บทเรียน'ราคาแพง'
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564
'นโยบายรัฐ'กับการเปลี่ยนผ่าน'ทีวีดิจิทัล'
ถอดบทเรียนการเปลี่ยนผ่านทีวีอนาล็อกของไทยไปสู่ "ทีวีดิจิทัล" เพื่อทัดเทียม นานาประเทศ การดำเนินนโยบายของรัฐ เส้นทางการเคลื่อนธุรกิจของผู้ประกอบการ พฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมดูรายการทางโทรทัศน์ ค่อนข้างเต็มไปด้วย "บาดแผล" และสร้างความเจ็บปวดไม่น้อย
ย้อนกลับไป ปี 2556 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) นำทรัพยากรคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลมาประมูล โดยมีระยะเวลาใบอนุญาตประกอบกิจการ (ไลเซ่นส์) 15 ปี และด้วยเม็ดเงินโฆษณา "แสนล้านบาท" ที่ถูกคาดการณ์จะพุ่งขึ้นมหาศาล จึงเย้ายวนผู้ประกอบการตบเท้าควักเงินก้อนโตชิงการเป็น "เจ้าของช่อง" ปิดประมูล กสทช.นำเงินส่งเข้ารัฐกว่า 50,862 ล้านบาท มีทีวีดิจิทัลหน้าเก่าและใหม่ รวม 25 ช่อง
ทว่า ตัวแปรที่มาเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อเร็วและแรง คือ "ดิจิทัล ดิสรัปชั่น" การเข้ามาของสื่อใหม่ ทั้งอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มรับชมภาพและเสียงออนไลน์ (โอทีที) พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเสพออนไลน์มากขึ้น ทำให้ "เม็ดเงินโฆษณา" ถูกแบ่งเค้ก จนทีวีครองสัดส่วนเหลือเพียง 60% ในปัจจุบัน
ล่าสุด รายงานการศึกษา "ผลกระทบ ของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทย ภายหลัง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล" โดย สำนักงาน กสทช. เป็น "บทเรียน" ราคาแพง สะท้อนปัญหาและแนวโน้มที่ยังเป็น "อุปสรรค" ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องแก้
ก่อนเริ่มต้นการทำธุรกิจทีวีดิจิทัล คาดการณ์อุตสาหกรรมจะผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) จากการแจกคูปอง กว่า 7,000 ล้านบาท การใช้จ่ายอุปกรณ์อื่น เช่น ทีวีใหม่ กว่า 12,000 ล้านบาท รวมถึงมูลค่าโฆษณาอีกหลัก "แสนล้านบาท" ตลอดระยะเวลา 15 ปี ขณะที่ปัจจุบันภาพจริง ที่เกิดกับวงการสื่อโฆษณา เม็ดเงินสะพัด ลดลง โดยปี 2564 คาดการณ์อยู่ระดับ 73,000 ล้านบาท (ที่มา : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์)
ระหว่างทางเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล แค่ออกสตาร์ท ผู้ประกอบการเจอมรสุมถาโถมหลายลูก สื่อใหม่ทรงพลัง คนดูทีวีน้อยลง เงินโฆษณาหดหาย จึงเห็นช่องที่ทำธุรกิจ มี "รายได้" สูงกว่า "ต้นทุน" เพียง 9 รายเท่านั้น คือ ช่อง 7HD, 3HD, One31, MONO29, workpoint tv, CH8, SPRING NEWS, 3SD และ AMARIN TV
"การทำรายได้ให้มากกว่าต้นทุนเป็นปัจจัยรอด ขณะเดียวกันธุรกิจทีวีทั้งไทยและต่างประเทศกำลังเผชิญการแข่งขันจากสื่อออนไลน์ เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค รสนิยมการเสพสื่อ การแข่งขันเข้มข้นขึ้นจึงท้าทายทีวีดิจิทัลในการดึงคนดู สร้างเรทติ้งและรายได้"
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกอบส่วนใหญ่ "ขาดทุน" จึงกระทุ้งรัฐให้ช่วย "ไขก๊อก" ที่สุด วันที่ 11 เม.ย.2562 คำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับ 4/2562 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ประกาศเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิร์ต(MHz) จากผู้ประกอบการ ทีวีดิจิทัล รายใดที่ประสงค์คืนไลเซ่นส์ ทำได้ใน 30 วัน
