“ไต้หวัน” คือรัฐในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นบ้านของประชากรราว 23 ล้านคน และเป็นมรดกตกทอดจากยุคจีนคณะชาติ ซึ่งยังไม่ถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์พิชิตหลังสงครามกลางเมืองจีน
...สถานะดังกล่าวส่งผลให้ไต้หวันกลายเป็นเป้าหมายสุดท้ายในการรวมชาติตาม “หลักการจีนเดียว” ซึ่งความตั้งใจดังกล่าว ถูกแสดงออกอย่างชัดเจนระหว่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในวันครบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สีกล่าวถึงความมุ่งมั่นในการรวมชาติให้สำเร็จ พร้อมประกาศก้องว่า “ความพยายามใดๆในการประกาศแยกตัวจากแผ่นดินใหญ่จะต้องจบลงด้วยความพินาศย่อยยับ!”
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวไต้หวันต้องเผชิญกับการถูกคุกคามจากนอกประเทศ เพราะรัฐแห่งนี้เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติ ซึ่งผลัดเปลี่ยนเข้ามาปกครองนานกว่า 300 ปี
...การถูกกดขี่, ความพยายามกลืนกินวัฒนธรรม, แม้แต่การถูกไล่ล่าฆ่าสังหารอย่างโหดเหี้ยมจากกลุ่มผู้ถือครองอำนาจช่วยย้ำเตือนให้ชาวไต้หวันรู้ซึ้งถึงคุณค่าของเสรีภาพและราคาที่ต้องจ่ายหากสูญเสียมันไป...
...แม้จะมีบททดสอบมากมาย แต่พวกเขาก็สามารถยืนหยัดบนกระแสการเมืองโลกมาได้ตลอด
บทความนี้จะเล่าถึงประวัติศาสตร์ไต้หวัน ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงจีนยุคคณะชาติเข้าปกครองนะครับ
*** ปฐมบทเกาะฟอร์โมซา ***
เดิมทีเกาะแห่งนี้มีชนเผ่าพื้นเมืองราว 20 เผ่าซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวออสโตรนีเซียน ต่อมามันถูกค้นพบเมื่อราว 400 ปีก่อน เมื่อนักเดินเรือชาวโปรตุเกสแล่นเรือผ่านเกาะแห่งนี้ พร้อมตั้งชื่อว่า “Ilha Formosa” ซึ่งแปลว่า “เกาะอันสวยงาม”
ภาพแนบ: ภาพวาดชนพื้นเมืองบนเกาะ
ก่อนที่ชาวฮอลันดาจะกลายเป็นเจ้าอาณานิคมชาติแรกซึ่งเข้ามาครอบครองชัยภูมิทางการค้า ระหว่างจีนและญี่ปุ่นด้วยการสร้างเมืองท่าในนาม “ดัตช์ฟอร์โมซา” พร้อมกับนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ เพื่อจัดระเบียบชาวเกาะเผ่าต่างๆ ไม่ให้พวกเขาสร้างปัญหาต่อด้วยการปักปันเขตแดนที่อยู่อาศัยจำนวน 7 ชุมชน และมีการให้คนท้องถิ่นเป็นหัวหน้าเผ่าคอยดูแลความเรียบร้อย
ภาพแนบ: รูปวาดของอาณานิคมดัตช์ฟอร์โมซา (Dutch Formoza)
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ชาวจีนฮั่นเข้ามาแสวงหาโอกาสในดินแดนแห่งนี้ จนเกิดการหลั่งไหลของผู้อพยพถิ่นฐานกว่า 100,000 คน และเกิดชุมชนเกษตรกรรมมากถึง 300 แห่ง แม้จะต้องแลกกับการถูกทางการดัตช์จัดเก็บภาษีอย่างหฤโหดก็ตาม
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ของแม่ทัพเจิ้งเฉิงกง
*** การถูกเปลี่ยนมือครั้งแรก ***
อย่างไรก็ดีชาวตะวันตกมีอำนาจการปกครองเพียง 38 ปี ก่อนที่กองทัพขนาดเล็กราว 2,000 นายและเรืออีก 3 ลำบนดัตช์ฟอร์โมซาจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรูอย่างกองเรือของแม่ทัพเจิ้งเฉิงกงแห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งยกทัพมาแบบมืดฟ้ามัวดินด้วยเรือสำเภากว่า 1,000 ลำและไพร่พลอีก 25,000 นาย มาปิดล้อมเกาะเป็นเวลานานเกือบ 6 เดือน…
เมื่อเวลาผ่านไปพวกฮอลันดาก็หมดความอดทน พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้กลับบ้าน ส่งผลให้ฟอร์โมซากลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพหมิง
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1683 กองทัพต้าชิงก็สามารถสยบพวกหมิง และยึดครองเกาะแห่งนี้สำเร็จ
...แต่แล้วในปี ค.ศ. 1895 อำนาจการปกครองก็ถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง...
