ยอดดับต่ำกว่าร้อย โควิดไทยวันนี้ เสียชีวิต 87 ราย ติดเชื้อใหม่ 11,375 ราย
https://www.matichon.co.th/local/news_2969600
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด ประจำวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม
รวม 11,375 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,245 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 929 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 184 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 17 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,597,741 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 13,127 ราย
หายป่วยสะสม 1,468,847 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 113,394 ราย
เสียชีวิต 87 ราย
แม่กลับมาช็อก ลูกชายติดเตียงนอนนิ่ง ไปดูสิ้นใจแล้ว หลังฉีดวัคซีนเข็มแรกได้วันเดียว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6653469
แม่กังวลลูกป่วยติดเตียงนับ 10 ปี จะติดโควิด อสม.มาสำรวจฉีดวัคซีนเข็มแรก รุ่งเช้าเริ่มมีอาการ สุดช็อกหลังกลับจากงานศพช่วงค่ำ ลูกสิ้นใจแล้ว
วันที่ 1 ต.ค.64 นาง
สังวาลย์ แล้วไสย์ อายุ 54 ปี ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านอุบล ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เปิดเผยถึงการจากไปของลูกชายที่ป่วยติดเตียง ที่คอยป้อนข้าวป้อนน้ำเป็นเวลาร่วม 10 ปี อย่างเศร้าใจว่า ลูกชายชื่อ นาย
เจษฎา แก้วไสย์ อายุ 31 ปี ป่วยด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากเคยฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอตัวเอง แต่สามารถช่วยชีวิตได้ ทำให้ต้องนอนติดเตียง แขนขาไม่มีแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์ต้องเจาะคอเพื่อเป็นช่องหายใจ และให้อาหารเหลวทางสายยาง ตั้งแต่ปี 2555
นาง
สังวาล เล่าทั้งน้ำตาว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ย. เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ อสม.ได้มาสอบถามว่าลูกชายจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด–19 หรือไม่ เนื่องจากอยู่ในกลุ่ม 7 โรค ตนเห็นว่าผู้ป่วยติดเตียงคนอื่นภายในหมู่บ้านเขาฉีดกันทั้งนั้น จึงอยากให้ลูกฉีดด้วย ประกอบกับผู้เป็นพ่อยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และเข้าออกนอกบ้านบ่อยครั้งเกรงจะนำเชื้อมาติดลูก และอยากให้ลูกอยู่กับตนไปนานๆ จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่มาฉีดวัคซีนถึงบ้าน
โดยก่อนฉีดได้ตรวจวัดความดันก็เป็นปกติดีทุกอย่าง กระทั่งเช้าวันที่ 30 ก.ย. ลูกชายมีอาการไอบ่อยครั้ง มีเสลดติดตามลำคอ ความดันลดต่ำลง จวบจนช่วงค่ำ อาการก็ยังคงเหมือนเดิม ตนเห็นว่าจะต้องไปร่วมงานศพเพื่อนบ้าน จึงได้ไปกดเงินในตลาดให้สามีเฝ้าลูก และได้กลับมาบ้านในช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. สังเกตดูลูกเงียบไป เพราะทุกครั้งที่เข้าบ้านลูกชายจะแสดงออกทางสายตามองกรอกไปมา เหมือนรับรู้ว่าแม่มาแล้ว แต่ครั้งนี้นิ่งไป จึงเข้าไปดูพบว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว
ตนรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก หวังที่จะให้ลูกด้วยกันนานๆ แต่กลับมาตายก่อน ซึ่งตนไม่ได้โทษใคร ไม่ได้โทษหมอที่มาฉีดวัคซีนให้ เนื่องจากฐานะทางครอบครัวก็ยากจนจำต้องจัดงานศพลูกไปตามมีตามเกิด จึงอยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้วย ตนคาดว่าสาเหตุของการตายของลูกเกิดจากการฉีดวัคซีน เพราะตนอยากให้ลูกอยู่ด้วยนานๆ ห่างจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำตามนโยบายของรัฐบาล
สำหรับ นาย
เจษฎา มีกำหนดฌาปณกิจในวันอาทิตย์ที่ 3 ต.ค. 64 ซึ่งทางญาติยังมีความหวังว่าทางภาครัฐจะเข้ามาช่วยเนื่องจากมีเงินประกันจากการฉีดวัคซีนโควิด
