อาการเวียนศีรษะ (Dizziness) เป็นคำที่มีความหมายกว้าง ซึ่งความหมายของมันนั้นอาจรวมถึงอาการมึนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ทรงตัวได้ไม่ดี สับสน งุนงง หากผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวกำลังหมุนหรือเคลื่อนที่ จะเรียกว่า “อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)”
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่มักพบในผู้ใหญ่ สามารถรบกวนชีวิตประจำวันได้ และทำให้ต้องมาพบแพทย์บ่อยครั้ง ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยทั่วไปการรักษามักจะมีประสิทธิผลดี แต่ผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการซ้ำได้
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ โดยอาการที่พบ ได้แก่
- รู้สึกหมุน
- เอนเอียง
- แกว่ง
- เสียความสมดุล หรือถูกดึงจากทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตากระตุก ปวดศีรษะ เหงื่อออก มีเสียงในหู ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง หรือหายจากอาการแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้
อะไรเป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มักเกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นใน โดยสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบบ่อย ได้แก่
1.โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) เกิดจากตะกอนแคลเซียมที่สะสมในบริเวณหูชั้นในเคลื่อนที่หลุดจากตำแหน่งปกติเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทรงตัว เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มักสัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย
2.โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ (Meniere's disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ในบริเวณหูชั้นใน ส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ร่วมกับมีเสียงในหู (Tinnitus) และการได้ยินลดลง
3.โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular neuritis) หรือโรคหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัส ส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นในบริเวณหูชั้นใน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลการทรงตัว
ทั้งนี้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือลำคอ อาการผิดปกติทางสมอง อาการปวดศีรษะไมเกรน หรือการรับประทานยาที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บในหู
การวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะทำอย่างไร?
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติเพื่อหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะ ซึ่งได้แก่ ลักษณะของอาการเวียนศีรษะ ระยะเวลาที่มีอาการ ช่วงเวลาที่เกิดอาการ อาการร่วม ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ และประวัติการใช้ยา จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยตรวจทางระบบตา หู คอ จมูก โดยเฉพาะหู ทดสอบการเดิน การรักษาสมดุลการทรงตัว และตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
นอกจากนี้แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบการได้ยิน การทดสอบการกลอกตา (Eye movement test) การทดสอบการเคลื่อนไหวศีรษะ (Head movement test) การตรวจประเมินความสามารถในการรักษาท่ายืน ตรวจเลือด ตรวจทางรังสี เป็นต้น
เราสามารถรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้อย่างไร?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนในผู้ป่วยหลายรายสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หากจำเป็นต้องได้รับการรักษา แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1.Vestibular rehabilitation: กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูระบบประสาทส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว
2.Canalith repositioning maneuvers: กายภาพบำบัดเพื่อให้ตะกอนแคลเซียมในบริเวณหูชั้นในที่หลุดจากตำแหน่งปกติ เคลื่อนกลับเข้าที่เดิม ซึ่งเป็นคำแนะนำสำหรับการรักษาโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
3.การรักษาด้วยยา: ในบางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะและอาการอื่นๆ ที่มักเกิดร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ทั้งนี้หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะหรือสเตียรอยด์ นอกจากนี้หากอาการมีสาเหตุมาจากโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาขับปัสสาวะเพื่อลดความดันจากของเหลวภายในช่องหู
4.การรักษาด้วยการผ่าตัด: ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น
หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง เช่น เนื้องอกหรือการบาดเจ็บบริเวณสมองหรือลำคอ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาภาวะดังกล่าวก่อนเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้อย่างไร?
- ออกกำลังกายอย่างง่าย โดยใช้วิธีออกกำลังกายที่ไม่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้ม
- นอนยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองศีรษะอย่างน้อย 2 ใบ
- หลีกเลี่ยงการเอียงศีรษะหรือยืดลำคอ
- เคลื่อนไหวศีรษะด้วยความระมัดระวังระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ
- เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง เช่น ใช้เวลา 1 นาที ในการลุกจากเตียงซึ่งเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เวียนศีรษะบ้านหมุนบ่อย ทำอย่างไรดี? ข้อมูลจาก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2021/dizziness-vertigo
เวียนศีรษะบ้านหมุนบ่อย ทำอย่างไรดี?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่มักพบในผู้ใหญ่ สามารถรบกวนชีวิตประจำวันได้ และทำให้ต้องมาพบแพทย์บ่อยครั้ง ทั้งนี้การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยทั่วไปการรักษามักจะมีประสิทธิผลดี แต่ผู้ป่วยอาจกลับมามีอาการซ้ำได้
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มีอาการอย่างไรบ้าง?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มักเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งของศีรษะ โดยอาการที่พบ ได้แก่
- รู้สึกหมุน
- เอนเอียง
- แกว่ง
- เสียความสมดุล หรือถูกดึงจากทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตากระตุก ปวดศีรษะ เหงื่อออก มีเสียงในหู ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง หรือหายจากอาการแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้
อะไรเป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน มักเกิดจากความผิดปกติบริเวณหูชั้นใน โดยสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบบ่อย ได้แก่
1.โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo: BPPV) เกิดจากตะกอนแคลเซียมที่สะสมในบริเวณหูชั้นในเคลื่อนที่หลุดจากตำแหน่งปกติเมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทรงตัว เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ ซึ่งสาเหตุของโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มักสัมพันธ์กับอายุของผู้ป่วย
2.โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ (Meniere's disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ในบริเวณหูชั้นใน ส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ร่วมกับมีเสียงในหู (Tinnitus) และการได้ยินลดลง
3.โรคเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular neuritis) หรือโรคหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) เป็นความผิดปกติของหูชั้นในที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อไวรัส ส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้นในบริเวณหูชั้นใน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสมดุลการทรงตัว
ทั้งนี้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือลำคอ อาการผิดปกติทางสมอง อาการปวดศีรษะไมเกรน หรือการรับประทานยาที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บในหู
การวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะทำอย่างไร?
แพทย์จะทำการวินิจฉัยด้วยการซักประวัติเพื่อหาสาเหตุของอาการเวียนศีรษะ ซึ่งได้แก่ ลักษณะของอาการเวียนศีรษะ ระยะเวลาที่มีอาการ ช่วงเวลาที่เกิดอาการ อาการร่วม ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ และประวัติการใช้ยา จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยตรวจทางระบบตา หู คอ จมูก โดยเฉพาะหู ทดสอบการเดิน การรักษาสมดุลการทรงตัว และตรวจการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
นอกจากนี้แพทย์อาจทดสอบเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบการได้ยิน การทดสอบการกลอกตา (Eye movement test) การทดสอบการเคลื่อนไหวศีรษะ (Head movement test) การตรวจประเมินความสามารถในการรักษาท่ายืน ตรวจเลือด ตรวจทางรังสี เป็นต้น
เราสามารถรักษาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้อย่างไร?
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนในผู้ป่วยหลายรายสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หากจำเป็นต้องได้รับการรักษา แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1.Vestibular rehabilitation: กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูระบบประสาทส่วนที่มีหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว
2.Canalith repositioning maneuvers: กายภาพบำบัดเพื่อให้ตะกอนแคลเซียมในบริเวณหูชั้นในที่หลุดจากตำแหน่งปกติ เคลื่อนกลับเข้าที่เดิม ซึ่งเป็นคำแนะนำสำหรับการรักษาโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
3.การรักษาด้วยยา: ในบางกรณีผู้ป่วยอาจได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะและอาการอื่นๆ ที่มักเกิดร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ทั้งนี้หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากการติดเชื้อหรือการอักเสบ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะหรือสเตียรอยด์ นอกจากนี้หากอาการมีสาเหตุมาจากโรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับยาขับปัสสาวะเพื่อลดความดันจากของเหลวภายในช่องหู
4.การรักษาด้วยการผ่าตัด: ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด หากไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น
หากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง เช่น เนื้องอกหรือการบาดเจ็บบริเวณสมองหรือลำคอ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาภาวะดังกล่าวก่อนเพื่อบรรเทาอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้อย่างไร?
- ออกกำลังกายอย่างง่าย โดยใช้วิธีออกกำลังกายที่ไม่ทำให้เกิดการพลัดตกหกล้ม
- นอนยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อยด้วยการใช้หมอนรองศีรษะอย่างน้อย 2 ใบ
- หลีกเลี่ยงการเอียงศีรษะหรือยืดลำคอ
- เคลื่อนไหวศีรษะด้วยความระมัดระวังระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ
- เปลี่ยนท่าทางให้ช้าลง เช่น ใช้เวลา 1 นาที ในการลุกจากเตียงซึ่งเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน เป็นต้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้