"เมื่อพูดว่า... สงครามจีน-ไต้หวัน” ผู้อ่านหลายท่านอาจนึกถึงการต่อสู้ระหว่างกองทัพฝ่ายจีนก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) และกองกำลังคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีน ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายรัฐบาลคณะชาติ จนต้องทำการล่าถอยไปยังเกาะไต้หวันในปี 1949
อย่างไรก็ตาม... สิ่งที่ผมจะพูดถึงวันนี้คือเรื่องราวของสมรภูมิอีกด้านหนึ่ง
มันเป็นการเดินทางกว่า... 2,000 ลี้ของทหารก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่งที่จับอาวุธสู้กับจีนแม้สงครามในแผ่นดินจะยุติลงไปแล้ว...
นี่คือเรื่องราวการผจญภัยของกองพล 93 ผู้ล่าถอยจากมลฑลยูนนานสู่พม่า และผ่านพ้นชะตากรรมพิเศษมากมาย ก่อนจะมาลงเอย ณ จังหวัดเชียงรายประเทศไทย!
อนึ่งบทความนี้เป็นการนำเอกสารต่างประเทศทั้งงานวิชาการ, บันทึกเหตุการณ์, และข่าวมาเรียบเรียงเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งข้อมูลไม่ได้ลงรอยกันหมดทาง The Wild Chronicle จะทำการชี้แจงจุดคลาดเคลื่อนเอาไว้ในบทความครับ
*** สงครามกลางเมืองจีน ***
ในปี 1949 กองทัพก๊กมินตั๋งถูกกองทัพปลดปล่อยประชาชนของเหมาเจ๋อตง รุกไล่อย่างต่อเนื่อง ทำให้จอมพลเจียงไคเช็ก ตัดสินใจล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน พร้อมกับสั่งให้กำลังรบที่เหลือบนแผ่นดินใหญ่เปิดแนวรบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจฝ่ายคอมมิวนิสต์
โดยกองพลที่ 93 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 26 ประจำมลฑลยูนนานติดกับชายแดนพม่า พวกเขาทำหน้าที่รบเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้การอพยพเป็นไปอย่างราบรื่น
อย่างไรก็ตาม กองทัพคอมมิวนิสต์นั้นได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและผู้ว่าการมณฑลยูนนาน บีบให้กองทัพที่ 26 จำต้องล่าถอยเข้าสู่บริเวณสนามบินเพื่อถอนกำลังกลับด้วยเครื่องบินไปยังเกาะไต้หวัน
ภาพแนบ: การอพยพไปไต้หวัน
...ทว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนซึ่งได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง ก็โถมกำลังเข้าโจมตีจนสนามบินที่ใช้ในการอพยพ หลังการถอยทัพเริ่มเพียง 4 วัน ความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วนี้ ทำให้กองทัพก๊กมินตั๋งที่เหลืออยู่ไม่มีทางเลือกนอกจากล่าถอยเข้าต่างประเทศ ด้วยการแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 ส่วนแยกกันหนีได้แก่:
1. กำลังรบส่วนใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายพลหวงเจี๋ยพร้อมกำลังทหาร 30,000 นาย (จากปากคำบอกเล่าของเจ้าตัว) ล่าถอยไปยังเวียดนามซึ่งตอนนั้นยังเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส พวกเขาถูกฝ่ายฝรั่งเศสจับกุมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับการสนับสนุนทางทหารของสหรัฐในการต่อสู้กับกองกำลังเวียดมินห์ที่กำลังก่อกบฏ
2. กำลังส่วนที่สองคือส่วนหนึ่งของกองพล 93 และกรมย่อยอื่นๆของนายพลหลี่หมี ได้หนีเข้าไปในรัฐฉานของพม่าซึ่ง ณ เวลานั้นพยายามวางตัวเป็นกลางจากทั้งค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายโลกเสรี เพื่อทำการต่อสู้กับฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่ในนาม “กองกำลังปลดปล่อย เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์” (Anti Communist Salvation Army)
ภาพแนบ: การบุกเข้าพม่าของกองทหารจีนคณะชาติ
*** เริ่มต้นปฏิบัติการในพม่า (ค.ศ. 1949 - 1951) ***
นายพลหลี่หมีนั้นเป็นอดีตนายทหารระดับสูงของฝ่ายก๊กมินตั๋งผู้กว้างขวางทางการเมือง ด้วยพื้นฐานมาจากครอบครัวพ่อค้าอัญมณี เขาเคยสร้างผลงานมากมายในช่วงสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จนได้เป็นคนใกล้ชิดจอมพลเจียงไคเช็ก
เขาสามารถรวบรวมกำลังพลที่แตกทัพจากกองทัพที่ 8 และ 26 ซึ่งตกค้างจากปฏิบัติการรบกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกก่อนหน้านี้ (ณ เวลานั้นระบบการจัดกำลังของจีนไม่มีระเบียบที่ดีมากนัก ทำให้การแตกทัพเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง) เข้ามาเป็นกำลังรบของตนเองจนสามารถขยายขุมกำลังราว 1,500 นายในปี 1950 (ข้อมูลทางจีนกล่าวว่ามีจำนวนมากถึง 7,000 นาย แต่ยังไม่การยืนยันถึงความถูกต้องของข้อมูลนี้)
ก่อนจะนำกำลังเข้ายึดบริเวณท่าขี้เหล็ก (ที่ปัจจุบันนี้คนไทยข้ามจากแม่สายไปช๊อปปิ้งกันมากนั่นแหละครับ) เป็นฐานบัญชาการชั่วคราว
ภาพแนบ: นายพลหลี่หมี ผู้นำกองพล 93
การเคลื่อนไหวดังกล่าวย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลพม่า แต่ก็ลำบากใจที่จะขับไล่ เพราะตอนนั้นกองทัพพม่ายังรบติดพันกับกลุ่มติดอาวุธกู้ชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิดความพยายามเจรจาให้กองพล 93 ยอมวางอาวุธหรือถอยทัพออกจากพื้นที่ดีๆ
แน่นอนว่าฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว นำไปสู่การปะทะระหว่างทั้งสองฝ่ายอยู่หลายครั้ง แต่ท้ายที่สุดฝ่ายจีนซึ่งมีกำลังน้อยกว่าต้องล่าถอยไปยังเมืองสาดและนับเป็นโชคดีที่กองทัพพม่าไม่ได้รุกไล่ต่อเพราะยังติดพันกับสงครามกลางเมือง (ที่ทุกวันนี้รบมา 70 ปีแล้วก็ยังรบไม่จบ) อยู่ ณ ตรงนี้เอกสารจากทางจีนระบุว่าทัพจีนสู้รบกล้าหาญ พม่าสู้ไม่ได้จึงต้องปล่อยไว้ ส่วนฝ่ายพม่าเพียงกล่าวว่าสามารถโจมตีจนฝ่ายจีนล่าถอยไป
ภาพแนบ: อาสาสมัครจีนในสงครามเกาหลี หนึ่งในตัวแปรที่สหรัฐหันมาสนับสนุนกองพล 93 ให้เปิดแนวรบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของฝ่ายจีน
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอยู่ใต้การจับตามองของสหรัฐซึ่ง ณ เวลานั้น กำลังต่อสู้ติดพันกับกองทัพจีนหลายแสนนายในสงครามเกาหลี ทำให้รัฐบาลสหรัฐอนุมัติให้ CIA ดำเนินการการสนับสนุนเงินทุนและยุทโธปกรณ์ให้กับนายพลหลี่หมีในชื่อของปฏิบัติการกระดาษ (Operation Paper) ในปี 1951
ทั้งนี้การแทรกแซงของสหรัฐทำผ่านตัวกลางอย่างราชอาณาจักรไทยภายใต้การปกครองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งยอมให้ไทยเป็นจุดผ่านทางของการสนับสนุนต่างๆ รวมทั้งช่วยปิดบังการมีส่วนร่วมของสหรัฐแลกกับการสนับสนุนด้านงบประมาณและความช่วยเหลือทางทหาร
