เรื่องนี้ไม่ได้เกิดกับเรา แต่เกิดกับพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งทำงานเกี่ยวกับเงิน+กฎหมาย (บอกให้ก็ได้ว่างานเกี่ยวกับทวงหนี้) ทีนี้การทำงานก็จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นบ้าง เช่น เรื่องเอกสาร เขียนผิดบ้าง ใส่ยอดเงินผิดบ้าง ประมาณนี้ วันหนึ่งหัวหน้าเรียกคนกลุ่มนี้ประชุม แล้วพูดถึงข้อผิดพลาดต่างๆในการทำงาน ประมาณว่าหัวหน้าเหนื่อยและเครียดที่ตรวจงานลูกน้องแล้วเจอแต่จุดผิดพลาด (ลูกน้องหลายคน แต่ละคนอาจพลาดกันคนละนิด ซึ่งเราพอเข้าใจอยู่)
ส่วนลูกน้องก็เครียด เพราะงานล้นงานโหลด ทำโอฟรีกันทุกวัน และยังต้องรีบเร่งทำ ทั้งๆที่มันเป็นงานละเอียด ตัวเลขเยอะ ต้องรอบคอบ แต่ถ้าทำช้าก็โดนหัวหน้าบ่น ทั้งที่หลายครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจากพนักงาน (ส่วนหนึ่งเรามองว่าหัวหน้าอาจเก่ง ประสบการณ์เยอะ ทำงานแบบบ้าพลังมาตลอด ก็เลยเอามาตรฐานตัวเองมาวัดลูกน้อง)
ที่ผ่านมาเวลาลูกน้องทำงานผิด หัวหน้าก็ได้แต่เรียกไปบ่น แต่คราวนี้หัวหน้าคุยกับลูกน้องกลุ่มนี้ว่า ถ้าต่อไปเอกสารมีจุดผิดพลาดอีก จะปรับเงิน ลูกน้องบางคนก็พูดว่า 'พวกเขาไม่ได้อยากทำงานผิดพลาด ก่อนส่งก็ตรวจแล้ว แต่บางครั้งไม่เห็นจุดผิดพลาด' บางคนก็พูดว่า 'ยิ่งตรวจมากก็ยิ่งผิดนะ' บางคนก็พูดว่า 'เขาเงินเดือนน้อยกว่าคนอื่นๆนะ จะปรับเงินเขาเท่ากับคนอื่นๆเหรอ' หัวหน้าก็พูดว่า 'ทุกคนก็ต้องเข้าใจเขาด้วย เวลาทำงานผิด งานถูกส่งไปถึงผู้บริหาร หรือออกไปข้างนอก คนที่ซวยก่อนก็คือหัวหน้าไม่ใช่เหรอ'
เราก็มาคิดดู ว่าหัวหน้าทำถูกหรือเปล่าที่จะปรับเงินลูกน้อง ทั้งในแง่กฎหมายและจริยธรรมในการทำงาน เราเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย หัวหน้าก็เครียดและเสี่ยงเวลางานผิดพลาด จะลงโทษลูกน้องบ้างเพื่อลดความเสี่ยงนี้ก็อาจไม่ผิด แต่ถ้าใช้วิธีปรับเงินนี่มันถูกต้องหรือเปล่า ส่วนลูกน้องก็คงเครียดเหมือนกัน พยายามทำเต็มที่แล้ว ไม่ได้ตั้งใจให้ผิด แต่ถ้าเป็นตัวเราเอง เราคงไม่ยอมและหางานใหม่ เพราะถ้าทำผิดบ่อยแสดงว่าตัวเองไม่เหมาะกับงาน ไม่อยากคิดเลยว่าเดือนนึงต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่(ปรับแต่ละครั้งไม่ใช่จำนวนเงินที่เยอะหรอก แต่โอกาสโดนปรับมันมีบ่อย)
ทุกวันนี้พนักงานก็ทำงานขาดทุนกันอยู่แล้ว เพราะทำโอฟรีทุกวัน หน่วยงานเราไม่จ่ายโอทีพนักงานตั้งแต่ช่วงโควิดระบาดแล้ว แถมบางครั้งพนักงานยังต้องเอางานกลับไปทำต่อที่บ้านอีก เสียสุขภาพ (แต่ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะงานมันโหลด) จะบอกให้หัวหน้าหาพนักงานเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะเขากำหนดอัตรากำลังมาให้เท่านี้ แถมหัวหน้ายังชอบพูดว่า "งานแค่นี้พี่ทำแป๊บเดียวก็เสร็จ" เงินเดือนเราก็อยู่แค่ที่ 20K และในที่ทำงานก็ยังเก็บเงินค่าส่วนกลางจากพนักงานทุกเดือนอีก (เก็บแต่ไม่ค่อยเอาไปใช้) จนเรารู้สึกว่า ทำไมเก็บเงินพนักงานเก่งจัง จะเก็บอะไรกันนักหนา เก็บเก่ง แต่ให้พนักงานไม่ค่อยเก่งเลยแฮะ ประมาณนี้
หัวหน้ามีสิทธิปรับเงินลูกน้องไหม ถ้าลูกน้องทำงานผิดพลาด
ส่วนลูกน้องก็เครียด เพราะงานล้นงานโหลด ทำโอฟรีกันทุกวัน และยังต้องรีบเร่งทำ ทั้งๆที่มันเป็นงานละเอียด ตัวเลขเยอะ ต้องรอบคอบ แต่ถ้าทำช้าก็โดนหัวหน้าบ่น ทั้งที่หลายครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจากพนักงาน (ส่วนหนึ่งเรามองว่าหัวหน้าอาจเก่ง ประสบการณ์เยอะ ทำงานแบบบ้าพลังมาตลอด ก็เลยเอามาตรฐานตัวเองมาวัดลูกน้อง)
ที่ผ่านมาเวลาลูกน้องทำงานผิด หัวหน้าก็ได้แต่เรียกไปบ่น แต่คราวนี้หัวหน้าคุยกับลูกน้องกลุ่มนี้ว่า ถ้าต่อไปเอกสารมีจุดผิดพลาดอีก จะปรับเงิน ลูกน้องบางคนก็พูดว่า 'พวกเขาไม่ได้อยากทำงานผิดพลาด ก่อนส่งก็ตรวจแล้ว แต่บางครั้งไม่เห็นจุดผิดพลาด' บางคนก็พูดว่า 'ยิ่งตรวจมากก็ยิ่งผิดนะ' บางคนก็พูดว่า 'เขาเงินเดือนน้อยกว่าคนอื่นๆนะ จะปรับเงินเขาเท่ากับคนอื่นๆเหรอ' หัวหน้าก็พูดว่า 'ทุกคนก็ต้องเข้าใจเขาด้วย เวลาทำงานผิด งานถูกส่งไปถึงผู้บริหาร หรือออกไปข้างนอก คนที่ซวยก่อนก็คือหัวหน้าไม่ใช่เหรอ'
เราก็มาคิดดู ว่าหัวหน้าทำถูกหรือเปล่าที่จะปรับเงินลูกน้อง ทั้งในแง่กฎหมายและจริยธรรมในการทำงาน เราเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย หัวหน้าก็เครียดและเสี่ยงเวลางานผิดพลาด จะลงโทษลูกน้องบ้างเพื่อลดความเสี่ยงนี้ก็อาจไม่ผิด แต่ถ้าใช้วิธีปรับเงินนี่มันถูกต้องหรือเปล่า ส่วนลูกน้องก็คงเครียดเหมือนกัน พยายามทำเต็มที่แล้ว ไม่ได้ตั้งใจให้ผิด แต่ถ้าเป็นตัวเราเอง เราคงไม่ยอมและหางานใหม่ เพราะถ้าทำผิดบ่อยแสดงว่าตัวเองไม่เหมาะกับงาน ไม่อยากคิดเลยว่าเดือนนึงต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่(ปรับแต่ละครั้งไม่ใช่จำนวนเงินที่เยอะหรอก แต่โอกาสโดนปรับมันมีบ่อย)
ทุกวันนี้พนักงานก็ทำงานขาดทุนกันอยู่แล้ว เพราะทำโอฟรีทุกวัน หน่วยงานเราไม่จ่ายโอทีพนักงานตั้งแต่ช่วงโควิดระบาดแล้ว แถมบางครั้งพนักงานยังต้องเอางานกลับไปทำต่อที่บ้านอีก เสียสุขภาพ (แต่ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะงานมันโหลด) จะบอกให้หัวหน้าหาพนักงานเพิ่มก็ไม่ได้ เพราะเขากำหนดอัตรากำลังมาให้เท่านี้ แถมหัวหน้ายังชอบพูดว่า "งานแค่นี้พี่ทำแป๊บเดียวก็เสร็จ" เงินเดือนเราก็อยู่แค่ที่ 20K และในที่ทำงานก็ยังเก็บเงินค่าส่วนกลางจากพนักงานทุกเดือนอีก (เก็บแต่ไม่ค่อยเอาไปใช้) จนเรารู้สึกว่า ทำไมเก็บเงินพนักงานเก่งจัง จะเก็บอะไรกันนักหนา เก็บเก่ง แต่ให้พนักงานไม่ค่อยเก่งเลยแฮะ ประมาณนี้