ไทยติดอันดับ Top 10 มีผู้ต้องขังล้นคุกมากมาย ไม่แพ้ชาติใดในโลก
https://brandinside.asia/most-prisoners-world-top-10-ranking-in-2021/
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ครม. มีมติตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำและฝึกทักษะอาชีพ พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานและสร้างผู้พ้นโทษให้เป็นประกอบการรายใหม่ ประเด็นนี้ทำให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง เพราะเคยมีประเด็นเช่นนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว
ในแง่บวกคือการสร้างโอกาสให้คนได้เพิ่มทักษะทำมาหากินแม้จะถูกตัดโอกาสขณะถูกคุมขังในเรือนจำ แต่ผลกระทบเชิงลบก็มีมากเช่นกัน ในต่างประเทศมีการติดสินบนทำให้ได้ใช้แรงงานราคาถูกในเรือนจำมากขึ้น ทำให้คนถูกคุมขังมากจำนวนขึ้น ยาวนานขึ้นโดยไม่จำเป็น ก่อนจะไปถึงเรื่องผลการศึกษาหรือวิจัยเชิงลึกเหล่านั้น เรามาดูกันก่อน จำนวนคนล้นคุกที่พูดถึงกัน ที่จริงแล้วคนล้นคุกจริงไหม ล้นคุกแล้วเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง??
สำหรับข้อมูลที่เรานำมาใช้นี้ มีทั้งจาก World Population Review ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเชิงสถิติมากมายเกี่ยวกับผู้คน, World Prison Brief แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนักโทษ การศึกษาและการวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับนักโทษ อาชญากรรมและยังมีข้อมูลเชิงสถิติจาก Statista มารวมด้วย
แหล่งข้อมูลทั้ง 3 แห่งนี้ อาจสลับตำแหน่งประเทศต่างๆ ขึ้นและลงตามแต่กระบวนการในการจัดหาข้อมูล แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลใด ความจริงที่ตรงกันเรื่องหนึ่งคือ ประเทศไทยติดอันดับ Top 10 เป็นหนึ่งในประเทศที่มีคนล้นคุกมากอันดับต้นๆ ของโลก สาเหตุที่เรียกว่าคนล้นคุกเพราะจำนวนผู้ต้องขังในไทยมากกว่าพื้นที่ของเรือนจำที่สามารถรองรับได้
World Prison Brief: ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขังล้นเรือนจำมากที่สุดในโลก
World Prison Brief (WPB) จัดทำโดย ICPR (สถาบันวิจัยนโยบายอาชญากรรมและความยุติธรรม) แห่ง Birkbeck, University of London เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2000 มีผู้อำนวยการคือ Roy Walmsley เผยแพร่จำนวนคนล้นคุกเมื่อมิถุนายน ปี 2021 ที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 223 อันดับ (บางประเทศที่มีจำนวนผู้ต้องขังเท่ากับประเทศอื่นๆ จะถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่เท่ากัน) โดย WPB จัดอันดับให้ 10 ประเทศแรกที่มีผู้ต้องขังล้นเรือนจำมากที่สุดในโลก มีดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 2,068,000 คน
2. จีน 1,690,000 คน
3. บราซิล 811,707 คน
4. อินเดีย 478,600 คน
5. รัสเซีย 471,490 คน
6. ไทย 309,282 คน (อันดับ 6 ของโลก อันดับ 3 ของเอเชียรองจากจีนและอินเดีย)
7. ตุรกี 291,198 คน
8. อินโดนีเซีย 266,259 คน
9. เม็กซิโก 220,866 คน
10. อิหร่าน 189,000 คน
WPB ประเมินว่า อัตราประชากรผู้ต้องขังของไทยมีอยู่ราว 445 คนต่อประชากร 100,000 คน ประเมินจากประชากรทั้งหมด 69.49 ล้านคน โดยคิดเป็นจำนวนประชากรนักโทษทั้งก่อนที่จะถูกคุมขังและถูกคุมขังราว 19.4% แบ่งได้ดังนี้