ดังนั้น 6 บริษัท 7 ช่องที่ไม่ไหว พร้อมใจขอคืนไลเซ่นส์ ได้แก่ Bright TV, วอยซ์ทีวี, MCOT Family, สปริงนิวส์, SPRING 26, 3 Family และ 3SD
การยุติของผู้ประกอบการทำให้รัฐ ต้องจ่ายชดเชยแก่ 7 ช่อง เป็นเม็ดเงินกว่า 2,932 ล้านบาท จ่ายค่าเช่าใช้โครงข่าย(MUX)ตลอดระยะเวลาไลเซ่นส์ที่เหลือกว่า 16,453 ล้านบาท และจ่ายค่าทดแทน ชดใช้ หรือตอบแทนผู้ประกอบการให้บริการ MUX จำนวน 5 ราย มูลค่า กว่า 761 ล้านบาท รวมมูลค่ากว่า 20,147 ล้านบาท
"งบโฆษณา" ขุมทรัพย์ก้อนโต ที่ผู้ประกอบการหมายตา ถูกคาดการณ์ มูลค่าเพิ่มจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบระหว่างปี 2557-2562 อยู่ที่ 39,691 ล้านบาท และตลอด 15 ปีของใบอนุญาตจะมีมูลค่ารวม 111,098 ล้านบาท ภายใต้การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2564 เติบโต 3% ปี 2565 เติบโต 4.7% และจีดีพีขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ทุกปี แต่ โรคระบาดโควิด-19 ฉุดตัวเลขเศรษฐกิจ ธุรกิจให้อยู่ใน "แดนลบ" ดับฝันผู้ประกอบการ ต่อเนื่อง
ปัจจุบันผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องฝ่า "วิกฤติ" รอบด้าน ผลการศึกษายังเจาะแนวโน้ม พฤติกรรมผู้บริโภครับชมทีวีผ่าน "จอแก้ว" ภายในปี 2579 "ลดลง" เหลือ 48.9% จากปี 2564 อยู่ที่ 55.8% ตัวแปรสำคัญมาจาก "คนรุ่นใหม่" โดยเฉพาะสัดส่วนเจนเนอเรชั่นซี(Z ) หรืออายุน้อยกว่าที่จะเพิ่มเป็น 44.6% จากปี 2564 มีราว 1 ใน 3
การใช้งานอินเทอร์เน็ตคล่องแคล่ว ทำให้ปี 2579 คนไทยเทเวลาให้อินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 5.65 ชม./วัน จากปี 2564 เฉลี่ย 4.93 ชม./วัน การรับชมรายการต่างทางทีวีจึงผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" เพิ่มเป็น 26.5% จากปี 2564 อยู่ที่ 22.4%
ขณะที่การเกิดแพลตฟอร์ม "โอทีที" ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกรับชมเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Viu, WeTV และDisney Plus Hotstar ฯลฯ แม้ทำให้การแข่งขัน "สมบูรณ์" ขึ้น แต่การชกกับ "ทีวีดิจิทัล" ต้นทุนการออกอากาศออนไลน์ "ต่ำกว่า" กลายเป็นปมปัญหาที่หน่วยงานรัฐต้องเข้ามา ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอด
ทั้งนี้ นักวิชาการผู้จัดทำจึงเสนอแนะ "กสทช." กำกับดูแลการแข่งขัน ปรับนโยบายให้มีความ "ยืดหยุ่น" มากขึ้น โดยเฉพาะการอนุญาตให้ "เปลี่ยนแปลงผู้ถือ ใบอนุญาต" หรืออาจกำหนดให้มีการ "ควบรวม กิจการโทรทัศน์ในบางสถานการณ์ได้" หรือ M&A ซึ่งกรณีดังกล่าว เคยเกิดขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นให้ M&A ได้
"กสทช.ควรมีบทบาทสำคัญในการกำกับ ดูแลการแข่งขันของทีวีดิจิทัลในภาวะที่มีการแข่งขันจากบริการโอทีที เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเสียเปรียบ ด้านต้นทุน และมีความยืดหยุ่นในการกำกับดูแลการแข่งขันเพื่อให้เกิดตลาด ที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงการกำกับเนื้อหาสาระให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สื่อทีวีเป็นตลาดแห่งความคิด การกำกับเนื้อหาสาระที่เป็นโทษต่อประชาชน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อ"
บทเรียน'ราคาแพง' 'นโยบายรัฐ'กับการเปลี่ยนผ่าน'ทีวีดิจิทัล' [กรุงเทพธุรกิจ 24 ก.ย. 64]
