ช่วงระยะหลังมานี้จะเห็นได้ว่าเกิดกระแสติด # แบน สินค้าและบริการต่างๆ กันมาตลอด โดยสินค้าและบริการนั้นๆ การที่แต่ละยี่ห้อโดนแบนก็เกิดขึ้นตามเหตุผลต่างๆ ซึ่งกระทู้นี้จะไม่ขอเอ่ยถึงจุดนั้นเพราะน่าจะค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเองได้ไม่ยาก
สิ่งหนึ่งที่ จขกท. กลับมานั่งพิจารณาก็คือ การแบนสินค้าหรือบริการต่างๆ อันนี้ มันจะส่งผลกระทบถึงรัฐบาลได้จริงหรือ??? แต่ใจหนึ่งก็ยอมรับนะ ว่าพลังแห่งการแบนสินค้า มันส่งผลกระทบต่อแบรนด์นั้นจริงๆ บางร้านมียอดขายลดลง คนลบบัญชีการใช้งาน บางแบรนด์ก็ซวยหน่อยโดนแบนเพราะไปเป็นสปอนเซอร์รายการที่ตนเองไม่เห็นด้วย หนักสุดเลยคือถูกแบนจากทั้งสองขั้วทางการเมือง
แล้วการที่เห็นว่าแบรนด์ได้รับผลกระทบ มันคือชัยชนะที่แท้จริงหรือ? แล้วมันจะทำให้ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงรัฐบาลได้อย่างไร ? มาถึงจุดนี้ จขกท. เองก็ยังมองไม่เห็นปลายทางที่ชัดเจน ว่าจะเกิดการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมืองได้อย่างไร
มันยากมากเลยนะ เพราะกว่าจะขึ้นไปกระทบรัฐบาลมันต้องผ่านกระบวนการความเจ็บช้ำของคนที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำไปเท่าไหร่ กล่าวเช่นนี้อาจจะไม่เห็นภาพ ก็ขอยกตัวอย่างอย่างการแบนร้านสะดวกซื้อ โดยไม่เข้าไปซื้อของ สิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งแรกคือยอดขายที่ลดลง คนที่เดือดร้อนคนแรกเลยคือเจ้เจ้าของร้านสะดวกซื้อสาขานั้น ซึ่งเขาก็เป็นเพียงคนทำธุรกิจคนนึงเท่านั้น คนที่กระทบเป็นลำดับถัดมาคือ “พนักงานประจำร้าน” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อ หรือเป็นพนักงานเองก็ตามเขาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดการขับเคลื่อน เป็นพี่ป้าน้าอาของใครสักคนในระแวกนั้น
ตัดมาในส่วนของการซื้อสินค้ามาขายได้ลดลง ตรงนี้ก็เกิดผลกระทบ เพราะการผลิตและการเดินทางของสินค้า กว่าจะมาถึงร้านที่ขายได้นั้น ก็ต้องผ่านการผลิต ต้องมีลูกจ้าง มีพนักงานในส่วนต่างๆ ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิตวัตถุดิบ การขนส่ง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เป็นหน้าร้าน ก็ได้รับผลกระทบหมด
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลที่ว่านี้เราเรียกว่า “กิจกรรมทางเศรษฐกิจ” ถ้าไม่เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็จะไม่ขับเคลื่อน เมื่อไม่ขับเคลื่อนก็จะกระทบถึงรัฐบาลและชาติแน่นอน แต่ลองคิดดูสิกว่าจะถึงขั้นนั้นมันต้องเดินทางยาวไกลแค่ไหน ต้องเดินผ่านความเจ็บช้ำของใครกันบ้าง กว่าจะส่งผลถึงแบรนด์ และกว่าแบรนด์จะส่งผลถึงรัฐบาลเราต้องเหยียบย่ำความสาหัสของพวกเราเองไปกันถึงกี่คนกี่ราย
เหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็ไม่ได้เป็นการกล่าวลอยๆ แต่มันคือการพิจารณาตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จากการคิด GDP หรือชื่อในภาษาไทยว่า “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ” มันคือนับมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่ง GDP ทั่วโลกก็มักจะใช้เป็นมาตรฐานในการวัดผลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตัวเองกันแทบจะทั้งสิ้น
GDP นี้จะคิดจากสมการ C+I+G+(X-M) เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของผู้อ่าน จขกท. จะขออธิบายความเป็นมาเป็นไปของแต่ละตัวกันก่อนว่ามันคืออะไร
C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป ซื้ออาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โทรศัพท์ รวมไปถึงบริการต่างๆ อย่างดูหนัง นวดแผนโบราณ เป็นต้น โดยสินค้าและบริการต่างๆ การที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ จขกท. ได้กล่าวไว้เบื้องต้น
I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน ในการก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนสร้างโรงงานต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง อุตสาหกรรมรถยนต์ รถไฟฟ้า ฯลฯ
G = Government Spending คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือ การลงทุนภาครัฐ ตามนโยบายต่างๆ เช่นการสร้างเขื่อน สร้างระบบสาธารณูปโภค รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น
X = Export คือ การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
M = Import คือ การนำเข้าสินค้าเข้ามาบริโภค หรือผลิตสินค้าในประเทศ เช่น สินค้าแบรนด์เนม หรือ สารเคมีที่ใช้ผลิตยาก็รวมอยู่ในการนำเข้า
ดังนั้น ถามว่าการติด # แบนสินค้าหรือบริการต่างๆ มันไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของแบรนด์ หรือเจ้าของสินค้านั้น ๆ เพราะในความเป็นจริง กิจกรรมเศรษฐกิจที่บอกไปทั้งหมดนั้น มีคนธรรมดาอย่างเรา ๆ อยู่ในห่วงโซ่นั้นด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจแบบนี้ทั่วโลกใช้กันอยู่คือ เสรีทุนนิยม เลยเป็นคำถามของเราคือ คิดว่าการแบนสินค้ามันจึงไม่ใช่ทางออก เพราะมันแทบไม่ได้ส่งผลถึงรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย
แบนสินค้าและบริการจากนายทุน..ไม่ใช่ทางออกของปัญหาทั้งปวง
สิ่งหนึ่งที่ จขกท. กลับมานั่งพิจารณาก็คือ การแบนสินค้าหรือบริการต่างๆ อันนี้ มันจะส่งผลกระทบถึงรัฐบาลได้จริงหรือ??? แต่ใจหนึ่งก็ยอมรับนะ ว่าพลังแห่งการแบนสินค้า มันส่งผลกระทบต่อแบรนด์นั้นจริงๆ บางร้านมียอดขายลดลง คนลบบัญชีการใช้งาน บางแบรนด์ก็ซวยหน่อยโดนแบนเพราะไปเป็นสปอนเซอร์รายการที่ตนเองไม่เห็นด้วย หนักสุดเลยคือถูกแบนจากทั้งสองขั้วทางการเมือง
แล้วการที่เห็นว่าแบรนด์ได้รับผลกระทบ มันคือชัยชนะที่แท้จริงหรือ? แล้วมันจะทำให้ผลกระทบนี้ส่งผลไปถึงรัฐบาลได้อย่างไร ? มาถึงจุดนี้ จขกท. เองก็ยังมองไม่เห็นปลายทางที่ชัดเจน ว่าจะเกิดการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบทางการเมืองได้อย่างไร
มันยากมากเลยนะ เพราะกว่าจะขึ้นไปกระทบรัฐบาลมันต้องผ่านกระบวนการความเจ็บช้ำของคนที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำไปเท่าไหร่ กล่าวเช่นนี้อาจจะไม่เห็นภาพ ก็ขอยกตัวอย่างอย่างการแบนร้านสะดวกซื้อ โดยไม่เข้าไปซื้อของ สิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งแรกคือยอดขายที่ลดลง คนที่เดือดร้อนคนแรกเลยคือเจ้เจ้าของร้านสะดวกซื้อสาขานั้น ซึ่งเขาก็เป็นเพียงคนทำธุรกิจคนนึงเท่านั้น คนที่กระทบเป็นลำดับถัดมาคือ “พนักงานประจำร้าน” ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ลงทุนเปิดร้านสะดวกซื้อ หรือเป็นพนักงานเองก็ตามเขาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดการขับเคลื่อน เป็นพี่ป้าน้าอาของใครสักคนในระแวกนั้น
