒนาความร่วมมือในมิติเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นขึ้นไปอีก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการส่งออกและการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยที่ไปลงทุนในตลาดที่สนใจเช่นศรีลังกา
.
เมื่อวันที่ 27 กันยายน ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของศรีลังกา และบริษัทไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (ซีเอชอีซี) พอร์ต ซิตี้ โคลัมโบ จำกัด ได้ร่วมมือกัน เปิดการเจรจาระดับสูง พร้อมเชิญหน่วยงานและหอการค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและขยายช่องทางการลงทุนระหว่างศรีลังกาและไทยในอนาคต
.
การเจรจาในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อแสวงหาโอกาสด้านการลงทุนที่หลากหลาย โดยเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย ได้นำเสนอโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับศรีลังกา โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต 6 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) การท่องเที่ยว การเกษตรและการแปรรูปอาหาร โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมการบริการ และโครงการเมืองท่าเรือ (โคลัมโบ พอร์ต ซิตี้) ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลศรีลังกาต้องการดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพจากทั่วโลก รวมทั้งไทย
.
เมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาได้ออกกฎหมายที่กำหนดให้โครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ จัดตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEC) โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและการบริการระดับนานาชาติแห่งเอเชียใต้ รวมทั้งเป็นการพัฒนาเมืองบริเวณใกล้เคียงกับท่าเรือโคลัมโบ ให้มีความทันสมัยรองรับการลงทุนจากต่างประเทศโครงการมีพื้นที่รวม 269 เฮกตาร์ มูลค่าการลงทุน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย เขตที่อยู่อาศัย เขตสำนักงาน เขตการท่องเที่ยว เขตที่จอดเรือ และพื้นที่สวนสาธารณะ พร้อมทั้ง จะสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเดินทางภายในโครงการ ขณะนี้ได้ดำเนินการถมทะเลและอยู่ระหว่างปรับสภาพพื้นที่เพื่อวางระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแล้ว
.
โครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบนโยบายแห่งชาติของประธานาธิบดีโกตา บายา ราชปักษาแห่งศรีลังกา ที่ว่าด้วย ‘วิสัยทัศน์แห่งความเจริญรุ่งเรืองและความรุ่งโรจน์’ ซึ่งประกอบด้วยนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลศรีลังกากับประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด 20 ประการ ตั้งเป้าเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนในศรีลังกาอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลศรีลังกาได้ออกกฎหมายฉบับที่ 11 ของปี 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ในด้านต่างๆ ที่สำคัญดังนี้ (1) อำนวยความสะดวกในลักษณะประตูบานเดียว (Single window) ที่สามารถรวมการออกใบอนุญาตให้กับนักลงทุนในที่เดียว (2) ดูแลปกป้องนักลงทุนด้วยกฎหมายเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (3) ดำเนินธุรกรรมทางการเงินด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศได้ (4) มีกฎหมายแรงงานที่เอื้อให้ชาวต่างชาติเข้าไปทำงานในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ และ (5) ออกมาตรการลดหย่อนทางภาษีและการอำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างประเทศ
.
ศรีลังกาเล็งเห็นถึงศักยภาพของภาคเอกชนไทยที่น่าจะเข้าไปลงทุนในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ เพื่อพัฒนาให้เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงท่าเรือในภูมิภาคระหว่างกัน โดยมีข้อมูลภาพรวมการลงทุนที่น่าสนใจและโครงการการลงทุนของศรีลังกาที่โดดเด่น เช่น (1) ผู้ประกอบการทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สามารถตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในศรีลังกา ผ่านโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ ซิตี้ ได้ (2) การใช้ประโยชน์จากแผนการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของศรีลังกา (3)การใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตในการเข้าถึงตลาดศรีลังกา โดยสาขาการลงทุนในศรีลังกาที่นักลงทุนไทยอาจสนใจ ได้แก่ สาขาการเกษตรและการแปรรูปอาหาร สาขาการโรงแรม และสาขาการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ กิจกรรมทางธุรกิจในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ ที่น่าจะสอดคล้องกับศักยภาพของนักลงทุนไทย ได้แก่ (1) โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ที่อยู่อาศัย ศูนย์นิทรรศการ (2) ธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร และโรงแรม
.
จากการจัดประชุมเจรจาระดับสูงระหว่างศรีลังกา-ไทย ในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังมองหาตลาดลงทุนที่น่าสนใจ หรือวางแผนทำธุรกิจในศรีลังกาซึ่งกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือนานาชาติและต้องการดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพ โดยมีจุดเด่นในเรื่องที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่กำลังเติบโต
.
ขอบคุณเนื้อหาจาก :
https://globthailand.com/srilanka-081021/
ความร่วมมือ ศรีลังกา-ไทย ใบเบิกทางแห่งการลงทุนในภูมิภาคเอเชียใต้
ศรีลังกา’ หนึ่งในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูง และมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศที่ทันสมัย เอื้อต่อนักลงทุน สำหรับประเทศไทยซึ่งมีการติดต่อทางการค้ากับศรีลังกามาอย่างยาวนาน จึงเล็งเห็นโอกาสที่ทั้งสองประเทศจะพัฒนาความร่วมมือในมิติเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นขึ้นไปอีก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการส่งออกและการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยที่ไปลงทุนในตลาดที่สนใจเช่นศรีลังกา
.
