“ต้องออกจาก Comfort Zone” “อย่าติดอยู่ใน Comfort Zone” เป็นประโยคที่คนทำงานได้ยินกันกันบ่อย ๆ คำเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ทำให้คนทำงานหลายคนรู้สึกกดดัน เพราะบางครั้งเราก็ยังไม่พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือการต้องออกไปหาอะไรใหม่ ๆ และไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องไปเจออะไรข้างหน้า มันอาจจะดีขึ้นหรืออาจกลายเป็นแย่ลงก็ได้
ซึ่งคนทำงานที่กำลังติดอยู่กับคำว่าต้องออกจาก Comfort Zone JobThai Tips อยากบอกว่า การอยู่ใน Comfort Zone อาจไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป และไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งขึ้นไม่ได้ งั้นวันนี้ลองมามองคำนี้ให้ต่างจากที่เราเคยรู้จักกัน
ปรับ Mindset กับคำว่า Comfort Zone ใหม่
Comfort Zone ไม่ใช่เรื่องที่แย่ และไม่ได้แปลว่าถ้าอยู่แต่ใน Comfort Zone จะเท่ากับว่าเราไม่พัฒนาอะไรเลย เพราะการทำสิ่งเดิม ๆ หรืองานเดิม ๆ ทุกวัน ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดีกว่าเดิมไม่ได้ ซึ่งคนทำงานหลายคนที่ชอบการทำงานและองค์กรเดิมของตัวเองอยู่แล้ว สบายใจกับสิ่งที่เป็นอยู่และไม่อยากย้ายไปองค์กรใหม่ก็ไม่ผิด เพราะเราก็ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนงานครั้งหนึ่งไม่ใช่แค่รู้สึกอยากแล้วเปลี่ยนได้เลย มันมีรายละเอียดยิบย่อยมากมายที่ต้องวางแผน ทั้งการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ
แต่ถ้าอยากเปลี่ยนงานเพื่อหาความก้าวหน้าจริง ๆ ก็ต้องถามตัวเองดูอีกทีว่าความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ ใช่มั้ย เราได้ตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนแล้วหรือเปล่า และเราพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มั้ย โดยที่ไม่ถูกคำว่า “ต้องออกจาก Comfort Zone” มาเป็นแรงกดดันในการตัดสินใจของตัวเอง
อย่ายึดติดกับคำว่า “ต้องออกจาก Comfort Zone” มากเกินไป
การต้องออกจาก Comfort Zone อาจเป็นเรื่องใหญ่ของหลาย ๆ คน แต่เราไม่จำเป็นต้องออกจาก Comfort Zone ทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อม เพราะเราสามารถอยู่กับสิ่งเดิม ๆ และเรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้สิ่งที่มีอยู่มันดีกว่าเดิม หรือก้าวหน้ามากขึ้นได้ ยกตัวอย่าง หากเราเปิดร้านอาหารสักร้านหนึ่ง เมนูอาหารในร้านเป็นอาหารไทยที่เราเชี่ยวชาญ เป็นเหมือน Comfort Zone ที่เรามั่นใจว่าเราทำมันได้ดีแน่ ๆ โดยไม่ต้องกังวลอะไร มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องออกจาก Comfort Zone และเปลี่ยนเป็นเมนูสัญชาติอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่เราสามารถพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ และทำให้มันดีขึ้นได้ เช่น เพิ่มเมนูใหม่ ๆ เข้ามา อาจจะเป็นอาหารไทยที่หากินได้ยาก หรือเพิ่มเมนูฟิวชั่นโดยไม่ทิ้งความเป็นอาหารไทย จะเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องออกจาก Comfort Zone ของเราเลย แต่เราก็ยังได้พัฒนาความสามารถและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้ววันหนึ่ง เมนูใหม่นี้มันอาจจะกลายเป็น Comfort Zone ใหม่ของเรา
แต่ถ้าเราอยากลองทำอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง เราก็ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้ง Comfort Zone ของเรา เช่น เราอาจจะยังทำงานตำแหน่งเดิม และมีหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ในวันธรรมดาเหมือนเดิม ก็ไม่ได้หมายความว่าเวลาเลิกงานหรือวันเสาร์-อาทิตย์ จะทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมาไม่ได้ เพียงแต่เราต้องจัดการเวลาให้ดี และต้องทำให้แน่ใจว่าการทำสิ่งใหม่ ๆ จะไม่ทำให้การทำงานที่เป็น Comfort Zone ของเรามีประสิทธิภาพแย่ลง
มองให้ออกว่าจริง ๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร
สุดท้ายแล้ว เราทุกคนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ชนะหรือประสบความสำเร็จเพื่อที่จะมีความสุขเสมอไป เพราะชีวิตและความสุขของแต่ละคนก็มีมิติที่ต่างกัน และก็ไม่มีสูตรสำเร็จว่าต้องประสบความสำเร็จหรือต้องมีตำแหน่งสูง ๆ เท่านั้นถึงจะมีความสุข แต่เราจำเป็นต้องมองให้ออกและชัดเจนกับตัวเองว่าจริง ๆ แล้วต้องการอะไร ไม่ใช่เรื่องที่ผิดถ้าเราต้องการทำงานในตำแหน่งงานเล็ก ๆ ที่มี Work-Life Balance ที่ดี ได้ใช้เวลากับครอบครัวอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันหลายคนที่ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการความท้าทายหรือโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ ก็ไม่ใช่คนที่ผิดเช่นกัน
การเริ่มต้นใหม่ เราไม่จำเป็นต้องเทหมดหน้าตักและเสี่ยงกับทุกอย่าง เราสามารถค่อย ๆ สร้างหรือค่อย ๆ ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบางเรื่องแม้เราจะสามารถพัฒนาตัวเองได้ในขณะที่อยู่ใน Comfort Zone แต่สักวันหนึ่งก็อาจมีสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น และบังคับให้เราต้องก้าวออกมาจาก Comfort Zone อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งความพร้อมในการปรับตัวนี่แหละ ที่จะทำให้คนทำงานสามารถก้าวหน้าและพัฒนาต่อไปได้
ถ้า Comfort Zone ไม่ใช่ศัตรูของคนทำงาน แล้วใครคือศัตรูตัวจริง?