ภาพแนบ: จอมพล ป. นายกไทย ณ เวลานั้น
ในระหว่างนี้ กองพลที่ 93 ได้เริ่มฟื้นฟูศักยภาพของตน จากการรวบรวมชาวจีนอพยพและคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสวามิภักดิ์ จนสามารถขยายกองทัพให้มีสมาชิกกว่า 4,000 คน ทั้งยังได้รับการฝึกจากครูฝึกซึ่งถูกส่งตรงมาจากเกาะไต้หวันจนเข้มแข็งพอจะสามารถลอบโจมตีชายแดนจีนได้
ภาพแนบ: ทหารจีนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพม่า ซึ่งบางส่วนกลายมาเป็นกำลังให้กองพล 93
*** การต่อสู้ที่ล้มเหลว (ค.ศ. 1951 - 1952) ***
ในเดือนพฤษภาคมปี 1951 ภายหลังจากทำสงครามก่อกวนตามแนวชายแดนมาเป็นระยะ นายพลหลี่หมีก็เริ่มต้นคิดการใหญ่จะบุกตีชิงเมืองจีนกลับโดยกรีฑาทัพเข้าตียูนนาน! ด้วยการโจมตีแบบสายฟ้าแล่บทำให้เขาสามารถยึดหมู่บ้านติดชายแดนพม่าได้ถึง 4 แห่ง
ก่อนจะถูกกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่ 2 ซึ่งมีกำลังมากกว่าตอบโต้ จนฝ่ายก๊กมินตั๋งเพลี่ยงพล้ำต้องล่าถอย ก่อนจะเปิดฉากรุกอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมแต่ประสบความล้มเหลวเหมือนเดิม
ภาพแนบ: เครื่อง C-47 แบบเดียวกับที่สหรัฐใช้ส่งกำลังบำรุงให้ทหารจีนในพม่า
นายพลหลี่หมียังไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจในการขับไล่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ออกจากแผ่นดินเกิด ในช่วงต้นปี 1952 เขามีกำลังใจอีกครั้ง เมื่อได้รับกำลังเสริมจากไต้หวันหลายร้อยนาย ทั้งยังมีอาสาสมัครชาวจีนทั้งในไทย, มาเลเซีย, และพม่ามาร่วมด้วย (ทางการไทยนั้น ด้านหนึ่งปล่อยให้มีสิ่งนี้ อีกด้านก็จับกุมนักหนังสือพิมพ์ชาวจีนที่พยายามปลุกระดมเพื่อหาอาสาสมัครเข้าร่วมการรบในพม่า เพื่อรักษาภาพลักษณ์ความเป็นกลาง) นอกจากนั้นหลี่หมียังได้รับอาวุธจากสหรัฐมาสนับสนุนเป็นอันมากผ่านบริษัทการบินเอกชนที่สหรัฐเข้ามาตั้งในประเทศไทย
เมื่อเห็นว่ามีกำลังเข้มแข็งเต็มที่หลี่หมีจึงเริ่มการรุกครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนสิงหาคม 1952 แต่กลับทำการไม่ตลอดต้องถอนกำลังกลับมาเป็นครั้งที่สาม
ภาพแนบ: ทหารจีนช่วงสงครามโลกในพม่า
ความพยายามครั้งสุดท้ายของกองพล 93 เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 1953 เมื่อทหารจีนกว่า 30,000 ทำการบุกข้ามพรมแดนไปยังมณฑลยูนนาน แต่มันก็จบลงด้วยหายนะ หลังทหารทั้งนั้นพ่ายแพ้ คนสามหมื่นสามารถหลบหนีกลับมายังพม่าได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ อนึ่งความพยายามบุกยูนนานของนายพลหลี่หมีนั้น ถูกบันทึกเอาไว้แตกต่างกันตั้งแต่ 3 - 6 ครั้ง ความแตกต่างทางจำนวนดังกล่าวอาจมาจากการนับรวมภารกิจก่อกวนตามพรมแดนด้วย
เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถเอาชนะด้วยการเปิดแนวรบโดยตรง นายพลหลี่หมีจึงหันมาขยายอิทธิพลในรัฐฉานด้วยการยึดอำนาจควบคุมการเก็บภาษีทั้งที่จังหวัดเชียงตุงในรัฐฉานและเมืองลุนในเขตโกก้าง เขายังจับมือกับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติของชนกลุ่มน้อยต่างๆ เพื่อคานอำนาจกับรัฐบาลพม่า รวมทั้งพยายามสร้างสถานการณ์ให้กองทัพพม่าและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนปะทะกัน ด้วยการปลอมตัวเป็นทหารทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
ภาพแนบ: ปธน. ไอเซนฮาวร์
ตอนนั้นอเมริกาเห็นหลี่หมีพ่ายแพ้หลายครั้งติดต่อกันจึงลดการสนับสนุน โดยประธานาธิบดีของสหรัฐอย่าง ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้สื่อสารไปยังรัฐบาลไต้หวันอย่างตรงไปตรงมาว่า การคงอยู่ของกองพล 93 อาจจะกลายเป็นข้ออ้างให้ฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่นำกำลังทางทหารเข้ามาแทรกแซงพม่า อันเป็นการทำลายสเถียรภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้นายพลหลี่หมีต้องหันมาดำเนินกิจการค้าฝิ่นเป็นหลัก เพื่อนำรายได้มาใช้สำหรับการจัดหากำลังอาวุธ ขณะที่ข้อมูลบางชุดกล่าวว่าทาง CIA ยังเป็นผู้สนับสนุนกิจการดังกล่าวแบบลับๆ
ภาพแนบ: นายกฯ อูนุ ผู้นำจากการเลือกตั้งคนแรกของพม่าหลังได้รับเอกราช
*** การตอบโต้ของฝ่ายพม่า (ค.ศ. 1953-1961) ***
ในเดือนมีนาคมปี 1953 รัฐบาลพม่าพยายามผลักดันก๊กมินตั๋งออกจากประเทศ โดยยกทัพมารบกันเป็นศึกใหญ่ ตรงนี้เอกสารให้การไม่ตรงกัน เอกสารพม่าบอกว่าพม่าชนะ เอกสารจีนบอกว่าจีนชนะแต่สูญเสียมาก ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่เกิดขึ้นคือ:
1) พม่าผลักดันก๊กมินตั๋งออกไปไม่ได้ด้วยกำลังรบ
2) พม่าใช้ช่องทางการทูตระหว่างประเทศผ่านองค์การสหประชาชาติ กดดันให้ไต้หวันยุติการแทรกแซงเขตพื้นที่พม่า
ภาพแนบ: เจียงไคเช็กกับไอเซนฮาวร์
ตอนนั้นตัวแทนจากสหรัฐ, ไต้หวัน, พม่า, และไทยเข้าร่วมการเจรจาที่กรุงเทพฯ ส่งผลให้เกิดข้อตกลงระหว่าง 4 ฝ่ายขึ้นในปี 1953 โดยระบุว่า “ทางการจีน (ก๊กมินตั๋ง) จะต้องถอนทหารอย่างน้อย 5,000 นาย ออกจากพม่าภายใน 35 วัน” แต่เมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายก๊กมินตั๋งกลับสามารถถอนกำลังกลับได้เพียง 2,000 นายเท่านั้น เนื่องจากทหารบางส่วนที่ตกค้างมาตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 มองว่ารัฐฉานเปรียบเสมือนบ้านของตน โดยพวกเขาจำนวนไม่น้อยสร้างครอบครัวกับคนในพื้นที่
ทว่าการขนย้ายก็ยังดำเนินต่อไปจนสามารถนำทหารทหารและครอบครัวกว่า 5,700 คน รวมถึงนายพลหลี่หมีและชาวพื้นเมืองอีกราวๆ 800 คนไปไต้หวันได้สำเร็จ
ยังมีข้อถกเถียงว่าการอพยพดังกล่าวอาจเป็นเพียงฉากบังหน้า เพราะแท้จริงแล้วก๊กมินตั๋งยังคงกองกำลังอยู่ราวๆ 2,000 นาย เพื่อทำการสู้รบต่อ
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** กองพล 93: จากยูนนานสู่สันติคีรี 2,000 ลี้จากมาตุภูมิ ***
อย่างไรก็ตาม... สิ่งที่ผมจะพูดถึงวันนี้คือเรื่องราวของสมรภูมิอีกด้านหนึ่ง
มันเป็นการเดินทางกว่า... 2,000 ลี้ของทหารก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่งที่จับอาวุธสู้กับจีนแม้สงครามในแผ่นดินจะยุติลงไปแล้ว...
นี่คือเรื่องราวการผจญภัยของกองพล 93 ผู้ล่าถอยจากมลฑลยูนนานสู่พม่า และผ่านพ้นชะตากรรมพิเศษมากมาย ก่อนจะมาลงเอย ณ จังหวัดเชียงรายประเทศไทย!
อนึ่งบทความนี้เป็นการนำเอกสารต่างประเทศทั้งงานวิชาการ, บันทึกเหตุการณ์, และข่าวมาเรียบเรียงเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งข้อมูลไม่ได้ลงรอยกันหมดทาง The Wild Chronicle จะทำการชี้แจงจุดคลาดเคลื่อนเอาไว้ในบทความครับ
*** สงครามกลางเมืองจีน ***
ในปี 1949 กองทัพก๊กมินตั๋งถูกกองทัพปลดปล่อยประชาชนของเหมาเจ๋อตง รุกไล่อย่างต่อเนื่อง ทำให้จอมพลเจียงไคเช็ก ตัดสินใจล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน พร้อมกับสั่งให้กำลังรบที่เหลือบนแผ่นดินใหญ่เปิดแนวรบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจฝ่ายคอมมิวนิสต์
โดยกองพลที่ 93 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 26 ประจำมลฑลยูนนานติดกับชายแดนพม่า พวกเขาทำหน้าที่รบเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อให้การอพยพเป็นไปอย่างราบรื่น
อย่างไรก็ตาม กองทัพคอมมิวนิสต์นั้นได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและผู้ว่าการมณฑลยูนนาน บีบให้กองทัพที่ 26 จำต้องล่าถอยเข้าสู่บริเวณสนามบินเพื่อถอนกำลังกลับด้วยเครื่องบินไปยังเกาะไต้หวัน
ภาพแนบ: การอพยพไปไต้หวัน
...ทว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนซึ่งได้รับชัยชนะอย่างต่อเนื่อง ก็โถมกำลังเข้าโจมตีจนสนามบินที่ใช้ในการอพยพ หลังการถอยทัพเริ่มเพียง 4 วัน ความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วนี้ ทำให้กองทัพก๊กมินตั๋งที่เหลืออยู่ไม่มีทางเลือกนอกจากล่าถอยเข้าต่างประเทศ ด้วยการแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 ส่วนแยกกันหนีได้แก่:
1. กำลังรบส่วนใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของ นายพลหวงเจี๋ยพร้อมกำลังทหาร 30,000 นาย (จากปากคำบอกเล่าของเจ้าตัว) ล่าถอยไปยังเวียดนามซึ่งตอนนั้นยังเป็นเมืองขึ้นฝรั่งเศส พวกเขาถูกฝ่ายฝรั่งเศสจับกุมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับการสนับสนุนทางทหารของสหรัฐในการต่อสู้กับกองกำลังเวียดมินห์ที่กำลังก่อกบฏ
2. กำลังส่วนที่สองคือส่วนหนึ่งของกองพล 93 และกรมย่อยอื่นๆของนายพลหลี่หมี ได้หนีเข้าไปในรัฐฉานของพม่าซึ่ง ณ เวลานั้นพยายามวางตัวเป็นกลางจากทั้งค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายโลกเสรี เพื่อทำการต่อสู้กับฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่ในนาม “กองกำลังปลดปล่อย เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์” (Anti Communist Salvation Army)
ภาพแนบ: การบุกเข้าพม่าของกองทหารจีนคณะชาติ
