เมื่อวันที่ 21 กันยายน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ตามที่มีการคาดการณ์ฉากทัศน์หลังผ่อนคลายมาตรการ 1 เดือน หากไม่มีมาตรการอื่น ตัวเลขจะเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับที่ผ่านมา ตัวเลขผู้ป่วยใหม่ลดลงค่อนข้างช้า เราก็พยายามใช้มาตรการควบคุม ซึ่งชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) ที่แจกให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง คนละ 2 ชุด แม้ไม่สามารถป้องกันโรคได้ แต่ขอให้นำมาใช้ตรวจเพื่อการคัดกรอง รายงานเข้าสู่ระบบทั้งผลลบและผลบวก ซึ่งขณะนี้ จากการติดตามก็พบว่า เตียงเพียงพอ
ส่วนเรื่องโควิด ฟรี เซ็ตติ้ง (Covid Free Setting) ก็มีความสำคัญ รวมถึงการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล หรือ Universal Prevention ด้วย เพราะแม้แต่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ก็ยังติดเชื้อได้ นั่นหมายความว่า เราต้องระวังการติดเชื้อทั้งคนที่ฉีดและยังไม่ฉีดวัคซีน แต่สำหรับคนที่ฉีดก็จะช่วยลดอัตราเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ซึ่งทุกคนต้องตระหนักว่า ตัวเองป่วยแต่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะคนที่ฉีดัวคซีน เมื่อติดเชื้อไม่มีอาการ อาจไว้ใจกัน เปิดหน้าคุยกัน ประมาท ก็เกิดการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
“โดยนโยบายของรัฐบาล เราไม่อยากให้มีการล็อกดาวน์ประเทศอยู่แล้ว เราก็พยายามหามาตรการควบคุมโรคได้โดยไม่ต้องล็อกดาวน์ ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะตั้งแต่คลายล็อกดาวน์ ร้านอาหารเปิดได้ เราก็ดีใจ เศรษฐกิจก็เดินได้ เราก็จะคงสภาพนี้ไว้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ในการช่วยกันดูแลนอกจากตัวเองแล้ว ยังได้ดูแลประเทศ ดูแลคนรอบข้างได้เท่ากับคนในระบบสาธารณสุขดูแล” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
ปลัด สธ. กล่าวว่า การผ่อนคลายมาตรการนั้น อาจใช้ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่มาป็นตัวแปรน้อยลง แต่ดูไปที่ศักยภาพการรองรับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผ่านมา เข้าใจโรคดีขึ้น ได้จัดระบบดูแลรักษาที่บ้านขึ้นมา ดังนั้น ถ้ามีการเจ็บป่วยแล้ว รพ.รับได้ ก็จะไม่เกิดปัญหา เราจะต้องแยกผู้ติดเชื้อ กับผู้เจ็บป่วยออกจากกัน
“เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หากไม่ป่วย ก็ไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ ซึ่งเราคาดการณ์ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประมาณ ร้อยละ 20 ที่ต้องใช้ รพ. ซึ่งที่แสดงให้เห็นในกรุงเทพมหานครติดเชื้อหลัก 1-2 พันราย แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกว่า 10 ล้านคน ก็ถือว่ายังต่ำ โดยเตียงสีแดงในกรุงเทพฯ ก็เหลือหลายร้อยเตียง สีเหลืองเหลือหลักพัน และสีเขียวก็เหลือเยอะมาก ดังนั้น ประชาชนเข้าใจระบบการรักษาดูแลตัวเองที่บ้านแล้ว โดยไม่ให้มีการระบาดในบ้าน ซึ่งทำได้ดี” นพ.เกียรติภูมิ กล่าวและว่า ได้ติดตามสถานการณ์ตัวเลขป่วยใหม่อยู่ว่าจะลดลงถึงไหน ซึ่งคงไม่ถึงศูนย์ แต่ยังมีการติดเชื้อในรูปแบบเอนเดอร์มิก (Endemic) หรือว่า โรคประจำถิ่น เป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวกับวัคซีนที่ต้องฉีดให้ครอบคลุมกับประชากร เช่น กรุงเทพฯ ครอบคลุมคนกว่า ร้อยละ 90 ส่วนผู้สูงอายุครอบคลุมอีก ร้อยละ 90 และเข็มที่ 2 เกือบร้อยล 40