ตัดมาในส่วนของการซื้อสินค้ามาขายได้ลดลง ตรงนี้ก็เกิดผลกระทบ เพราะการผลิตและการเดินทางของสินค้า กว่าจะมาถึงร้านที่ขายได้นั้น ก็ต้องผ่านการผลิต ต้องมีลูกจ้าง มีพนักงานในส่วนต่างๆ ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิตวัตถุดิบ การขนส่ง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เป็นหน้าร้าน ก็ได้รับผลกระทบหมด
สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลที่ว่านี้เราเรียกว่า “กิจกรรมทางเศรษฐกิจ” ถ้าไม่เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็จะไม่ขับเคลื่อน เมื่อไม่ขับเคลื่อนก็จะกระทบถึงรัฐบาลและชาติแน่นอน แต่ลองคิดดูสิกว่าจะถึงขั้นนั้นมันต้องเดินทางยาวไกลแค่ไหน ต้องเดินผ่านความเจ็บช้ำของใครกันบ้าง กว่าจะส่งผลถึงแบรนด์ และกว่าแบรนด์จะส่งผลถึงรัฐบาลเราต้องเหยียบย่ำความสาหัสของพวกเราเองไปกันถึงกี่คนกี่ราย
เหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็ไม่ได้เป็นการกล่าวลอยๆ แต่มันคือการพิจารณาตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จากการคิด GDP หรือชื่อในภาษาไทยว่า “ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ” มันคือนับมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่ง GDP ทั่วโลกก็มักจะใช้เป็นมาตรฐานในการวัดผลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตัวเองกันแทบจะทั้งสิ้น
GDP นี้จะคิดจากสมการ C+I+G+(X-M) เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันของผู้อ่าน จขกท. จะขออธิบายความเป็นมาเป็นไปของแต่ละตัวกันก่อนว่ามันคืออะไร
C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชน เป็นการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป ซื้ออาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โทรศัพท์ รวมไปถึงบริการต่างๆ อย่างดูหนัง นวดแผนโบราณ เป็นต้น โดยสินค้าและบริการต่างๆ การที่จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ จขกท. ได้กล่าวไว้เบื้องต้น
I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน ในการก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนสร้างโรงงานต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง อุตสาหกรรมรถยนต์ รถไฟฟ้า ฯลฯ
G = Government Spending คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล หรือ การลงทุนภาครัฐ ตามนโยบายต่างๆ เช่นการสร้างเขื่อน สร้างระบบสาธารณูปโภค รถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง เป็นต้น
X = Export คือ การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ
M = Import คือ การนำเข้าสินค้าเข้ามาบริโภค หรือผลิตสินค้าในประเทศ เช่น สินค้าแบรนด์เนม หรือ สารเคมีที่ใช้ผลิตยาก็รวมอยู่ในการนำเข้า
ดังนั้น ถามว่าการติด # แบนสินค้าหรือบริการต่างๆ มันไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับเจ้าของแบรนด์ หรือเจ้าของสินค้านั้น ๆ เพราะในความเป็นจริง กิจกรรมเศรษฐกิจที่บอกไปทั้งหมดนั้น มีคนธรรมดาอย่างเรา ๆ อยู่ในห่วงโซ่นั้นด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจแบบนี้ทั่วโลกใช้กันอยู่คือ เสรีทุนนิยม เลยเป็นคำถามของเราคือ คิดว่าการแบนสินค้ามันจึงไม่ใช่ทางออก เพราะมันแทบไม่ได้ส่งผลถึงรัฐบาลเลยแม้แต่น้อย