"โควิด" ยังพ่นพิษฉุด "ดัชนีดิจิทัลไทย” ทรงตัว!! ไม่โตตามคาด
https://www.bangkokbiznews.com/tech/967409
ดีป้า เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไตรมาส 3 ทรงตัวต่อเนื่อง วอนรัฐเร่งนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลภาครัฐ ชี้ผลกระทบจากโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจชะลอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตฯ ดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ดีป้า เผย ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 3 ทรงตัวต่อเนื่อง ชี้ ผู้ประกอบการดิจิทัล วอนรัฐดำเนินนโยบายส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลภาครัฐ เอื้อความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ชี้ผล กระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว จีดีพีหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (21 ต.ค.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า แถลงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Sentiment Index) ไตรมาส 3 ประจำปี 2564 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 45.0 ทรงตัวจากระดับ 45.6 ของไตรมาส 2 ในเกือบทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านปริมาณ การผลิต และการลงทุน
นาย
ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ระดับ 45.0 เป็นผลมาจากการผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง และขาดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนและตรงจุดจากภาครัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จีดีพีหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน กระทบต่ออุตสาหกรรมดิจิทัล เนื่องจากลูกค้าขาดกำลังซื้อ ชะลอการจ่ายเงิน ผู้ประกอบการดิจิทัลประสบภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ทั้งนี้ หากแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมจะเห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากผลประกอบการ และต้นทุนการประกอบการ มีเพียง
-กลุ่มอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระดับ 52.9
-กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ อยู่ที่ระดับ 46.3
-กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อยู่ที่ระดับ 44.7
-กลุ่มอุตสาหกรรมที่ระดับความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง คือ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อยู่ที่ระดับ 45.4
-กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์/อุปกรณ์อัจฉริยะ อยู่ที่ระดับ 41.6
“ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยคาดหวังให้ภาครัฐดำเนินนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งด้านการจ้างงานและเงินเดือน เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงทำให้ฐานเงินเดือนเพิ่มขึ้น ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือการลงทุนของผู้ประกอบการ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบยังคงเป็นอุปสรรค ควรมีความผ่อนคลาย และมีความชัดเจนในการบังคับใช้ในการสนับสนุน ด้านการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันควรเปิดโอกาสการเข้าถึงฐานข้อมูลของภาครัฐ รวมถึงการแชร์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในอนาคต” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
พร้อมกันนี้ นาย
ณัฐพล ระบุว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และดีป้าเล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ โดยเฉพาะการมุ่งปลูกฝังความตระหนักรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศพัฒนาสื่อการสอนในบทเรียน “
โลกแห่งอุปกรณ์อัจฉริยะ” ขึ้น เพื่อส่งต่อให้กับคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าให้คุณครูสามารถดาวน์โหลดสื่อการสอนและเรียนรู้วิธีการใช้สื่อฯ ตัวเองผ่านทาง Youtube: depa Thailand ซึ่งคาดว่า บทเรียนนี้จะถูกนำไปใช้สอนจริงแก่เด็กและเยาวชนมากกว่า 100,000 คนทั่วประเทศ
สงขลายังวิกฤต ติดเชื้อ676 คน พุ่งอันดับ 2 เปิดวอล์คอินฉีดไฟเซอร์วันนี้ 200 คน
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6691403
สาธารณสุขอำเภอจะนะ ร่วมกับรพ.จะนะ เปิดวอล์คอินฉีดไฟเซอร์ให้ชาวบ้าน 200 คน ขณะที่ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ยังเพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮอันดับ 2 ของประเทศ
เมื่อวันที่ 22 ต.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทั้งเด็กอายุ 12-17 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง เดินทางเข้ารับวัคซีนโควิด 19 แบบวอล์กอิน หลังทางโรงพยาบาลจะนะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มนี้ สามารถเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ได้วันละ 200 คน ในวันที่ 22-23 ต.ค.นี้
โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยจัดระเบียบ รับบัตรคิว ก่อนเข้าไปยังจุดฉีดวัคซีน ในวันนี้พบว่ามีผู้เดินทางมาขอรับวัคซีนประมาณ 400 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลจะนะได้ฉีดให้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเจ้าหน้าที่คอยกำชับในเรื่องของการเว้นระยะห่างอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 นั้น วันนี้จังหวัดสงขลาทำสถิติสูงสุดอีกครั้งที่ 676 คน เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ป่วยกลุ่มชุมชนและครอบครัว มีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 คน ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 176 คน โดยยังมีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 5,402 คน อำเภอจะนะ เป็นอำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุด 166 คน
นพ.
สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามโรงเรียนศาสนบำรุง ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เป็นผู้ป่วยหญิงและเด็ก มีขนาด 150 เตียง ตั้งแต่วันที่ 29 เดือนมิ.ย.64 ปิดโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ไปแล้ว หลังส่งผู้ป่วยชุดสุดท้ายกลับบ้านเมื่อ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด รวม 1,009 คน ในเวลา 113 วัน เพื่อคืนพื้นที่ให้กับโรงเรียนศาสนบำรุงเตรียมการเปิดการเรียนการสอน คุณครูเข้ามาทำงาน เด็กบางส่วนเข้ามาเรียนอัลกุรอ่าน ผู้ปกครองเข้ามาประสานกับทางโรงเรียน รวมทั้งทางโรงเรียนจะปรับปรุงอาคารสถานที่สำหรับการเปิดเรียนต่อไป
นาย
ฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผอ.โรงเรียนศาสนบำรุง อ.จะนะ กล่าวว่า เมื่อเตรียมที่จะเปิดการเรียนการสอนตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งผู้ปกครองก็สอบถามเข้ามาจำนวนมาก ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่ ส่วนการเปิดเรียนหรือไม่นั้น คงจะต้องดูความพร้อมของหลายส่วน
โดยเฉพาะข้อตกลงร่วมของผู้ปกครอง นักเรียนและโรงเรียน โดยหากจะเปิดก็จะเปิดในส่วนของนักเรียนประจำก่อน โดยในวันที่ 25 ต.ค.นี้ก็จะทำความสะอาดบิ๊กคลีนนิ่ง เคลียร์พื้นที่ทั้งหมดที่เคยใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นอาคารหอประชุมของโรงเรียน และทางโรงพยาบาลจะนะ ก็จะส่งมอบพื้นที่คืนให้กับโรงเรียน เพื่อเตรียมเปิดเรียน
เผย 9 เดือน ร.ร.เอกชนปิดตัวแล้ว 70 แห่ง คาดเทอม 2 เปิดเรียนปกติไม่ได้ ปิดกิจการเพิ่มอีก 100 แห่ง
https://www.matichon.co.th/education/news_3003120
‘กนกวรรณ’ เร่งถกเลขาฯ กช.หาทางช่วยเหลือ ร.ร.เอกชน หลังทยอยปิดจากพิษเศรษฐกิจ-โควิด นายกสมาคม ร.ร.เอกชน เผยแค่ 9 เดือน ร.ร.ปิดกิจการแล้ว 70 แห่ง คาดเทอม 2 เปิดเรียนปกติไม่ได้ ปิดตัวเพิ่มอีก 100 แห่ง ชี้ผู้ปกครองค้างจ่ายค่าเทอมพุ่ง 1 พันล้าน วอนรัฐเร่งช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม นาง
กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กรณีที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี ออกประกาศเรื่องการปิดสถานศึกษา/ เลิกกิจการโรงเรียน ณ สิ้นปีการศึกษา 2564 เนื่องจากโรงเรียนประสบการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งยาวนานกว่าที่คาดคิด โรงเรียนจึงประสบปัญหาสภาพคล่องนั้น ตนรับทราบปัญหาโรงเรียนเอกชนแล้ว ทั้งนี้ ขอหารือนายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร หากได้แนวทางช่วยเหลือแล้ว จะนำเสนอให้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาต่อไป
ดร.
ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนหลายแห่งประสบปัญหาหนักมาก เพราะตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเอกชนหลายแหล่งยังไม่สามารถเก็บค่าเทอมจากผู้ปกครองได้ ขณะนี้พบผู้ปกครองทั่วประเทศค้างจ่ายค่าเทอมมากถึง 1,000 ล้านบาทแล้ว หรือแม้จะเก็บค่าเทอมได้ ก็ต้องนำไปจ่ายเป็นเงินเดือนครู ทำให้โรงเรียนขาดสภาพคล่อง และก่อนจะเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 มีนักเรียนย้ายออกจากโรงเรียนพอสมควร เพราะนักเรียนเหล่านี้ไม่อยากจ่ายค่าเทอม บางส่วนต้องย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครองไป ทำให้โรงเรียนแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย จากที่ทราบโรงเรียนที่มีนักเรียนลาออกไป มีตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลักสิบคน
ดร.