ธปท. เผยภาคการผลิต 49% ทำ "บับเบิลแอนด์ซีล" ดันต้นทุนพุ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-774078
ธปท.เผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย หรือ BSI COVID เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนทุกธุรกิจตามมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ การจ้างงานปรับดีขึ้น พบภาคการผลิตใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นหลังต้องหยุดผลิตชั่วคราว และสัดส่วนกว่า 49% ทำมาตรการ Bubble & Seal ดันต้นทุนสูงขึ้น ด้านธุรกิจท่องเที่ยว-ก่อสร้างมีสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น
วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เฉพาะกิจระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน 2564 ว่า ในเดือนกันยายน 2564 การฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะภาคที่ไม่ใช่ภาคการผลิตตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นสำคัญ อาทิ การกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า และการนั่งรับประทานในร้ายอาหารได้บางส่วน ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เริ่มลดลง ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภค
สำหรับภาคการผลิตปรับดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากปัญหาการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในโครงงานเริ่มคลี่คลาย โดยธุรกิจนำมาตรการ Bubble & Seal มาใช้ในโครงงานมากขึ้น ขณะที่ปัญหาด้านการขนส่งเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจมากขึ้นในเดือนนี้
ขณะที่ระดับการฟื้นตัวของการจ้างงานปรับดีขึ้นทั้งด้านจำนวนแรงงานและรายได้เฉลี่ยสอดคล้องกับการฟื้นตัวของธุรกิจ และการใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนการจ้างงานลดลงจากเดือนก่อนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายการสลับมาทำงานยังมีสัดส่วนสูงใกล้เคียงเดิม ขณะที่ในภาคการผลิตมีการใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนนึ่งมาจากงโรงงานหยุดผลิตชั่วคราวหรือใช้แรงงานน้อยลง เพราะปัญหาการแพร่ระบาดในโรงงานหรือปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
ทั้งนี้ ธุรกิจมีมุมมองต่อการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ล่าช้ากว่าการสำรวจครั้งก่อน โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับเดิมภายในครึ่งปีแรกของปี 2565 เร็วกว่าภาคที่มิใช่การผลิตที่ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาภายในครึ่งหลังของปี 2565
ธุรกิจส่วนใหญ่มีสภาพคล่องสำรองใกล้เคียงกับใตรมาสก่อน ยกเว้นภาศท่องเทียว และก่อสร้างทีมีสัดส่วนสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น และภาคบริการ อาทิ ธุรกิจสาธารณูปโภค และคลังสินค้าที่มีสัดส่วนสภาพคล่องมากกว่า 2 ปีเพิ่มขึ้น ขณะที่บางธุรกิจสะสมวัตถุดิบคงคลังน้อยลง โดยเฉพาธุรกิจผลิตเครื่องจักร ธุรกิจผลิตเหล็ก และธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ ส่วนหนึ่งจากราคาเหล็กที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนตักเตอร์เนื่องจากการปิดโรงงานของคู่ค้าในช่วงก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ประเด็นพิเศษจากการสำรวจ พบว่า ธุรกิจภาคการผลิตประมาณ 49% มีการทำมาตรการ Bubble & Seal เพื่อควบคุมการแพร่ระบาตในโรงงาน แต่มีอุปสรรคสำคัญจากต้นทุนที่สูง โดยเฉพาะต้านสาธารณสุข อาทิ ค่ายา ค่าตรวจ ATK และด้านการจัดหาพื้นที่กักตัว ขณะที่มุมมองต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประเมินว่าวัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และจะเกิดได้โนไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
JJNY : เสียชีวิต87 ติดเชื้อ11,375│ลูกติดเตียงสิ้นใจหลังฉีดเข็มแรกวันเดียว│ภาคการผลิต บับเบิลแอนด์ซีลดันต้นทุน│32จว.เจอฝน
https://www.matichon.co.th/local/news_2969600
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผยแพร่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด ประจำวันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม
รวม 11,375 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,245 ราย
ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 929 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 184 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 17 ราย
ผู้ป่วยสะสม 1,597,741 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
หายป่วยกลับบ้าน 13,127 ราย
หายป่วยสะสม 1,468,847 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 113,394 ราย
เสียชีวิต 87 ราย
แม่กลับมาช็อก ลูกชายติดเตียงนอนนิ่ง ไปดูสิ้นใจแล้ว หลังฉีดวัคซีนเข็มแรกได้วันเดียว
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6653469
แม่กังวลลูกป่วยติดเตียงนับ 10 ปี จะติดโควิด อสม.มาสำรวจฉีดวัคซีนเข็มแรก รุ่งเช้าเริ่มมีอาการ สุดช็อกหลังกลับจากงานศพช่วงค่ำ ลูกสิ้นใจแล้ว
วันที่ 1 ต.ค.64 นางสังวาลย์ แล้วไสย์ อายุ 54 ปี ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านอุบล ต.บัวใหญ่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เปิดเผยถึงการจากไปของลูกชายที่ป่วยติดเตียง ที่คอยป้อนข้าวป้อนน้ำเป็นเวลาร่วม 10 ปี อย่างเศร้าใจว่า ลูกชายชื่อ นายเจษฎา แก้วไสย์ อายุ 31 ปี ป่วยด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากเคยฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอตัวเอง แต่สามารถช่วยชีวิตได้ ทำให้ต้องนอนติดเตียง แขนขาไม่มีแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แพทย์ต้องเจาะคอเพื่อเป็นช่องหายใจ และให้อาหารเหลวทางสายยาง ตั้งแต่ปี 2555
นางสังวาล เล่าทั้งน้ำตาว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ย. เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ อสม.ได้มาสอบถามว่าลูกชายจะฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด–19 หรือไม่ เนื่องจากอยู่ในกลุ่ม 7 โรค ตนเห็นว่าผู้ป่วยติดเตียงคนอื่นภายในหมู่บ้านเขาฉีดกันทั้งนั้น จึงอยากให้ลูกฉีดด้วย ประกอบกับผู้เป็นพ่อยังไม่ได้ฉีดวัคซีน และเข้าออกนอกบ้านบ่อยครั้งเกรงจะนำเชื้อมาติดลูก และอยากให้ลูกอยู่กับตนไปนานๆ จึงอนุญาตให้เจ้าหน้าที่มาฉีดวัคซีนถึงบ้าน
โดยก่อนฉีดได้ตรวจวัดความดันก็เป็นปกติดีทุกอย่าง กระทั่งเช้าวันที่ 30 ก.ย. ลูกชายมีอาการไอบ่อยครั้ง มีเสลดติดตามลำคอ ความดันลดต่ำลง จวบจนช่วงค่ำ อาการก็ยังคงเหมือนเดิม ตนเห็นว่าจะต้องไปร่วมงานศพเพื่อนบ้าน จึงได้ไปกดเงินในตลาดให้สามีเฝ้าลูก และได้กลับมาบ้านในช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. สังเกตดูลูกเงียบไป เพราะทุกครั้งที่เข้าบ้านลูกชายจะแสดงออกทางสายตามองกรอกไปมา เหมือนรับรู้ว่าแม่มาแล้ว แต่ครั้งนี้นิ่งไป จึงเข้าไปดูพบว่าลูกชายเสียชีวิตแล้ว
ตนรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก หวังที่จะให้ลูกด้วยกันนานๆ แต่กลับมาตายก่อน ซึ่งตนไม่ได้โทษใคร ไม่ได้โทษหมอที่มาฉีดวัคซีนให้ เนื่องจากฐานะทางครอบครัวก็ยากจนจำต้องจัดงานศพลูกไปตามมีตามเกิด จึงอยากให้ทางภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือด้วย ตนคาดว่าสาเหตุของการตายของลูกเกิดจากการฉีดวัคซีน เพราะตนอยากให้ลูกอยู่ด้วยนานๆ ห่างจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำตามนโยบายของรัฐบาล
สำหรับ นายเจษฎา มีกำหนดฌาปณกิจในวันอาทิตย์ที่ 3 ต.ค. 64 ซึ่งทางญาติยังมีความหวังว่าทางภาครัฐจะเข้ามาช่วยเนื่องจากมีเงินประกันจากการฉีดวัคซีนโควิด
ธปท. เผยภาคการผลิต 49% ทำ "บับเบิลแอนด์ซีล" ดันต้นทุนพุ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-774078
ธปท.เผยผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย หรือ BSI COVID เห็นการฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนทุกธุรกิจตามมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ การจ้างงานปรับดีขึ้น พบภาคการผลิตใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นหลังต้องหยุดผลิตชั่วคราว และสัดส่วนกว่า 49% ทำมาตรการ Bubble & Seal ดันต้นทุนสูงขึ้น ด้านธุรกิจท่องเที่ยว-ก่อสร้างมีสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น
วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดผลสำรวจเรื่องผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เฉพาะกิจระหว่างวันที่ 1-23 กันยายน 2564 ว่า ในเดือนกันยายน 2564 การฟื้นตัวของธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะภาคที่ไม่ใช่ภาคการผลิตตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดตั้งแต่ต้นเดือนกันยายนเป็นสำคัญ อาทิ การกลับมาเปิดห้างสรรพสินค้า และการนั่งรับประทานในร้ายอาหารได้บางส่วน ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เริ่มลดลง ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภค
สำหรับภาคการผลิตปรับดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากปัญหาการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในโครงงานเริ่มคลี่คลาย โดยธุรกิจนำมาตรการ Bubble & Seal มาใช้ในโครงงานมากขึ้น ขณะที่ปัญหาด้านการขนส่งเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจมากขึ้นในเดือนนี้
ขณะที่ระดับการฟื้นตัวของการจ้างงานปรับดีขึ้นทั้งด้านจำนวนแรงงานและรายได้เฉลี่ยสอดคล้องกับการฟื้นตัวของธุรกิจ และการใช้นโยบายการปรับเปลี่ยนการจ้างงานลดลงจากเดือนก่อนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายการสลับมาทำงานยังมีสัดส่วนสูงใกล้เคียงเดิม ขณะที่ในภาคการผลิตมีการใช้มาตร 75 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนนึ่งมาจากงโรงงานหยุดผลิตชั่วคราวหรือใช้แรงงานน้อยลง เพราะปัญหาการแพร่ระบาดในโรงงานหรือปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
ทั้งนี้ ธุรกิจมีมุมมองต่อการฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด-19 ล่าช้ากว่าการสำรวจครั้งก่อน โดยภาคการผลิตส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับเดิมภายในครึ่งปีแรกของปี 2565 เร็วกว่าภาคที่มิใช่การผลิตที่ส่วนใหญ่คาดว่าจะกลับมาภายในครึ่งหลังของปี 2565
ธุรกิจส่วนใหญ่มีสภาพคล่องสำรองใกล้เคียงกับใตรมาสก่อน ยกเว้นภาศท่องเทียว และก่อสร้างทีมีสัดส่วนสภาพคล่องน้อยกว่า 3 เดือนเพิ่มขึ้น และภาคบริการ อาทิ ธุรกิจสาธารณูปโภค และคลังสินค้าที่มีสัดส่วนสภาพคล่องมากกว่า 2 ปีเพิ่มขึ้น ขณะที่บางธุรกิจสะสมวัตถุดิบคงคลังน้อยลง โดยเฉพาธุรกิจผลิตเครื่องจักร ธุรกิจผลิตเหล็ก และธุรกิจค้าปลีกยานยนต์ ส่วนหนึ่งจากราคาเหล็กที่สูงขึ้น และปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนตักเตอร์เนื่องจากการปิดโรงงานของคู่ค้าในช่วงก่อนหน้า
อย่างไรก็ดี ประเด็นพิเศษจากการสำรวจ พบว่า ธุรกิจภาคการผลิตประมาณ 49% มีการทำมาตรการ Bubble & Seal เพื่อควบคุมการแพร่ระบาตในโรงงาน แต่มีอุปสรรคสำคัญจากต้นทุนที่สูง โดยเฉพาะต้านสาธารณสุข อาทิ ค่ายา ค่าตรวจ ATK และด้านการจัดหาพื้นที่กักตัว ขณะที่มุมมองต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ประเมินว่าวัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และจะเกิดได้โนไตรมาสที่ 2 ของปี 2565