*** เริ่มต้นปฏิบัติการในพม่า (ค.ศ. 1949 - 1951) ***
นายพลหลี่หมีนั้นเป็นอดีตนายทหารระดับสูงของฝ่ายก๊กมินตั๋งผู้กว้างขวางทางการเมือง ด้วยพื้นฐานมาจากครอบครัวพ่อค้าอัญมณี เขาเคยสร้างผลงานมากมายในช่วงสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสงครามจีน - ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จนได้เป็นคนใกล้ชิดจอมพลเจียงไคเช็ก
เขาสามารถรวบรวมกำลังพลที่แตกทัพจากกองทัพที่ 8 และ 26 ซึ่งตกค้างจากปฏิบัติการรบกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกก่อนหน้านี้ (ณ เวลานั้นระบบการจัดกำลังของจีนไม่มีระเบียบที่ดีมากนัก ทำให้การแตกทัพเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง) เข้ามาเป็นกำลังรบของตนเองจนสามารถขยายขุมกำลังราว 1,500 นายในปี 1950 (ข้อมูลทางจีนกล่าวว่ามีจำนวนมากถึง 7,000 นาย แต่ยังไม่การยืนยันถึงความถูกต้องของข้อมูลนี้)
ก่อนจะนำกำลังเข้ายึดบริเวณท่าขี้เหล็ก (ที่ปัจจุบันนี้คนไทยข้ามจากแม่สายไปช๊อปปิ้งกันมากนั่นแหละครับ) เป็นฐานบัญชาการชั่วคราว
ภาพแนบ: นายพลหลี่หมี ผู้นำกองพล 93
การเคลื่อนไหวดังกล่าวย่อมสร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลพม่า แต่ก็ลำบากใจที่จะขับไล่ เพราะตอนนั้นกองทัพพม่ายังรบติดพันกับกลุ่มติดอาวุธกู้ชาติต่างๆ ส่งผลให้เกิดความพยายามเจรจาให้กองพล 93 ยอมวางอาวุธหรือถอยทัพออกจากพื้นที่ดีๆ
แน่นอนว่าฝ่ายก๊กมินตั๋งได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่าว นำไปสู่การปะทะระหว่างทั้งสองฝ่ายอยู่หลายครั้ง แต่ท้ายที่สุดฝ่ายจีนซึ่งมีกำลังน้อยกว่าต้องล่าถอยไปยังเมืองสาดและนับเป็นโชคดีที่กองทัพพม่าไม่ได้รุกไล่ต่อเพราะยังติดพันกับสงครามกลางเมือง (ที่ทุกวันนี้รบมา 70 ปีแล้วก็ยังรบไม่จบ) อยู่ ณ ตรงนี้เอกสารจากทางจีนระบุว่าทัพจีนสู้รบกล้าหาญ พม่าสู้ไม่ได้จึงต้องปล่อยไว้ ส่วนฝ่ายพม่าเพียงกล่าวว่าสามารถโจมตีจนฝ่ายจีนล่าถอยไป
ภาพแนบ: อาสาสมัครจีนในสงครามเกาหลี หนึ่งในตัวแปรที่สหรัฐหันมาสนับสนุนกองพล 93 ให้เปิดแนวรบเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของฝ่ายจีน
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอยู่ใต้การจับตามองของสหรัฐซึ่ง ณ เวลานั้น กำลังต่อสู้ติดพันกับกองทัพจีนหลายแสนนายในสงครามเกาหลี ทำให้รัฐบาลสหรัฐอนุมัติให้ CIA ดำเนินการการสนับสนุนเงินทุนและยุทโธปกรณ์ให้กับนายพลหลี่หมีในชื่อของปฏิบัติการกระดาษ (Operation Paper) ในปี 1951
ทั้งนี้การแทรกแซงของสหรัฐทำผ่านตัวกลางอย่างราชอาณาจักรไทยภายใต้การปกครองของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งยอมให้ไทยเป็นจุดผ่านทางของการสนับสนุนต่างๆ รวมทั้งช่วยปิดบังการมีส่วนร่วมของสหรัฐแลกกับการสนับสนุนด้านงบประมาณและความช่วยเหลือทางทหาร