เมื่อวันที่ 27 กันยายน ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของศรีลังกา และบริษัทไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง (ซีเอชอีซี) พอร์ต ซิตี้ โคลัมโบ จำกัด ได้ร่วมมือกัน เปิดการเจรจาระดับสูง พร้อมเชิญหน่วยงานและหอการค้าต่าง ๆ ในประเทศไทย เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและขยายช่องทางการลงทุนระหว่างศรีลังกาและไทยในอนาคต
.
การเจรจาในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อแสวงหาโอกาสด้านการลงทุนที่หลากหลาย โดยเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย ได้นำเสนอโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับศรีลังกา โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต 6 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) การท่องเที่ยว การเกษตรและการแปรรูปอาหาร โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมการบริการ และโครงการเมืองท่าเรือ (โคลัมโบ พอร์ต ซิตี้) ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลศรีลังกาต้องการดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพจากทั่วโลก รวมทั้งไทย
.
เมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาได้ออกกฎหมายที่กำหนดให้โครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ จัดตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEC) โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและการบริการระดับนานาชาติแห่งเอเชียใต้ รวมทั้งเป็นการพัฒนาเมืองบริเวณใกล้เคียงกับท่าเรือโคลัมโบ ให้มีความทันสมัยรองรับการลงทุนจากต่างประเทศโครงการมีพื้นที่รวม 269 เฮกตาร์ มูลค่าการลงทุน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ประกอบด้วย เขตที่อยู่อาศัย เขตสำนักงาน เขตการท่องเที่ยว เขตที่จอดเรือ และพื้นที่สวนสาธารณะ พร้อมทั้ง จะสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพื่อรองรับการเดินทางภายในโครงการ ขณะนี้ได้ดำเนินการถมทะเลและอยู่ระหว่างปรับสภาพพื้นที่เพื่อวางระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแล้ว
.
โครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ จัดตั้งขึ้นภายใต้กรอบนโยบายแห่งชาติของประธานาธิบดีโกตา บายา ราชปักษาแห่งศรีลังกา ที่ว่าด้วย ‘วิสัยทัศน์แห่งความเจริญรุ่งเรืองและความรุ่งโรจน์’ ซึ่งประกอบด้วยนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลศรีลังกากับประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด 20 ประการ ตั้งเป้าเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุนในศรีลังกาอย่างยั่งยืน โดยรัฐบาลศรีลังกาได้ออกกฎหมายฉบับที่ 11 ของปี 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ในด้านต่างๆ ที่สำคัญดังนี้ (1) อำนวยความสะดวกในลักษณะประตูบานเดียว (Single window) ที่สามารถรวมการออกใบอนุญาตให้กับนักลงทุนในที่เดียว (2) ดูแลปกป้องนักลงทุนด้วยกฎหมายเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างประเทศ (3) ดำเนินธุรกรรมทางการเงินด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศได้ (4) มีกฎหมายแรงงานที่เอื้อให้ชาวต่างชาติเข้าไปทำงานในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ และ (5) ออกมาตรการลดหย่อนทางภาษีและการอำนวยความสะดวกในการโอนเงินระหว่างประเทศ
.
ศรีลังกาเล็งเห็นถึงศักยภาพของภาคเอกชนไทยที่น่าจะเข้าไปลงทุนในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ เพื่อพัฒนาให้เป็นจุดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงท่าเรือในภูมิภาคระหว่างกัน โดยมีข้อมูลภาพรวมการลงทุนที่น่าสนใจและโครงการการลงทุนของศรีลังกาที่โดดเด่น เช่น (1) ผู้ประกอบการทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สามารถตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในศรีลังกา ผ่านโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ ซิตี้ ได้ (2) การใช้ประโยชน์จากแผนการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของศรีลังกา (3)การใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตในการเข้าถึงตลาดศรีลังกา โดยสาขาการลงทุนในศรีลังกาที่นักลงทุนไทยอาจสนใจ ได้แก่ สาขาการเกษตรและการแปรรูปอาหาร สาขาการโรงแรม และสาขาการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ กิจกรรมทางธุรกิจในโครงการโคลัมโบ พอร์ต ซิตี้ ที่น่าจะสอดคล้องกับศักยภาพของนักลงทุนไทย ได้แก่ (1) โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ที่อยู่อาศัย ศูนย์นิทรรศการ (2) ธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร และโรงแรม
.
จากการจัดประชุมเจรจาระดับสูงระหว่างศรีลังกา-ไทย ในครั้งนี้ นับเป็นความร่วมมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังมองหาตลาดลงทุนที่น่าสนใจ หรือวางแผนทำธุรกิจในศรีลังกาซึ่งกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือนานาชาติและต้องการดึงดูดนักลงทุนที่มีศักยภาพ โดยมีจุดเด่นในเรื่องที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของศรีลังกาที่กำลังเติบโต
.
ขอบคุณเนื้อหาจาก : https://globthailand.com/srilanka-081021/