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ดังนั้น กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่แรกๆ ในการเป็นโมเดลโรคประจำถิ่น คือ ระบาดไม่ได้ แต่ทำให้ป่วยหนักไม่ได้ ก็จะนำไปสู่การดูแลประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง เช่นดียวกันกับ จ.ภูเก็ต ดังนั้น 2 พื้นที่นี้ ก็จะเคลื่อนเข้าสู่เอนเดอร์มิกได้เป็นพื้นที่แรกๆ
“เรามีฝ่ายวิชาการที่ติดตามประเมินสถานการณ์โรคประจำถิ่นอยู่ มักเกิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์ ดังนั้น เราต้องมาศึกษาว่า จะทำให้เกิดปรากฎการณ์หนึ่งไปสู่อีกปรากฎการณ์หนึ่งได้อย่างไร เช่น ฉีดวัคซีนครอบคลุม การดูแลรักษาพยาบาลได้อย่างดี ป้องกันตัวเองได้ดี ก็จะกลายเป็นว่าเมื่อโรคไม่ระบาด ระบาดไม่รุนแรง ก็จะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งไทยเราจะทำเป็นประเทศแรกๆ ในการนำแผนต่างๆ มาทำตัวชี้วัด เพื่อกำกับให้เกิดผลลัพธ์ตามคาดหมาย เพื่อให้โรคสงบได้เร็ว แต่เราเพิ่งรู้จักเขาครั้งแรก ก็อาจมีการระบาด การกลายพันธุ์ต่างๆ เราก็ต้องระวังและคำนึงเสมอ” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงการกำหนดเวลาเคลื่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่เราจะทำมาตรการ แผนงานต่างๆ ด้วยการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยมาก ในช่วงนั้นก็หมายถึง เราควบคุมโรคได้ก็จะสอดคล้องกับโรคประจำถิ่น การติดเชื้อไม่ทำให้เราลำบาก เราก็จะมาสนใจกับผู้ป่วยแทน
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2950765
จะได้เลิกใส่หน้ากากกันซะที เบื่อมาก
คนไทยเฮเตรียมประกาศไทยชนะ จัดการโควิดเป็นแค่โรคประจำถิ่น เริ่มจากกทม ภูเก็ต ก่อน
ส่วนเรื่องโควิด ฟรี เซ็ตติ้ง (Covid Free Setting) ก็มีความสำคัญ รวมถึงการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล หรือ Universal Prevention ด้วย เพราะแม้แต่มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ก็ยังติดเชื้อได้ นั่นหมายความว่า เราต้องระวังการติดเชื้อทั้งคนที่ฉีดและยังไม่ฉีดวัคซีน แต่สำหรับคนที่ฉีดก็จะช่วยลดอัตราเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ซึ่งทุกคนต้องตระหนักว่า ตัวเองป่วยแต่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะคนที่ฉีดัวคซีน เมื่อติดเชื้อไม่มีอาการ อาจไว้ใจกัน เปิดหน้าคุยกัน ประมาท ก็เกิดการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
“โดยนโยบายของรัฐบาล เราไม่อยากให้มีการล็อกดาวน์ประเทศอยู่แล้ว เราก็พยายามหามาตรการควบคุมโรคได้โดยไม่ต้องล็อกดาวน์ ซึ่งผมก็เห็นด้วย เพราะตั้งแต่คลายล็อกดาวน์ ร้านอาหารเปิดได้ เราก็ดีใจ เศรษฐกิจก็เดินได้ เราก็จะคงสภาพนี้ไว้ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ในการช่วยกันดูแลนอกจากตัวเองแล้ว ยังได้ดูแลประเทศ ดูแลคนรอบข้างได้เท่ากับคนในระบบสาธารณสุขดูแล” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