• ปี 2000: 223,406 คน คิดเป็น 354 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2002: 254,070 คน คิดเป็น 396 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2004: 167,142 คน คิดเป็น 257 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2006: 152,625 คน คิดเป็น 232 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2008: 185,082 คน คิดเป็น 278 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2010: 210,855 คน คิดเป็น 313 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2012: 234,895 คน คิดเป็น 346 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2014: 315,012 คน คิดเป็น 460 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2016: 300,868 คน คิดเป็น 437 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2018: 366,316 คน คิดเป็น 529 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2020: 358,369 คน คิดเป็น 516 คนต่อ 100,000 คน
ไทยมีจำนวนผู้ต้องขังมากมายติดอันดับ 6 ของโลกและยังติดอันดับ 1 ของอาเซียน ดังนี้
1. ไทย มีจำนวนผู้ต้องขังล้นเรือนจำรวม 309,282 คน (อันดับ 6 ของโลก)
2. อินโดนีเซีย มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 266,259 คน (อันดับ 8 ของโลก)
3. ฟิลิปปินส์ มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 165,583 คน (อันดับ 11 ของโลก)
4. เวียดนาม มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 123,697 คน (อันดับ 13 ของโลก)
5. เมียนมา มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 92,000 คน (อันดับ 18 ของโลก)
6. มาเลเซีย มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 69,507 คน (อันดับ 26 ของโลก)
7. กัมพูชา มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 39,000 คน (อันดับ 45 ของโลก)
8. สิงคโปร์ มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 11,198 คน (อันดับ 89 ของโลก)
9. ลาว มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 9,000 คน (อันดับ 101 ของโลกเท่ากับประเทศเบนิน)
10. บรูไน มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 841 คน (อันดับ 165 ของโลก)
World Population Review: ไทยมีผู้ต้องขังล้นคุกติดอันดับ 4 ของโลก
ข้อมูลจาก WPR ระบุว่า ประเทศที่มีจำนวนคนล้นคุกเป็นอันดับ 1 ของโลกคือสหรัฐอเมริกา รายชื่อประเทศที่ WPR นำมาจัดลำดับนี้แตกต่างกับ World Prison Brief ไม่มีจีน บราซิล อินเดีย รัสเซียอยู่ในระดับ Top 10 ของโลก โดยการจัดอันดับคนล้นคุก 10 อันดับแรกของโลกจาก World Population Review ประจำปี 2021 นั้นให้ความสำคัญกับประเทศที่เป็นอันดับ 1 ของการมีจำนวนนักโทษล้นคุก นั่นก็คือสหรัฐอเมริกาที่มีคนล้นคุกอันดับ 1 ของโลก
WPR ระบุว่า
การที่มีผู้ต้องขังจำนวนมหาศาลนั้น มันนำไปสู่การสร้างปัญหาหลายมิติด้วยกัน มันทั้งเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพ ลดความสุขทางกายภาพ ยิ่งผู้ต้องขังอยู่ในคุกนานมากเท่าไร รัฐยิ่งหมดเปลืองงบประมาณมหาศาลไปกับการควบคุม จัดการในทุกมิติของชีวิตผู้ต้องขัง ต้องมีความปลอดภัยเพียงพอ ต้องมีอาหาร มีกิจกรรมสันทนาการให้บ้าง มีโอกาสทางการศึกษา มีการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ต้องใช้จ่ายให้กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงระบบสุขภาพสำหรับผู้ต้องขัง รัฐต้องจ่ายงบประมาณมหาศาลและสูงถึง 69,355 เหรียญสหรัฐต่อหัวหรือประมาณ 2.3 ล้านบาท
สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว แม้จำนวนผู้ต้องขังจะมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก แต่ถ้าดูย้อนหลังแล้วก็พบว่าปัจจุบันจำนวนคนล้นคุกของสหรัฐฯ อยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบ 20 ปี สหรัฐฯ มีประชากรที่เป็นผู้ต้องขังมากถึง 25% ของโลก ปัจจุบันมีมากกว่า 2.1 ล้านคนในขณะที่ปี 1972 มีเพียง 2 แสนคนเท่านั้น เกือบ 30 ปี สหรัฐฯ เพิ่มจำนวนประชากรที่เป็นผู้ต้องขังมากขึ้นถึง 10 เท่า