ภาพแนบ: จอมพล ป. นายกไทย ณ เวลานั้น
ในระหว่างนี้ กองพลที่ 93 ได้เริ่มฟื้นฟูศักยภาพของตน จากการรวบรวมชาวจีนอพยพและคนจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาสวามิภักดิ์ จนสามารถขยายกองทัพให้มีสมาชิกกว่า 4,000 คน ทั้งยังได้รับการฝึกจากครูฝึกซึ่งถูกส่งตรงมาจากเกาะไต้หวันจนเข้มแข็งพอจะสามารถลอบโจมตีชายแดนจีนได้
ภาพแนบ: ทหารจีนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในพม่า ซึ่งบางส่วนกลายมาเป็นกำลังให้กองพล 93
*** การต่อสู้ที่ล้มเหลว (ค.ศ. 1951 - 1952) ***
ในเดือนพฤษภาคมปี 1951 ภายหลังจากทำสงครามก่อกวนตามแนวชายแดนมาเป็นระยะ นายพลหลี่หมีก็เริ่มต้นคิดการใหญ่จะบุกตีชิงเมืองจีนกลับโดยกรีฑาทัพเข้าตียูนนาน! ด้วยการโจมตีแบบสายฟ้าแล่บทำให้เขาสามารถยึดหมู่บ้านติดชายแดนพม่าได้ถึง 4 แห่ง
ก่อนจะถูกกองทัพปลดปล่อยประชาชนที่ 2 ซึ่งมีกำลังมากกว่าตอบโต้ จนฝ่ายก๊กมินตั๋งเพลี่ยงพล้ำต้องล่าถอย ก่อนจะเปิดฉากรุกอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมแต่ประสบความล้มเหลวเหมือนเดิม
ภาพแนบ: เครื่อง C-47 แบบเดียวกับที่สหรัฐใช้ส่งกำลังบำรุงให้ทหารจีนในพม่า
นายพลหลี่หมียังไม่ยอมล้มเลิกความตั้งใจในการขับไล่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ออกจากแผ่นดินเกิด ในช่วงต้นปี 1952 เขามีกำลังใจอีกครั้ง เมื่อได้รับกำลังเสริมจากไต้หวันหลายร้อยนาย ทั้งยังมีอาสาสมัครชาวจีนทั้งในไทย, มาเลเซีย, และพม่ามาร่วมด้วย (ทางการไทยนั้น ด้านหนึ่งปล่อยให้มีสิ่งนี้ อีกด้านก็จับกุมนักหนังสือพิมพ์ชาวจีนที่พยายามปลุกระดมเพื่อหาอาสาสมัครเข้าร่วมการรบในพม่า เพื่อรักษาภาพลักษณ์ความเป็นกลาง) นอกจากนั้นหลี่หมียังได้รับอาวุธจากสหรัฐมาสนับสนุนเป็นอันมากผ่านบริษัทการบินเอกชนที่สหรัฐเข้ามาตั้งในประเทศไทย
เมื่อเห็นว่ามีกำลังเข้มแข็งเต็มที่หลี่หมีจึงเริ่มการรุกครั้งที่ 3 ในช่วงเดือนสิงหาคม 1952 แต่กลับทำการไม่ตลอดต้องถอนกำลังกลับมาเป็นครั้งที่สาม
ภาพแนบ: ทหารจีนช่วงสงครามโลกในพม่า
ความพยายามครั้งสุดท้ายของกองพล 93 เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 1953 เมื่อทหารจีนกว่า 30,000 ทำการบุกข้ามพรมแดนไปยังมณฑลยูนนาน แต่มันก็จบลงด้วยหายนะ หลังทหารทั้งนั้นพ่ายแพ้ คนสามหมื่นสามารถหลบหนีกลับมายังพม่าได้เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ อนึ่งความพยายามบุกยูนนานของนายพลหลี่หมีนั้น ถูกบันทึกเอาไว้แตกต่างกันตั้งแต่ 3 - 6 ครั้ง ความแตกต่างทางจำนวนดังกล่าวอาจมาจากการนับรวมภารกิจก่อกวนตามพรมแดนด้วย
เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถเอาชนะด้วยการเปิดแนวรบโดยตรง นายพลหลี่หมีจึงหันมาขยายอิทธิพลในรัฐฉานด้วยการยึดอำนาจควบคุมการเก็บภาษีทั้งที่จังหวัดเชียงตุงในรัฐฉานและเมืองลุนในเขตโกก้าง เขายังจับมือกับกองกำลังติดอาวุธกู้ชาติของชนกลุ่มน้อยต่างๆ เพื่อคานอำนาจกับรัฐบาลพม่า รวมทั้งพยายามสร้างสถานการณ์ให้กองทัพพม่าและกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนปะทะกัน ด้วยการปลอมตัวเป็นทหารทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
ภาพแนบ: ปธน. ไอเซนฮาวร์
ตอนนั้นอเมริกาเห็นหลี่หมีพ่ายแพ้หลายครั้งติดต่อกันจึงลดการสนับสนุน โดยประธานาธิบดีของสหรัฐอย่าง ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้สื่อสารไปยังรัฐบาลไต้หวันอย่างตรงไปตรงมาว่า การคงอยู่ของกองพล 93 อาจจะกลายเป็นข้ออ้างให้ฝ่ายจีนแผ่นดินใหญ่นำกำลังทางทหารเข้ามาแทรกแซงพม่า อันเป็นการทำลายสเถียรภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้นายพลหลี่หมีต้องหันมาดำเนินกิจการค้าฝิ่นเป็นหลัก เพื่อนำรายได้มาใช้สำหรับการจัดหากำลังอาวุธ ขณะที่ข้อมูลบางชุดกล่าวว่าทาง CIA ยังเป็นผู้สนับสนุนกิจการดังกล่าวแบบลับๆ
ภาพแนบ: นายกฯ อูนุ ผู้นำจากการเลือกตั้งคนแรกของพม่าหลังได้รับเอกราช
*** การตอบโต้ของฝ่ายพม่า (ค.ศ. 1953-1961) ***
ในเดือนมีนาคมปี 1953 รัฐบาลพม่าพยายามผลักดันก๊กมินตั๋งออกจากประเทศ โดยยกทัพมารบกันเป็นศึกใหญ่ ตรงนี้เอกสารให้การไม่ตรงกัน เอกสารพม่าบอกว่าพม่าชนะ เอกสารจีนบอกว่าจีนชนะแต่สูญเสียมาก ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่เกิดขึ้นคือ:
1) พม่าผลักดันก๊กมินตั๋งออกไปไม่ได้ด้วยกำลังรบ
2) พม่าใช้ช่องทางการทูตระหว่างประเทศผ่านองค์การสหประชาชาติ กดดันให้ไต้หวันยุติการแทรกแซงเขตพื้นที่พม่า
ภาพแนบ: เจียงไคเช็กกับไอเซนฮาวร์
ตอนนั้นตัวแทนจากสหรัฐ, ไต้หวัน, พม่า, และไทยเข้าร่วมการเจรจาที่กรุงเทพฯ ส่งผลให้เกิดข้อตกลงระหว่าง 4 ฝ่ายขึ้นในปี 1953 โดยระบุว่า “ทางการจีน (ก๊กมินตั๋ง) จะต้องถอนทหารอย่างน้อย 5,000 นาย ออกจากพม่าภายใน 35 วัน” แต่เมื่อเวลาผ่านไปฝ่ายก๊กมินตั๋งกลับสามารถถอนกำลังกลับได้เพียง 2,000 นายเท่านั้น เนื่องจากทหารบางส่วนที่ตกค้างมาตั้งแต่ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 มองว่ารัฐฉานเปรียบเสมือนบ้านของตน โดยพวกเขาจำนวนไม่น้อยสร้างครอบครัวกับคนในพื้นที่
ทว่าการขนย้ายก็ยังดำเนินต่อไปจนสามารถนำทหารทหารและครอบครัวกว่า 5,700 คน รวมถึงนายพลหลี่หมีและชาวพื้นเมืองอีกราวๆ 800 คนไปไต้หวันได้สำเร็จ
ยังมีข้อถกเถียงว่าการอพยพดังกล่าวอาจเป็นเพียงฉากบังหน้า เพราะแท้จริงแล้วก๊กมินตั๋งยังคงกองกำลังอยู่ราวๆ 2,000 นาย เพื่อทำการสู้รบต่อ
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***