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564
'นโยบายรัฐ'กับการเปลี่ยนผ่าน'ทีวีดิจิทัล'
ถอดบทเรียนการเปลี่ยนผ่านทีวีอนาล็อกของไทยไปสู่ "ทีวีดิจิทัล" เพื่อทัดเทียม นานาประเทศ การดำเนินนโยบายของรัฐ เส้นทางการเคลื่อนธุรกิจของผู้ประกอบการ พฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมดูรายการทางโทรทัศน์ ค่อนข้างเต็มไปด้วย "บาดแผล" และสร้างความเจ็บปวดไม่น้อย
ย้อนกลับไป ปี 2556 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) นำทรัพยากรคลื่นความถี่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลมาประมูล โดยมีระยะเวลาใบอนุญาตประกอบกิจการ (ไลเซ่นส์) 15 ปี และด้วยเม็ดเงินโฆษณา "แสนล้านบาท" ที่ถูกคาดการณ์จะพุ่งขึ้นมหาศาล จึงเย้ายวนผู้ประกอบการตบเท้าควักเงินก้อนโตชิงการเป็น "เจ้าของช่อง" ปิดประมูล กสทช.นำเงินส่งเข้ารัฐกว่า 50,862 ล้านบาท มีทีวีดิจิทัลหน้าเก่าและใหม่ รวม 25 ช่อง
ทว่า ตัวแปรที่มาเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อเร็วและแรง คือ "ดิจิทัล ดิสรัปชั่น" การเข้ามาของสื่อใหม่ ทั้งอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มรับชมภาพและเสียงออนไลน์ (โอทีที) พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปเสพออนไลน์มากขึ้น ทำให้ "เม็ดเงินโฆษณา" ถูกแบ่งเค้ก จนทีวีครองสัดส่วนเหลือเพียง 60% ในปัจจุบัน
ล่าสุด รายงานการศึกษา "ผลกระทบ ของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจไทย ภายหลัง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล" โดย สำนักงาน กสทช. เป็น "บทเรียน" ราคาแพง สะท้อนปัญหาและแนวโน้มที่ยังเป็น "อุปสรรค" ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องแก้
ก่อนเริ่มต้นการทำธุรกิจทีวีดิจิทัล คาดการณ์อุตสาหกรรมจะผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ (จีดีพี) จากการแจกคูปอง กว่า 7,000 ล้านบาท การใช้จ่ายอุปกรณ์อื่น เช่น ทีวีใหม่ กว่า 12,000 ล้านบาท รวมถึงมูลค่าโฆษณาอีกหลัก "แสนล้านบาท" ตลอดระยะเวลา 15 ปี ขณะที่ปัจจุบันภาพจริง ที่เกิดกับวงการสื่อโฆษณา เม็ดเงินสะพัด ลดลง โดยปี 2564 คาดการณ์อยู่ระดับ 73,000 ล้านบาท (ที่มา : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์)
ระหว่างทางเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล แค่ออกสตาร์ท ผู้ประกอบการเจอมรสุมถาโถมหลายลูก สื่อใหม่ทรงพลัง คนดูทีวีน้อยลง เงินโฆษณาหดหาย จึงเห็นช่องที่ทำธุรกิจ มี "รายได้" สูงกว่า "ต้นทุน" เพียง 9 รายเท่านั้น คือ ช่อง 7HD, 3HD, One31, MONO29, workpoint tv, CH8, SPRING NEWS, 3SD และ AMARIN TV
"การทำรายได้ให้มากกว่าต้นทุนเป็นปัจจัยรอด ขณะเดียวกันธุรกิจทีวีทั้งไทยและต่างประเทศกำลังเผชิญการแข่งขันจากสื่อออนไลน์ เข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค รสนิยมการเสพสื่อ การแข่งขันเข้มข้นขึ้นจึงท้าทายทีวีดิจิทัลในการดึงคนดู สร้างเรทติ้งและรายได้"
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกอบส่วนใหญ่ "ขาดทุน" จึงกระทุ้งรัฐให้ช่วย "ไขก๊อก" ที่สุด วันที่ 11 เม.ย.2562 คำสั่งหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับ 4/2562 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการประกอบการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ประกาศเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิร์ต(MHz) จากผู้ประกอบการ ทีวีดิจิทัล รายใดที่ประสงค์คืนไลเซ่นส์ ทำได้ใน 30 วัน
ดังนั้น 6 บริษัท 7 ช่องที่ไม่ไหว พร้อมใจขอคืนไลเซ่นส์ ได้แก่ Bright TV, วอยซ์ทีวี, MCOT Family, สปริงนิวส์, SPRING 26, 3 Family และ 3SD
การยุติของผู้ประกอบการทำให้รัฐ ต้องจ่ายชดเชยแก่ 7 ช่อง เป็นเม็ดเงินกว่า 2,932 ล้านบาท จ่ายค่าเช่าใช้โครงข่าย(MUX)ตลอดระยะเวลาไลเซ่นส์ที่เหลือกว่า 16,453 ล้านบาท และจ่ายค่าทดแทน ชดใช้ หรือตอบแทนผู้ประกอบการให้บริการ MUX จำนวน 5 ราย มูลค่า กว่า 761 ล้านบาท รวมมูลค่ากว่า 20,147 ล้านบาท
"งบโฆษณา" ขุมทรัพย์ก้อนโต ที่ผู้ประกอบการหมายตา ถูกคาดการณ์ มูลค่าเพิ่มจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบระหว่างปี 2557-2562 อยู่ที่ 39,691 ล้านบาท และตลอด 15 ปีของใบอนุญาตจะมีมูลค่ารวม 111,098 ล้านบาท ภายใต้การเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2564 เติบโต 3% ปี 2565 เติบโต 4.7% และจีดีพีขยายตัวเฉลี่ย 3.5% ทุกปี แต่ โรคระบาดโควิด-19 ฉุดตัวเลขเศรษฐกิจ ธุรกิจให้อยู่ใน "แดนลบ" ดับฝันผู้ประกอบการ ต่อเนื่อง
ปัจจุบันผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องฝ่า "วิกฤติ" รอบด้าน ผลการศึกษายังเจาะแนวโน้ม พฤติกรรมผู้บริโภครับชมทีวีผ่าน "จอแก้ว" ภายในปี 2579 "ลดลง" เหลือ 48.9% จากปี 2564 อยู่ที่ 55.8% ตัวแปรสำคัญมาจาก "คนรุ่นใหม่" โดยเฉพาะสัดส่วนเจนเนอเรชั่นซี(Z ) หรืออายุน้อยกว่าที่จะเพิ่มเป็น 44.6% จากปี 2564 มีราว 1 ใน 3
การใช้งานอินเทอร์เน็ตคล่องแคล่ว ทำให้ปี 2579 คนไทยเทเวลาให้อินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 5.65 ชม./วัน จากปี 2564 เฉลี่ย 4.93 ชม./วัน การรับชมรายการต่างทางทีวีจึงผ่าน "โทรศัพท์มือถือ" เพิ่มเป็น 26.5% จากปี 2564 อยู่ที่ 22.4%
ขณะที่การเกิดแพลตฟอร์ม "โอทีที" ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกรับชมเนื้อหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Viu, WeTV และDisney Plus Hotstar ฯลฯ แม้ทำให้การแข่งขัน "สมบูรณ์" ขึ้น แต่การชกกับ "ทีวีดิจิทัล" ต้นทุนการออกอากาศออนไลน์ "ต่ำกว่า" กลายเป็นปมปัญหาที่หน่วยงานรัฐต้องเข้ามา ช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอด
ทั้งนี้ นักวิชาการผู้จัดทำจึงเสนอแนะ "กสทช." กำกับดูแลการแข่งขัน ปรับนโยบายให้มีความ "ยืดหยุ่น" มากขึ้น โดยเฉพาะการอนุญาตให้ "เปลี่ยนแปลงผู้ถือ ใบอนุญาต" หรืออาจกำหนดให้มีการ "ควบรวม กิจการโทรทัศน์ในบางสถานการณ์ได้" หรือ M&A ซึ่งกรณีดังกล่าว เคยเกิดขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นให้ M&A ได้
"กสทช.ควรมีบทบาทสำคัญในการกำกับ ดูแลการแข่งขันของทีวีดิจิทัลในภาวะที่มีการแข่งขันจากบริการโอทีที เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเสียเปรียบ ด้านต้นทุน และมีความยืดหยุ่นในการกำกับดูแลการแข่งขันเพื่อให้เกิดตลาด ที่มีการแข่งขันที่สมบูรณ์ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม รวมถึงการกำกับเนื้อหาสาระให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สื่อทีวีเป็นตลาดแห่งความคิด การกำกับเนื้อหาสาระที่เป็นโทษต่อประชาชน โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อ"