JJNY : ธุรกิจ-โรงงานตั้งการ์ดสูง│ไทยใกล้วิกฤติระบบสุขภาพ│โคราชวุ่น เหลือเตียงรักษาไม่มาก│ไบเดนยันใช้การทูตแก้วิกฤตยูเครน

ธุรกิจ-โรงงานตั้งการ์ดสูง พร้อมรับมือโควิดดีดกลับ
https://www.prachachat.net/general/news-868790
 
 
ธุรกิจตื่นตัว ! ตั้งการ์ดสูง หลังโอมิครอนกลับแผลงฤทธิ์รอบใหม่ วางแผนแบ่งทีมสลับทำงาน-WFH-เข้มตรวจ ATK ถี่ยิบโรงงานในต่างจังหวัด กำชับเข้มมาตรการ สธ. ล้างมือ-ใส่แมสก์-เว้นระยะห่าง ตั้งโรงพยาบาลสนาม ระดมสต๊อกหน้ากากอนามัย-แอลกอฮอล์ สำรองหากเกิดสถานการณ์รุนแรง
 
แม้โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะไม่มีความร้ายแรงมากนักเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า แต่จากตัวเลขจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา
 
ล่าสุด ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ทะลุ 18,066 คน (18 ก.พ.) ซึ่งในจำนวนนี้ ยังไม่รวมตัวเลขผู้ป่วยที่ตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ที่สูงเป็นเรือนหมื่นเช่นกัน สร้างความกังวลให้กับธุรกิจและเร่งเตรียมแผนรับมือ หลายภาคส่วนตั้งการ์ดสูงป้องกันการแพร่ระบาดรอบใหม่ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและเศรษฐกิจในภาพรวม
 
ธุรกิจตั้งการ์ดสูงรับมือ
 
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การระบาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ไม่ได้เหนือไปกว่าการคาดหมายที่เอกชนคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่วันละ 20,000 คน หากเทียบสัดส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ที่รักษาหาย ถือว่ามีสัดส่วนไม่ได้สูง ยังไม่ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขและภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีการวางมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในโรงงานอย่างรัดกุม มีการจัดทำระบบควอรันทีน และการทำไอโซเลชั่นต่าง ๆ หากตรวจสอบพบเชื้อแต่มีอาการไม่รุนแรงก็จะมีการแยกรับการรักษาที่บ้านหรือโฮมไอโซเลชั่น เพื่อทำให้ไม่กระทบต่อส่วนของการผลิต
 
“ตอนนี้เราก็มี Test & Go โรงงานมีควอรันทีน ตรวจเอทีเค จึงไม่น่าจะกระทบต่อภาคการผลิต และจะต้องมีการมอนิเตอร์ จำนวนคนป่วยหนักและคนเสียชีวิตว่ามากน้อยขึ้นแค่ไหน ที่สำคัญ คือต้องเร่งเพิ่มการฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดสให้มากขึ้น มาตการที่ออกมา ต้องคำนึงถึงเรื่องเศรษฐกิจเป็นหลัก คาดว่าต่อไปคงจะต้องมองถึงการปรับไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่น”
 
แหล่งข่าวจากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้บริษัทปรับรูปแบบการทำงานคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน
 
โดยยังคงประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และการให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมามีมาตรการด้านความปลอดภัยค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้ว เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ แม้สถานการณ์การระบาดจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งก็รับมือได้ โดยมีการแบ่งทีม A ทีม B สลับกันเข้าออฟฟิศ และมีทีมที่จำเป็นตามลักษณะงานก็จะเข้าออฟฟิศ 100%
 
ด้านนายอรรณพ ศิริติกุล หัวหน้าฝ่ายขาย อะเมซอนเว็บเซอร์วิสเซส หรือ AWS กล่าวว่า รูปแบบการทำงานของบริษัทตั้งแต่แรกให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 จึงไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร แต่ในกรณีที่พนักงานต้องการเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศก็สามารถทำได้ภายใต้มาตรการการเว้นระยะห่าง
 
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงใช้นโยบายยืดหยุ่น พร้อมปรับรูปแบบการทำงานได้ทั้ง work from home 100% หรือบางส่วน ขณะเดียวกันยังตั้งการ์ดใช้มาตรการป้องกันโรคและดูแลพนักงานเต็มที่ เช่น สนับสนุนให้ฉีดวัคซีนซึ่งขณะนี้บูสต์เข็ม 3 ครบทุกคนแล้ว รวมถึงให้ความร่วมมือกับมาตรการป้องกันโรคที่อาจมีการประกาศออกมาอย่างเต็มที่
 
