ภาพประกอบจาก ppantip.com
มีผู้ขายรถมือสองนิสัยแย่ๆจำนวนหนึ่ง หลอกลวงผู้บริโภคโดยการขายรถยนต์มือสองสภาพที่ไม่สมบูรณ์ผิดปรกติ อันเกิดจากการเปลี่ยนเอาอะไหล่แท้ออกจากรถยนต์ และทดแทนด้วยอะไหล่ปลอมที่ราคาถูกกว่า การเปลี่ยนเลขไมล์ให้ต่ำลง รวมถึงหลอกลวงด้วยการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ซื้อรถยนต์มือสองต้องเสียประโยชน์ จากการปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์และการบำรุงรักษา รวมถึงมีรถยนต์จำนวนหนึ่งได้รับการบำรุงรักษาไม่ดีและนำมาขายทำให้ผู้ครอบครองต้องประสบปัญหาซ่อมแซมเพื่อแก้ไขปัญหา
แล้วการใช้ตัวกลางทำหน้าที่ตรวจสอบความสมบูรณ์ของรถยนต์เชื่อถือได้หรือไม่?
ตัวกลางหลายๆบริษัทก็ดี แต่หลายๆแห่งก็ไว้ใจได้ยาก เพราะขาดธรรมาภิบาลเนื่องจากมีความสนิทใกล้ชิดกับเจ้าของเต็นท์รถมากเกินไป ฉะนั้นการออกเอกสารตรวจสอบก็อาจจะออกให้ในบางประเด็นซึ่งอาจไม่คลุมสาระสำคัญที่จำเป็นของสภาพรถยนต์ได้
เอกสารจากตัวกลางที่น่าเชื่อถือกว่า คือ รับรายงานการซ่อมบำรุงจากศูนย์บริการแท้ของรถยี่ห้อนั้นๆ โดยให้ผู้ต้องการซื้อรถมือสองขอหมายเลขเครื่องยนต์ หรือ คัสซี (chassis) หรือเลขที่สัญญาซ่อมบำรุงของศูนย์บริการ โดยหมายเลขเครื่องและคัสซีจะปรากฏที่โครงรถ โครงประตูรถ โครงห้องเครื่อง เป็นต้น โดยอาจมีตั้งแต่ 10 หลัก ขึ้นไป (โดยปรกติไม่เกิน 20 หลัก)
ภาพประกอบมาจาก Google Image Search
หลังจากได้หมายเลขแล้ว ให้โทรตรวจสอบการซ่อมบำรุงกับศูนย์บริการสัก 3-4 แห่ง
ซึ่งโดยปรกติทางศูนย์บริการจะให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้ารับบริการอยู่แล้ว มันคือรายได้หลักของศูนย์
โดยเราแจ้งตามจริงว่า กำลังจะซื้อรถมือสองยี่ห้อของเขาขอตรวจสอบประวัติการบำรุงรักษา ศูนย์ไหนถูกจริตกับเรา เราก็สามารถเลือกใช้ศูนย์บริการนั้นได้ในอนาคต
นอกจากนั้นผู้ที่ซื้อรถยนต์แบบให้เต็นท์รถจัดไฟแนนซ์ จะได้รับข้อดีประการหนึ่ง คือ หากรถมีสภาพไม่สมบูรณ์สามารถขอคืนรถและคืนเงินได้ 100% แต่ในการทำธุรกรรมทุกขั้นตอนให้ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวีดีโอ ภาพเอกสาร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขายหรือเจ้าของรถ เผื่อเกิดปัญหาพิพาทภายหลัง จะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้
หลังจากทำสัญญาและรับรถมาแล้ว ให้นัดหมายนำรถเข้าตรวจที่ศูนย์ของยี่ห้อนั้นทันที (ภายในวันเดียวกับที่รับรถมาจะดีมาก) หากรถไม่สมบูรณ์ให้ทำเรื่องคืนรถตรงกับไฟแนนซ์ทันที ไม่ต้องไปเต็นท์แล้ว (เพราะไฟแนนซ์ คือ เจ้าของรถเช่าซื้อ) เพื่อป้องกันไม่ให้เต็นท์รถตุกติกว่ารถมีปัญหาเพราะผู้ซื้อเอง
