นายแบบของสัปดาห์นี้ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ ที่ออกแบบสำหรับแข่งระบบเป้านิ่ง ตัวปืนตามกติกาที่ CMP กำหนด
สหรัฐเริ่มโครงการฝึกยิงปืนสำหรับประชาชน (Civilian Marksmanship Program : CMP) ในปี ค.ศ. 1903 ส่วนหนึ่งเพราะความกังวลว่าอาจเกิดสงครามใหญ่ ในปีนั้นกองทัพสหรัฐเพิ่งบรรจุปืนไรเฟิล สปริงฟีลด์ 1903 เข้าประจำการ เป็นปืนที่ใช้ระบบการทำงานแบบลูกเลื่อน ซึ่งเป็นของแปลกใหม่สำหรับชาวอเมริกันยุคนั้น ที่ส่วนใหญ่นิยมปืนแบบคานเหวี่ยง กองทัพบกจึงทำโครงการ CMP ให้ชมรมยิงปืนทั่วประเทศ ช่วยกันจัดสอนและแข่งยิงปืนโดยใช้ปืนทหาร
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โครงการ CMP ขยายออกครอบคลุมปืนสั้น คือโมเดล 1911 แบบกึ่งอัตโนมัติ ที่จัดว่าเป็นของใหม่เช่นกัน เมื่อมีการแข่งขันจึงมีช่างแสงนำปืนทหารมาแต่งเน้นความแม่นยำกันหลายราย จนถึงปี 1933 บริษัท โคลท์ ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรปืน 1911 จึงเริ่มทำปืนสำหรับยิงเป้าโดยเฉพาะ ใช้โครงปืนและลำเลื่อนเหมือนปืนทหาร เปลี่ยนใส่ลำกล้องคัดพิเศษสำหรับยิงเป้า ติดศูนย์ปรับได้ เรียกชื่อรุ่นว่า National Match ทำขายอยู่จนเข้าสงครามโลกครั้งที่สองจึงหยุดพักชั่วคราว มาเริ่มทำอีกครั้งในปี 1957 เพิ่มชื่อให้เต็มยศเป็น Gold Cup National Match โดยมีจุดแตกต่างจากปืนทหารคือ ลำเลื่อนมีสันเหลี่ยมด้านบน, ลายกันลื่นที่ลำเลื่อนเอียงในแนวเดียวกับด้าม, ติดศูนย์ยิงเป้า, หลังด้ามตรง และภายในใช้ชุดลั่นไกออกแบบพิเศษให้ได้ไกเบาระดับ 3 ปอนด์
โคลท์ จดลิขสิทธิ์ชื่อปืน Gold Cup ไว้เป็นเครื่องหมายการค้า ปืนโกลด์คัพมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี 1970 เพิ่ม ซีรีส์ 70 คือบูชลำกล้องแฉก และปี 1983 เปลี่ยนเป็นซีรีส์ 80 มีตัวล็อกเข็มแทงชนวน ทั้งคู่ใช้ลำเลื่อนสันโค้งเหมือนรุ่นใช้งานปกติ ไม่มีสันเหลี่ยมเหมือนของเดิม และเมื่อเข้าสู่ยุคที่ปืนรณยุทธ์ได้รับความนิยม โคลท์เพิ่มรุ่น Gold Cup Trophy ในแคตตาล็อกเป็นสามรุ่นให้เลือกได้
ล่าสุดตั้งแต่ปี 2017 โคลท์ เลิกทำโกลด์คัพ ซีรีส์ 80 เหลือตัวเลือกเพียงสองตัว คือ โกลด์คัพ โทรฟี สำหรับการแข่งรณยุทธ์ และนายแบบของสัปดาห์นี้ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ ที่ออกแบบสำหรับแข่งระบบเป้านิ่ง ตัวปืนตามกติกาที่ CMP กำหนด
จุดที่แตกต่างระหว่าง โกลด์คัพ โทรฟี กับ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ ที่เด่นชัดคือ โทรฟีใช้วัสดุสเตนเลส, สันลำเลื่อนโค้ง, ศูนย์หน้าจุดแดง, นกโปร่ง, หลังอ่อนหางยาว และติดกรอบผายปากรับซองกระสุนที่ส้นด้าม ในขณะที่ เนชันแนล แมทช์ เป็นเหล็กรมดำ ยกเว้นลำกล้องที่เป็นสเตนเลส, ลำเลื่อนมีสันแบบหลังถนน, ศูนย์ยิงเป้าดำทึบ, นกสับและหลังอ่อนแบบปกติ โดยการทำงานของไกทั้งสองรุ่นเหมือนกัน คือกลับไปใช้ของ ซีรีส์ 70 ไม่มีสมอล็อกเข็มแทงชนวน ซึ่งเป็นความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือนักกีฬายิงเป้า เน้นไกคม แต่งง่าย ตัดความยุ่งยากของตัวล็อกเข็ม
โดยรวม โคลท์ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ เป็นปืนทหารที่ปรับแต่งมาจากโรงงานเพิ่มความแม่นยำเพื่อยิงเป้า ยังคงความทนทานตามแบบฉบับปืนเหล็กล้วน ใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งยิงเป้าระดับแข่งขัน, พกซองนอกสำหรับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเฝ้าบ้าน ต่อสู้ป้องกันตัวได้อย่างดี แต่ไม่เหมาะกับการพกในชายเสื้อ เนื่องจากขนาดตัวปืน และศูนย์คมแบบยิงเป้า ข้อดีที่เหนือกว่าปืน 1911 อื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งคือยี่ห้อโคลท์
ต้นตำรับ ยังได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง ขายต่อราคาไม่ตก.