ภาพแนบ: ภาพวาดธงสาธารณรัฐฟอร์โมซา
*** ความพยายามที่สูญสลาย ***
รัฐบาลต้าชิงยินยอมจะยกเกาะแห่งนี้ให้กับญี่ปุ่นตามข้อตกลงในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ หลังความพ่ายแพ้จากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895
เมื่อทราบว่าแผ่นดินใหญ่กำลังจะตัดหางปล่อยวัด เหล่าเศรษฐีและผู้ปกครองชาวจีนต่างหนีกระเจิดกระเจิง ทำให้ชาวไต้หวันที่เหลืออยู่ซึ่งส่วนมากเป็นชนพื้นเมืองตัดสินใจก่อตั้ง “สาธารณรัฐฟอร์โมซา” โดยมีกองทัพชิงที่เคยประจำการบนเกาะและทหารอาสาพลเรือนหลายหมื่นนายเป็นผู้ปกป้องเกาะ
ทว่าสาธารณรัฐแห่งนี้กลับมีอายุเพียง 5 เดือนเศษ หลังถูกกองทัพอันเกรียงไกรของญี่ปุ่นบดขยี้ลง ซ้ำร้ายเหล่าผู้บริหารและนายทหารระดับสูงยังสบโอกาสเผ่นไปจีนเสียดื้อๆ
เมื่อไร้ผู้นำและประสบความพ่ายแพ้ยับเยิน ชาวไต้หวันที่เหลือจึงจำใจสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…
ภาพแนบ: ภาพวาดทหารญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงไทเป
*** ใต้เงาอาทิตย์อุทัย ***
หลังเข้ายึดครองดินแดนสำเร็จ ทางการญี่ปุ่นจึงเริ่มการก่อตั้งรัฐบาลสำหรับบริหารอาณานิคมแห่งนี้ ซึ่งหมายมั่นปั้นมือให้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เพื่อส่งเสบียงกลับไปยังแผ่นดินญี่ปุ่น และใช้เป็นปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการป้องกันศัตรู
ญี่ปุ่นใช่การปกครองแบบเบ็ดเสร็จตามหลักการปกครองของเจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น ควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจและตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นของชาวญี่ปุ่น รวมถึงการกีดกันวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านบทเรียนต่างๆ แต่กลับถูกต่อต้านจากชาวไต้หวันอย่างหนัก
ขณะเดียวกันฝ่ายญี่ปุ่นต้องเผชิญ
จากการโจมตีจากกลุ่มกบฏหลายต่อหลายครั้ง ส่งผลให้มีการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม จนมีชาวไต้หวันเสียชีวิตมากถึง 14,000 ราย
ภาพแนบ: สภาพบ้านเมืองใต้การปกครองของญี่ปุ่น
*** การปรับเปลี่ยนกลยุทธครั้งสำคัญ ***
แม้จะประสบความสำเร็จในการปราบปรามเหล่าผู้ก่อความสงบหลายต่อหลายครั้ง ทว่าฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มตระหนักว่าการดำเนินนโยบายกดขี่ชาวไต้หวันมีแต่จะทำให้การต่อต้านขยายตัวออกไป ส่งผลให้ทางรัฐบาลเริ่มถอดบทเรียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้สามารถซื้อใจประชาชนได้มากขึ้น
กล่าวคือ… ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานอาทิ โรงไฟฟ้า, ถนนหนทาง, ระบบรถไฟ, และระบบชลประทาน รวมถึงมอบความรู้ด้านการทำเกษตรครบวงจรให้กับชาวไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างท่าเรือสำคัญจำนวนสองแห่งคือ ท่าเรือเกาสงและท่าเรือจีหลง เพื่อการขนส่งสินค้าซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
ภาพแนบ: มหาลัยแห่งชาติไต้หวัน หนึ่งในมรดกตกทอดยุคญี่ปุ่นปกครอง
นอกจากนี้ยังมีความพยายามยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาระบบสาธารณสุขและก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ไถเป่ยตี้กั๋ว เพื่อผลิตบุคลากรออกมารับใช้สังคม ไปพร้อมๆกับการออกกฏหมายการศึกษาภาคบังคับโดยสอดแทรกวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในหลักสูตร
ความพยายามดังกล่าวได้รับการตอบสนองที่น่าพอใจ ชาวไต้หวันเริ่มหันมาใช้ภาษาญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น แม้จะมีขุ่นข้องหมองใจกับการกระทำในอดีต ทว่าการตอบโต้ด้วยกำลังก็ลดความรุนแรงลง จนกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้าใกล้กับการ “กลืนวัฒนธรรม” มากที่สุด
ภาพแนบ: ทหารอาสาจากเกาะฟอร์โมซาในกองทัพญี่ปุ่น
*** แผนหล่อหลอมวัฒนธรรม ***
...แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจรุกรานจีนในปี ค.ศ. 1937 ส่งผลให้ทางการกลับมาผลักดัน “มาตราการหล่อหลอมวัฒนธรรม” แบบเข้มข้นอีกครั้ง โดยอนุญาตให้ชาวไต้หวันสามารถใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมจูงใจให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในฐานะล่าม ระหว่างการรบในจีน
เมื่อการต่อสู้ดำเนินไปจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มอนุญาตให้ชาวไต้หวันเข้ามารับราชการในเหล่าทัพต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยบันทึกของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นระบุว่ามีทหารชาวไต้หวันประจำการในกองทัพจำนวน 207,183 นาย โดยเสียชีวิตระหว่างสงครามราว 30,304 นาย
หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นความใกล้ชิดระหว่างเจ้าอาณานิคมและผู้อยู่ใต้การปกครองได้ดี แม้ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้สถานะชาวไต้หวันเป็น “ประชากรชั้นสอง” แต่ก็มอบประโยชน์มากพอจะระดมกำลังจำนวนมาก สำหรับการทำสงครามจากเกาะแห่งนี้
ภาพแนบ: เครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐฯ ถูกยิงตกระหว่างโจมตีสถานีรถไฟบนเกาะฟอร์โมซา
*** ฟอร์โมซาท่ามกลางไฟสงครามที่โหมกระหน่ำ ***
นอกจากทหารอาสาจำนวนมากที่ถูกส่งตัวไปยังสนามรบแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นก็เริ่มกลับมากวดขันการแบ่งสรรปันส่วนอาหารบนเกาะ เพื่อนำไปจุนเจือให้ประชาชนบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ชาวไต้หวันต้องอยู่อย่างอดๆอยากๆ นอกจากนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรยังระดมทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ในปี 1944
...โดยรายงานจากฝ่ายสัมพันธมิตรประเมินว่าผลผลิตทางการเกษตรบนเกาะลดลงกว่า 49 เปอร์เซ็นหลังการโจมตีทางอากาศ…
ภาพแนบ: การลงนามยอมแพ้ของญี่ปุ่น
*** กลับสู่แผ่นดินอ้อมอกแผ่นดินใหญ่ ***
หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี ค.ศ. 1945 เกาะฟอร์โมซ่าก็เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลจีนคณะชาติกลายมาเป็นผู้ดูแลเกาะแห่งนี้ในฐานะดินแดนของสาธารณรัฐจีน หลังตกเป็นของญี่ปุ่นมานานเกือบ 50 ปี
อย่างไรก็ตาม… ความสงบที่เกิดขึ้นนั้นมีอายุเพียง 3 ปี ก่อนที่พายุแห่งจะกลับมาโหมกระหน่ำดินแดนนี้อีกครั้ง
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** กำเนิดไต้หวัน ***
...สถานะดังกล่าวส่งผลให้ไต้หวันกลายเป็นเป้าหมายสุดท้ายในการรวมชาติตาม “หลักการจีนเดียว” ซึ่งความตั้งใจดังกล่าว ถูกแสดงออกอย่างชัดเจนระหว่างสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ในวันครบ 100 ปีพรรคคอมมิวนิสต์จีน
สีกล่าวถึงความมุ่งมั่นในการรวมชาติให้สำเร็จ พร้อมประกาศก้องว่า “ความพยายามใดๆในการประกาศแยกตัวจากแผ่นดินใหญ่จะต้องจบลงด้วยความพินาศย่อยยับ!”
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชาวไต้หวันต้องเผชิญกับการถูกคุกคามจากนอกประเทศ เพราะรัฐแห่งนี้เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติ ซึ่งผลัดเปลี่ยนเข้ามาปกครองนานกว่า 300 ปี
...การถูกกดขี่, ความพยายามกลืนกินวัฒนธรรม, แม้แต่การถูกไล่ล่าฆ่าสังหารอย่างโหดเหี้ยมจากกลุ่มผู้ถือครองอำนาจช่วยย้ำเตือนให้ชาวไต้หวันรู้ซึ้งถึงคุณค่าของเสรีภาพและราคาที่ต้องจ่ายหากสูญเสียมันไป...
...แม้จะมีบททดสอบมากมาย แต่พวกเขาก็สามารถยืนหยัดบนกระแสการเมืองโลกมาได้ตลอด
บทความนี้จะเล่าถึงประวัติศาสตร์ไต้หวัน ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงจีนยุคคณะชาติเข้าปกครองนะครับ
*** ปฐมบทเกาะฟอร์โมซา ***
เดิมทีเกาะแห่งนี้มีชนเผ่าพื้นเมืองราว 20 เผ่าซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวออสโตรนีเซียน ต่อมามันถูกค้นพบเมื่อราว 400 ปีก่อน เมื่อนักเดินเรือชาวโปรตุเกสแล่นเรือผ่านเกาะแห่งนี้ พร้อมตั้งชื่อว่า “Ilha Formosa” ซึ่งแปลว่า “เกาะอันสวยงาม”
ภาพแนบ: ภาพวาดชนพื้นเมืองบนเกาะ
ก่อนที่ชาวฮอลันดาจะกลายเป็นเจ้าอาณานิคมชาติแรกซึ่งเข้ามาครอบครองชัยภูมิทางการค้า ระหว่างจีนและญี่ปุ่นด้วยการสร้างเมืองท่าในนาม “ดัตช์ฟอร์โมซา” พร้อมกับนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ เพื่อจัดระเบียบชาวเกาะเผ่าต่างๆ ไม่ให้พวกเขาสร้างปัญหาต่อด้วยการปักปันเขตแดนที่อยู่อาศัยจำนวน 7 ชุมชน และมีการให้คนท้องถิ่นเป็นหัวหน้าเผ่าคอยดูแลความเรียบร้อย
ภาพแนบ: รูปวาดของอาณานิคมดัตช์ฟอร์โมซา (Dutch Formoza)
นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ชาวจีนฮั่นเข้ามาแสวงหาโอกาสในดินแดนแห่งนี้ จนเกิดการหลั่งไหลของผู้อพยพถิ่นฐานกว่า 100,000 คน และเกิดชุมชนเกษตรกรรมมากถึง 300 แห่ง แม้จะต้องแลกกับการถูกทางการดัตช์จัดเก็บภาษีอย่างหฤโหดก็ตาม
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์ของแม่ทัพเจิ้งเฉิงกง
*** การถูกเปลี่ยนมือครั้งแรก ***
อย่างไรก็ดีชาวตะวันตกมีอำนาจการปกครองเพียง 38 ปี ก่อนที่กองทัพขนาดเล็กราว 2,000 นายและเรืออีก 3 ลำบนดัตช์ฟอร์โมซาจะต้องเผชิญหน้ากับศัตรูอย่างกองเรือของแม่ทัพเจิ้งเฉิงกงแห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งยกทัพมาแบบมืดฟ้ามัวดินด้วยเรือสำเภากว่า 1,000 ลำและไพร่พลอีก 25,000 นาย มาปิดล้อมเกาะเป็นเวลานานเกือบ 6 เดือน…
เมื่อเวลาผ่านไปพวกฮอลันดาก็หมดความอดทน พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้กลับบ้าน ส่งผลให้ฟอร์โมซากลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองทัพหมิง
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1683 กองทัพต้าชิงก็สามารถสยบพวกหมิง และยึดครองเกาะแห่งนี้สำเร็จ
...แต่แล้วในปี ค.ศ. 1895 อำนาจการปกครองก็ถูกเปลี่ยนมืออีกครั้ง...
ภาพแนบ: ภาพวาดธงสาธารณรัฐฟอร์โมซา
*** ความพยายามที่สูญสลาย ***
รัฐบาลต้าชิงยินยอมจะยกเกาะแห่งนี้ให้กับญี่ปุ่นตามข้อตกลงในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ หลังความพ่ายแพ้จากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895
เมื่อทราบว่าแผ่นดินใหญ่กำลังจะตัดหางปล่อยวัด เหล่าเศรษฐีและผู้ปกครองชาวจีนต่างหนีกระเจิดกระเจิง ทำให้ชาวไต้หวันที่เหลืออยู่ซึ่งส่วนมากเป็นชนพื้นเมืองตัดสินใจก่อตั้ง “สาธารณรัฐฟอร์โมซา” โดยมีกองทัพชิงที่เคยประจำการบนเกาะและทหารอาสาพลเรือนหลายหมื่นนายเป็นผู้ปกป้องเกาะ
ทว่าสาธารณรัฐแห่งนี้กลับมีอายุเพียง 5 เดือนเศษ หลังถูกกองทัพอันเกรียงไกรของญี่ปุ่นบดขยี้ลง ซ้ำร้ายเหล่าผู้บริหารและนายทหารระดับสูงยังสบโอกาสเผ่นไปจีนเสียดื้อๆ
เมื่อไร้ผู้นำและประสบความพ่ายแพ้ยับเยิน ชาวไต้หวันที่เหลือจึงจำใจสวามิภักดิ์ต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…
ภาพแนบ: ภาพวาดทหารญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้าสู่กรุงไทเป
*** ใต้เงาอาทิตย์อุทัย ***
หลังเข้ายึดครองดินแดนสำเร็จ ทางการญี่ปุ่นจึงเริ่มการก่อตั้งรัฐบาลสำหรับบริหารอาณานิคมแห่งนี้ ซึ่งหมายมั่นปั้นมือให้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เพื่อส่งเสบียงกลับไปยังแผ่นดินญี่ปุ่น และใช้เป็นปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการป้องกันศัตรู
ญี่ปุ่นใช่การปกครองแบบเบ็ดเสร็จตามหลักการปกครองของเจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น ควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจและตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นของชาวญี่ปุ่น รวมถึงการกีดกันวัฒนธรรมพื้นถิ่นผ่านบทเรียนต่างๆ แต่กลับถูกต่อต้านจากชาวไต้หวันอย่างหนัก
ขณะเดียวกันฝ่ายญี่ปุ่นต้องเผชิญ
จากการโจมตีจากกลุ่มกบฏหลายต่อหลายครั้ง ส่งผลให้มีการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม จนมีชาวไต้หวันเสียชีวิตมากถึง 14,000 ราย
ภาพแนบ: สภาพบ้านเมืองใต้การปกครองของญี่ปุ่น
*** การปรับเปลี่ยนกลยุทธครั้งสำคัญ ***
แม้จะประสบความสำเร็จในการปราบปรามเหล่าผู้ก่อความสงบหลายต่อหลายครั้ง ทว่าฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มตระหนักว่าการดำเนินนโยบายกดขี่ชาวไต้หวันมีแต่จะทำให้การต่อต้านขยายตัวออกไป ส่งผลให้ทางรัฐบาลเริ่มถอดบทเรียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้สามารถซื้อใจประชาชนได้มากขึ้น
กล่าวคือ… ญี่ปุ่นหันมาพัฒนาโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานอาทิ โรงไฟฟ้า, ถนนหนทาง, ระบบรถไฟ, และระบบชลประทาน รวมถึงมอบความรู้ด้านการทำเกษตรครบวงจรให้กับชาวไต้หวัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างท่าเรือสำคัญจำนวนสองแห่งคือ ท่าเรือเกาสงและท่าเรือจีหลง เพื่อการขนส่งสินค้าซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศรุดหน้าอย่างรวดเร็ว
ภาพแนบ: มหาลัยแห่งชาติไต้หวัน หนึ่งในมรดกตกทอดยุคญี่ปุ่นปกครอง
นอกจากนี้ยังมีความพยายามยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาระบบสาธารณสุขและก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์ไถเป่ยตี้กั๋ว เพื่อผลิตบุคลากรออกมารับใช้สังคม ไปพร้อมๆกับการออกกฏหมายการศึกษาภาคบังคับโดยสอดแทรกวัฒนธรรมความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในหลักสูตร
ความพยายามดังกล่าวได้รับการตอบสนองที่น่าพอใจ ชาวไต้หวันเริ่มหันมาใช้ภาษาญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น แม้จะมีขุ่นข้องหมองใจกับการกระทำในอดีต ทว่าการตอบโต้ด้วยกำลังก็ลดความรุนแรงลง จนกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นเข้าใกล้กับการ “กลืนวัฒนธรรม” มากที่สุด
ภาพแนบ: ทหารอาสาจากเกาะฟอร์โมซาในกองทัพญี่ปุ่น
*** แผนหล่อหลอมวัฒนธรรม ***
...แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจรุกรานจีนในปี ค.ศ. 1937 ส่งผลให้ทางการกลับมาผลักดัน “มาตราการหล่อหลอมวัฒนธรรม” แบบเข้มข้นอีกครั้ง โดยอนุญาตให้ชาวไต้หวันสามารถใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมจูงใจให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพในฐานะล่าม ระหว่างการรบในจีน
เมื่อการต่อสู้ดำเนินไปจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มอนุญาตให้ชาวไต้หวันเข้ามารับราชการในเหล่าทัพต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยบันทึกของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่นระบุว่ามีทหารชาวไต้หวันประจำการในกองทัพจำนวน 207,183 นาย โดยเสียชีวิตระหว่างสงครามราว 30,304 นาย
หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นความใกล้ชิดระหว่างเจ้าอาณานิคมและผู้อยู่ใต้การปกครองได้ดี แม้ฝ่ายญี่ปุ่นจะให้สถานะชาวไต้หวันเป็น “ประชากรชั้นสอง” แต่ก็มอบประโยชน์มากพอจะระดมกำลังจำนวนมาก สำหรับการทำสงครามจากเกาะแห่งนี้
ภาพแนบ: เครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐฯ ถูกยิงตกระหว่างโจมตีสถานีรถไฟบนเกาะฟอร์โมซา
*** ฟอร์โมซาท่ามกลางไฟสงครามที่โหมกระหน่ำ ***
นอกจากทหารอาสาจำนวนมากที่ถูกส่งตัวไปยังสนามรบแล้ว ฝ่ายญี่ปุ่นก็เริ่มกลับมากวดขันการแบ่งสรรปันส่วนอาหารบนเกาะ เพื่อนำไปจุนเจือให้ประชาชนบนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ชาวไต้หวันต้องอยู่อย่างอดๆอยากๆ นอกจากนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรยังระดมทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ในปี 1944
...โดยรายงานจากฝ่ายสัมพันธมิตรประเมินว่าผลผลิตทางการเกษตรบนเกาะลดลงกว่า 49 เปอร์เซ็นหลังการโจมตีทางอากาศ…
ภาพแนบ: การลงนามยอมแพ้ของญี่ปุ่น
*** กลับสู่แผ่นดินอ้อมอกแผ่นดินใหญ่ ***
หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี ค.ศ. 1945 เกาะฟอร์โมซ่าก็เข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลจีนคณะชาติกลายมาเป็นผู้ดูแลเกาะแห่งนี้ในฐานะดินแดนของสาธารณรัฐจีน หลังตกเป็นของญี่ปุ่นมานานเกือบ 50 ปี
อย่างไรก็ตาม… ความสงบที่เกิดขึ้นนั้นมีอายุเพียง 3 ปี ก่อนที่พายุแห่งจะกลับมาโหมกระหน่ำดินแดนนี้อีกครั้ง
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***