เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คืออะไร
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีการเพิ่มเนื้อวัสดุ หรือ Additive Manufacturing (AM) โดยจะทำการพิมพ์เนื้อวัสดุขึ้นมาทีละชั้นไปเรื่อยๆ จนได้เป็นชิ้นงานออกมาตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้จะนิยมใช้ในการสร้างโมเดลดิจิตอลจากไฟล์ 3 มิติ เพื่อสร้างเป็นชิ้นงานต้นแบบหรือ Prototype รวมถึงยังสามารถนำไปใช้พิมพ์ชิ้นงานที่นำไปใช้จริงได้อีกด้วย ในปัจจุบันนั้นมีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไปใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
สำหรับหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เริ่มแรกผู้ใช้งานจะต้องทำการออกแบบชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ในรูปแบบของไฟล์ 3 มิติหรือ Blueprint ก่อน หลังจากนั้นค่อยนำไฟล์ 3 มิติใส่เข้าไปในโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์พิมพ์ของเครื่องปริ้น 3 มิติ ซึ่งเครื่องแต่ละแบรนด์ก็จะมีซอร์ฟแวร์ที่แตกต่างกันไป ส่วนในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการพิมพ์ ว่าจะใช้วัสดุอะไรให้เหมาะกับตัวชิ้นงาน เช่น พลาสติก เรซิ่น ไนลอน หรือผงโลหะ ฯลฯ เมื่อจัดเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็สามารถกดสั่งพิมพ์ชิ้นงานได้เลย ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ขนาดของชิ้นงาน วัสดุที่ใช้พิมพ์ และความซับซ้อนของชิ้นงานนั้น
ข้อดีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
1. สามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้
ข้อดีอย่างแรกเลยของ
เครื่องปริ้น 3 มิติ ก็คือ ความสามารถในการพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อน หรือมีรายละเอียดมากๆ ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เป็นการพิมพ์ชิ้นงานขึ้นมาทีละชั้นๆ ทำให้ไม่ว่าชิ้นงานที่ออกแบบจะมีรายละเอียดมากแค่ไหน ก็สามารถพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย
2. สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อน หากใช้วิธีการสร้างชิ้นงานแบบเดิมๆ เช่น การทำแบบ Hand made ซึ่งวิธีนี้จะต้องใช้เวลานานในการทำชิ้นงานขึ้นมา แต่หากใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการสร้างชิ้นงาน จะช่วยให้สามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ชิ้นงานออกมาแล้ว
3. ใช้งานได้ง่าย มือใหม่ก็ใช้ได้
เนื่องจากในการใช้งานเครื่องปริ้น 3 มิติ หากมีไฟล์ที่ออกแบบไว้อยู่แล้ว จะสามารถใช้งานได้ง่ายมากๆ มือใหม่ก็ใช้งานได้ โดยเพียงแค่นำไฟล์ 3 มิติ ใส่เข้าไปในซอร์ฟแวร์ เลือกวัสดุพิมพ์ แล้วสั่งพิมพ์ชิ้นงานออกมาได้เลย
4. ตอบโจทย์สำหรับการพิมพ์ชิ้นงานแบบ Personalize
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นตอบโจทย์มากๆ สำหรับการพิมพ์หรือผลิตชิ้นงานแบบ Personalize ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน เนื่องจากในการพิมพ์จะสามารถออกแบบชิ้นงาน และเลือกวัสดุในการพิมพ์ได้เองทั้งหมด
5. สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม
ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ นั้นมีการนำมาใช้งานในหลากหลายอุตสากรรมมากขึ้นกว่าในอดีต โดยจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้สร้างชิ้นงานต้นแบบ Prototpye หรืองาน Concept Idea เท่านั้น
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ชิ้นงาน
การพิมพ์ 3 มิติ จะมีขั้นตอนและใช้อุปกรณ์ที่น้อยกว่าการผลิตชิ้นงานแบบเดิมๆ โดยเพียงแค่ใช้ 3D Printer เครื่องเดียวก็สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้แล้ว ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดไฟ และลดต้นทุนของแรงงานลงได้
เครื่องพิมพ์สามมิติ สามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมไหนได้บ้าง
เนื่องจาก
เครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นการพิมพ์ชิ้นงานขึ้นทีละชั้นๆ โดยจะสามารถออกแบบและกำหนดวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์เองได้ จึงทำให้ขอบเขตการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นกว้างมากๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไปปรับใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น
- ด้านการผลิต
- ด้านวิศวกรรม
- ด้านการแพทย์
- ทันตกรรม
- การศึกษา
- เครื่องประดับ
- ความบันเทิง
แม้ว่า
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกนำไปใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมการผลิตหรือในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันบุคคลทั่วไปเองก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการมีต้นทุนที่ถูกลง และสามารถนำเครื่องไปใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ไม่ว่าคุณจะเป็นบริษัท โรงงาน อาจารย์ นักศึกษา หรือจะเป็นมือใหม่ในวงการนี้ ก็สามารถเข้าถึงและสร้างชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติได้อย่างสะดวก
อ้างอิงจาก :
https://www.septillion.co.th/6-pros-of-3d-printer/
เครดิตภาพ :
https://ultimaker.com/
6 ข้อดีของ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เหตุผลที่ทำไมจึงควรซื้อไปใช้งาน
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คือ เครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีการเพิ่มเนื้อวัสดุ หรือ Additive Manufacturing (AM) โดยจะทำการพิมพ์เนื้อวัสดุขึ้นมาทีละชั้นไปเรื่อยๆ จนได้เป็นชิ้นงานออกมาตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้จะนิยมใช้ในการสร้างโมเดลดิจิตอลจากไฟล์ 3 มิติ เพื่อสร้างเป็นชิ้นงานต้นแบบหรือ Prototype รวมถึงยังสามารถนำไปใช้พิมพ์ชิ้นงานที่นำไปใช้จริงได้อีกด้วย ในปัจจุบันนั้นมีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไปใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
สำหรับหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เริ่มแรกผู้ใช้งานจะต้องทำการออกแบบชิ้นงานที่ต้องการพิมพ์ในรูปแบบของไฟล์ 3 มิติหรือ Blueprint ก่อน หลังจากนั้นค่อยนำไฟล์ 3 มิติใส่เข้าไปในโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์พิมพ์ของเครื่องปริ้น 3 มิติ ซึ่งเครื่องแต่ละแบรนด์ก็จะมีซอร์ฟแวร์ที่แตกต่างกันไป ส่วนในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเลือกวัสดุที่จะใช้ในการพิมพ์ ว่าจะใช้วัสดุอะไรให้เหมาะกับตัวชิ้นงาน เช่น พลาสติก เรซิ่น ไนลอน หรือผงโลหะ ฯลฯ เมื่อจัดเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็สามารถกดสั่งพิมพ์ชิ้นงานได้เลย ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการพิมพ์ชิ้นงานแต่ละชิ้นจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ขนาดของชิ้นงาน วัสดุที่ใช้พิมพ์ และความซับซ้อนของชิ้นงานนั้น
ข้อดีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง
1. สามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้
ข้อดีอย่างแรกเลยของ เครื่องปริ้น 3 มิติ ก็คือ ความสามารถในการพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อน หรือมีรายละเอียดมากๆ ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เป็นการพิมพ์ชิ้นงานขึ้นมาทีละชั้นๆ ทำให้ไม่ว่าชิ้นงานที่ออกแบบจะมีรายละเอียดมากแค่ไหน ก็สามารถพิมพ์ได้อย่างง่ายดาย
2. สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับการสร้างชิ้นงานที่มีความซับซ้อน หากใช้วิธีการสร้างชิ้นงานแบบเดิมๆ เช่น การทำแบบ Hand made ซึ่งวิธีนี้จะต้องใช้เวลานานในการทำชิ้นงานขึ้นมา แต่หากใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการสร้างชิ้นงาน จะช่วยให้สามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีความซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ได้ชิ้นงานออกมาแล้ว
3. ใช้งานได้ง่าย มือใหม่ก็ใช้ได้
เนื่องจากในการใช้งานเครื่องปริ้น 3 มิติ หากมีไฟล์ที่ออกแบบไว้อยู่แล้ว จะสามารถใช้งานได้ง่ายมากๆ มือใหม่ก็ใช้งานได้ โดยเพียงแค่นำไฟล์ 3 มิติ ใส่เข้าไปในซอร์ฟแวร์ เลือกวัสดุพิมพ์ แล้วสั่งพิมพ์ชิ้นงานออกมาได้เลย
4. ตอบโจทย์สำหรับการพิมพ์ชิ้นงานแบบ Personalize
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้นตอบโจทย์มากๆ สำหรับการพิมพ์หรือผลิตชิ้นงานแบบ Personalize ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน เนื่องจากในการพิมพ์จะสามารถออกแบบชิ้นงาน และเลือกวัสดุในการพิมพ์ได้เองทั้งหมด
5. สามารถนำไปใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม
ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ นั้นมีการนำมาใช้งานในหลากหลายอุตสากรรมมากขึ้นกว่าในอดีต โดยจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้สร้างชิ้นงานต้นแบบ Prototpye หรืองาน Concept Idea เท่านั้น
6. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ชิ้นงาน
การพิมพ์ 3 มิติ จะมีขั้นตอนและใช้อุปกรณ์ที่น้อยกว่าการผลิตชิ้นงานแบบเดิมๆ โดยเพียงแค่ใช้ 3D Printer เครื่องเดียวก็สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้แล้ว ช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิตลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดไฟ และลดต้นทุนของแรงงานลงได้
เครื่องพิมพ์สามมิติ สามารถนำไปใช้งานในอุตสาหกรรมไหนได้บ้าง
เนื่องจาก เครื่องพิมพ์สามมิติ เป็นการพิมพ์ชิ้นงานขึ้นทีละชั้นๆ โดยจะสามารถออกแบบและกำหนดวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์เองได้ จึงทำให้ขอบเขตการสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นกว้างมากๆ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไปปรับใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น
- ด้านการผลิต
- ด้านวิศวกรรม
- ด้านการแพทย์
- ทันตกรรม
- การศึกษา
- เครื่องประดับ
- ความบันเทิง
แม้ว่า เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ส่วนใหญ่แล้วจะถูกนำไปใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมการผลิตหรือในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันบุคคลทั่วไปเองก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการมีต้นทุนที่ถูกลง และสามารถนำเครื่องไปใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ไม่ว่าคุณจะเป็นบริษัท โรงงาน อาจารย์ นักศึกษา หรือจะเป็นมือใหม่ในวงการนี้ ก็สามารถเข้าถึงและสร้างชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติได้อย่างสะดวก
อ้างอิงจาก : https://www.septillion.co.th/6-pros-of-3d-printer/
เครดิตภาพ : https://ultimaker.com/