🇹🇭มาลาริน💚9มี.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย22,073คน หายป่วย24,747คน ตาย69คน/โควิด77จว./แผน4เดือนถอดโควิดเป็นโรคประจำถิ่น


https://www.sanook.com/news/8529118/

https://www.bangkokbiznews.com/social/992570

เพี้ยนแคปเจอร์สธ.ทำแผน 4 เดือนถอด "โควิด" ออกจากการระบาดใหญ่ เป็นโรคประจำถิ่นตั้งแต่ 1 ก.ค.


คณะกรรมการโรคติดต่อฯ เห็นชอบแผนปรับ "โควิด" เป็นโรคประจำถิ่น สธ.กางแผน 4 เดือน ออกจากโรคระบาดใหญ่ได้ตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป ตั้งอนุกรรมการฯทำมาตรการรองรับ ทั้งการควบคุมโรค การรักษา กฎหมายและสังคม เล็งแก้กฎหมาย 9 ฉบับ ย้ำออกแม้ออกจากโรคประจำถิ่นยังต้องใส่หน้ากาก ตรวจ ATK เข้มป้องกันตัว

เมื่อวันที่ 9 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวัรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบ 4 เรื่อง คือ....🧑‍💻👩‍💻👨‍💻

1.หลักการจัดการตามแผนและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น บนพื้นฐานสุขภาพที่ดีของทุกคนและเศรษฐกิจของประเทศรุดหน้า ไม่ยึดติดไปไหนไม่ได้กับภาวะโรคระบาด ซึ่งประเทศอื่นๆ ก็ใช้นโยบายนี้เช่นกันในการเปลี่ยนผ่านโควิดให้เป็นโรคประจำถิ่น ทั้งนี้ ได้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บริหารจัดการด้านต่างๆ มีมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าออกประเทศ การเฝ้าระวังในประเทศ การสอบสวนโรค การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรค มาตรฐานการรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย มาตรการทางกฎหมายและสังคม เพื่อให้ดำรงชีวิตเป็นปกติภายใต้มาตรการป้องกันตนและเศรษฐกิจเดินหน้าได้ ทั้งนี้ แม้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่นแล้วยังต้องปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโรคอยู่ ทั้งใส่หน้ากาก เลี่ยงการอยู่ในหมู่มาก ล้างมือบ่อยๆ ตรวจ ATK ฉีดวัคซีน ทำให้อัตราเสี่ยงลดลง

2.แผนรณรงค์เร่งฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นช่วงก่อนสงกรานต์ กลุ่มเป้าหมาย 608 ให้มากที่สุด เนื่องจากผู้เสียชีวิตมากกว่า 95% ยังเข้าไม่ถึงวัคซีน และเป็นกลุ่ม 608 ซึ่งตอนนี้ยังมีผู้สูงอายุอีก 2 ล้านคนยังไม่ได้รับวัคซีนเลย ก็พยายามเร่งรัด โดยให้ อสม.ทำความเข้าใจ แม้จะอยู่แต่บ้านไม่รับวัคซีน เพราะคิดว่าไม่ไปไหน แต่คนในบ้านยังออกไปข้างนอกก็มีความเสี่ยงรับเชื้อได้ ขอให้มารับวัคซีนเร็วที่สุด ส่วนคนสุขภาพดีและฉีดวัคซีนแม้ติดเชื้อก็ไม่มีอาการรุนแรง ทั้งนี้ ช่วงสงกรานต์ไม่ได้มีข้อห้ามเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่ขอให้รักษามาตรการป้องกันตนเอง ใส่หน้ากาก เลี่ยงการอยู่ในคนจำนวนมาก ล้างมือ และรับวัคซีน การพบปะในครอบครัวก็จะปลอดภัย ส่วนเข็ม 4 เราพร้อมฉีดให้โดยเฉพาะคนที่สัมผัสผู้คนมากมาย เช่น ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะ พนักงานห้าง ร้านค้า มาแจ้งได้ โดยเว้นจากเข็ม 3 ช่วง 3 เดือนขึ้นไป

3.เร่งรัดการให้วัคซีนหัด หัดเยอรมัน ภายใต้โครงการกำจัดโรคหัด หัดเยอรมัน ตามพันธสัญญานานาชาติ ซึ่งกรมควบคุมโรคจะรับมาดำเนินการต่อไป และ 4.การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ด้วยวิธี Test&Treat เนื่องจากทุกวันนี้เรามียา แต่มีข้อกำหนดต้องให้อายุรแพทย์ด้านตับหรือช่องท้องจ่ายยา แต่ รพ.รัฐทั่วประเทศไม่มีแพทย์ด้านนี้ทุก รพ. ทั้งนี้ เราต้องการให้ผู้ป่วยตับอักเสบซีรับการดูแลตามสิทธิ เข้าถึงยาโดยเร็วและไม่มีข้อจำกัด ดูแลได้ใน รพ.ชุมชน และรพ.ทั่วไป โดยเปิดให้แพทย์ทั่วไป รับการฝึกอบรม เพื่อจ่ายยาและติดตามการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมีอายุรแพทย์ทางเดินอาหารเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ

เมื่อถามถึงการเป็นโรคประจำถิ่นต้องยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินด้วยหรือไม่ นายอนุทินกล่าวว่า อย่ากังวลกับพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเราไม่ได้เอามาปราบจลาจลหรือป้องกันการก่อความไม่สงบ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเรื่องการสู่รบเลย เป็นเรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์การระบาด จะเห็นว่าไม่เคยมารบกวนวิถีชีวิตประชาชนเลย แต่ทำให้บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนทำงานภายใต้ทิศทางเดียวกัน แต่เมื่อเป็นโรคประจำถิ่น ทุกอย่างอยู่ภายใต้มือหมอ ก็จะพิจารณาเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉิน ยืนยันว่านายกฯ ก็ไม่ได้ต้องการให้มีสถานการณ์ฉุกเฉินแม้แต่น้อย แต่ทาง สธ.บอกให้คงไว้ก่อน เพราะมีเรื่องการบริหารสถานการณ์ชายแดน การขอความร่วมมือฝ่ายมั่นคงเมื่อระบาดเยอะๆ สธ.ไม่สามารถสั่งการข้ามหน่วยงานให้ทำงานทันที ไม่ใช่ไม่มีความร่วมมือ แต่เราต้องการให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้ความคุ้มครองกฎหมาย

เมื่อถามถึงแผนและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. กล่าวว่า คณะกรรมการฯ เห็นชอบแผนรองรับการเข้าสู่ Endemic approach แบ่งออกเป็น 4 เดือน เรียกว่า 3 บวก 1 (4 ระยะ) ดังนี้...👨‍💻👩‍💻🧑‍💻

ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้นเม.ย.) เรียกว่า Combatting เป็นระยะต่อสู้ ออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เพื่อลดการระบาดและความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2 พันราย และอีกบวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
“แผนดำเนินการทั้งหมดจะต้องการให้เกิดภายใน 4 เดือน โดยจะมีคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการควบคุมโรค คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการรักษา คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับกฎหมายและสังคม ซึ่งต้องแก้กฎหมายประมาณ 9 ฉบับ อย่างสังคมจะมีลักษณะอย่างไร ปรับตัวอย่างไร ก็จะมีแนวทางออกมา เช่น COVID Free Setting ต้องยกเป็นมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งต้องรอรายละเอียดต่างๆ ออกมา” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การควบคุมอัตราการเสียชีวิตเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นต้องไม่เกิน 1 ในพันราย หรือ 0.1% ซึ่งปัจจุบันเราอยู่ที่ 0.19-0.2% จึงยังไม่ถึงเป้าที่กำหนด เพราะคนเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็น 608 ซึ่งต้องลดให้ได้ 0.1% หรือครึ่งหนึ่ง

เมื่อถามว่าผู้เสียชีวิตจากโควิดจริงๆเท่าไร นพ.โอภาส กล่าวว่า รายละเอียดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องให้หมอกรอกข้อมูลเข้ามา แต่เท่าที่ดูประมาณสัก 20-30% อาจไม่เกี่ยวกับโควิดโดยตรง เพราะไม่ได้ลงปอด อย่างบางรายติดเตียง ท้องเสียและเสียชีวิต แต่เมื่อตรวจ ATK พบบวก อย่างไรก็ตาม การตรวจเจอโควิดที่เสียชีวิตอาจไม่ใช่โควิด เพราะหลังๆมีโรคประจำตัว อย่างไตวาย มีภาวะติดเตียงไม่มีคนดูแล โรคมะเร็งระยะสุดท้าย จึงต้องเคลียร์ตัวเลขเสียชีวิตตรงนี้ ซึ่งอาจลดลงได้ 20-30% สิ่งสำคัญกลุ่ม 608 ต้องเร่งฉีดวัคซีนโควิดให้กลุ่มนี้ อย่างกลุ่มติดเตียง ก็ไม่อยากพาไปฉีด เพราะกลัวเป็นไข้ และหลายคนเข้าใจว่าอยู่กับบ้านไม่น่าติด เรื่องนี้จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจ

ถามถึงการเตรียมใช้ UCEP COVID Plus ที่จะเริ่มวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะออกประกาศเมื่อไร นายอนุทินกล่าวว่า มติ ครม.UCEP COVID Plus อาการสีเหลืองและแดงรับบริการแบบฉุกเฉิน เราไม่ได้ตัดสิทธิ เราทำให้คนควรได้เตียงและได้เตียง คนไม่ต้องเข้าถึงเตียงก็ดูแลตัวเองที่บ้าน เหมือนที่ผู้ติดเชื้อทุกคนไม่จำเป็นต้องรับยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งประกาศตนลงนามไปแล้ว แต่จะมีการปรับแก้รายละเอียดวันที่ 16 มี.ค. แล้วจึงออกประกาศ โดยกลุ่มสีเขียวก็จะปรับไป รักษาฟรีตามสิทธิ

https://mgronline.com/qol/detail/9650000023380


https://mgronline.com/qol/detail/9650000023380

เพี้ยนปูเสื่อติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

วันนี้จำนวนผู้หายป่วยมากกว่าป่วยใหม่  แต่ยอดเสียชีวิตยังสูงตามจำนวนผู้ป่วย

สธ.เตรียมแผน 4 เดือน ทำให้ยอดเสียชีวิตลดลง เพื่อปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นในเดือนกรกฎาคม

.....เพี้ยนแข็งแรงเพี้ยนขอบคุณ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 17

กรมอนามัย ร่วมกับเครือข่าย แก้ปัญหาขยะติดเชื้อล้น แนะทิ้งถูกวิธี ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/324248923070785


ศธ. ยืนยัน ภาคเรียนที่ 1/2565 จะยังให้เปิดเรียนออนไซต์ตามปกติ พร้อมปรับแผนการฉีดวัคซีนนักเรียนให้สะดวกยิ่งขึ้น

นายสุภัทร  จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้บริหาร ศธ. ได้ติดตามความคืบหน้าการฉีดวัคซีนนักเรียนอายุ 12-18 ปี และนักเรียนอายุ 5-12 ปี ในส่วนของนักเรียนอายุ 12-18 ปี ฉีดเข็ม 1 ไปแล้ว 96% เข็ม 2 จำนวน 75% ถือว่าค่อนข้างช้า เพราะตามกำหนดเดือนมีนาคม ควรจะฉีดได้ครบ100%  เบื้องต้นคาดว่าไม่มีการจัดประชาสัมพันธ์เพียงพอ และไม่มีการจัดสถานที่ฉีดที่แน่นอน แต่เป็นการนัดหมายให้เด็กไปฉีด อีกส่วนเป็นเรื่องค่าเดินทาง ที่ต้องหาแนวทางแก้ไข เพราะหลังเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในเดือนพฤษภาคม จะต้องเริ่มฉีดบูสเตอร์โดสหรือเข็ม 3

แนวทางแก้ปัญหา เท่าที่หารืออาจจะต้องมีการจัดมหกรรม และอาจให้ฉีดเข็ม 2 ให้ครบในช่วงที่เด็กไปมอบตัวที่โรงเรียน เพื่อจะได้วางแผนฉีดเข็ม 3 ต่อไป คาดว่าจะได้รับวัคซีนประมาณ 2-3 ล้านโดส ตรงนี้ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้ สธ. ได้เตรียมความพร้อมด้วย ส่วนเด็กอายุ 5-12 ปี ขณะนี้ฉีดเข็ม 1 ได้ 4.4 แสนคน ซึ่งก็จะดำเนินการฉีดเรื่อย ๆ คาดว่าจะสามารถฉีดได้ครบตามที่ลงทะเบียนในช่วงเปิดภาคเรียน

ยืนยัน ณ ตอนนี้ ว่า ภาคเรียนที่ 1/2565 จะยังให้เปิดเรียนออนไซต์ตามปกติ เพราะตามที่สธ. ได้คาดการณ์ไว้ว่าประมาณกลางเดือนมีนาคม จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง และยังเหลือเวลาอีก 2 เดือนกว่าจะเปิดเทอม ก็ไม่น่ามีปัญหา หากเปิดเทอมไปแล้วมีปัญหา โรงเรียนก็สามารถตัดสินใจปรับวิธีการเรียนการสอนได้
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/324040906424920


เร่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแก่หญิงตั้งครรภ์

• เร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 เชิงรุกแก่หญิงตั้งครรภ์
• กรณีที่ยังไม่สมัครใจฉีดวัคซีน ขอให้ฉีดบุคคลในครอบครัวให้ครบก่อน
• กรณีฉีดเข็มที่ 1 ให้หญิงตั้งครรภ์ สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ทุกอายุครรภ์ และสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่น ๆ ที่จำเป็นในขณะตั้งครรภ์ได้
• หญิงที่มาคลอดและยังไม่เคยได้รับวัคซีน ให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ก่อนกลับบ้าน

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/7427350457282600


ตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด คือติดเชื้อโควิด19 ต้องทำอย่างไร?

กรณีไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย แนะเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยนอก (เจอ แจก จบ) และแยกกักตัวที่บ้าน 7+3 วัน ตามโดยติดต่อรับบริการที่โรงพยาบาลตามสิทธิรักษาหรือสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน เพื่อไม่ให้เสียเวลาควรโทรนัดหมายก่อน

กรณีต้องการเข้าระบบรักษาที่บ้าน (Home Isolation) ลงทะเบียนที่ https://crmsup.nhso.go.th/#TicketHI
หรือ ไลน์ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 หากลงทะเบียนเกิน 6 ชั่วโมง แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ แนะนำไปสถานพยาบาลตามสิทธิหรือสถานพยาบาลภาครัฐใกล้บ้าน เพื่อรักษาแบบผู้ป่วยนอก เจอ แจก จบ

กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 โทรติดต่อช่องทางใดช่องทางหนึ่ง
- พื้นที่กทม. สายด่วนแต่ละเขต (https://bit.ly/3FBOgvw) หรือเพิ่มเพื่อนไลน์ @BKKCOVID19CONNECT
- พื้นที่ต่างจังหวัด สายด่วนเกี่ยวกับโควิด-19 ประจำอำเภอหรือจังหวัด
https://www.facebook.com/Rachadaspoke/posts/378349950961727


ครม.เห็นชอบปรับเกณฑ์ UCEP Plus โรคโควิด19  เริ่ม16 มี.ค.นี้ ผู้ป่วยโควิดเหลือง-แดงรักษาได้ทุก รพ. ไม่มีเงื่อนไข 72 ชม.

ครม.เห็นชอบหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคโควิด-19 มีผลบังคับตั้งแต่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป  โดยกำหนดให้

1. ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีน้อยและอาการไม่รุนแรง จะไม่นับเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต แต่สามารถเข้ารับการรักษาฟรี! ในโรงพยาบาลตามสิทธิของแต่ละคน อาทิ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ  และแนะนำให้เข้าระบบการรักษาแบบ Home Isolation(HI)  หรือ Community Isolation(CI) หรือ Hotel Isolation

2. ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองและสีแดง ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเข้าเกณฑ์วิกฤตฉุกเฉินตามเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้กำหนดแนวทางและเกณฑ์ประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉินไว้แล้ว  สามารถใช้สิทธิ UCEP Plus เข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่มีกำหนดระยะเวลา 72 ชั่วโมงแรก และเปิดโอกาสให้มีการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงจากโรงพยาบาลหนึ่งไปเข้ารับการรักษาใน ICU ของอีกโรงพยาบาลได้ภายหลัง 72 ชั่วโมงแรกด้วย  

3. กำหนดให้สถานพยาบาลต้องจัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉิน เพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของสถานพยาบาลโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษา และให้สถานพยาบาลแจ้งต่อกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนหรือจากส่วนราชการ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทราบโดยเร็ว
https://www.facebook.com/Rachadaspoke/posts/378294680967254


รพ.พระมงกุฎ  เปิดศูนย์รักษาผู้ป่วยโควิด "เจอแจกจบ" รับผู้ที่ลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้าเท่านั้น!

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เปิดศูนย์ดูแลผู้ป่วยโควิด พร้อมให้บริการผู้ป่วยที่มีผลตรวจ RT-PCR หรือ ATK เป็นบวก คือ ติดเชื้อโควิด19 สามารถเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ เจอแจกจบ ได้  โดยจะต้องลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้า 1 วัน เท่านั้น! ด้วยการสแกน QR Code ตามภาพ แล้วทำตามขั้นตอน

ย้ำ! โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์รับเฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติมโทร.02-763-9300
https://www.facebook.com/Rachadaspoke/posts/378451834284872


คกก.โรคติดต่อแห่งชาติเคาะ! แผนโควิด 4 ระยะ จากโรคระบาดสู่โรคประจำถิ่น 1 ก.ค.นี้

#คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบแผนบริหารจัดการ #โควิด19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น (Endemic approach) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ (4 เดือน) หรือเรียกว่า 3 บวก 1 ดังนี้

ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.65) เรียกว่า Combatting เป็นระยะต่อสู้ ต้องกดตัวเลขผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงกว่านี้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง โดยจะมีมาตรการต่างๆ ออกไป

ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.65) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อย

ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.65) เรียกว่า Declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000 - 2,000 ราย

ระยะ 4 (บวก 1) ตั้งแต่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาดเข้าสู่โรคประจำถิ่น

สำหรับการควบคุมอัตราการเสียชีวิตเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นนั้น ต้องไม่เกิน 1 ใน 1,000 ราย โดยปัจจุบันไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโควิดเฉลี่ย 0.19% จนถึง 0.2%  แต่ถ้าเข้าสู่โรคประจำถิ่น จะต้องมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 0.1%  ซึ่งยังไม่สามารถลดให้ถึงเป้าที่กำหนดได้ เพราะผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม 608  

ทั้งนี้ หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โรคโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ตั้งแต่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/378474947615894
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่