ที่ดิน ส.ป.ก. ความเป็นมาก่อนจะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เกษตรกรไทยประสบปัญหาไร้ที่ดินทำกินมายาวนาน และทวีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลในขณะนั้น ซึ่งมีนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ขึ้น เพื่อนำที่ดินของรัฐ และจัดซื้อที่ดินของเอกชน มาจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ มาดูว่าที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม แตกต่างจากที่ดินประเภทอื่นอย่างไร และใครมีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก.
ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร?
ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน
ที่ดิน ส.ป.ก ซื้อขายได้ไหม?
ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายได้ บทบัญญัติตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ตามมาตรา 39 ระบุว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อแนะนำ: ค้นหาทะเบียนที่ดินและตรวจสอบ ส.ป.ก. 4-01
หากมีการซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดิน ส.ป.ก. กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้กำหนดมาตรการหรือโทษตามกฎหมาย โดยผู้ขายต้องเสียสิทธิทำกินในที่ดินที่ได้รับอนุญาต ในขณะที่ผู้ซื้อก็ไม่อาจอ้างการซื้อขายเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.ได้ นอกจากนั้นผู้ซื้อและผู้ขายอาจต้องรับโทษอาญาถึงจำคุกด้วย
คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก.
1. มีสัญชาติไทย
2. บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว
3. ประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต
4. ร่างกายสมบูรณ์ ขยันขันแข็ง
5. ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอ
6. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
7. ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ป.ก.
ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก.
ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 ระบุ ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. มี 3 ประเภท คือ
1. เกษตรกร
เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น
2. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
- ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี
- จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
- เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. สถาบันเกษตรกร
- กลุ่มเกษตรกร
- สหกรณ์การเกษตร
- ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอรับการจัดที่ดิน ณ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จังหวัด โดยให้จัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการมีที่ดิน (ถ้ามี) เพื่อให้ ส.ป.ก.จังหวัด ตรวจสอบคุณสมบัติและดำเนินการจัดหาที่ดิน และจัดที่ดิน ส.ป.ก.ต่อไป
ข้อแนะนำ: ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอรับการจัดที่ดินและตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นเกษตรกร
ขอที่ดิน ส.ป.ก. ได้กี่ไร่?
- จำนวนที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม
- จำนวนที่ดินไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม ประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ
- จำนวนตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เห็นสมควรสำหรับสถาบันเกษตรกร
- ถ้าเป็นที่ดินของรัฐ และมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนด ก่อนเวลาที่คปก. กำหนด (พ.ศ. 2524) จัดให้ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100 ไร่
การมอบหนังสือรับมอบที่ดิน ส.ป.ก.
เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. จะมีการนัดมอบแปลงที่ดิน และมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ข้อ 5 โดยให้เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดิน ลงลายมือชื่อในหนังสือรับมอบที่ดินไว้เป็นหลักฐาน ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด (แบบ ส.ป.ก 4-28 ก.)
การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.
เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดิน และได้รับหนังสือรับมอบที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแล้ว
1. กรณีที่ดินที่ได้รับเป็นประเภทที่ดินของรัฐ ส.ป.ก.จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ข) ให้กับเกษตรกร (ระเบียบ คปก. ว่าด้วย การออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน และออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2540)
2. กรณีที่ดินที่ได้รับ เป็นประเภทที่เอกชน ที่ดิน ส.ป.ก.ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ส.ป.ก. จะจัดทำสัญญาเช่าที่ดิน (ส.ป.ก. 4-14 ก) หรือสัญญาเช่าซื้อที่ดิน (ส.ป.ก. 4-18 ข) กับเกษตรกร
หน้าที่ของเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก.
1. ต้องทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง ห้ามขาย ห้ามให้เช่า หรือให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
2. ขุดบ่อได้ไม่เกิน 5% ของที่ดิน จากเนื้อที่ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตจาด ส.ป.ก. และไม่นำดินที่ขุดออกจากแปลง
3. ต้องดูแลหมุดหลักฐาน และหลักเขตที่ดิน มิให้เกิดความชำรุดหรือเคลื่อนย้าย
4. ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนทำให้ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม
5. ปลูกบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ได้ตามสมควร
6. ยินยอมทำสัญญาและปฏิบัติตามสัญญากับส.ป.ก.
7. ไม่ทำให้สิ่งก่อสร้างและสภาพแวดล้อมในที่ดินเสียหาย
สรุปลักษณะที่ดิน ส.ป.ก.
ที่ดิน ส.ป.ก. โอนให้ใครได้บ้าง
1. สามี ภรรยา
2. บุตร
3. บิดามารดาของเกษตรกร
4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร
5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร
6. หลานของเกษตรกร
ที่ดิน ส.ป.ก. สามารถโอนสิทธิและตกทอดทางมรดกสิทธิให้ทายาท ต้องเป็นเกษตรกรหรือผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเท่านั้น ดังนี้
- การโอนสิทธิ เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. ยังมีชีวิตออยู่ สามารถโอนสิทธิให้ทายาทได้ ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา เจ็บป่วย เป็นต้น
- ตกทอดทางมรดกสิทธิ เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดิน ส.ป.ก. ที่จัดให้เกษตรกรตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเกษตรกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ทำกิน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเป็นปัญหาการไร้ที่ดินทำกินต่อไปไม่รู้จบ
ที่มา:
ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 โอนได้หรือไม่
ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม และที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 โอนได้หรือไม่? หาคำตอบได้ที่นี่
ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร?
ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน
ที่ดิน ส.ป.ก ซื้อขายได้ไหม?
ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายได้ บทบัญญัติตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ตามมาตรา 39 ระบุว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อแนะนำ: ค้นหาทะเบียนที่ดินและตรวจสอบ ส.ป.ก. 4-01
หากมีการซื้อขายเปลี่ยนมือที่ดิน ส.ป.ก. กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้กำหนดมาตรการหรือโทษตามกฎหมาย โดยผู้ขายต้องเสียสิทธิทำกินในที่ดินที่ได้รับอนุญาต ในขณะที่ผู้ซื้อก็ไม่อาจอ้างการซื้อขายเข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.ได้ นอกจากนั้นผู้ซื้อและผู้ขายอาจต้องรับโทษอาญาถึงจำคุกด้วย
คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก.
1. มีสัญชาติไทย
2. บรรลุนิติภาวะ หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว
3. ประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต
4. ร่างกายสมบูรณ์ ขยันขันแข็ง
5. ไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินเพียงเล็กน้อย ไม่เพียงพอ
6. ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
7. ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบของ ส.ป.ก.
ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก.
ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 ระบุ ผู้มีสิทธิได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. มี 3 ประเภท คือ
1. เกษตรกร
เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น
2. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
- ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี
- จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า
- เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
3. สถาบันเกษตรกร
- กลุ่มเกษตรกร
- สหกรณ์การเกษตร
- ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอรับการจัดที่ดิน ณ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จังหวัด โดยให้จัดเตรียมเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานการมีที่ดิน (ถ้ามี) เพื่อให้ ส.ป.ก.จังหวัด ตรวจสอบคุณสมบัติและดำเนินการจัดหาที่ดิน และจัดที่ดิน ส.ป.ก.ต่อไป
ข้อแนะนำ: ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอรับการจัดที่ดินและตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นเกษตรกร
ขอที่ดิน ส.ป.ก. ได้กี่ไร่?
- จำนวนที่ดินไม่เกิน 50 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม
- จำนวนที่ดินไม่เกิน 100 ไร่ สำหรับเกษตรกร และบุคคลในครอบรัวเดียวกัน เพื่อใช้ประกอบเกษตรกรรม ประเภทเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ
- จำนวนตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) เห็นสมควรสำหรับสถาบันเกษตรกร
- ถ้าเป็นที่ดินของรัฐ และมีเกษตรกรถือครองอยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนด ก่อนเวลาที่คปก. กำหนด (พ.ศ. 2524) จัดให้ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100 ไร่
การมอบหนังสือรับมอบที่ดิน ส.ป.ก.
เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดิน ส.ป.ก. จะมีการนัดมอบแปลงที่ดิน และมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับการคัดเลือก ตามระเบียบ คปก. ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ข้อ 5 โดยให้เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกและได้รับการจัดที่ดิน ลงลายมือชื่อในหนังสือรับมอบที่ดินไว้เป็นหลักฐาน ตามแบบที่ ส.ป.ก. กำหนด (แบบ ส.ป.ก 4-28 ก.)
การออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก.
เกษตรกรที่ได้รับการจัดที่ดิน และได้รับหนังสือรับมอบที่ดินจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดแล้ว
1. กรณีที่ดินที่ได้รับเป็นประเภทที่ดินของรัฐ ส.ป.ก.จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01 ข) ให้กับเกษตรกร (ระเบียบ คปก. ว่าด้วย การออก แก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน และออกใบแทนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2540)
2. กรณีที่ดินที่ได้รับ เป็นประเภทที่เอกชน ที่ดิน ส.ป.ก.ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ส.ป.ก. จะจัดทำสัญญาเช่าที่ดิน (ส.ป.ก. 4-14 ก) หรือสัญญาเช่าซื้อที่ดิน (ส.ป.ก. 4-18 ข) กับเกษตรกร
หน้าที่ของเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก.
1. ต้องทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเอง ห้ามขาย ห้ามให้เช่า หรือให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
2. ขุดบ่อได้ไม่เกิน 5% ของที่ดิน จากเนื้อที่ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตจาด ส.ป.ก. และไม่นำดินที่ขุดออกจากแปลง
3. ต้องดูแลหมุดหลักฐาน และหลักเขตที่ดิน มิให้เกิดความชำรุดหรือเคลื่อนย้าย
4. ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน จนทำให้ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม
5. ปลูกบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ได้ตามสมควร
6. ยินยอมทำสัญญาและปฏิบัติตามสัญญากับส.ป.ก.
7. ไม่ทำให้สิ่งก่อสร้างและสภาพแวดล้อมในที่ดินเสียหาย
สรุปลักษณะที่ดิน ส.ป.ก.
ที่ดิน ส.ป.ก. โอนให้ใครได้บ้าง
1. สามี ภรรยา
2. บุตร
3. บิดามารดาของเกษตรกร
4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร
5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร
6. หลานของเกษตรกร
ที่ดิน ส.ป.ก. สามารถโอนสิทธิและตกทอดทางมรดกสิทธิให้ทายาท ต้องเป็นเกษตรกรหรือผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเท่านั้น ดังนี้
- การโอนสิทธิ เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. ยังมีชีวิตออยู่ สามารถโอนสิทธิให้ทายาทได้ ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา เจ็บป่วย เป็นต้น
- ตกทอดทางมรดกสิทธิ เกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดิน ส.ป.ก. ที่จัดให้เกษตรกรตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเกษตรกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ทำกิน ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเป็นปัญหาการไร้ที่ดินทำกินต่อไปไม่รู้จบ
ที่มา: ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 โอนได้หรือไม่