ปัจจุบัน ประชาคมโลกต่างตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนและเร่งให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจึงได้พัฒนานโยบายและออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยสหภาพยุโรปซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้ออกนโยบาย Green Deal เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมไร้มลพิษภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) เพื่อนำไปสู่การสร้างการเติบโตด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในขณะที่ประเทศไทยได้ผลักดัน Bio-Circular-Green (BCG) Model ให้เป็นวาระแห่งชาติ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืนและมีความสมดุลระหว่างการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ จำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ
.
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “Bio-Circular Green Economy: A model for sustainable business” ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization – UNIDO) หอการค้าแห่งออสเตรีย (Austrian Economic Chambers) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท Let’s Plant Meat จำกัด โดยได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ที่น่าสนใจ ดังนี้
.
นาย Stephan Sicars ผู้อำนวยการแผนกสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (UNIDO) กล่าวว่า แกนหลักของ Circular Economy คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (resource efficiency) และการฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจ (recovering economic growth) โดยผลวิจัยที่ได้ร่วมกับรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทย พบว่า การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตในสัดส่วนที่สูง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นอกเหนือจากการลดมลพิษและขยะ รวมถึงช่วยการสร้างงาน ซึ่งการจะเพิ่มประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น การติดฉลากสินค้าที่บ่งชี้ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการกระบวนการผลิต โดยยกให้ไทยเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารจัดการในนิคมอุตสาหกรรมในด้านพลังงานและกระบวนการผลิต
.
นาย Sicars ได้ยกตัวอย่างโครงการ The Investment Cooperative Programme (ICP) ที่ UNIDO ได้ร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา (Development Finance Institutions – DFIs) สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการวางแผนและมาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยปัจจุบัน ได้ช่วยเหลือ SMEs ในอินโดนีเซีย ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 3.5 แสนตัน ทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร จนส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับในประเทศไทย UNIDO ได้ช่วยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การประหยัดการใช้น้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้แก่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้น
.
นาย Sicars ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ไม่มีประเทศใดตามหลังใคร สิ่งสำคัญคือรัฐบาลต้องมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในระยะกลาง-ยาว ซึ่งตนเห็นว่าไทยได้กำหนดเป้าหมายไว้แล้ว จึงแนะนำว่าจะต้องสื่อสารให้สังคมตื่นตัวและให้ความร่วมมือ ในขณะที่นโยบายภาครัฐต้องสอดประสานเพื่อให้ไม่เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
.
ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวถึงนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG โดยมองว่าไทยยังมีความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อม จึงได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดการดำเนินการไว้ 3 ช่วง ได้แก่ (1) ปี 2564 – 2565 เน้นการสร้างความตระหนักรู้ในสังคม (2) ปี 2566 – 2568 เห็นผลสำเร็จของโครงการนำร่อง และ (3) ปี 2569 – 2570 สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยกลไกตลาด โดย สวทช. ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง
.
คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการบริษัท Let’s Plant Meat ยกตัวอย่างการผลิตอาหารประเภทโปรตีนโดยไม่ใช้เนื้อสัตว์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในยุโรปและสหรัฐฯ เนื่องจากกระบวนการผลิตช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงปศุสัตว์ได้มาก แต่สิ่งที่ท้าทายในการดำเนินธุรกิจนี้ยังเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่ยังสูงอยู่ จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะพัฒนาวิธีการผลิตโปรตีนจากพืชที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น คุณสมิตฯ ยังได้เสนอแนวคิดการรังสรรค์เมนูอาหารไทยที่ใช้ plant-based meat โดยได้ยกตัวอย่างเมนูอาหารญี่ปุ่นที่นำ plant-based meat มาใช้แทนเนื้อสัตว์ เช่น ทงคัตสึ
.
เห็นได้ว่าเศรษฐกิจแบบ BCG เป็นทิศทางของโลกในการพัฒนาเศรษฐกิจนับจากนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับค่านิยมสากล ตอบโจทย์ผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการขยายตลาดการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการดำเนินธุรกิจสีเขียว และเป็นโอกาสของธุรกิจไทยในการสร้างธุรกิจจากโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อความยั่งยืนด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.globthailand.com
โอกาสของธุรกิจไทยในต่างประเทศจาก ‘โมเดลธุรกิจใหม่เพื่อความยั่งยืน’
ปัจจุบัน ประชาคมโลกต่างตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนและเร่งให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจึงได้พัฒนานโยบายและออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยสหภาพยุโรปซึ่งถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้ออกนโยบาย Green Deal เพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมไร้มลพิษภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) เพื่อนำไปสู่การสร้างการเติบโตด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในขณะที่ประเทศไทยได้ผลักดัน Bio-Circular-Green (BCG) Model ให้เป็นวาระแห่งชาติ มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดความยั่งยืนและมีความสมดุลระหว่างการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ จำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ
.
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “Bio-Circular Green Economy: A model for sustainable business” ร่วมกับองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization – UNIDO) หอการค้าแห่งออสเตรีย (Austrian Economic Chambers) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท Let’s Plant Meat จำกัด โดยได้แลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ที่น่าสนใจ ดังนี้
.
นาย Stephan Sicars ผู้อำนวยการแผนกสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (UNIDO) กล่าวว่า แกนหลักของ Circular Economy คือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (resource efficiency) และการฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจ (recovering economic growth) โดยผลวิจัยที่ได้ร่วมกับรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทย พบว่า การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตในสัดส่วนที่สูง เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน นอกเหนือจากการลดมลพิษและขยะ รวมถึงช่วยการสร้างงาน ซึ่งการจะเพิ่มประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น การติดฉลากสินค้าที่บ่งชี้ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการกระบวนการผลิต โดยยกให้ไทยเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารจัดการในนิคมอุตสาหกรรมในด้านพลังงานและกระบวนการผลิต
.
นาย Sicars ได้ยกตัวอย่างโครงการ The Investment Cooperative Programme (ICP) ที่ UNIDO ได้ร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนา (Development Finance Institutions – DFIs) สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการวางแผนและมาตรการส่งเสริมการลงทุน โดยปัจจุบัน ได้ช่วยเหลือ SMEs ในอินโดนีเซีย ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 3.5 แสนตัน ทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากร จนส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับในประเทศไทย UNIDO ได้ช่วยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การประหยัดการใช้น้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้แก่ SMEs ในภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเซรามิก เป็นต้น
.
นาย Sicars ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจหมุนเวียนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ไม่มีประเทศใดตามหลังใคร สิ่งสำคัญคือรัฐบาลต้องมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนในระยะกลาง-ยาว ซึ่งตนเห็นว่าไทยได้กำหนดเป้าหมายไว้แล้ว จึงแนะนำว่าจะต้องสื่อสารให้สังคมตื่นตัวและให้ความร่วมมือ ในขณะที่นโยบายภาครัฐต้องสอดประสานเพื่อให้ไม่เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
.
ดร.ลิลี่ เอื้อวิไลจิตร รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวถึงนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG โดยมองว่าไทยยังมีความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อม จึงได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดการดำเนินการไว้ 3 ช่วง ได้แก่ (1) ปี 2564 – 2565 เน้นการสร้างความตระหนักรู้ในสังคม (2) ปี 2566 – 2568 เห็นผลสำเร็จของโครงการนำร่อง และ (3) ปี 2569 – 2570 สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยกลไกตลาด โดย สวทช. ยังจะมีส่วนช่วยสนับสนุนในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนผ่าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง
.
คุณสมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการบริษัท Let’s Plant Meat ยกตัวอย่างการผลิตอาหารประเภทโปรตีนโดยไม่ใช้เนื้อสัตว์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในยุโรปและสหรัฐฯ เนื่องจากกระบวนการผลิตช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงปศุสัตว์ได้มาก แต่สิ่งที่ท้าทายในการดำเนินธุรกิจนี้ยังเป็นเรื่องของราคาสินค้าที่ยังสูงอยู่ จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะพัฒนาวิธีการผลิตโปรตีนจากพืชที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น คุณสมิตฯ ยังได้เสนอแนวคิดการรังสรรค์เมนูอาหารไทยที่ใช้ plant-based meat โดยได้ยกตัวอย่างเมนูอาหารญี่ปุ่นที่นำ plant-based meat มาใช้แทนเนื้อสัตว์ เช่น ทงคัตสึ
.
เห็นได้ว่าเศรษฐกิจแบบ BCG เป็นทิศทางของโลกในการพัฒนาเศรษฐกิจนับจากนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับค่านิยมสากล ตอบโจทย์ผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจ BCG รวมถึงการขยายตลาดการส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับแนวทางการดำเนินธุรกิจสีเขียว และเป็นโอกาสของธุรกิจไทยในการสร้างธุรกิจจากโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อความยั่งยืนด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.globthailand.com