ปลัด สธ. กล่าวว่า การผ่อนคลายมาตรการนั้น อาจใช้ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่มาป็นตัวแปรน้อยลง แต่ดูไปที่ศักยภาพการรองรับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผ่านมา เข้าใจโรคดีขึ้น ได้จัดระบบดูแลรักษาที่บ้านขึ้นมา ดังนั้น ถ้ามีการเจ็บป่วยแล้ว รพ.รับได้ ก็จะไม่เกิดปัญหา เราจะต้องแยกผู้ติดเชื้อ กับผู้เจ็บป่วยออกจากกัน
“เช่นเดียวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี หากไม่ป่วย ก็ไม่เรียกว่าเป็นโรคเอดส์ ซึ่งเราคาดการณ์ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประมาณ ร้อยละ 20 ที่ต้องใช้ รพ. ซึ่งที่แสดงให้เห็นในกรุงเทพมหานครติดเชื้อหลัก 1-2 พันราย แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกว่า 10 ล้านคน ก็ถือว่ายังต่ำ โดยเตียงสีแดงในกรุงเทพฯ ก็เหลือหลายร้อยเตียง สีเหลืองเหลือหลักพัน และสีเขียวก็เหลือเยอะมาก ดังนั้น ประชาชนเข้าใจระบบการรักษาดูแลตัวเองที่บ้านแล้ว โดยไม่ให้มีการระบาดในบ้าน ซึ่งทำได้ดี” นพ.เกียรติภูมิ กล่าวและว่า ได้ติดตามสถานการณ์ตัวเลขป่วยใหม่อยู่ว่าจะลดลงถึงไหน ซึ่งคงไม่ถึงศูนย์ แต่ยังมีการติดเชื้อในรูปแบบเอนเดอร์มิก (Endemic) หรือว่า โรคประจำถิ่น เป็นโรคที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวกับวัคซีนที่ต้องฉีดให้ครอบคลุมกับประชากร เช่น กรุงเทพฯ ครอบคลุมคนกว่า ร้อยละ 90 ส่วนผู้สูงอายุครอบคลุมอีก ร้อยละ 90 และเข็มที่ 2 เกือบร้อยล 40
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ดังนั้น กรุงเทพฯ จะเป็นพื้นที่แรกๆ ในการเป็นโมเดลโรคประจำถิ่น คือ ระบาดไม่ได้ แต่ทำให้ป่วยหนักไม่ได้ ก็จะนำไปสู่การดูแลประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง เช่นดียวกันกับ จ.ภูเก็ต ดังนั้น 2 พื้นที่นี้ ก็จะเคลื่อนเข้าสู่เอนเดอร์มิกได้เป็นพื้นที่แรกๆ
“เรามีฝ่ายวิชาการที่ติดตามประเมินสถานการณ์โรคประจำถิ่นอยู่ มักเกิดขึ้นเป็นปรากฎการณ์ ดังนั้น เราต้องมาศึกษาว่า จะทำให้เกิดปรากฎการณ์หนึ่งไปสู่อีกปรากฎการณ์หนึ่งได้อย่างไร เช่น ฉีดวัคซีนครอบคลุม การดูแลรักษาพยาบาลได้อย่างดี ป้องกันตัวเองได้ดี ก็จะกลายเป็นว่าเมื่อโรคไม่ระบาด ระบาดไม่รุนแรง ก็จะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งไทยเราจะทำเป็นประเทศแรกๆ ในการนำแผนต่างๆ มาทำตัวชี้วัด เพื่อกำกับให้เกิดผลลัพธ์ตามคาดหมาย เพื่อให้โรคสงบได้เร็ว แต่เราเพิ่งรู้จักเขาครั้งแรก ก็อาจมีการระบาด การกลายพันธุ์ต่างๆ เราก็ต้องระวังและคำนึงเสมอ” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงการกำหนดเวลาเคลื่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า เรามีจุดมุ่งหมายที่เราจะทำมาตรการ แผนงานต่างๆ ด้วยการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม ไม่ให้ประชาชนเจ็บป่วยมาก ในช่วงนั้นก็หมายถึง เราควบคุมโรคได้ก็จะสอดคล้องกับโรคประจำถิ่น การติดเชื้อไม่ทำให้เราลำบาก เราก็จะมาสนใจกับผู้ป่วยแทน
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_2950765
จะได้เลิกใส่หน้ากากกันซะที เบื่อมาก