ศุภเสฏฐ์กล่าวต่อว่า แม้ผู้ปกครองจะค้างจ่ายค่าเทอมโรงเรียนเอกชนมากถึง 1,000 ล้านบาท แต่โรงเรียนยังไม่กล้าทวงค่าเทอมจากผู้ปกครองมากนัก เพราะกลัวว่าหากทวงไป จะมีเรื่องร้องเรียน แต่ถ้าโรงเรียนไม่ทวงเลย โรงเรียนก็อยู่ยาก อย่างไรก็ตาม แม้โรงเรียนจะขาดสภาพคล่อง แต่โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากครูบ้าง โดยครูยอมรับเงินเดือนเพียง 50% เพื่อให้โรงเรียนอยู่รอด แต่จะมีโรงเรียนส่วนหนึ่งที่ไปไม่รอด สาเหตุมาจากหลายโรงเรียนไม่มีเงินเก็บเอามาไว้หมุน เมื่อไม่มีเงินเก็บ ก็ต้องเลิกกิจการไป
ดร.
ศุภเสฏฐ์กล่าวอีกว่า จากข้อมูลตั้งแต่ต้นปี 2564 พบว่ามีโรงเรียนเอกชนเลิกกิจการไป 60-70 แห่ง แม้จะมีโรงเรียนเอกชนตั้งใหม่มาบ้าง แต่เป็นโรงเรียนที่เรียกเก็บค่าเทอมแพง และขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนอีกประมาณ 10 แห่ง ส่งหนังสือแจ้งยกเลิกกิจการไปที่ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แล้ว ทั้งนี้ ต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจาก ศธจ.อีกครั้งหนึ่ง
“ผมเสนอปัญหาให้นางกนกวรณ และนายพีรศักดิ์ รับทราบถึงปัญหาแล้ว ขณะนี้ทาง สช.อยู่ระหว่างหาวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมอยู่ อย่างไรก็ตาม ผมขอให้รัฐเร่งช่วยเหลือ โดยให้โรงเรียนทั้งรัฐ และเอกชน ได้เปิดเรียนในโรงเรียนอย่างปลอดภัย โดยรัฐควรจะสนับสนุนชุดตรวจ ATK มาตรวจก่อนเปิดเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง และนักเรียนได้ เพราะขณะนี้โรงเรียนไม่มีงบจัดซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจนักเรียน และครูได้ เชื่อว่าถ้า ศธ.ปรับระเบียบ หรือปลดล็อกระเบียบการใช้งบใหม่ให้ยืดหยุ่น เช่น ปลดล็อกงบในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้โรงเรียนนำงบเหล่านี้มาใช้ในการซื้อชุดตรวจ ATK เพื่อใช้ตรวจนักเรียน จะทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก” ดร.
ศุภเสฏฐ์ กล่าว
ดร.
ศุภเสฏฐ์กล่าวว่า เชื่อว่าอย่างน้อยถ้าโรงเรียนเปิดเรียนแบบปกติได้ จะทำให้โรงเรียนเก็บค่าเทอมได้ ที่ผ่านมาโรงเรียนไม่กล้าเก็บค่าเทอมภาคเรียนที่ 2 กับผู้ปกครอง เพราะกลัวว่าเมื่อเปิดเทอมแล้ว ถ้าไม่สามารถมาเรียนในโรงเรียนได้ ต้องจัดการเรียนการสอนรูปแบบอื่น สิ่งที่ตามมาคือโรงเรียนต้องคืนค่าเทอมให้ผู้ปกครอง ทั้งนี้ คาดว่าในภาคเรียนที่ 2 ถ้าโรงเรียนยังไม่ได้เปิดเรียนแบบปกติ โรงเรียนเอกชนอาจจะต้องปิดตัวเพิ่มอีก 100 แห่ง” นาย
ศุภเสฏฐ์ กล่าว
JJNY : "ดัชนีดิจิทัลไทย”ไม่โตตามคาด│สงขลายังวิกฤต ติดเชื้อ676│9ด.ร.ร.เอกชนปิดตัวแล้ว 70│รอบ20ปี!ฝนถล่มท่วมหมู่บ้านบ่อฮ้อ
https://www.bangkokbiznews.com/tech/967409
ดีป้า เผยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไตรมาส 3 ทรงตัวต่อเนื่อง วอนรัฐเร่งนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลภาครัฐ ชี้ผลกระทบจากโควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจชะลอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตฯ ดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ดีป้า เผย ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล ไตรมาส 3 ทรงตัวต่อเนื่อง ชี้ ผู้ประกอบการดิจิทัล วอนรัฐดำเนินนโยบายส่งเสริม เศรษฐกิจดิจิทัล เพิ่มโอกาสเข้าถึงฐานข้อมูลภาครัฐ เอื้อความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ชี้ผล กระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว จีดีพีหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (21 ต.ค.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า แถลงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Sentiment Index) ไตรมาส 3 ประจำปี 2564 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ อยู่ที่ระดับ 45.0 ทรงตัวจากระดับ 45.6 ของไตรมาส 2 ในเกือบทุกองค์ประกอบ ทั้งด้านปริมาณ การผลิต และการลงทุน
นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ที่ระดับ 45.0 เป็นผลมาจากการผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างต่อเนื่อง และขาดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนและตรงจุดจากภาครัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว จีดีพีหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน กระทบต่ออุตสาหกรรมดิจิทัล เนื่องจากลูกค้าขาดกำลังซื้อ ชะลอการจ่ายเงิน ผู้ประกอบการดิจิทัลประสบภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ผู้ประกอบการดิจิทัลขาดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ทั้งนี้ หากแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมจะเห็นว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงจากผลประกอบการ และต้นทุนการประกอบการ มีเพียง
-กลุ่มอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระดับ 52.9
-กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ อยู่ที่ระดับ 46.3
-กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อยู่ที่ระดับ 44.7
-กลุ่มอุตสาหกรรมที่ระดับความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง คือ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ อยู่ที่ระดับ 45.4
-กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์/อุปกรณ์อัจฉริยะ อยู่ที่ระดับ 41.6
“ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยคาดหวังให้ภาครัฐดำเนินนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งด้านการจ้างงานและเงินเดือน เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงทำให้ฐานเงินเดือนเพิ่มขึ้น ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือการลงทุนของผู้ประกอบการ รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบยังคงเป็นอุปสรรค ควรมีความผ่อนคลาย และมีความชัดเจนในการบังคับใช้ในการสนับสนุน ด้านการตลาด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะเดียวกันควรเปิดโอกาสการเข้าถึงฐานข้อมูลของภาครัฐ รวมถึงการแชร์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในอนาคต” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
พร้อมกันนี้ นายณัฐพล ระบุว่า เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และดีป้าเล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ โดยเฉพาะการมุ่งปลูกฝังความตระหนักรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงร่วมกับ 6 สถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศพัฒนาสื่อการสอนในบทเรียน “โลกแห่งอุปกรณ์อัจฉริยะ” ขึ้น เพื่อส่งต่อให้กับคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าให้คุณครูสามารถดาวน์โหลดสื่อการสอนและเรียนรู้วิธีการใช้สื่อฯ ตัวเองผ่านทาง Youtube: depa Thailand ซึ่งคาดว่า บทเรียนนี้จะถูกนำไปใช้สอนจริงแก่เด็กและเยาวชนมากกว่า 100,000 คนทั่วประเทศ
สงขลายังวิกฤต ติดเชื้อ676 คน พุ่งอันดับ 2 เปิดวอล์คอินฉีดไฟเซอร์วันนี้ 200 คน
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6691403
สาธารณสุขอำเภอจะนะ ร่วมกับรพ.จะนะ เปิดวอล์คอินฉีดไฟเซอร์ให้ชาวบ้าน 200 คน ขณะที่ผู้ติดเชื้อในพื้นที่ยังเพิ่มต่อเนื่อง ทำนิวไฮอันดับ 2 ของประเทศ