สำหรับรัฐที่มีผู้ต้องขังมากที่สุดคือลุยเซียนาและโอคลาโฮมา ปัญหาคนล้นคุกของสหรัฐฯ ทำให้ถูกมองว่าเป็นการลดทอนความเป็นคน ขัดแย้งกับหลักการเคารพในสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐฯ ยึดถือและยังทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคมด้วย
คนล้นคุกหรือผู้ต้องขังล้นคุกนี้ถือว่าเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่มีอัตราที่สูงมากเกิน 100% สำหรับประเทศเคนยาอัตราคนล้นคุกอยู่ที่ 284% ส่วนสหรัฐอเมริกามีมากถึง 639% ส่วนไทย 549%
10 อันดับแรกของโลกที่ World Population Review จัดอันดับให้มีคนล้นคุกมากที่สุดของโลก ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 639%
2. เอลซัลวาดอร์ 566%
3. เติร์กเมนิสถาน 552%
4. ไทย 549%
5. สาธารณรัฐปาเลา 522%
6. รวันดา 511%
7. คิวบา 510%
8. มัลดีฟส์ 499%
9. บาฮามาส 442%
10. เกรนาดา 429%
Statista: ไทยติดอันดับ 6 จำนวนผู้ต้องขังล้นคุกมากที่สุดในโลก
ข้อมูลจาก WPB และ WPR ต่างเห็นตรงกันกับ Statista ไทยก็ยังติดอันดับ Top 10 ของโลกเช่นเดิม การจัดอันดับจำนวนผู้ต้องขังที่มากที่สุดของโลกโดย Statista นี้พบว่า ไทยเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล อินเดียและรัสเซียเท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่เมื่อ 20 กรกฎาคม 2021 ข้อมูลจาก Statista ใกล้เคียงกับ World Prison Brief ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 2,094,000 คน
2. จีน 1,710,000 คน
3. บราซิล 759,518 คน
4. อินเดีย 478,600 คน
5. รัสเซีย 475,009 คน
6. ไทย 309,282 คน
7. ตุรกี 281,094 คน
8. อินโดนีเซีย 274,043 คน
9. เม็กซิโก 215,232 คน
10. ฟิลิปปินส์ 215,000 คน
นอกจากนี้ ไทยยังมีนักโทษมากเป็นอันดับ 9 ของโลก เมื่อเปรียบจำนวนนักโทษต่อประชากร 100,000 คน ข้อมูลประจำเดือนพฤษภาคม เผยแพร่
เมื่อ 2 มิถุนายน 2021 ระบุไว้ ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 639 คน
2. เอลซัลวาดอร์ 562 คน
3. เติร์กเมนิสถาน 552 คน
4. สาธารณรัฐปาเลา 522 คน
5. รวันดา 511 คน
6. คิวบา 510 คน
7. มัลดีฟส์ 499 คน
8. หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือหมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ 447 คน
9. ไทย 443 คน
10. บาฮามาส 442 คน
ข้อมูลจาก Statista ยังระบุด้วยว่า ผู้ต้องขังสหรัฐอเมริกามีคนแอฟริกัน-อเมริกันอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุด ในปี 2018 มีคนผิวดำและเป็น non-hispanic หรือเป็นประชากรในสหรัฐที่ไม่ได้พูดภาษาสเปนอยู่ราว 409,600 คน ขณะที่คนผิวขาวที่เป็น non-hispanic มีอยู่ราว 394,800 คน ส่วนคน hispanic มีอยู่ราว 274,300 คน
นอกจากนี้ นักโทษราว 176,300 คน ส่วนใหญ่ถูกจับกุมเนื่องจากการกระทำผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด มีทั้งลักลอบค้ายาและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง นอกจากจำคุกเรื่องยาเสพติดโดยมากแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นคดีอาชญากรรมร้ายแรงด้วย อาทิ การฆาตกรรมและการปล้น ชิงทรัพย์ โจรกรรม
ไทยมีจำนวนคนล้นคุกติดอันดับ 6 ของโลก อันดับ 3 ของเอเชีย อันดับ 1 ของอาเซียน
ข้อมูลจากทั้ง 3 แหล่งที่กล่าวมาข้างต้น สะท้อนภาพชัดเจนว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ต้องขังล้นคุกมากมายจนติดอันดับโลก แม้กระทั่งในระดับอาเซียนไทยก็ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เรามาดูข้อมูลของฝั่งไทยกันบ้าง ข้อมูลจากรายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศสำรวจ ณ 1 ตุลาคม 2564 พบว่า
• นักโทษเด็ดขาดรวมชาย-หญิง 231,488 คน เป็นอัตรา 81.72%
• ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์-ฎีการวมชาย-หญิง 24,107 คน เป็นอัตรา 8.453%
• ผู้ต้องขังระหว่างไต่สวน-พิจารณารวมชาย-หญิง 14,067 คน เป็นอัตรา 4.933%
• ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนรวมชาย-หญิง 14,691 คน เป็นอัตรา 5.151%
• เยาวชนที่ฝากขังรวมชาย-หญิง 19 คน เป็นอัตรา 0.007%
• ผู้ถูกกักกันรวมชาย-หญิง 46 คน เป็นอัตรา 0.016%
• ผู้ต้องกักขังรวมชาย-หญิง 764 คน เป็นอัตรา 0.268%
• รวมผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งสิ้น 285,182 คน
(หมายเหตุ*) จำนวนที่รายงานจากกรมราชทัณฑ์ห่างจากรายงานการศึกษาจากหน่วยงานต่างชาติ
จากจำนวนสถิติของผู้ต้องขังล้นคุกหรือเรือนจำที่ว่ามาข้างต้นนี้ มีผู้เคยทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหามาก่อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้จำนวนนักโทษมีจำนวนล้นคุกมากเกินไป
ประเด็นแรก ยิ่งผู้ต้องขังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่องบประมาณและประสิทธิภาพในการบริหารงานราชทัณฑ์ จากที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ กรณีของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ต้องขังล้นคุกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้รัฐต้องแบกรับภาระเกินจำเป็น แน่นอนว่า เงินรายได้สำหรับแบกรับภาระนี้ ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ที่เป็นภาษีของประชาชนด้วย มีทั้งการจัดการสถานที่ ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรที่ต้องดูแลเรือนจำ การดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ ค่าอาหาร ค่าบำรุงสถานที่ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนก็มีส่วนในการจ่ายเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปภายใต้การรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม
ประเด็นสอง การใช้กฎหมายอาญามากเกินความจำเป็น กรณีนี้ ควรหันมาใช้กฎหมายอาญาให้เหมาะสม เรียกว่าภาวะกฎหมายอาญาเฟ้อ (over-criminalization) ไม่ใช่แค่ใช้เกินจำเป็นแต่ยังมีกฎหมายบังคับใช้ที่มากเกินไป มีการกำหนดโทษอญาใช้บังคับโดยไม่ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายเก่าที่หมดความจำเป็นหรือล้าสมัยออก
JJNY : ไทยติดTop10ล้นคุก│ส.ส.เพื่อไทยจี้คุมการระบาดเชียงใหม่│ลูกออทิสติกหลังฉีดแอสตราฯเข็ม2ดับ│ยอดขายรถตกฮวบลดลง 17.7%
https://brandinside.asia/most-prisoners-world-top-10-ranking-in-2021/
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ครม. มีมติตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการแก้ปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำและฝึกทักษะอาชีพ พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานและสร้างผู้พ้นโทษให้เป็นประกอบการรายใหม่ ประเด็นนี้ทำให้เกิดการถกเถียงในวงกว้าง เพราะเคยมีประเด็นเช่นนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว
ในแง่บวกคือการสร้างโอกาสให้คนได้เพิ่มทักษะทำมาหากินแม้จะถูกตัดโอกาสขณะถูกคุมขังในเรือนจำ แต่ผลกระทบเชิงลบก็มีมากเช่นกัน ในต่างประเทศมีการติดสินบนทำให้ได้ใช้แรงงานราคาถูกในเรือนจำมากขึ้น ทำให้คนถูกคุมขังมากจำนวนขึ้น ยาวนานขึ้นโดยไม่จำเป็น ก่อนจะไปถึงเรื่องผลการศึกษาหรือวิจัยเชิงลึกเหล่านั้น เรามาดูกันก่อน จำนวนคนล้นคุกที่พูดถึงกัน ที่จริงแล้วคนล้นคุกจริงไหม ล้นคุกแล้วเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง??