เราอาจสรุปได้ว่า Comfort Zone ไม่ใช่ศัตรูที่ทำให้คนทำงานไม่เกิดการพัฒนา เพราะศัตรูตัวจริงที่คอยฉุดรั้งความก้าวหน้าและความสำเร็จของคนทำงานก็คือ “การหยุดเรียนรู้และไม่พยายามพัฒนาตัวเอง” ต่างหาก เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน การพัฒนาตัวเองก็สามารถทำได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการลองอาสาทำงานใหม่ ๆ ที่เข้ามา อ่านบทความสั้น ๆ หรือหาความรู้ตาม Community ต่าง ๆ ถึงสิ่งเหล่านี้จะดูเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ถ้าเราค่อย ๆ สะสมความรู้ไว้เสมอ เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง เราอาจกลายเป็นคนแรกที่สามารถปรับตัวเพื่อทำสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างดีเลยก็ได้
ถ้าเรามีทัศนคติที่เปิดกว้าง และพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เราก็ยังสามารถพัฒนาตัวเองได้เรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันหากเราเป็นคนที่ไม่ยอมเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ และไม่พร้อมสำหรับการปรับตัว แม้จะอยู่ใน Comfort Zone หรือไม่ก็ตาม การจะพัฒนาตัวเองได้ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก
Comfort Zone อาจไม่ใช่สิ่งที่ฉุดรั้งคนทำงานอย่างที่หลายคนคิด
ซึ่งคนทำงานที่กำลังติดอยู่กับคำว่าต้องออกจาก Comfort Zone JobThai Tips อยากบอกว่า การอยู่ใน Comfort Zone อาจไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป และไม่ได้หมายความว่าเราจะเก่งขึ้นไม่ได้ งั้นวันนี้ลองมามองคำนี้ให้ต่างจากที่เราเคยรู้จักกัน
ปรับ Mindset กับคำว่า Comfort Zone ใหม่
Comfort Zone ไม่ใช่เรื่องที่แย่ และไม่ได้แปลว่าถ้าอยู่แต่ใน Comfort Zone จะเท่ากับว่าเราไม่พัฒนาอะไรเลย เพราะการทำสิ่งเดิม ๆ หรืองานเดิม ๆ ทุกวัน ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดีกว่าเดิมไม่ได้ ซึ่งคนทำงานหลายคนที่ชอบการทำงานและองค์กรเดิมของตัวเองอยู่แล้ว สบายใจกับสิ่งที่เป็นอยู่และไม่อยากย้ายไปองค์กรใหม่ก็ไม่ผิด เพราะเราก็ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนงานครั้งหนึ่งไม่ใช่แค่รู้สึกอยากแล้วเปลี่ยนได้เลย มันมีรายละเอียดยิบย่อยมากมายที่ต้องวางแผน ทั้งการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และขั้นตอนการทำงานใหม่ ๆ
แต่ถ้าอยากเปลี่ยนงานเพื่อหาความก้าวหน้าจริง ๆ ก็ต้องถามตัวเองดูอีกทีว่าความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ ใช่มั้ย เราได้ตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนแล้วหรือเปล่า และเราพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มั้ย โดยที่ไม่ถูกคำว่า “ต้องออกจาก Comfort Zone” มาเป็นแรงกดดันในการตัดสินใจของตัวเอง
อย่ายึดติดกับคำว่า “ต้องออกจาก Comfort Zone” มากเกินไป
การต้องออกจาก Comfort Zone อาจเป็นเรื่องใหญ่ของหลาย ๆ คน แต่เราไม่จำเป็นต้องออกจาก Comfort Zone ทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อม เพราะเราสามารถอยู่กับสิ่งเดิม ๆ และเรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้สิ่งที่มีอยู่มันดีกว่าเดิม หรือก้าวหน้ามากขึ้นได้ ยกตัวอย่าง หากเราเปิดร้านอาหารสักร้านหนึ่ง เมนูอาหารในร้านเป็นอาหารไทยที่เราเชี่ยวชาญ เป็นเหมือน Comfort Zone ที่เรามั่นใจว่าเราทำมันได้ดีแน่ ๆ โดยไม่ต้องกังวลอะไร มันก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องออกจาก Comfort Zone และเปลี่ยนเป็นเมนูสัญชาติอื่นอย่างสิ้นเชิง แต่เราสามารถพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่เราเชี่ยวชาญ และทำให้มันดีขึ้นได้ เช่น เพิ่มเมนูใหม่ ๆ เข้ามา อาจจะเป็นอาหารไทยที่หากินได้ยาก หรือเพิ่มเมนูฟิวชั่นโดยไม่ทิ้งความเป็นอาหารไทย จะเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้องออกจาก Comfort Zone ของเราเลย แต่เราก็ยังได้พัฒนาความสามารถและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แล้ววันหนึ่ง เมนูใหม่นี้มันอาจจะกลายเป็น Comfort Zone ใหม่ของเรา
แต่ถ้าเราอยากลองทำอะไรใหม่ ๆ ดูบ้าง เราก็ทำได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้ง Comfort Zone ของเรา เช่น เราอาจจะยังทำงานตำแหน่งเดิม และมีหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ในวันธรรมดาเหมือนเดิม ก็ไม่ได้หมายความว่าเวลาเลิกงานหรือวันเสาร์-อาทิตย์ จะทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมาไม่ได้ เพียงแต่เราต้องจัดการเวลาให้ดี และต้องทำให้แน่ใจว่าการทำสิ่งใหม่ ๆ จะไม่ทำให้การทำงานที่เป็น Comfort Zone ของเรามีประสิทธิภาพแย่ลง
มองให้ออกว่าจริง ๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร
สุดท้ายแล้ว เราทุกคนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ชนะหรือประสบความสำเร็จเพื่อที่จะมีความสุขเสมอไป เพราะชีวิตและความสุขของแต่ละคนก็มีมิติที่ต่างกัน และก็ไม่มีสูตรสำเร็จว่าต้องประสบความสำเร็จหรือต้องมีตำแหน่งสูง ๆ เท่านั้นถึงจะมีความสุข แต่เราจำเป็นต้องมองให้ออกและชัดเจนกับตัวเองว่าจริง ๆ แล้วต้องการอะไร ไม่ใช่เรื่องที่ผิดถ้าเราต้องการทำงานในตำแหน่งงานเล็ก ๆ ที่มี Work-Life Balance ที่ดี ได้ใช้เวลากับครอบครัวอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันหลายคนที่ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องการความท้าทายหรือโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ ก็ไม่ใช่คนที่ผิดเช่นกัน
การเริ่มต้นใหม่ เราไม่จำเป็นต้องเทหมดหน้าตักและเสี่ยงกับทุกอย่าง เราสามารถค่อย ๆ สร้างหรือค่อย ๆ ทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบางเรื่องแม้เราจะสามารถพัฒนาตัวเองได้ในขณะที่อยู่ใน Comfort Zone แต่สักวันหนึ่งก็อาจมีสถานการณ์บางอย่างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น และบังคับให้เราต้องก้าวออกมาจาก Comfort Zone อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งความพร้อมในการปรับตัวนี่แหละ ที่จะทำให้คนทำงานสามารถก้าวหน้าและพัฒนาต่อไปได้
ถ้า Comfort Zone ไม่ใช่ศัตรูของคนทำงาน แล้วใครคือศัตรูตัวจริง?
เราอาจสรุปได้ว่า Comfort Zone ไม่ใช่ศัตรูที่ทำให้คนทำงานไม่เกิดการพัฒนา เพราะศัตรูตัวจริงที่คอยฉุดรั้งความก้าวหน้าและความสำเร็จของคนทำงานก็คือ “การหยุดเรียนรู้และไม่พยายามพัฒนาตัวเอง” ต่างหาก เพราะไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน การพัฒนาตัวเองก็สามารถทำได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการลองอาสาทำงานใหม่ ๆ ที่เข้ามา อ่านบทความสั้น ๆ หรือหาความรู้ตาม Community ต่าง ๆ ถึงสิ่งเหล่านี้จะดูเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ถ้าเราค่อย ๆ สะสมความรู้ไว้เสมอ เมื่อการเปลี่ยนแปลงมาถึง เราอาจกลายเป็นคนแรกที่สามารถปรับตัวเพื่อทำสิ่งใหม่ ๆ ได้อย่างดีเลยก็ได้
ถ้าเรามีทัศนคติที่เปิดกว้าง และพร้อมสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เราก็ยังสามารถพัฒนาตัวเองได้เรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันหากเราเป็นคนที่ไม่ยอมเปิดรับไอเดียใหม่ ๆ และไม่พร้อมสำหรับการปรับตัว แม้จะอยู่ใน Comfort Zone หรือไม่ก็ตาม การจะพัฒนาตัวเองได้ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก