อกิตติจริยา ว่าด้วยจริยาของอกิตติดาบส อกิตติวรรค จริยาปิฎก ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก พระพุทธศาสนา สวากขาตธรรม

ฯ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
ขุทฺทกนิกาเย จริยาปิฏกปาฬิ ๑. อกิตฺติวคฺโค
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก ๑. อกิตติวรรค หมวดว่าด้วยอกิตติดาบสเป็นต้น
________________________

๑.
    ‘‘กปฺเป จ สตสหสฺเส, จตุโร จ อสงฺขิเย;
    เอตฺถนฺตเร ยํ จริตํ, สพฺพํ ตํ โพธิปาจนํฯ

    ใน ๔ อสงไขยแสนกัป ความประพฤติใดในระหว่างนี้ ความประพฤตินั้นทั้งหมด เป็นเครื่องบ่มพระโพธิญาณ

๒.
    ‘‘อตีตกปฺเป จริตํ, ฐปยิตฺวา ภวาภเว;
    อิมมฺหิ กปฺเป จริตํ, ปวกฺขิสฺสํ สุโณหิ เมฯ

    เราจักเว้นความประพฤติในภพน้อยภพใหญ่ในกัปที่ล่วงแล้วเสีย จักบอกความประพฤติในกัปนี้ เธอจงฟังเรา

๓.
    ‘‘ยทา อหํ พฺรหารญฺเญ, สุญฺเญ วิปินกานเน;
    อชฺโฌคาเหตฺวา วิหรามิ, อกิตฺติ นาม ตาปโสฯ

    เราเป็นดาบสมีนามว่าอกิตติ เข้าไปอาศัยอยู่ในป่าใหญ่ที่ว่างเปล่า สงัดเงียบปราศจากเสียงอื้ออึงในกาลใด

๔.
    ‘‘ตทา มํ ตปเตเชน, สนฺตตฺโต ติทิวาภิภู;
    ธาเรนฺโต พฺราหฺมณวณฺณํ, ภิกฺขาย มํ อุปาคมิฯ

    ในกาลนั้น ด้วยเดชแห่งความประพฤติตบะของเรา ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ในดาวดึงสเทวโลก ทรงร้อนพระทัย แปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้ามาหาเราเพื่อภิกษา

๕.
    ‘‘ปวนา อาภตํ ปณฺณํ, อเตลญฺจ อโลณิกํ;
    มม ทฺวาเร ฐิตํ ทิสฺวา, สกฏาเหน อากิรึฯ

    เราได้เห็นอินทพราหมณ์มายืนอยู่ใกล้ประตูบรรณศาลาของเรา จึงหยิบใบหมากเม่าที่เรานำมาจากป่า ซึ่งไม่มีน้ำมันทั้งไม่มีรสเค็ม มอบให้จนหมดพร้อมทั้งภาชนะ

๖.
    ‘‘ตสฺส ทตฺวานหํ ปณฺณํ, นิกฺกุชฺชิตฺวาน ภาชนํ;
    ปุเนสนํ ชหิตฺวาน, ปาวิสึ ปณฺณสาลกํฯ

    เราครั้นให้ใบหมากเม่าแก่อินทพราหมณ์นั้นแล้ว จึงคว่ำภาชนะ ละการแสวงหาใหม่ เข้าไปยังบรรณศาลา

๗.
    ‘‘ทุติยมฺปิ ตติยมฺปิ, อุปคญฺฉิ มมนฺติกํ;
    อกมฺปิโต อโนลคฺโค, เอวเมวมทาสหํฯ

    แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ อินทพราหมณ์ก็เข้ามายังสำนักของเรา เราไม่หวั่นไหว ไม่ยึดมั่น ได้ให้ไปเหมือนอย่างนั้น

๘.
    ‘‘น เม ตปฺปจฺจยา อตฺถิ, สรีรสฺมึ วิวณฺณิยํ;
    ปีติสุเขน รติยา, วีตินาเมมิ ตํ ทิวํฯ

    ในสรีระของเรามีผิวพรรณไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการอดอาหารนั้นเป็นปัจจัยเลย เรายับยั้งอยู่ตลอดวันนั้นๆ ด้วยปีติ สุข และความยินดี

๙.
    ‘‘ยทิ มาสมฺปิ ทฺเวมาสํ, ทกฺขิเณยฺยํ วรํ ลเภ;
    อกมฺปิโต อโนลีโน, ทเทยฺยํ ทานมุตฺตมํฯ

    ถ้าเราพึงได้ทักขิไณยบุคคลที่ประเสริฐ แม้เดือนหนึ่ง สองเดือน เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ท้อใจ พึงให้ทานอันอุดม

๑๐.
    ‘‘น ตสฺส ทานํ ททมาโน, ยสํ ลาภญฺจ ปตฺถยํ;
    สพฺพญฺญุตํ ปตฺถยาโน, ตานิ กมฺมานิ อาจริ’’นฺติฯ

    อกิตฺติจริยํ ปฐมํฯ

    เมื่อเราให้ทานแก่อินทพราหมณ์นั้น เราจะได้ปรารถนายศและลาภก็หามิได้ แต่เราปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณเท่านั้น จึงได้ประพฤติกรรมเหล่านั้น ฉะนี้แล

    อกิตติจริยาที่ ๑ จบ

อ่านเฉพาะพระบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ในสปอย >>>
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ส่วนนิทานกถา คือทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไกล อวิทูเรนิทาน นิทานมีในที่ไม่ไกล สันติเกนิทาน นิทานมีในที่ใกล้ จักนำมาแสดงโดยลำดับต่อไป
>> https://ppantip.com/topic/42308907/comment10
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่