สำหรับข้อมูลที่เรานำมาใช้นี้ มีทั้งจาก World Population Review ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเชิงสถิติมากมายเกี่ยวกับผู้คน, World Prison Brief แหล่งข้อมูลที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนักโทษ การศึกษาและการวิจัยเชิงนโยบายเกี่ยวกับนักโทษ อาชญากรรมและยังมีข้อมูลเชิงสถิติจาก Statista มารวมด้วย
แหล่งข้อมูลทั้ง 3 แห่งนี้ อาจสลับตำแหน่งประเทศต่างๆ ขึ้นและลงตามแต่กระบวนการในการจัดหาข้อมูล แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลใด ความจริงที่ตรงกันเรื่องหนึ่งคือ ประเทศไทยติดอันดับ Top 10 เป็นหนึ่งในประเทศที่มีคนล้นคุกมากอันดับต้นๆ ของโลก สาเหตุที่เรียกว่าคนล้นคุกเพราะจำนวนผู้ต้องขังในไทยมากกว่าพื้นที่ของเรือนจำที่สามารถรองรับได้
World Prison Brief: ไทยติดอันดับ 6 ผู้ต้องขังล้นเรือนจำมากที่สุดในโลก
World Prison Brief (WPB) จัดทำโดย ICPR (สถาบันวิจัยนโยบายอาชญากรรมและความยุติธรรม) แห่ง Birkbeck, University of London เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2000 มีผู้อำนวยการคือ Roy Walmsley เผยแพร่จำนวนคนล้นคุกเมื่อมิถุนายน ปี 2021 ที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 223 อันดับ (บางประเทศที่มีจำนวนผู้ต้องขังเท่ากับประเทศอื่นๆ จะถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่เท่ากัน) โดย WPB จัดอันดับให้ 10 ประเทศแรกที่มีผู้ต้องขังล้นเรือนจำมากที่สุดในโลก มีดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 2,068,000 คน
2. จีน 1,690,000 คน
3. บราซิล 811,707 คน
4. อินเดีย 478,600 คน
5. รัสเซีย 471,490 คน
6. ไทย 309,282 คน (อันดับ 6 ของโลก อันดับ 3 ของเอเชียรองจากจีนและอินเดีย)
7. ตุรกี 291,198 คน
8. อินโดนีเซีย 266,259 คน
9. เม็กซิโก 220,866 คน
10. อิหร่าน 189,000 คน
WPB ประเมินว่า อัตราประชากรผู้ต้องขังของไทยมีอยู่ราว 445 คนต่อประชากร 100,000 คน ประเมินจากประชากรทั้งหมด 69.49 ล้านคน โดยคิดเป็นจำนวนประชากรนักโทษทั้งก่อนที่จะถูกคุมขังและถูกคุมขังราว 19.4% แบ่งได้ดังนี้
• ปี 2000: 223,406 คน คิดเป็น 354 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2002: 254,070 คน คิดเป็น 396 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2004: 167,142 คน คิดเป็น 257 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2006: 152,625 คน คิดเป็น 232 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2008: 185,082 คน คิดเป็น 278 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2010: 210,855 คน คิดเป็น 313 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2012: 234,895 คน คิดเป็น 346 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2014: 315,012 คน คิดเป็น 460 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2016: 300,868 คน คิดเป็น 437 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2018: 366,316 คน คิดเป็น 529 คนต่อ 100,000 คน
• ปี 2020: 358,369 คน คิดเป็น 516 คนต่อ 100,000 คน
ไทยมีจำนวนผู้ต้องขังมากมายติดอันดับ 6 ของโลกและยังติดอันดับ 1 ของอาเซียน ดังนี้
1. ไทย มีจำนวนผู้ต้องขังล้นเรือนจำรวม 309,282 คน (อันดับ 6 ของโลก)
2. อินโดนีเซีย มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 266,259 คน (อันดับ 8 ของโลก)
3. ฟิลิปปินส์ มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 165,583 คน (อันดับ 11 ของโลก)
4. เวียดนาม มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 123,697 คน (อันดับ 13 ของโลก)
5. เมียนมา มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 92,000 คน (อันดับ 18 ของโลก)
6. มาเลเซีย มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 69,507 คน (อันดับ 26 ของโลก)
7. กัมพูชา มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 39,000 คน (อันดับ 45 ของโลก)
8. สิงคโปร์ มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 11,198 คน (อันดับ 89 ของโลก)
9. ลาว มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 9,000 คน (อันดับ 101 ของโลกเท่ากับประเทศเบนิน)
10. บรูไน มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 841 คน (อันดับ 165 ของโลก)
World Population Review: ไทยมีผู้ต้องขังล้นคุกติดอันดับ 4 ของโลก
ข้อมูลจาก WPR ระบุว่า ประเทศที่มีจำนวนคนล้นคุกเป็นอันดับ 1 ของโลกคือสหรัฐอเมริกา รายชื่อประเทศที่ WPR นำมาจัดลำดับนี้แตกต่างกับ World Prison Brief ไม่มีจีน บราซิล อินเดีย รัสเซียอยู่ในระดับ Top 10 ของโลก โดยการจัดอันดับคนล้นคุก 10 อันดับแรกของโลกจาก World Population Review ประจำปี 2021 นั้นให้ความสำคัญกับประเทศที่เป็นอันดับ 1 ของการมีจำนวนนักโทษล้นคุก นั่นก็คือสหรัฐอเมริกาที่มีคนล้นคุกอันดับ 1 ของโลก
WPR ระบุว่า การที่มีผู้ต้องขังจำนวนมหาศาลนั้น มันนำไปสู่การสร้างปัญหาหลายมิติด้วยกัน มันทั้งเพิ่มความเสี่ยงด้านสุขภาพ ลดความสุขทางกายภาพ ยิ่งผู้ต้องขังอยู่ในคุกนานมากเท่าไร รัฐยิ่งหมดเปลืองงบประมาณมหาศาลไปกับการควบคุม จัดการในทุกมิติของชีวิตผู้ต้องขัง ต้องมีความปลอดภัยเพียงพอ ต้องมีอาหาร มีกิจกรรมสันทนาการให้บ้าง มีโอกาสทางการศึกษา มีการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน ต้องใช้จ่ายให้กับสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงระบบสุขภาพสำหรับผู้ต้องขัง รัฐต้องจ่ายงบประมาณมหาศาลและสูงถึง 69,355 เหรียญสหรัฐต่อหัวหรือประมาณ 2.3 ล้านบาท
สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว แม้จำนวนผู้ต้องขังจะมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก แต่ถ้าดูย้อนหลังแล้วก็พบว่าปัจจุบันจำนวนคนล้นคุกของสหรัฐฯ อยู่ในอัตราที่ต่ำที่สุดของสหรัฐฯ ในรอบ 20 ปี สหรัฐฯ มีประชากรที่เป็นผู้ต้องขังมากถึง 25% ของโลก ปัจจุบันมีมากกว่า 2.1 ล้านคนในขณะที่ปี 1972 มีเพียง 2 แสนคนเท่านั้น เกือบ 30 ปี สหรัฐฯ เพิ่มจำนวนประชากรที่เป็นผู้ต้องขังมากขึ้นถึง 10 เท่า
สำหรับรัฐที่มีผู้ต้องขังมากที่สุดคือลุยเซียนาและโอคลาโฮมา ปัญหาคนล้นคุกของสหรัฐฯ ทำให้ถูกมองว่าเป็นการลดทอนความเป็นคน ขัดแย้งกับหลักการเคารพในสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐฯ ยึดถือและยังทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในสังคมด้วย
คนล้นคุกหรือผู้ต้องขังล้นคุกนี้ถือว่าเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่มีอัตราที่สูงมากเกิน 100% สำหรับประเทศเคนยาอัตราคนล้นคุกอยู่ที่ 284% ส่วนสหรัฐอเมริกามีมากถึง 639% ส่วนไทย 549%
10 อันดับแรกของโลกที่ World Population Review จัดอันดับให้มีคนล้นคุกมากที่สุดของโลก ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 639%
2. เอลซัลวาดอร์ 566%
3. เติร์กเมนิสถาน 552%
4. ไทย 549%
5. สาธารณรัฐปาเลา 522%
6. รวันดา 511%
7. คิวบา 510%
8. มัลดีฟส์ 499%
9. บาฮามาส 442%
10. เกรนาดา 429%
Statista: ไทยติดอันดับ 6 จำนวนผู้ต้องขังล้นคุกมากที่สุดในโลก
ข้อมูลจาก WPB และ WPR ต่างเห็นตรงกันกับ Statista ไทยก็ยังติดอันดับ Top 10 ของโลกเช่นเดิม การจัดอันดับจำนวนผู้ต้องขังที่มากที่สุดของโลกโดย Statista นี้พบว่า ไทยเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล อินเดียและรัสเซียเท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่เมื่อ 20 กรกฎาคม 2021 ข้อมูลจาก Statista ใกล้เคียงกับ World Prison Brief ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 2,094,000 คน
2. จีน 1,710,000 คน
3. บราซิล 759,518 คน
4. อินเดีย 478,600 คน
5. รัสเซีย 475,009 คน
6. ไทย 309,282 คน
7. ตุรกี 281,094 คน
8. อินโดนีเซีย 274,043 คน
9. เม็กซิโก 215,232 คน
10. ฟิลิปปินส์ 215,000 คน
นอกจากนี้ ไทยยังมีนักโทษมากเป็นอันดับ 9 ของโลก เมื่อเปรียบจำนวนนักโทษต่อประชากร 100,000 คน ข้อมูลประจำเดือนพฤษภาคม เผยแพร่
เมื่อ 2 มิถุนายน 2021 ระบุไว้ ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 639 คน
2. เอลซัลวาดอร์ 562 คน
3. เติร์กเมนิสถาน 552 คน
4. สาธารณรัฐปาเลา 522 คน
5. รวันดา 511 คน
6. คิวบา 510 คน
7. มัลดีฟส์ 499 คน
8. หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือหมู่เกาะเวอร์จินของอังกฤษ 447 คน
9. ไทย 443 คน
10. บาฮามาส 442 คน
ข้อมูลจาก Statista ยังระบุด้วยว่า ผู้ต้องขังสหรัฐอเมริกามีคนแอฟริกัน-อเมริกันอยู่ในสัดส่วนที่มากที่สุด ในปี 2018 มีคนผิวดำและเป็น non-hispanic หรือเป็นประชากรในสหรัฐที่ไม่ได้พูดภาษาสเปนอยู่ราว 409,600 คน ขณะที่คนผิวขาวที่เป็น non-hispanic มีอยู่ราว 394,800 คน ส่วนคน hispanic มีอยู่ราว 274,300 คน
นอกจากนี้ นักโทษราว 176,300 คน ส่วนใหญ่ถูกจับกุมเนื่องจากการกระทำผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด มีทั้งลักลอบค้ายาและมียาเสพติดไว้ในครอบครอง นอกจากจำคุกเรื่องยาเสพติดโดยมากแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นคดีอาชญากรรมร้ายแรงด้วย อาทิ การฆาตกรรมและการปล้น ชิงทรัพย์ โจรกรรม
