6 ข้ออ้างที่ไม่ควรอ้าง 🙅 ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม ถือเป็นภัยใกล้ตัวสำหรับผู้หญิงทุกคน เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1
ซึ่งมีรายงานพบว่า มีผู้หญิงไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ถึงปีละเกือบ 3,000 คน มีผู้ป่วยมากกว่า 34,000 คน และแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมะเร็งเต้านมไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าและมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าอาการจะรุนแรงและไม่สามารถทำการรักษาได้
และถึงแม้จะรู้ถึงความอันตรายของโรคนี้ แต่ก็มีหลายคนที่มักจะมีข้ออ้างให้กับตัวเองในการหลีกเลี่ยงที่จะไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มาดูกันว่า ข้ออ้างเหล่านี้มีอะไร และข้ออ้างข้อไหนบ้างที่คุณผู้หญิงต้องเลิกอ้างได้แล้ว 🤐 ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
📌1.ไม่มีประวัติเท่ากับไม่มีความเสี่ยง
เป็นข้ออ้างยอดฮิตที่หลายๆ คนมักจะหยิบยกขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น 70% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มีความเสี่ยงใดๆที่ระบุได้ชัดเจน นอกจากนี้ 75% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน แม้กระทั่งผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ ถ้าเป็นคนที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐาน อายุมาก ป่วยเป็นโรคตับแข็ง หรือเป็นผู้ชายที่มีลักษณะเต้านมเหมือนผู้หญิง เป็นต้น
📌2.หน้าอกเล็ก ไม่เป็นมะเร็งเต้านมหรอก
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ขนาดของหน้าอก ไม่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น คนที่มีหน้าอกเล็ก ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ เช่นเดียวกับคนที่มีหน้าอกใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีหน้าอกเล็ก เพราะองค์ประกอบสำคัญของการเกิดโรคนี้ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของหน้าอก ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 👉 ส่วนของเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม ซึ่งส่วนนี้สามารถเกิดมะเร็งเต้านมได้ ส่วนที่สองคือ เนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะไม่เกิดเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่มีหน้าอกเล็ก จึงมักจะมีส่วนของเนื้อเยื่อไขมันน้อย แต่ส่วนเนื้อเยื่อต่อมน้ำนมยังมีปริมาณปกติ ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมจึงอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย
ส่วนผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่ ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าหน้าอกใหญ่จากอะไร ถ้าหน้าอกใหญ่ เพราะมีเนื้อเยื่อไขมันมาก แต่เนื้อเยื่อต่อมน้ำนมอยู่ในปริมาณปกติ โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าหน้าอกใหญ่ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม หรือที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Dense Breast Tissue โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมก็มีเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อต่อมน้ำนมมากกว่า 75% จึงมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 4-6 เท่า ซึ่งการทำแมมโมแกรมจะช่วยตรวจดูได้ว่า คุณผู้หญิงมีภาวะ Dense Breast Tissue หรือไม่ และถือเป็นการตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมไปในตัว
📌3.กลัวเจ็บ เลยไม่อยากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
คนส่วนใหญ่ยังมีภาพจำของการตรวจแมมโมแกรมแบบเดิมๆ อยู่ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าการตรวจด้วยแมมโมแกรม จะทำให้ผู้ที่ถูกตรวจรู้สึกเจ็บหน้าอก เพราะต้องโดนบีบและกดทับด้วยเครื่องแมมโมแกรม แต่ข่าวดีก็คือ เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันสามารถลดการกดทับเต้านมที่รุนแรงได้ 👍 ผู้ที่ถูกตรวจจึงไม่รู้สึกเจ็บเต้านมมากเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้ บริเวณเต้านมนั้นไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากการกดทับของเครื่องแมมโมแกรมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะวิธีนี้มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80% เท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ตรวจไม่พบก้อนเนื้อขนาดเล็ก คุณหมอจึงแนะนำให้ทำอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจขึ้นเป็น 85-90% และหากทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปกับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม ความแม่นยำก็จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 99% เลยทีเดียว แต่ถ้าใครกลัวมากๆ ก็สามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอและพยาบาลในการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนได้นะครับ
📌4.กังวลว่ารังสีจากการตรวจเต้านม จะทำให้เป็นมะเร็ง
มีหลายคนที่กังวลว่า รังสีจากการทำแมมโมแกรมจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณรังสีจากการทำแมมโมแกรมนั้นน้อยมาก เทียบเท่ากับการเอกซเรย์ปอดประมาณ 3-4 ครั้ง หรือต้องทำแมมโมแกรมถึง 100 ครั้งเลยทีเดียว ร่างกายจึงจะได้รับปริมาณรังสีในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนั้น การทำแมมโมแกรมจึงไม่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน 😃
📌5.กลัวตัวเองจะเป็นทุกข์ หากตรวจพบความผิดปกติในเต้านม
ความกลัวและความกังวลเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ (โดยเฉพาะเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพ) แต่รู้หรือไม่ครับว่า กว่า 80% ของก้อนเนื้อที่ตรวจพบในเต้านมของผู้หญิง มักเป็นชนิดที่ไม่ร้ายแรงและไม่เป็นอันตราย เช่น ซีสต์ หรือเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง แต่สำหรับมะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โอกาสที่จะหายขาดก็มีมากขึ้น
นอกจากนี้ การตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่มยังช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้อีก 5 ปี ถึง 98% ตรงกันข้าม แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้ทำให้เสียชีวิตทันที แต่หากตรวจพบช้าและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยก็อาจมีชีวิตได้อีกเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ก่อนที่จะเสียชีวิต
ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็ง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรทำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากตรวจพบและรีบรักษาผู้ป่วยก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
📌6.คลำไม่เจอก้อน ไม่จำเป็นต้องตรวจก็ได้
สิ่งที่ถูกต้องก็คือ เราไม่ควรรอให้เกิดความผิดปกติก่อนถึงจะไปตรวจเต้านม เพราะมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นมักไม่แสดงอาการและคลำไม่พบก้อน แต่ถ้าหากว่า คลำแล้วพบก้อน และตรวจพบว่าเป็นมะเร็งจริง แสดงว่าเป็นมะเร็งที่กินระยะเวลามา 2-3 ปีแล้ว ดังนั้น ห้ามชะล่าใจและคิดว่าการที่ไม่มีก้อนที่หน้าอกนั้นไม่เป็นไร พี่หมอแนะนำว่า ถ้าอายุเข้าเกณฑ์แล้ว ให้พบแพทย์และตรวจคัดกรองเป็นประจำจะดีที่สุดนะครับ
นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมก็คือ การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามกำหนด โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ควบคู่กันปีละ 1 ครั้ง และเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ให้ทำทุก 1-2 ปี
อ่านบทความของพี่หมอจบแล้ว หวังว่า คุณสาวๆ ทั้งหลายจะไม่มีข้ออ้างในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้กับตัวเองแล้วนะครับ 💝 💝 💝
6 ข้ออ้างที่ไม่ควรอ้าง ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม ถือเป็นภัยใกล้ตัวสำหรับผู้หญิงทุกคน เนื่องจากเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 1
ซึ่งมีรายงานพบว่า มีผู้หญิงไทยเสียชีวิตด้วยโรคนี้ถึงปีละเกือบ 3,000 คน มีผู้ป่วยมากกว่า 34,000 คน และแต่ละปีก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมะเร็งเต้านมไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าและมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าอาการจะรุนแรงและไม่สามารถทำการรักษาได้
และถึงแม้จะรู้ถึงความอันตรายของโรคนี้ แต่ก็มีหลายคนที่มักจะมีข้ออ้างให้กับตัวเองในการหลีกเลี่ยงที่จะไปตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มาดูกันว่า ข้ออ้างเหล่านี้มีอะไร และข้ออ้างข้อไหนบ้างที่คุณผู้หญิงต้องเลิกอ้างได้แล้ว 🤐 ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
เป็นข้ออ้างยอดฮิตที่หลายๆ คนมักจะหยิบยกขึ้นมา แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น 70% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มีความเสี่ยงใดๆที่ระบุได้ชัดเจน นอกจากนี้ 75% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน แม้กระทั่งผู้ชายก็สามารถเป็นมะเร็งเต้านมได้ ถ้าเป็นคนที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำหนักเกินมาตรฐาน อายุมาก ป่วยเป็นโรคตับแข็ง หรือเป็นผู้ชายที่มีลักษณะเต้านมเหมือนผู้หญิง เป็นต้น
📌2.หน้าอกเล็ก ไม่เป็นมะเร็งเต้านมหรอก
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ขนาดของหน้าอก ไม่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น คนที่มีหน้าอกเล็ก ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ เช่นเดียวกับคนที่มีหน้าอกใหญ่ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่มีหน้าอกเล็ก เพราะองค์ประกอบสำคัญของการเกิดโรคนี้ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของหน้าอก ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 👉 ส่วนของเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม ซึ่งส่วนนี้สามารถเกิดมะเร็งเต้านมได้ ส่วนที่สองคือ เนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งจะไม่เกิดเป็นมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่มีหน้าอกเล็ก จึงมักจะมีส่วนของเนื้อเยื่อไขมันน้อย แต่ส่วนเนื้อเยื่อต่อมน้ำนมยังมีปริมาณปกติ ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมจึงอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย
ส่วนผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่ ก็ต้องพิจารณาก่อนว่าหน้าอกใหญ่จากอะไร ถ้าหน้าอกใหญ่ เพราะมีเนื้อเยื่อไขมันมาก แต่เนื้อเยื่อต่อมน้ำนมอยู่ในปริมาณปกติ โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าหน้าอกใหญ่ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อเยื่อต่อมน้ำนม หรือที่ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Dense Breast Tissue โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเต้านมก็มีเพิ่มขึ้น
ผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเนื้อเยื่อต่อมน้ำนมมากกว่า 75% จึงมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 4-6 เท่า ซึ่งการทำแมมโมแกรมจะช่วยตรวจดูได้ว่า คุณผู้หญิงมีภาวะ Dense Breast Tissue หรือไม่ และถือเป็นการตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมไปในตัว
📌3.กลัวเจ็บ เลยไม่อยากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
คนส่วนใหญ่ยังมีภาพจำของการตรวจแมมโมแกรมแบบเดิมๆ อยู่ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าการตรวจด้วยแมมโมแกรม จะทำให้ผู้ที่ถูกตรวจรู้สึกเจ็บหน้าอก เพราะต้องโดนบีบและกดทับด้วยเครื่องแมมโมแกรม แต่ข่าวดีก็คือ เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันสามารถลดการกดทับเต้านมที่รุนแรงได้ 👍 ผู้ที่ถูกตรวจจึงไม่รู้สึกเจ็บเต้านมมากเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้ บริเวณเต้านมนั้นไม่มีต่อมน้ำเหลืองที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากการกดทับของเครื่องแมมโมแกรมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะวิธีนี้มีความแม่นยำอยู่ที่ประมาณ 80% เท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ตรวจไม่พบก้อนเนื้อขนาดเล็ก คุณหมอจึงแนะนำให้ทำอัลตราซาวด์ควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจขึ้นเป็น 85-90% และหากทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปกับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม ความแม่นยำก็จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 99% เลยทีเดียว แต่ถ้าใครกลัวมากๆ ก็สามารถขอคำแนะนำจากคุณหมอและพยาบาลในการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนได้นะครับ
📌4.กังวลว่ารังสีจากการตรวจเต้านม จะทำให้เป็นมะเร็ง
มีหลายคนที่กังวลว่า รังสีจากการทำแมมโมแกรมจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณรังสีจากการทำแมมโมแกรมนั้นน้อยมาก เทียบเท่ากับการเอกซเรย์ปอดประมาณ 3-4 ครั้ง หรือต้องทำแมมโมแกรมถึง 100 ครั้งเลยทีเดียว ร่างกายจึงจะได้รับปริมาณรังสีในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ดังนั้น การทำแมมโมแกรมจึงไม่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอน 😃
📌5.กลัวตัวเองจะเป็นทุกข์ หากตรวจพบความผิดปกติในเต้านม
ความกลัวและความกังวลเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ (โดยเฉพาะเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพ) แต่รู้หรือไม่ครับว่า กว่า 80% ของก้อนเนื้อที่ตรวจพบในเต้านมของผู้หญิง มักเป็นชนิดที่ไม่ร้ายแรงและไม่เป็นอันตราย เช่น ซีสต์ หรือเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง แต่สำหรับมะเร็งเต้านม หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โอกาสที่จะหายขาดก็มีมากขึ้น
นอกจากนี้ การตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่มยังช่วยยืดอายุของผู้ป่วยได้อีก 5 ปี ถึง 98% ตรงกันข้าม แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้ทำให้เสียชีวิตทันที แต่หากตรวจพบช้าและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยก็อาจมีชีวิตได้อีกเพียง 1-2 ปีเท่านั้น ก่อนที่จะเสียชีวิต
ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็ง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรทำเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากตรวจพบและรีบรักษาผู้ป่วยก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
📌6.คลำไม่เจอก้อน ไม่จำเป็นต้องตรวจก็ได้
สิ่งที่ถูกต้องก็คือ เราไม่ควรรอให้เกิดความผิดปกติก่อนถึงจะไปตรวจเต้านม เพราะมะเร็งเต้านมในระยะแรกนั้นมักไม่แสดงอาการและคลำไม่พบก้อน แต่ถ้าหากว่า คลำแล้วพบก้อน และตรวจพบว่าเป็นมะเร็งจริง แสดงว่าเป็นมะเร็งที่กินระยะเวลามา 2-3 ปีแล้ว ดังนั้น ห้ามชะล่าใจและคิดว่าการที่ไม่มีก้อนที่หน้าอกนั้นไม่เป็นไร พี่หมอแนะนำว่า ถ้าอายุเข้าเกณฑ์แล้ว ให้พบแพทย์และตรวจคัดกรองเป็นประจำจะดีที่สุดนะครับ
นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมก็คือ การตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ และพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตามกำหนด โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงไทยที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ควบคู่กันปีละ 1 ครั้ง และเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ให้ทำทุก 1-2 ปี
อ่านบทความของพี่หมอจบแล้ว หวังว่า คุณสาวๆ ทั้งหลายจะไม่มีข้ออ้างในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้กับตัวเองแล้วนะครับ 💝 💝 💝