ทั้งการรีบไปตรวจกับศูนย์ทันทีเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของผู้ซื้อว่าต้องการได้รับรถที่มีคุณภาพ รวมถึงป้องกันเต็นท์รถมิจฉาชีพไม่ให้ได้รับเงินจากไฟแนนซ์ง่ายดายเกินไปนัก (บริษัทไฟแนนซ์มีรอบการโอนเงินให้เต็นท์ บริษัทไฟแนนซ์จะได้ระงับสัญญาและการโอนเงิน)
เรื่องควรระวัง คือ "เงินดาวน์" ที่เราจ่ายสดกับเต็นท์ บางเต็นท์อาจไม่ต้องการคืน อ้างสารพัดสิ่ง ก็ไม่ต้องเถียงให้เกิดเรื่อง ให้ไปแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ (เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัวที่ยอมความได้) กับ สน. ในพื้นที่ซึ่งเต็นท์รถนั้นตั้งอยู่
การจ่ายเงินดาวน์ให้ใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีเจ้าของรถโดยตรง เท่านั้น เพื่อสร้างหลักฐานที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ
ฉะนั้นการเลือกซื้อรถ ต้องเช็คว่าเต็นท์นี่นิสัยดีหรือไม่? มีประวัติความเป็นมาในการให้บริการอย่างไร
หรือแก้ปัญหาก่อนเกิด คือ "ไม่ดาวน์"
สรุปขั้นตอน
1) ขอหมายเลขสำคัญของรถยนต์ไปตรวจสอบ เช่น เลขเครื่องยนต์, เลขตัวถัง, เลขที่สัญญารับประกันของศูนย์บริการ
2) ถ่ายทำธุรกรรมทุกขั้นตอน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม สถานที่ สภาพแวดล้อม
3) นำรถไปตรวจสอบกับศูนย์บริการทันทีที่รับรถภายในวันนั้น
4) ได้รถไม่ดี ให้ทำเรื่องคืนกับไฟแนนซ์ทันที
5) หากเต็นท์ไม่คืนเงินดาวน์ ไม่ต้องเถียงให้เกิดเรื่อง เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ สน. ในพื้นที่ ที่เต็นท์นั้นตั้งอยู่
6) เตือนภัยสังคม ด้วยการเขียนเล่าปัญหาและประสบการณ์ลงในสื่อโซเชียลอย่างสุภาพและมีเหตุผล แก่พรรคพวกเพื่อนฝูง เพื่อให้เต็นท์รถที่ดีได้มีที่ยืนในสังคม ส่วนมิจฉาชีพหลอกลวงก็จะได้ลดจำนวนลง
ซื้อรถมือสองเสียเป็นแสน เป็นล้าน หากไม่อยากถูกหลอก ให้ขอหมายเลขเครื่องยนต์ มาตรวจสอบก่อนเลย
ภาพประกอบจาก ppantip.com
มีผู้ขายรถมือสองนิสัยแย่ๆจำนวนหนึ่ง หลอกลวงผู้บริโภคโดยการขายรถยนต์มือสองสภาพที่ไม่สมบูรณ์ผิดปรกติ อันเกิดจากการเปลี่ยนเอาอะไหล่แท้ออกจากรถยนต์ และทดแทนด้วยอะไหล่ปลอมที่ราคาถูกกว่า การเปลี่ยนเลขไมล์ให้ต่ำลง รวมถึงหลอกลวงด้วยการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้ซื้อรถยนต์มือสองต้องเสียประโยชน์ จากการปกปิดข้อมูลอันเป็นสาระสำคัญของรถยนต์และการบำรุงรักษา รวมถึงมีรถยนต์จำนวนหนึ่งได้รับการบำรุงรักษาไม่ดีและนำมาขายทำให้ผู้ครอบครองต้องประสบปัญหาซ่อมแซมเพื่อแก้ไขปัญหา
แล้วการใช้ตัวกลางทำหน้าที่ตรวจสอบความสมบูรณ์ของรถยนต์เชื่อถือได้หรือไม่?
ตัวกลางหลายๆบริษัทก็ดี แต่หลายๆแห่งก็ไว้ใจได้ยาก เพราะขาดธรรมาภิบาลเนื่องจากมีความสนิทใกล้ชิดกับเจ้าของเต็นท์รถมากเกินไป ฉะนั้นการออกเอกสารตรวจสอบก็อาจจะออกให้ในบางประเด็นซึ่งอาจไม่คลุมสาระสำคัญที่จำเป็นของสภาพรถยนต์ได้
เอกสารจากตัวกลางที่น่าเชื่อถือกว่า คือ รับรายงานการซ่อมบำรุงจากศูนย์บริการแท้ของรถยี่ห้อนั้นๆ โดยให้ผู้ต้องการซื้อรถมือสองขอหมายเลขเครื่องยนต์ หรือ คัสซี (chassis) หรือเลขที่สัญญาซ่อมบำรุงของศูนย์บริการ โดยหมายเลขเครื่องและคัสซีจะปรากฏที่โครงรถ โครงประตูรถ โครงห้องเครื่อง เป็นต้น โดยอาจมีตั้งแต่ 10 หลัก ขึ้นไป (โดยปรกติไม่เกิน 20 หลัก)
ภาพประกอบมาจาก Google Image Search
หลังจากได้หมายเลขแล้ว ให้โทรตรวจสอบการซ่อมบำรุงกับศูนย์บริการสัก 3-4 แห่ง
ซึ่งโดยปรกติทางศูนย์บริการจะให้ความร่วมมืออย่างดี เพราะต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้ารับบริการอยู่แล้ว มันคือรายได้หลักของศูนย์
โดยเราแจ้งตามจริงว่า กำลังจะซื้อรถมือสองยี่ห้อของเขาขอตรวจสอบประวัติการบำรุงรักษา ศูนย์ไหนถูกจริตกับเรา เราก็สามารถเลือกใช้ศูนย์บริการนั้นได้ในอนาคต
นอกจากนั้นผู้ที่ซื้อรถยนต์แบบให้เต็นท์รถจัดไฟแนนซ์ จะได้รับข้อดีประการหนึ่ง คือ หากรถมีสภาพไม่สมบูรณ์สามารถขอคืนรถและคืนเงินได้ 100% แต่ในการทำธุรกรรมทุกขั้นตอนให้ถ่ายภาพนิ่ง ถ่ายวีดีโอ ภาพเอกสาร และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขายหรือเจ้าของรถ เผื่อเกิดปัญหาพิพาทภายหลัง จะสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้
หลังจากทำสัญญาและรับรถมาแล้ว ให้นัดหมายนำรถเข้าตรวจที่ศูนย์ของยี่ห้อนั้นทันที (ภายในวันเดียวกับที่รับรถมาจะดีมาก) หากรถไม่สมบูรณ์ให้ทำเรื่องคืนรถตรงกับไฟแนนซ์ทันที ไม่ต้องไปเต็นท์แล้ว (เพราะไฟแนนซ์ คือ เจ้าของรถเช่าซื้อ) เพื่อป้องกันไม่ให้เต็นท์รถตุกติกว่ารถมีปัญหาเพราะผู้ซื้อเอง
ทั้งการรีบไปตรวจกับศูนย์ทันทีเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจของผู้ซื้อว่าต้องการได้รับรถที่มีคุณภาพ รวมถึงป้องกันเต็นท์รถมิจฉาชีพไม่ให้ได้รับเงินจากไฟแนนซ์ง่ายดายเกินไปนัก (บริษัทไฟแนนซ์มีรอบการโอนเงินให้เต็นท์ บริษัทไฟแนนซ์จะได้ระงับสัญญาและการโอนเงิน)
เรื่องควรระวัง คือ "เงินดาวน์" ที่เราจ่ายสดกับเต็นท์ บางเต็นท์อาจไม่ต้องการคืน อ้างสารพัดสิ่ง ก็ไม่ต้องเถียงให้เกิดเรื่อง ให้ไปแจ้งความคดียักยอกทรัพย์ (เป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัวที่ยอมความได้) กับ สน. ในพื้นที่ซึ่งเต็นท์รถนั้นตั้งอยู่
การจ่ายเงินดาวน์ให้ใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคารเข้าบัญชีเจ้าของรถโดยตรง เท่านั้น เพื่อสร้างหลักฐานที่ชัดเจนน่าเชื่อถือ
ฉะนั้นการเลือกซื้อรถ ต้องเช็คว่าเต็นท์นี่นิสัยดีหรือไม่? มีประวัติความเป็นมาในการให้บริการอย่างไร
หรือแก้ปัญหาก่อนเกิด คือ "ไม่ดาวน์"
สรุปขั้นตอน
1) ขอหมายเลขสำคัญของรถยนต์ไปตรวจสอบ เช่น เลขเครื่องยนต์, เลขตัวถัง, เลขที่สัญญารับประกันของศูนย์บริการ
2) ถ่ายทำธุรกรรมทุกขั้นตอน รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม สถานที่ สภาพแวดล้อม
3) นำรถไปตรวจสอบกับศูนย์บริการทันทีที่รับรถภายในวันนั้น
4) ได้รถไม่ดี ให้ทำเรื่องคืนกับไฟแนนซ์ทันที
5) หากเต็นท์ไม่คืนเงินดาวน์ ไม่ต้องเถียงให้เกิดเรื่อง เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับ สน. ในพื้นที่ ที่เต็นท์นั้นตั้งอยู่
6) เตือนภัยสังคม ด้วยการเขียนเล่าปัญหาและประสบการณ์ลงในสื่อโซเชียลอย่างสุภาพและมีเหตุผล แก่พรรคพวกเพื่อนฝูง เพื่อให้เต็นท์รถที่ดีได้มีที่ยืนในสังคม ส่วนมิจฉาชีพหลอกลวงก็จะได้ลดจำนวนลง