ว่าด้วยเรื่องของสัญญา ผู้บริโภคอาจมองเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เพราะมีสารพัดประโยค และคำศัพท์ทางกฎหมายที่เขียนลงใบในสัญญาซึ่งผู้บริโภคต้องมานั่งตีความกันจนเหนื่อย แต่เรื่องสัญญานั้น หากไม่รอบคอบโดยคิดว่าเซ็นๆ ไปเถอะจะได้จบๆ อาจต้องมานั่งเสียใจภายหลังก็เป็นได้
สัญญาเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคมาก แต่ความเคยชิน อาจทำให้เรามองข้ามไป สัญญาที่ทำกันบ่อยๆ ก็คือ สัญญาซื้อขายเพราะทุกอย่างที่เราซื้อมาบริโภคล้วนเป็นการทำสัญญาทั้งสิ้น เพียงแต่การซื้อขายทั่วไปไม่ได้ซับซ้อนจนทำให้เราต้องสนใจข้อกฎหมายมากนัก เราจึงมักอ่านสัญญาไม่ถี่ถ้วน ทำให้เมื่อเกิดปัญหาต้องการจะยกเลิกสัญญาก็ไม่สามารถยกเลิกได้ ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนางสาว A
(นามสมมุติ) ว่า นางสาว A ได้ไปเดินห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในขณะที่เดินจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่ ได้มีพนักงานจากสถาบันเสริมความงามเข้ามาสอบถามและเสนอขายคอร์สเสริมความงามให้แก่ผู้ร้อง โดยพนักงานสถาบันเสริมความงามได้ให้ตนเข้ามาทดสอบกับเครื่องมืออุปกรณ์ของสถาบันเสริมความงาม จนที่สุดผู้ร้องได้นำบัตรเครดิตไปดำเนินการซื้อคอร์สความงาม เป็นเงินจำนวน 40,000 บาท ซึ่งผู้ร้องถูกเสนอขายคอร์สดังกล่าว โดยไม่เต็มใจ จึงมีความประสงค์ยกเลิกสัญญา และขอคืนเงินที่ชำระไปแล้ว สคบ. ได้ดำเนินการนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง
เรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคด้านโฆษณาและบริการนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่ากรณีที่ผู้ร้องประสงค์ขอเงินคืนโดยอ้างเหตุว่าถูกเสนอขายคอร์สเสริมความงามดังกล่าวโดยไม่เต็มใจนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาเพื่อขอเงินคืนได้ เนื่องจากในการซื้อคอร์สเสริมความงามดังกล่าว ผู้ร้องได้ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และเงินสด ซึ่งเป็นการชำระที่ผู้ร้องได้ลงลายมือชื่อในเอกสารการชำระเงินด้วยตนเอง หากผู้บริโภคไม่ประสงค์จะซื้อคอร์สดังกล่าว สามารถบอกปฏิเสธ และไม่ส่งมอบบัตรเครดิต หรือลงลายมือชื่อในขณะที่มีการเสนอขายคอร์สได้ประกอบกับขณะที่ทำการซื้อขายคอร์สนั้น ผู้ร้องมีอายุ 40 ปี ซึ่งถือเป็นผู้มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้แล้ว การจะอ้างเหตุดังกล่าว จึงไม่สามารถรับฟังได้และประกอบกับสถาบันเสริมความงามได้ให้บริการผู้ร้องตามปกติ จึงไม่ถือว่าสถาบันเสริมความงามดังกล่าว กระทำละเมิดสิทธิผู้ร้อง คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติเห็นควรเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณายุติเรื่อง แต่ไม่ตัดสิทธิ
ที่ผู้ร้องจะไปดำเนินการทางศาลด้วยตนเอง ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ จึงมีมติยุติเรื่องและมีหนังสือแจ้งผู้ร้องทราบ
จากเรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การลงลายมือชื่ออะไรก็แล้วแต่ในการทำสัญญานั้นมีผลผูกพันธ์
ด้วยกันทั้งสิ้น สคบ. จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภค ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง ควรอ่านสัญญาให้ถี่ถ้วนและหากมีข้อสงสัยประการใด ควรสอบถามเจ้าของสัญญานั้นทันที และหากมีข้อสอบถามเกี่ยวกับการทำสัญญาสามารถขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1166
ผู้บริโภครู้หรือไม่ เหตุผลบางอย่างก็ ยกเลิกสัญญาไม่ได้
สัญญาเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคมาก แต่ความเคยชิน อาจทำให้เรามองข้ามไป สัญญาที่ทำกันบ่อยๆ ก็คือ สัญญาซื้อขายเพราะทุกอย่างที่เราซื้อมาบริโภคล้วนเป็นการทำสัญญาทั้งสิ้น เพียงแต่การซื้อขายทั่วไปไม่ได้ซับซ้อนจนทำให้เราต้องสนใจข้อกฎหมายมากนัก เราจึงมักอ่านสัญญาไม่ถี่ถ้วน ทำให้เมื่อเกิดปัญหาต้องการจะยกเลิกสัญญาก็ไม่สามารถยกเลิกได้ ดังกรณีตัวอย่างต่อไปนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนางสาว A
(นามสมมุติ) ว่า นางสาว A ได้ไปเดินห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในขณะที่เดินจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่ ได้มีพนักงานจากสถาบันเสริมความงามเข้ามาสอบถามและเสนอขายคอร์สเสริมความงามให้แก่ผู้ร้อง โดยพนักงานสถาบันเสริมความงามได้ให้ตนเข้ามาทดสอบกับเครื่องมืออุปกรณ์ของสถาบันเสริมความงาม จนที่สุดผู้ร้องได้นำบัตรเครดิตไปดำเนินการซื้อคอร์สความงาม เป็นเงินจำนวน 40,000 บาท ซึ่งผู้ร้องถูกเสนอขายคอร์สดังกล่าว โดยไม่เต็มใจ จึงมีความประสงค์ยกเลิกสัญญา และขอคืนเงินที่ชำระไปแล้ว สคบ. ได้ดำเนินการนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรอง
เรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคด้านโฆษณาและบริการนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่ากรณีที่ผู้ร้องประสงค์ขอเงินคืนโดยอ้างเหตุว่าถูกเสนอขายคอร์สเสริมความงามดังกล่าวโดยไม่เต็มใจนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาเพื่อขอเงินคืนได้ เนื่องจากในการซื้อคอร์สเสริมความงามดังกล่าว ผู้ร้องได้ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต และเงินสด ซึ่งเป็นการชำระที่ผู้ร้องได้ลงลายมือชื่อในเอกสารการชำระเงินด้วยตนเอง หากผู้บริโภคไม่ประสงค์จะซื้อคอร์สดังกล่าว สามารถบอกปฏิเสธ และไม่ส่งมอบบัตรเครดิต หรือลงลายมือชื่อในขณะที่มีการเสนอขายคอร์สได้ประกอบกับขณะที่ทำการซื้อขายคอร์สนั้น ผู้ร้องมีอายุ 40 ปี ซึ่งถือเป็นผู้มีวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้แล้ว การจะอ้างเหตุดังกล่าว จึงไม่สามารถรับฟังได้และประกอบกับสถาบันเสริมความงามได้ให้บริการผู้ร้องตามปกติ จึงไม่ถือว่าสถาบันเสริมความงามดังกล่าว กระทำละเมิดสิทธิผู้ร้อง คณะอนุกรรมการฯ จึงมีมติเห็นควรเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณายุติเรื่อง แต่ไม่ตัดสิทธิ
ที่ผู้ร้องจะไปดำเนินการทางศาลด้วยตนเอง ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้พิจารณาแล้วเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ จึงมีมติยุติเรื่องและมีหนังสือแจ้งผู้ร้องทราบ
จากเรื่องดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การลงลายมือชื่ออะไรก็แล้วแต่ในการทำสัญญานั้นมีผลผูกพันธ์
ด้วยกันทั้งสิ้น สคบ. จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภค ก่อนทำสัญญาทุกครั้ง ควรอ่านสัญญาให้ถี่ถ้วนและหากมีข้อสงสัยประการใด ควรสอบถามเจ้าของสัญญานั้นทันที และหากมีข้อสอบถามเกี่ยวกับการทำสัญญาสามารถขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1166