https://www.dailynews.co.th/article/623673/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 859 โคลท์ มาร์คโฟร์ ซีรีส์ 70 โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์
สหรัฐเริ่มโครงการฝึกยิงปืนสำหรับประชาชน (Civilian Marksmanship Program : CMP) ในปี ค.ศ. 1903 ส่วนหนึ่งเพราะความกังวลว่าอาจเกิดสงครามใหญ่ ในปีนั้นกองทัพสหรัฐเพิ่งบรรจุปืนไรเฟิล สปริงฟีลด์ 1903 เข้าประจำการ เป็นปืนที่ใช้ระบบการทำงานแบบลูกเลื่อน ซึ่งเป็นของแปลกใหม่สำหรับชาวอเมริกันยุคนั้น ที่ส่วนใหญ่นิยมปืนแบบคานเหวี่ยง กองทัพบกจึงทำโครงการ CMP ให้ชมรมยิงปืนทั่วประเทศ ช่วยกันจัดสอนและแข่งยิงปืนโดยใช้ปืนทหาร
หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โครงการ CMP ขยายออกครอบคลุมปืนสั้น คือโมเดล 1911 แบบกึ่งอัตโนมัติ ที่จัดว่าเป็นของใหม่เช่นกัน เมื่อมีการแข่งขันจึงมีช่างแสงนำปืนทหารมาแต่งเน้นความแม่นยำกันหลายราย จนถึงปี 1933 บริษัท โคลท์ ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรปืน 1911 จึงเริ่มทำปืนสำหรับยิงเป้าโดยเฉพาะ ใช้โครงปืนและลำเลื่อนเหมือนปืนทหาร เปลี่ยนใส่ลำกล้องคัดพิเศษสำหรับยิงเป้า ติดศูนย์ปรับได้ เรียกชื่อรุ่นว่า National Match ทำขายอยู่จนเข้าสงครามโลกครั้งที่สองจึงหยุดพักชั่วคราว มาเริ่มทำอีกครั้งในปี 1957 เพิ่มชื่อให้เต็มยศเป็น Gold Cup National Match โดยมีจุดแตกต่างจากปืนทหารคือ ลำเลื่อนมีสันเหลี่ยมด้านบน, ลายกันลื่นที่ลำเลื่อนเอียงในแนวเดียวกับด้าม, ติดศูนย์ยิงเป้า, หลังด้ามตรง และภายในใช้ชุดลั่นไกออกแบบพิเศษให้ได้ไกเบาระดับ 3 ปอนด์
โคลท์ จดลิขสิทธิ์ชื่อปืน Gold Cup ไว้เป็นเครื่องหมายการค้า ปืนโกลด์คัพมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ช่วงปี 1970 เพิ่ม ซีรีส์ 70 คือบูชลำกล้องแฉก และปี 1983 เปลี่ยนเป็นซีรีส์ 80 มีตัวล็อกเข็มแทงชนวน ทั้งคู่ใช้ลำเลื่อนสันโค้งเหมือนรุ่นใช้งานปกติ ไม่มีสันเหลี่ยมเหมือนของเดิม และเมื่อเข้าสู่ยุคที่ปืนรณยุทธ์ได้รับความนิยม โคลท์เพิ่มรุ่น Gold Cup Trophy ในแคตตาล็อกเป็นสามรุ่นให้เลือกได้
ล่าสุดตั้งแต่ปี 2017 โคลท์ เลิกทำโกลด์คัพ ซีรีส์ 80 เหลือตัวเลือกเพียงสองตัว คือ โกลด์คัพ โทรฟี สำหรับการแข่งรณยุทธ์ และนายแบบของสัปดาห์นี้ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ ที่ออกแบบสำหรับแข่งระบบเป้านิ่ง ตัวปืนตามกติกาที่ CMP กำหนด
จุดที่แตกต่างระหว่าง โกลด์คัพ โทรฟี กับ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ ที่เด่นชัดคือ โทรฟีใช้วัสดุสเตนเลส, สันลำเลื่อนโค้ง, ศูนย์หน้าจุดแดง, นกโปร่ง, หลังอ่อนหางยาว และติดกรอบผายปากรับซองกระสุนที่ส้นด้าม ในขณะที่ เนชันแนล แมทช์ เป็นเหล็กรมดำ ยกเว้นลำกล้องที่เป็นสเตนเลส, ลำเลื่อนมีสันแบบหลังถนน, ศูนย์ยิงเป้าดำทึบ, นกสับและหลังอ่อนแบบปกติ โดยการทำงานของไกทั้งสองรุ่นเหมือนกัน คือกลับไปใช้ของ ซีรีส์ 70 ไม่มีสมอล็อกเข็มแทงชนวน ซึ่งเป็นความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือนักกีฬายิงเป้า เน้นไกคม แต่งง่าย ตัดความยุ่งยากของตัวล็อกเข็ม
โดยรวม โคลท์ โกลด์คัพ เนชันแนล แมทช์ เป็นปืนทหารที่ปรับแต่งมาจากโรงงานเพิ่มความแม่นยำเพื่อยิงเป้า ยังคงความทนทานตามแบบฉบับปืนเหล็กล้วน ใช้งานได้อเนกประสงค์ ทั้งยิงเป้าระดับแข่งขัน, พกซองนอกสำหรับเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเฝ้าบ้าน ต่อสู้ป้องกันตัวได้อย่างดี แต่ไม่เหมาะกับการพกในชายเสื้อ เนื่องจากขนาดตัวปืน และศูนย์คมแบบยิงเป้า ข้อดีที่เหนือกว่าปืน 1911 อื่น ๆ ที่เป็นคู่แข่งคือยี่ห้อโคลท์
ต้นตำรับ ยังได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง ขายต่อราคาไม่ตก.
https://www.dailynews.co.th/article/623673/
..................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช