อยากทราบว่า เข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ เกี่ยวกับวงการเพลงไทย เกาหลี ญี่ปุ่น
เริ่มจากในส่วนของญี่ปุ่นกับเกาหลีก่อน จขกท. เข้าใจ (จากการอ่านจากหลายๆที่) ว่า สองประเทศนี้จะต่างกันตรงที่ของเกาหลีจะเน้นทำเพื่อส่งออก เพราะอุตสาหกรรมดนตรีในเกาหลีเองค่อนข้างเล็ก นอกจากจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิงของตนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำให้ต่างชาติโดยเฉพาะในโลกตะวันตกรู้จักเกาหลีมากยิ่งขึ้น ในส่วนของญี่ปุ่นนั้นไม่ต้องการที่จะส่งออกมากนัก ทำให้อาจจะเป็นที่รู้จักในต่างประเทศน้อยกว่า แต่เป็นเพราะการสนับสนุนของแฟนคลับที่ฐานค่อนข้างแน่นมาก การสนับสนุนอะไรถึงยังมีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นยอดขายเพลงหรือกิจกรรมของวง (ทำให้หลายวงยังคงอยู่แม้ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว) ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีในญี่ปุ่นนั้นมีขนาดใหญ่มาก (ถ้าจำไม่ผิดเป็นอันดับสองรองจากอเมริกา) จนหลายบริษัทมองว่าไม่จำเป็นต้องส่งออกนอกมากนัก เน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก ศิลปินของเกาหลีหลายวงถ้าจะขยายตลาดมาญี่ปุ่นก็มักจะมีเพลงเวอร์ชันญี่ปุ่นควบคู่ไปด้วย เข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ (โดยส่วนตัวมองว่า ถ้าอุตสาหกรรมเพลงทำได้ทั้งสองอย่าง คือฐานในประเทศแน่น และส่งออกนอกด้วย แบบนี้น่าจะยิ่งดีมาก)
ในส่วนของวงการเพลงไทย ในส่วนของเพลงลูกทุ่ง ลูกทุ่งร่วมสมัย วงร็อค วงดนตรีนี่ค่อนข้างมีฐานการสนับสนุนค่อนข้างแน่นมากแล้ว แต่ในส่วนของเพลงแนวร่วมสมัยหรือ Pop ในภาพรวมฐานยังมีฐานแฟนคลับไม่ค่อยแน่นนัก มักมีฐานแฟนคลับแบบแยกวงเป็นหลัก หลายวงยังเน้นเรื่องความเป็นที่นิยมหรือ "แมส" ผ่านยอดวิวใน YouTube หรือยอดรีทวิตเป็นหลัก แบบนี้ จขกท. เข้าใจถูกหรือไม่ครับ
จขกท. มองว่า เนื่องจากสาย Pop สมัยใหม่ของไทยยังไม่ได้บุกต่างประเทศมากแบบเกาหลี (มีชาวต่างชาติติดตามอยู่พอสมควรเหมือนกัน) และก็ไม่ได้มีฐานแฟนคลับที่พร้อมสนับสนุนหรือ Pay วงได้อย่างต่อเนื่องแบบญี่ปุ่น (มีไม่กี่วง) สิ่งที่ควรเป็นคือ ควรมีเพลงทั้งที่ขายฐานแฟนคลับของวง เพื่อให้มีฐานแฟนคลับที่แน่น พร้อมสนับสนุนอยู่เสมอ (ตรงนี้ก็ต้องสนับสนุนให้มีการบริโภคสินค้าถูกลิขสิทธิ์ด้วย) ในขณะเดียวกันก็ควรทำแนวอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อให้มีฐานแฟนคลับที่หลากหลายขึ้น ที่สำคัญคือ ถ้าจะสนับสนุนของไทย (รันวงการของไทย) แฟนคลับก็ควรที่จะเปิดกว้าง สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะเมมเบอร์เองเขาก็ยังสนับสนุนกันและกันเลย) ส่วนเรื่องจะแมสหรือไม่ (แมสนี่มันก็หลายระดับ อาจแมส YouTube ในทวิตเตอร์หรือ Social Media มีคน Cover บ้าง ซึ่งสิ่งที่หลายวงอยากได้มากที่สุด คือการเป็นปรากฏการณ์หรือ Phenomenon ที่หลายๆสื่อพูดถึง) ในเห็นบางกลุ่มพอเห็นว่าเพลงมันไม่แมสหรือไม่เป็นไปตามที่หวัง ก็ไปต่อว่าทีมงานหรือเมมเบอร์ อันนี้ไม่ดีเลย คหสต.มองว่าแมสมันก็เหมือนกับล็อตเตอรี่ ไม่ใช่ทุกคนจะถูกกันได้บ่อยๆ ซึ่งแน่นอน ถ้าถูกมันก็เป็นเรื่องดีมาก แต่เพราะมันไม่ได้ถูกกันบ่อยๆ แม้จะเก็งตัวเลขไว้ดีเพียงใดก็ตาม ทำให้เราไม่สามารถหวังรวยจากการถูกรางวัลโดยไม่ทำงานได้ วงการเพลงก็เหมือนกัน จะหวังแมสอย่างเดียวโดยละเลยอย่างอื่นไม่ได้ ขอแค่คอยสนับสนุนวง ให้กำลังใจและข้อแนะนำวงให้ทำผลงานดีๆอย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าใช้ได้ แล้วเรื่องแมสก็จะตามมาเอง ส่วนนี้เป็น คหสต. นะครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
เข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ เกี่ยวกับวงการเพลงไทย เกาหลี ญี่ปุ่น
เริ่มจากในส่วนของญี่ปุ่นกับเกาหลีก่อน จขกท. เข้าใจ (จากการอ่านจากหลายๆที่) ว่า สองประเทศนี้จะต่างกันตรงที่ของเกาหลีจะเน้นทำเพื่อส่งออก เพราะอุตสาหกรรมดนตรีในเกาหลีเองค่อนข้างเล็ก นอกจากจะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมดนตรีและบันเทิงของตนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ยังเป็นการทำให้ต่างชาติโดยเฉพาะในโลกตะวันตกรู้จักเกาหลีมากยิ่งขึ้น ในส่วนของญี่ปุ่นนั้นไม่ต้องการที่จะส่งออกมากนัก ทำให้อาจจะเป็นที่รู้จักในต่างประเทศน้อยกว่า แต่เป็นเพราะการสนับสนุนของแฟนคลับที่ฐานค่อนข้างแน่นมาก การสนับสนุนอะไรถึงยังมีค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นยอดขายเพลงหรือกิจกรรมของวง (ทำให้หลายวงยังคงอยู่แม้ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว) ทำให้อุตสาหกรรมดนตรีในญี่ปุ่นนั้นมีขนาดใหญ่มาก (ถ้าจำไม่ผิดเป็นอันดับสองรองจากอเมริกา) จนหลายบริษัทมองว่าไม่จำเป็นต้องส่งออกนอกมากนัก เน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก ศิลปินของเกาหลีหลายวงถ้าจะขยายตลาดมาญี่ปุ่นก็มักจะมีเพลงเวอร์ชันญี่ปุ่นควบคู่ไปด้วย เข้าใจแบบนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ (โดยส่วนตัวมองว่า ถ้าอุตสาหกรรมเพลงทำได้ทั้งสองอย่าง คือฐานในประเทศแน่น และส่งออกนอกด้วย แบบนี้น่าจะยิ่งดีมาก)
ในส่วนของวงการเพลงไทย ในส่วนของเพลงลูกทุ่ง ลูกทุ่งร่วมสมัย วงร็อค วงดนตรีนี่ค่อนข้างมีฐานการสนับสนุนค่อนข้างแน่นมากแล้ว แต่ในส่วนของเพลงแนวร่วมสมัยหรือ Pop ในภาพรวมฐานยังมีฐานแฟนคลับไม่ค่อยแน่นนัก มักมีฐานแฟนคลับแบบแยกวงเป็นหลัก หลายวงยังเน้นเรื่องความเป็นที่นิยมหรือ "แมส" ผ่านยอดวิวใน YouTube หรือยอดรีทวิตเป็นหลัก แบบนี้ จขกท. เข้าใจถูกหรือไม่ครับ
จขกท. มองว่า เนื่องจากสาย Pop สมัยใหม่ของไทยยังไม่ได้บุกต่างประเทศมากแบบเกาหลี (มีชาวต่างชาติติดตามอยู่พอสมควรเหมือนกัน) และก็ไม่ได้มีฐานแฟนคลับที่พร้อมสนับสนุนหรือ Pay วงได้อย่างต่อเนื่องแบบญี่ปุ่น (มีไม่กี่วง) สิ่งที่ควรเป็นคือ ควรมีเพลงทั้งที่ขายฐานแฟนคลับของวง เพื่อให้มีฐานแฟนคลับที่แน่น พร้อมสนับสนุนอยู่เสมอ (ตรงนี้ก็ต้องสนับสนุนให้มีการบริโภคสินค้าถูกลิขสิทธิ์ด้วย) ในขณะเดียวกันก็ควรทำแนวอื่นๆไปพร้อมๆกัน เพื่อให้มีฐานแฟนคลับที่หลากหลายขึ้น ที่สำคัญคือ ถ้าจะสนับสนุนของไทย (รันวงการของไทย) แฟนคลับก็ควรที่จะเปิดกว้าง สนับสนุนซึ่งกันและกัน เพราะเมมเบอร์เองเขาก็ยังสนับสนุนกันและกันเลย) ส่วนเรื่องจะแมสหรือไม่ (แมสนี่มันก็หลายระดับ อาจแมส YouTube ในทวิตเตอร์หรือ Social Media มีคน Cover บ้าง ซึ่งสิ่งที่หลายวงอยากได้มากที่สุด คือการเป็นปรากฏการณ์หรือ Phenomenon ที่หลายๆสื่อพูดถึง) ในเห็นบางกลุ่มพอเห็นว่าเพลงมันไม่แมสหรือไม่เป็นไปตามที่หวัง ก็ไปต่อว่าทีมงานหรือเมมเบอร์ อันนี้ไม่ดีเลย คหสต.มองว่าแมสมันก็เหมือนกับล็อตเตอรี่ ไม่ใช่ทุกคนจะถูกกันได้บ่อยๆ ซึ่งแน่นอน ถ้าถูกมันก็เป็นเรื่องดีมาก แต่เพราะมันไม่ได้ถูกกันบ่อยๆ แม้จะเก็งตัวเลขไว้ดีเพียงใดก็ตาม ทำให้เราไม่สามารถหวังรวยจากการถูกรางวัลโดยไม่ทำงานได้ วงการเพลงก็เหมือนกัน จะหวังแมสอย่างเดียวโดยละเลยอย่างอื่นไม่ได้ ขอแค่คอยสนับสนุนวง ให้กำลังใจและข้อแนะนำวงให้ทำผลงานดีๆอย่างต่อเนื่อง ก็ถือว่าใช้ได้ แล้วเรื่องแมสก็จะตามมาเอง ส่วนนี้เป็น คหสต. นะครับ
รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