ไปในทิศทางเดียวกับนายยี่ เสี่ยวผิง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไฮเซ่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทยังเวิร์กฟรอมโฮมแบบ 100% และใช้ประสบการณ์ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเพื่อตั้งรับสถานการณ์ เช่น ประสานงานกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันที ให้ความร่วมมือกับมาตรการป้องกันของช่องทางจำหน่าย-พื้นที่ต่าง ๆ เต็มที่ จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เทรนนิ่งพนักงาน ประชุมงานผ่านออนไลน์ พร้อมจับตาสถานการณ์ใกล้ชิดเช่นกัน
 
นายนิวัติ อดิเรก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การระบาดรอบนี้ไม่น่าจะถึงขั้นต้องล็อกดาวน์ เพราะทุกคนได้รับวัคซีนกันค่อนข้างมาก แม้ว่าจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่อาการไม่หนัก ส่วนมาตรการของบริษัทบีซีพีจีเองตอนนี้ก็ได้เพิ่มเติมมาตรการให้พนักงานตรวจ ATK 2 ครั้งต่อสัปดาห์
 
เช่นเดียวกับ ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  หรือ GC กล่าวถึงสถานการณ์โควิดไม่มีผลต่อการลงทุน หรือการทำงานของจีซี โดยบริษัทยังคงให้พนักงานทำงาน work from home 100%
 
โรงงานต่างจังหวัดคุมเข้ม
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือของผู้ประกอบการโรงงานในต่างจังหวัดหลายจังหวัด พบว่า ล้วนมีความเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข่าวจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ระบุว่า ได้มีการขอความร่วมมือทุกภาคส่วนให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัด ได้แก่ 
1. เลิกงานไม่สังสรรค์ 
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด 
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อย ๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ อยู่ห่าง ๆ กัน
6. สุ่มตรวจ ATKสม่ำเสมอ สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องกักตัวอย่างเข้มงวด
 
นายสมบูรณ์ ตรีพรเจริญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี กล่าวในเรื่องนี้ว่า โรงงานส่วนใหญ่ได้วางมาตรการป้องกัน และเข้มงวดในการสุ่มตรวจ ATK ตลอด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิต และโรงงานขนาดใหญ่บางแห่งมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามภายในโรงงาน เพื่อรองรับการกักตัวพนักงานที่พบเชื้อ เป็นต้น
 
นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแปรรูป แบรนด์ KC จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า บริษัทได้มีการยกระดับความเข้มข้นและเข้มงวดในการเฝ้าระวังมากขึ้น ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้เริ่มสุ่มตรวจ ATK พนักงานราว 300-400 คน
 
จากทั้งหมด 1,400 คน หลังจากนี้จะมีการสุ่มตรวจ ATK อีกเป็นระยะ นอกจากนี้ ยังเพิ่มความเข้มงวดการเข้าออกของพนักงาน รวมถึงบุคคลภายนอกที่เข้าออกโรงงาน รวมทั้งได้เริ่มสต๊อกหน้ากากอนามัย (mask) แอลกอฮอล์ และวิตามินซี เพื่อรองรับหากการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น หากมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น บริษัทก็จะพิจารณาใช้มาตรการ WFH ในส่วนของพนักงานที่ทำในสำนักงาน
 
นายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทในเครืออนุสรณ์กรุ๊ป ในฐานะประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร ขอความร่วมมือสถานการประกอบการในจังหวัดซึ่งมีกว่า 6,000 แห่งให้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับหากมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น
 
โดยให้จัดตั้งโรงพยาบาลสนามภายในโรงงานหรือสถานประกอบการ ซึ่งขณะนี้ (16 ก.พ.) มีการกักตัวเพียง 80 เตียง จากจำนวนเตียงที่มีรวม 36,032 เตียง จาก 1,375 โรงงาน นอกจากนี้จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์พักคอย และมีโรงพยาบาลสนามรวมอีกประมาณ 400 เตียง
 
นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ในฉะเชิงเทรา ถือว่ายังควบคุมสถานการณ์ได้ ตอนนี้คลัสเตอร์โรงงานไม่ค่อยน่าเป็นห่วง และเน้นการใช้มาตรการเดิม อาทิ โรงงานทุกแห่งต้องจัดทำแผนสถานการณ์ประกอบแผนปฏิบัติตัวของพนักงาน, แผนการเดินทาง การขนย้ายแรงงาน, กรณีแรงงานเดินทางข้ามจังหวัดต้องได้ฉีดวัคซีน กรณียังไม่ได้ฉีดวัคซีน เจ้าของโรงงานต้องตรวจ ATK แบบสุ่ม 10% ทุก ๆ 7 วัน, หากโรงงานพบผู้ติดเชื้อ 10% ขึ้นไปจะสั่งปิดทันที เป็นต้น
 
สธ.ย้ำจำนวนเตียงเพียงพอ
 
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีการจัดแผนจัดการบริหารเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ให้เพียงพอต่อการรักษา โดยจำนวนเตียงในโรงพยาบาลทั้งหมดมี 174,029 เตียง มีผู้ป่วยรักษาโควิดครองเตียงราว ๆ 46.4% หรือประมาณ 80,756 เตียง จำนวนเตียงว่าง 93,273 เตียง ส่วนสถานการณ์เตียงในสังกัดกรมการแพทย์ และเอกชนในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีทั้งหมด 55,369 เตียง อัตราครองเตียง 25,359 เตียง เตียงว่าง 30,010 เตียง ยกตัวอย่าง ศูนย์บริการสาธารณสุขมี 69 แห่ง
 
โรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลสังกัดทางการแพทย์ โรงพยาบาลสังกัดเครือข่ายแพทย์ สามารถรับผู้ป่วย HI (home isolation) ได้วันละ 5,540 คน โรงพยาบาลสนาม 4,300-4,500 เตียง ผู้ป่วยครองเตียงมีสัดส่วนเพียงครึ่งเดียว และเตรียมเปิดเพิ่มเพื่อให้รองรับได้อีก 10,000 คน และมีเตียงอีกส่วนจะอยู่ที่เอกชน เพราะยังดำเนินการของฮอสพิเทลอยู่ 36,731 เตียง


  
ไทยใกล้วิกฤติระบบสุขภาพ รับผู้ป่วยได้อีกเพียง 1.2 แสนราย
https://www.nationtv.tv/news/378864280
 
หมอเฉลิมชัย ชี้สถานการณ์โควิดระลอกที่สี่ ขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น เฝ้าจับตาสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดวันนี้ ประเทศไทยใกล้วิกฤติระบบสุขภาพ ชี้รับผู้ป่วยได้อีกแค่ 1.2 แสนราย
 
ความคืบหน้าล่าสุด โดยทางด้านน.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
 
ระบบสุขภาพไทยรับโควิด-19 (Covid-19) ได้อีก 1.2 แสนราย ถ้าติดเชื้อรวมวันละ 30,000 ราย แต่รักษาหายวันละ 15,000 ราย ระบบสุขภาพจะรับมือได้อีก 1-2 สัปดาห์
   
สถานการณ์โควิดระลอกที่สี่ของไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยวันที่ 17 ก.พ. 2565 มีผู้ติดเชื้อจากการตรวจ PCR 17,349 ราย ติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK 11,969 ราย รวมเป็นผู้ติดเชื้อ 29,318 ราย โดยมีผู้ที่
รักษาหาย 11,561 ราย
รักษาตัวอยู่ในระบบ 144,061 ราย
โรงพยาบาลหลัก 64,919 ราย
โรงพยาบาลสนาม 48,985 ราย
รวม 113,904 ราย 
  
แยกกักตัวที่บ้าน 28,847 ราย
โดยมีผู้ป่วยปอดอักเสบ 728 ราย
ใช้เครื่องช่วยหายใจ 163 ราย
 
สถานการณ์โควิดขาขึ้นในลักษณะนี้ ไม่ได้แตกต่างจากประเทศตะวันตก อาจจะถือว่าขึ้นด้วยอัตราเร่งที่น้อยกว่าด้วยซ้ำไป
แต่ก็จะกระทบกับระบบสุขภาพได้ ถ้าวางแผนบริหารจัดการไม่ดี
 
จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือ ให้ผู้ที่ติดเชื้อได้เข้ารับการดูแลรักษาให้เหมาะสมกับความรุนแรงของโรค
เพื่อจะได้มีเตียงสำหรับผู้ป่วยอาการปานกลางและหนักในโรงพยาบาลหลักอย่างเพียงพอ
หลักการที่สำคัญ
 
• อาการปานกลางถึงมาก ดูแลโดยโรงพยาบาลหลัก
• อาการน้อย ดูแลโดยโรงพยาบาลสนาม
• ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ควรแยกกักตัวที่บ้าน
  
โดยศักยภาพของระบบสุขภาพไทยนั้น (แบบไม่รบกวนการดูแลโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ)

1.โรงพยาบาลหลัก
• รับได้ 60,000 เตียง

2.โรงพยาบาลสนาม 
• รับได้ 100,000 เตียง
 
3.แยกกักตัวที่บ้าน
• รับได้ 1-2 แสนรา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่