เมื่อวันที่ 22 ต.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ทั้งเด็กอายุ 12-17 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง เดินทางเข้ารับวัคซีนโควิด 19 แบบวอล์กอิน หลังทางโรงพยาบาลจะนะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มนี้ สามารถเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ได้วันละ 200 คน ในวันที่ 22-23 ต.ค.นี้
โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก โดยจัดระเบียบ รับบัตรคิว ก่อนเข้าไปยังจุดฉีดวัคซีน ในวันนี้พบว่ามีผู้เดินทางมาขอรับวัคซีนประมาณ 400 คน ซึ่งทางโรงพยาบาลจะนะได้ฉีดให้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีเจ้าหน้าที่คอยกำชับในเรื่องของการเว้นระยะห่างอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 นั้น วันนี้จังหวัดสงขลาทำสถิติสูงสุดอีกครั้งที่ 676 คน เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ป่วยกลุ่มชุมชนและครอบครัว มีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 คน ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 176 คน โดยยังมีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 5,402 คน อำเภอจะนะ เป็นอำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุด 166 คน
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ กล่าวว่า โรงพยาบาลสนามโรงเรียนศาสนบำรุง ซึ่งเปิดรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่เป็นผู้ป่วยหญิงและเด็ก มีขนาด 150 เตียง ตั้งแต่วันที่ 29 เดือนมิ.ย.64 ปิดโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ไปแล้ว หลังส่งผู้ป่วยชุดสุดท้ายกลับบ้านเมื่อ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา
โดยโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด รวม 1,009 คน ในเวลา 113 วัน เพื่อคืนพื้นที่ให้กับโรงเรียนศาสนบำรุงเตรียมการเปิดการเรียนการสอน คุณครูเข้ามาทำงาน เด็กบางส่วนเข้ามาเรียนอัลกุรอ่าน ผู้ปกครองเข้ามาประสานกับทางโรงเรียน รวมทั้งทางโรงเรียนจะปรับปรุงอาคารสถานที่สำหรับการเปิดเรียนต่อไป
นายฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผอ.โรงเรียนศาสนบำรุง อ.จะนะ กล่าวว่า เมื่อเตรียมที่จะเปิดการเรียนการสอนตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ อีกทั้งผู้ปกครองก็สอบถามเข้ามาจำนวนมาก ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่ ส่วนการเปิดเรียนหรือไม่นั้น คงจะต้องดูความพร้อมของหลายส่วน
โดยเฉพาะข้อตกลงร่วมของผู้ปกครอง นักเรียนและโรงเรียน โดยหากจะเปิดก็จะเปิดในส่วนของนักเรียนประจำก่อน โดยในวันที่ 25 ต.ค.นี้ก็จะทำความสะอาดบิ๊กคลีนนิ่ง เคลียร์พื้นที่ทั้งหมดที่เคยใช้เป็นโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นอาคารหอประชุมของโรงเรียน และทางโรงพยาบาลจะนะ ก็จะส่งมอบพื้นที่คืนให้กับโรงเรียน เพื่อเตรียมเปิดเรียน
เผย 9 เดือน ร.ร.เอกชนปิดตัวแล้ว 70 แห่ง คาดเทอม 2 เปิดเรียนปกติไม่ได้ ปิดกิจการเพิ่มอีก 100 แห่ง
https://www.matichon.co.th/education/news_3003120
‘กนกวรรณ’ เร่งถกเลขาฯ กช.หาทางช่วยเหลือ ร.ร.เอกชน หลังทยอยปิดจากพิษเศรษฐกิจ-โควิด นายกสมาคม ร.ร.เอกชน เผยแค่ 9 เดือน ร.ร.ปิดกิจการแล้ว 70 แห่ง คาดเทอม 2 เปิดเรียนปกติไม่ได้ ปิดตัวเพิ่มอีก 100 แห่ง ชี้ผู้ปกครองค้างจ่ายค่าเทอมพุ่ง 1 พันล้าน วอนรัฐเร่งช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า กรณีที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี ออกประกาศเรื่องการปิดสถานศึกษา/ เลิกกิจการโรงเรียน ณ สิ้นปีการศึกษา 2564 เนื่องจากโรงเรียนประสบการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง และยิ่งประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งยาวนานกว่าที่คาดคิด โรงเรียนจึงประสบปัญหาสภาพคล่องนั้น ตนรับทราบปัญหาโรงเรียนเอกชนแล้ว ทั้งนี้ ขอหารือนายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ว่ามีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร หากได้แนวทางช่วยเหลือแล้ว จะนำเสนอให้ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการ ศธ.พิจารณาต่อไป
ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) กล่าวว่า ขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนหลายแห่งประสบปัญหาหนักมาก เพราะตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเอกชนหลายแหล่งยังไม่สามารถเก็บค่าเทอมจากผู้ปกครองได้ ขณะนี้พบผู้ปกครองทั่วประเทศค้างจ่ายค่าเทอมมากถึง 1,000 ล้านบาทแล้ว หรือแม้จะเก็บค่าเทอมได้ ก็ต้องนำไปจ่ายเป็นเงินเดือนครู ทำให้โรงเรียนขาดสภาพคล่อง และก่อนจะเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 มีนักเรียนย้ายออกจากโรงเรียนพอสมควร เพราะนักเรียนเหล่านี้ไม่อยากจ่ายค่าเทอม บางส่วนต้องย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครองไป ทำให้โรงเรียนแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย จากที่ทราบโรงเรียนที่มีนักเรียนลาออกไป มีตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลักสิบคน
ดร.ศุภเสฏฐ์กล่าวต่อว่า แม้ผู้ปกครองจะค้างจ่ายค่าเทอมโรงเรียนเอกชนมากถึง 1,000 ล้านบาท แต่โรงเรียนยังไม่กล้าทวงค่าเทอมจากผู้ปกครองมากนัก เพราะกลัวว่าหากทวงไป จะมีเรื่องร้องเรียน แต่ถ้าโรงเรียนไม่ทวงเลย โรงเรียนก็อยู่ยาก อย่างไรก็ตาม แม้โรงเรียนจะขาดสภาพคล่อง แต่โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากครูบ้าง โดยครูยอมรับเงินเดือนเพียง 50% เพื่อให้โรงเรียนอยู่รอด แต่จะมีโรงเรียนส่วนหนึ่งที่ไปไม่รอด สาเหตุมาจากหลายโรงเรียนไม่มีเงินเก็บเอามาไว้หมุน เมื่อไม่มีเงินเก็บ ก็ต้องเลิกกิจการไป
ดร.ศุภเสฏฐ์กล่าวอีกว่า จากข้อมูลตั้งแต่ต้นปี 2564 พบว่ามีโรงเรียนเอกชนเลิกกิจการไป 60-70 แห่ง แม้จะมีโรงเรียนเอกชนตั้งใหม่มาบ้าง แต่เป็นโรงเรียนที่เรียกเก็บค่าเทอมแพง และขณะนี้มีโรงเรียนเอกชนอีกประมาณ 10 แห่ง ส่งหนังสือแจ้งยกเลิกกิจการไปที่ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) แล้ว ทั้งนี้ ต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจาก ศธจ.อีกครั้งหนึ่ง
“ผมเสนอปัญหาให้นางกนกวรณ และนายพีรศักดิ์ รับทราบถึงปัญหาแล้ว ขณะนี้ทาง สช.อยู่ระหว่างหาวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมอยู่ อย่างไรก็ตาม ผมขอให้รัฐเร่งช่วยเหลือ โดยให้โรงเรียนทั้งรัฐ และเอกชน ได้เปิดเรียนในโรงเรียนอย่างปลอดภัย โดยรัฐควรจะสนับสนุนชุดตรวจ ATK มาตรวจก่อนเปิดเรียน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง และนักเรียนได้ เพราะขณะนี้โรงเรียนไม่มีงบจัดซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจนักเรียน และครูได้ เชื่อว่าถ้า ศธ.ปรับระเบียบ หรือปลดล็อกระเบียบการใช้งบใหม่ให้ยืดหยุ่น เช่น ปลดล็อกงบในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้โรงเรียนนำงบเหล่านี้มาใช้ในการซื้อชุดตรวจ ATK เพื่อใช้ตรวจนักเรียน จะทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก” ดร.ศุภเสฏฐ์ กล่าว
ดร.ศุภเสฏฐ์กล่าวว่า เชื่อว่าอย่างน้อยถ้าโรงเรียนเปิดเรียนแบบปกติได้ จะทำให้โรงเรียนเก็บค่าเทอมได้ ที่ผ่านมาโรงเรียนไม่กล้าเก็บค่าเทอมภาคเรียนที่ 2 กับผู้ปกครอง เพราะกลัวว่าเมื่อเปิดเทอมแล้ว ถ้าไม่สามารถมาเรียนในโรงเรียนได้ ต้องจัดการเรียนการสอนรูปแบบอื่น สิ่งที่ตามมาคือโรงเรียนต้องคืนค่าเทอมให้ผู้ปกครอง ทั้งนี้ คาดว่าในภาคเรียนที่ 2 ถ้าโรงเรียนยังไม่ได้เปิดเรียนแบบปกติ โรงเรียนเอกชนอาจจะต้องปิดตัวเพิ่มอีก 100 แห่ง” นายศุภเสฏฐ์ กล่าว