JJNY : SCB EIC ชี้ผู้มีรายได้น้อยอาการหนัก│ชี้ราคาน้ำมันพุ่งกระทบส่งออก-กำลังซื้อปชช.│ชลน่านห่วงฉี่หนู│ชวนไฟเขียวซักฟอก

SCB EIC ชี้ สัดส่วน หนี้ครัวเรือน ต่อ GDP ในไตรมาสสองอยู่ที่ 89.3% ผู้มีรายได้น้อยอาการหนัก
https://brandinside.asia/scb-eic-debt-gdp/
 
 
SCB EIC เผยผลวิจัย หนี้ครัวเรือน ไตรมาส 2 ปี 2021 อยู่ที่ 14.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 ไตรมาส คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ 89.3% อยู่ในเกณฑ์สูง
  
กลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลผลักดันหนี้ครัวเรือนเพิ่ม
 
SCB EIC เปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนโดยหลักมากจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะ ในไตรมาส 2 ปี 2021 ยอดคงค้างของสินเชื่ออุปโภคบริโภคในระบบธนาคารพาณิชย์เติบโต 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 5.3%
 
ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนอื่นในระบบธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มทรงตัวหรือชะลอตัวทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เติบโตในอัตราเท่ากับไตรมาสก่อนหน้าที่ 6.8% ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ และบัตรเครดิตมีการชะลอตัวลงในช่วงเวลาเดียวกัน
  
ลักษณะการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ที่นำโดยสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบกับการเติบโตในอัตราที่สูง และเร่งขึ้นของสินเชื่อจากบริษัทบัตรเครดิต ลิสซิ่ง และสินเชื่อส่วนบุคคล สะท้อนถึงแนวโน้มการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้จ่ายทดแทนสภาพคล่องที่หายไปตามรายได้ที่ลดลง
 
GDP ฟื้นตัวเล็กน้อย ลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือน
 
แม้หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 2 จะขยายตัวเร่งขึ้น แต่อัตราการเติบโตของ GDP ที่ปรับดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าจากปัจจัยฐานต่ำ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยลดลงมาอยู่ที่ 89.3% ต่อ GDP จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 90.6% โดยไตรมาส 2 ปี 2021 GDP ณ ราคาปัจจุบัน (nominal GDP) เติบโตสูงถึง 10.7% จากปีก่อน
  
ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนหน้าที่ nominal GDP หดตัวรุนแรงที่ -14.7%YOY ส่งผลทำให้ผลรวมของ GDP ที่นำมาคำนวณสัดส่วนหนี้ครัวเรือน ปรับดีขึ้นมาเป็น -1.4% ในไตรมาสที่ 2 จาก -7.3% ในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ 89.3% ในไตรมาส 2 ก็ยังถือว่าสูงอย่างมีนัยสำคัญ
 
เพราะเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด โดย ณ สิ้นปี 2019 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่เพียง 79.8% ทั้งนี้จากข้อมูลของ Bank of International Settlement แม้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยจะลดลงมาบ้างจากจุดสูงสุด แต่ไทยก็ยังไม่หลุดจากการเป็นประเทศที่หนี้ครัวเรือนต่อ GDP สูงที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
  
สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อาจสูงขึ้นอีก
 
SCB EIC ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยอาจกลับมาสูงขึ้นได้อีกในปีนี้ ภายใต้สมมติฐานการเติบโต Real GDP ปี 2021 ของ EIC ที่ 0.7% คาดว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นปี 2021 จะอยู่ในช่วง 90%-92% หรือสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้
 
โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 เกิดขึ้นมากและมีมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลต่อเศรษฐกิจเพิ่มเติม ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะกลับมาปรับสูงขึ้นอีกครั้ง และอาจปรับเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีก หากการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวรวดเร็วในขณะที่เศรษฐกิจหดตัว
  
แม้ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะเริ่มคลี่คลาย นำไปสู่การทยอยเปิดเมือง และการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ตามลำดับ แต่ภาวะหนี้สูงของภาคครัวเรือนไทยน่าจะยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขไปอีกหลายปี
  
กลุ่มผู้มีรายได้น้อยลำบากที่สุดในวิกฤตนี้
 
ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณหนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูงซึ่งบางส่วนยังมีการถูกพักชำระไว้ชั่วคราว ในระยะต่อไปที่ครัวเรือนต้องกลับมาชำระหนี้จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่มีความท้าทายทั้งในแง่ของการบริหารจัดการหนี้และการใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครัวเรือนที่มีสภาพคล่องจำกัด
  
นอกจากนี้ ในส่วนของรายได้ภาคครัวเรือนก็น่าจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ตามตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบหนักและฟื้นตัวกลับมาไม่ง่าย เพราะงานหลายประเภทโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวลดลงไปมากและจะฟื้นตัวช้า ขณะที่แนวโน้มงานที่เติบโตหลังโควิด เช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือ ไอที ก็ต้องการทักษะแรงงานที่ไม่เหมือนเดิม
  
EIC คาดว่าในระยะต่อไปครัวเรือนที่มีหนี้สูงจะเข้าสู่ช่วงการซ่อมแซมงบดุลของตนเอง ด้วยการปรับลดการใช้จ่ายและลดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มรายได้ เพื่อให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ปรับลดลง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี
 


อุตสาหกรรมฯ ชี้ราคาน้ำมันพุ่ง กระทบส่งออก-กำลังซื้อปชช. จี้รัฐฯดูแลด่วน
https://ch3plus.com/news/category/260893
 
ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ชี้ ราคาน้ำมันพุ่ง เริ่มกระทบส่งออกและกำลังซื้อประชาชน จี้ รัฐบาลเข้าดูแลด่วน
 
โดยนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น มาอยู่ที่ 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากก่อนหน้านี้ที่เคยอยู่ที่ 30-40 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากถึงเท่าตัว ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาระรายจ่ายด้านสาธารณูปโภคของประชาชน และผู้ประกอบการจะปรับขึ้นตามด้วย
 
ดังนั้น ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน แม้ว่าจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐบาลให้ลดลง แต่หากไม่มีความช่วยเหลือก็จะกระทบต่อค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนให้มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการส่งออก รวมถึงปัยหาค่าเงินผันผวน เพราะการที่เงินบาทอ่อนค่าเร็วเกินไป ก็จะไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมของประเทศแน่นอน
 

 
ชลน่าน ห่วงโรคฉี่หนู จี้สธ.เตือน หวั่นปชช.เอาอย่าง นักการเมืองสร้างภาพ ลุยน้ำไม่ป้องกัน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2980716
 
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า 
 
ในนามสมาชิกพรรคพท. ภูมิใจในการทำหน้าที่ในนามของพรรคและของนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค และคณะ ส.ส. ไปจนถึงสมาชิกพรรคพท. ทั้งนี้ ตนเป็นห่วงโรคฉี่หนู leptospirosis สธ.เพิกเฉยต่อเรื่องนี้มาก ไม่มีการออกมาตรการเตือนภัย การเฝ้าระวัง การป้องกัน การควบคุมโรค ฝากเตือนชาวบ้านพี่น้องประชาชน ที่สัมผัสน้ำท่วมน้ำขัง 4 – 14 วัน (ส่วนใหญ่ 10 วัน) ถ้ามีอาการ ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัวมาก ปวดกล้ามเนื้อน่อง ต้องรีบไปพบแพทย์และแจ้งแพทย์ด้วยว่ามาจากแหล่งน้ำท่วม แพทย์จะได้วินิจฉัยและรักษาได้ทันที ปล่อยไว้ มารักษาช้า ไตวายเสียชีวิตได้ การลุยน้ำสัมผัสน้ำ ต้องสวมบูท ป้องกันไม่ให้เชื้อเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ไปเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทางเท้าเปื่อย หรือมือที่มีเชื้อมาสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก รับประทานของปนเปื้อนเชื้อ พวกเราที่ไปลุยน้ำถ้ามีอาการต้องรีบไปพบแพทย์อย่าปล่อยไว้ ไตวายแล้วรักษายากส่วนใหญ่เสียชีวิต
 
“ขอเรียกร้องไปยังกระทรวงสาธารณสุข ให้รีบออกมาตรการเตือนภัย การปฏิบัติตัวของพี่น้อง เฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ที่มากับน้ำท่วมขัง เตือนภัยอันตรายผู้ที่ลุยน้ำแช่น้ำเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จะต้องไม่สร้างภาพสร้างความเข้าใจผิดให้กับพี่น้องประชาชน เห็นนักการเมืองลุยได้ เลยทำตามขาดความระมัดระวังในการป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคฉี่หนู Leptospirosis เพราะโรคนี้ระบาดในฤดูน้ำท่วมขัง เชื้อออกมาจากปัสสาวะสัตว์ฟันแทะ เช่นหนู ยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อจะปนเปื้อนอยู่กับน้ำ ดิน โคลน สิ่งของที่แช่น้ำ เข้าสู่ร่างกายทางตรงจากสัตว์ที่มีเชื้อกัดหรือสัมผัสสัตว์มีเชื้อ ทางอ้อม เชื้อปนเปื้อนเข้าสู่บาดแผล เท้าเปื่อย มือปนเปื้อนเชื้อโรคไปสัมผัส เยื่อบุตา จมูก ปาก กินอาหารที่ปนเปื้อน ระยะฟักตัว ประมาณ 7 – 14 วัน ส่วนใหญ่จะเริ่มอาการ 4 – 14 วัน (พบมากสุด 10 วัน) ถ้ามีอาการต้องรีบวินิจฉัย ให้ยารักษาทันทีอย่าช้าเกิน 4 วัน ถ้าไตวายแล้วรักษาไม่ทันถึงแก่ชีวิตได้
 
“กระทรวงสาธารณสุข อาจพิจารณามาตรการให้การรักษาแบบป้องกันล่วงหน้า Prophylaxis treatment เพื่อลดอัตราป่วย อัตราตายจากโรคฉี่หนู ประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่น่าน ปี 2549 มีผู้ป่วยตายจากโรคฉี่หนู 6 ราย เป็นคนหนุ่มคนสาว ที่เข้าไปช่วยเหลือน้ำท่วม ปี 2554 น้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง ทางฝ่ายแพทย์ และสาธารณสุข จ.น่าน ตัดสินใจให้การรักษาแบบ Prophylaxis ให้ Doxycycline 100 mg คนละ 2 cap กินครั้งเดียวทันทีในพื้นที่น้ำท่วมและผู้สัมผัสน้ำท่วมลุยดินโคลน เว้นกลุ่มเสี่ยงจากยา ได้ผล ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคฉี่หนูเลย ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ในพื้นที่ ที่ต้องให้ยาอย่างระมัดระวัง ราคายาเม็ดละ 1 บาท ค่าใช้จ่ายไม่สูง คุ้มค่า พี่น้องประชาชนคนไทยพบวิบากกรรม ผู้นำขาดความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา ต้องช่วยกันดูแลและระมัดระวัง อย่าให้พี่น้องต้องมาป่วยตายด้วยโรคที่ป้องกัน รักษาได้” นพ.ชลน่าน กล่าว
 
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1296912870748297&id=100012887892943
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่