ไทยมีจำนวนคนล้นคุกติดอันดับ 6 ของโลก อันดับ 3 ของเอเชีย อันดับ 1 ของอาเซียน
ข้อมูลจากทั้ง 3 แหล่งที่กล่าวมาข้างต้น สะท้อนภาพชัดเจนว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ต้องขังล้นคุกมากมายจนติดอันดับโลก แม้กระทั่งในระดับอาเซียนไทยก็ยังขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้อย่างไม่น่าเชื่อ เรามาดูข้อมูลของฝั่งไทยกันบ้าง ข้อมูลจากรายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศสำรวจ ณ 1 ตุลาคม 2564 พบว่า
• นักโทษเด็ดขาดรวมชาย-หญิง 231,488 คน เป็นอัตรา 81.72%
• ผู้ต้องขังระหว่างอุทธรณ์-ฎีการวมชาย-หญิง 24,107 คน เป็นอัตรา 8.453%
• ผู้ต้องขังระหว่างไต่สวน-พิจารณารวมชาย-หญิง 14,067 คน เป็นอัตรา 4.933%
• ผู้ต้องขังระหว่างสอบสวนรวมชาย-หญิง 14,691 คน เป็นอัตรา 5.151%
• เยาวชนที่ฝากขังรวมชาย-หญิง 19 คน เป็นอัตรา 0.007%
• ผู้ถูกกักกันรวมชาย-หญิง 46 คน เป็นอัตรา 0.016%
• ผู้ต้องกักขังรวมชาย-หญิง 764 คน เป็นอัตรา 0.268%
• รวมผู้ต้องราชทัณฑ์ทั้งสิ้น 285,182 คน
(หมายเหตุ*) จำนวนที่รายงานจากกรมราชทัณฑ์ห่างจากรายงานการศึกษาจากหน่วยงานต่างชาติ
จากจำนวนสถิติของผู้ต้องขังล้นคุกหรือเรือนจำที่ว่ามาข้างต้นนี้ มีผู้เคยทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหามาก่อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นสำคัญที่ส่งผลให้จำนวนนักโทษมีจำนวนล้นคุกมากเกินไป
ประเด็นแรก ยิ่งผู้ต้องขังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ยิ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่องบประมาณและประสิทธิภาพในการบริหารงานราชทัณฑ์ จากที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ กรณีของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ต้องขังล้นคุกมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้รัฐต้องแบกรับภาระเกินจำเป็น แน่นอนว่า เงินรายได้สำหรับแบกรับภาระนี้ ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ที่เป็นภาษีของประชาชนด้วย มีทั้งการจัดการสถานที่ ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรที่ต้องดูแลเรือนจำ การดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำ ค่าอาหาร ค่าบำรุงสถานที่ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนก็มีส่วนในการจ่ายเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปภายใต้การรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม
ประเด็นสอง การใช้กฎหมายอาญามากเกินความจำเป็น กรณีนี้ ควรหันมาใช้กฎหมายอาญาให้เหมาะสม เรียกว่าภาวะกฎหมายอาญาเฟ้อ (over-criminalization) ไม่ใช่แค่ใช้เกินจำเป็นแต่ยังมีกฎหมายบังคับใช้ที่มากเกินไป มีการกำหนดโทษอญาใช้บังคับโดยไม่ยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายเก่าที่หมดความจำเป็นหรือล้าสมัยออก