ด่วน! โควิดวันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 11,646 ราย เศร้า ติดเชื้อเสียชีวิต 107 ราย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6649035
ด่วน โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ 11,646 ราย ติดเชื้อเสียชีวิต 107 ราย ระบุ ผู้ป่วยกำลังรักษา 116,075 ราย
วันที่ 29 ก.ย.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้นมีผู้ป่วยใหม่ 11,646 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 120 ราย ราย ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,259 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 1,249 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 18 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 10,887 ราย หายป่วยสะสม 1,443,247 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย.2564 จำนวน 1,574,612 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 107 ราย ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 116,075 ราย ทั้งนี้ ศบค. จะแถลงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง
"แผ่นแปะ 3 มิติ" วัคซีนโควิด-19 แห่งอนาคต เพิ่มภูมิได้ 50 เท่า!
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/92355/
นักวิจัยจากสหรัฐฯ เผยความคืบหน้าผลวิจัยวัคซีนโควิดชนิดใหม่ในรูปแบบ "แผ่นแปะ" ชนิด mRNA ใช้งานง่ายโดยแปะลงที่ผิวหนังโดยตรง สร้างภูมิเพิ่มถึง 50 เท่า และไม่ต้องขนส่งในที่อุณหภูมิต่ำทำให้ส่งไปทั่วโลกได้สะดวกขึ้น
วันนี้ (29 ก.ย.64) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัย นอร์ธแคโรไลนา ร่วมกันคิดวัคซีนโควิดชนิดใหม่ในรูปแบบ "แผ่นแปะ 3 มิติ" สามารถติดเข้าไปที่ผิวโดยตรง ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนแบบฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ
วัคซีนแผ่นแปะโพลีเมอร์มีขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และมีไมโครนีดเดิลที่พิมพ์ 3 มิติ 100 ชิ้น ความยาว 700 ไมโครเมตร เพื่อส่งวัคซีนให้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง
โดยทีมวิจัยได้ทำงานร่วมกับบริษัท Pfizer และ Moderna เพื่อทดลองวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA
จากการทดลองพบว่าสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อถึง 50 เท่า หลังจากเผยผลการทดลองในสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้ว่าสามารถสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้มากกว่าวัคซีนแบบฉีด 10 เท่า
สาเหตุที่วัคซีนแผ่นแปะนี้สร้างภูมิคุ้มกันได้มากกว่าที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเพราะในกล้ามเนื้อไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่เมื่อวัคซีนแผ่นแปะ 3 มิตินี้ ถูกแปะลงผิวหนังจะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้นกว่า เพราะผิวหนังมีเซลล์ที่เรียกว่าแอนติเจน (APC)
หากสามารถพัฒนาวัคซีนดังกล่าวได้สำเร็จ นอกจากจะสะดวกต่อการรับวัคซีนของประชาชนแล้วเนื่องจากสามารถแปะเองที่บ้านได้ อีกทั้งไม่เจ็บ และยังสะดวกต่อการขนส่งและทำให้ทั่วโลกได้รับวัคซีนได้เร็วขึ้นอีกด้วย เนื่องจากวัคซีนหลายตัวที่มีอยู่ในขณะนี้ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิติดลบ
นอกจากนี้ วัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบแผ่นแปะ 3 มิติ ดังกล่าวยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นวัคซีนสำหรับโรคอื่นๆ ได้อีกในอนาคตเช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด ไวรัสตับอักเสบ
กอนช.ประกาศเตือน 8 จังหวัด เตรียมรับมือระดับน้ำที่เพิ่มมากขึ้น 1 – 5 ต.ค.
https://www.dailynews.co.th/news/327662/
กองอำนวยการน้ำฯ ประกาศเตือน 8 จังหวัดท้ายเขื่อน รวมถึง กทม. ให้เตรียมรับมือน้ำท่วม หลังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เผยแพร่ประกาศ ฉบับที่ 16/2564 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 – 24 กันยายน 2564 และการคาดหมายของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และส่งผลให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ดังกล่าวได้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและลุ่มน้ำป่าสัก คาดว่ามีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากลุ่มน้ำปิงจากบริเวณคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จำนวน 438 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในอัตราประมาณ 2,750 – 2,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำหลากจากแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดอุทัยธานี (Ct.19) อยู่ในอัตรา 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทั้งนี้ กอนช. ได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ร่วมกับการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่ง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบกับมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน จึงจำเป็นต้องระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในอัตรา 900 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (C.29A) อยู่ในอัตราประมาณ 3,000 – 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.20 – 2.40 เมตร และท้ายเขื่อนพระรามหกเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 2.30 – 2.80 เมตร ในช่วงวันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564 ดังนี้
1.จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา
2.จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
3.จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
4.จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม
5.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา
6.จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
7.จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
8.กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมลำน้ำ
2. ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
3. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
JJNY : ป่วยใหม่11,646 เสียชีวิต107│"แผ่นแปะ 3 มิติ"เพิ่มภูมิ50 เท่า!│เตือน 8จว.เตรียมรับมือน้ำ│นักวิชาการซัดกรมสรรพสามิต
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6649035
ด่วน โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ 11,646 ราย ติดเชื้อเสียชีวิต 107 ราย ระบุ ผู้ป่วยกำลังรักษา 116,075 ราย
วันที่ 29 ก.ย.2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน เบื้องต้นมีผู้ป่วยใหม่ 11,646 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 120 ราย ราย ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,259 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 1,249 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 18 ราย
หายป่วยกลับบ้าน 10,887 ราย หายป่วยสะสม 1,443,247 ราย ยอดผู้ป่วยสะสมระลอกเดือนเม.ย.2564 จำนวน 1,574,612 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 107 ราย ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 116,075 ราย ทั้งนี้ ศบค. จะแถลงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง
"แผ่นแปะ 3 มิติ" วัคซีนโควิด-19 แห่งอนาคต เพิ่มภูมิได้ 50 เท่า!
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/92355/
นักวิจัยจากสหรัฐฯ เผยความคืบหน้าผลวิจัยวัคซีนโควิดชนิดใหม่ในรูปแบบ "แผ่นแปะ" ชนิด mRNA ใช้งานง่ายโดยแปะลงที่ผิวหนังโดยตรง สร้างภูมิเพิ่มถึง 50 เท่า และไม่ต้องขนส่งในที่อุณหภูมิต่ำทำให้ส่งไปทั่วโลกได้สะดวกขึ้น
วันนี้ (29 ก.ย.64) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และมหาวิทยาลัย นอร์ธแคโรไลนา ร่วมกันคิดวัคซีนโควิดชนิดใหม่ในรูปแบบ "แผ่นแปะ 3 มิติ" สามารถติดเข้าไปที่ผิวโดยตรง ซึ่งวัคซีนชนิดนี้ตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนแบบฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ
วัคซีนแผ่นแปะโพลีเมอร์มีขนาด 1 ตารางเซนติเมตร และมีไมโครนีดเดิลที่พิมพ์ 3 มิติ 100 ชิ้น ความยาว 700 ไมโครเมตร เพื่อส่งวัคซีนให้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง
โดยทีมวิจัยได้ทำงานร่วมกับบริษัท Pfizer และ Moderna เพื่อทดลองวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA
จากการทดลองพบว่าสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อถึง 50 เท่า หลังจากเผยผลการทดลองในสัตว์ทดลองก่อนหน้านี้ว่าสามารถสร้างการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้มากกว่าวัคซีนแบบฉีด 10 เท่า
สาเหตุที่วัคซีนแผ่นแปะนี้สร้างภูมิคุ้มกันได้มากกว่าที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เป็นเพราะในกล้ามเนื้อไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ แต่เมื่อวัคซีนแผ่นแปะ 3 มิตินี้ ถูกแปะลงผิวหนังจะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้นกว่า เพราะผิวหนังมีเซลล์ที่เรียกว่าแอนติเจน (APC)
หากสามารถพัฒนาวัคซีนดังกล่าวได้สำเร็จ นอกจากจะสะดวกต่อการรับวัคซีนของประชาชนแล้วเนื่องจากสามารถแปะเองที่บ้านได้ อีกทั้งไม่เจ็บ และยังสะดวกต่อการขนส่งและทำให้ทั่วโลกได้รับวัคซีนได้เร็วขึ้นอีกด้วย เนื่องจากวัคซีนหลายตัวที่มีอยู่ในขณะนี้ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิติดลบ
นอกจากนี้ วัคซีนโควิด-19 ในรูปแบบแผ่นแปะ 3 มิติ ดังกล่าวยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นวัคซีนสำหรับโรคอื่นๆ ได้อีกในอนาคตเช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด ไวรัสตับอักเสบ
กอนช.ประกาศเตือน 8 จังหวัด เตรียมรับมือระดับน้ำที่เพิ่มมากขึ้น 1 – 5 ต.ค.
https://www.dailynews.co.th/news/327662/
กองอำนวยการน้ำฯ ประกาศเตือน 8 จังหวัดท้ายเขื่อน รวมถึง กทม. ให้เตรียมรับมือน้ำท่วม หลังเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-เขื่อนเจ้าพระยา ระบายน้ำเพิ่ม
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เผยแพร่ประกาศ ฉบับที่ 16/2564 เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 – 24 กันยายน 2564 และการคาดหมายของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และส่งผลให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ดังกล่าวได้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและลุ่มน้ำป่าสัก คาดว่ามีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากลุ่มน้ำปิงจากบริเวณคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จำนวน 438 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในอัตราประมาณ 2,750 – 2,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำหลากจากแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดอุทัยธานี (Ct.19) อยู่ในอัตรา 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ทั้งนี้ กอนช. ได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ร่วมกับการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่ง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบกับมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน จึงจำเป็นต้องระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในอัตรา 900 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (C.29A) อยู่ในอัตราประมาณ 3,000 – 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.20 – 2.40 เมตร และท้ายเขื่อนพระรามหกเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 2.30 – 2.80 เมตร ในช่วงวันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564 ดังนี้
1.จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา
2.จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
3.จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
4.จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม
5.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา
6.จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
7.จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
8.กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมลำน้ำ
2. ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
3. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที