นายแบบสัปดาห์นี้ เป็น รูเกอร์ แอลซีพีที่พัฒนาใหม่หมด คือ LCP II จากเดิมที่เน้นความเนียน ลบเหลี่ยมมุมรอบตัว ปรับให้ดูเข้มกว่าเดิม เพิ่มความแข็งแรงดุดัน ระบบไกเปลี่ยนจากดับเบิลทุกนัดที่หนักและลากยาว เป็นซิงเกิลทุกนัด
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ตัวเล็กจิ๋วขนาดฝ่ามือปิดมิด แต่เดิมใช้ระบบลำเลื่อนอัดสปริง ไม่ขัดกลอน อาศัยน้ำหนักของลำเลื่อนกับแรงสปริงต้านเป็นตัวหน่วงเวลา ให้หัวกระสุนพ้นปลายลำกล้องก่อนปลอกกระสุนพ้นท้ายรังเพลิง เมื่อตัวปืนเล็ก ลำเลื่อนเล็กลงตามส่วน จึงจำเป็นต้องใช้สปริงต้านลำเลื่อนค่อนข้างแข็ง และเป็นข้อจำกัดให้ใช้กระสุนขนาดเล็ก ความแรงต่ำ ปกติจะเป็นขนาด .25 ACP (6.35 มม.) หรือ .22 ลูกกรด
โคลท์ เป็นรายแรกที่นำระบบขัดกลอนแบบลำกล้องกระดกมาใช้กับปืนตัวเล็ก คือ มัสแตง พ็อคเก็ตไลท์ ทำให้สามารถใช้กระสุนใหญ่ขึ้นมาในระดับ .380 ACP ซึ่งต่อมาทั้ง ซิก และคิมเบอร์ นำแบบเดียวกันไปผลิต ใช้โครงอัลลอย ได้น้ำหนักตัวปืนไม่ถึง 400 กรัม ต่อมามี คาห์ กับ เคล-เทค ใช้โครงโพลิเมอร์ควบคู่ไปกับการทำงานแบบขัดกลอน ทำให้ได้ตัวปืนเบาลงไปอีก คือ คาห์ .380 หนัก 320 กรัม และ เคล-เทค เบาสุดในตลาด หนักเพียง 260 กรัม
รูเกอร์ เริ่มจับตลาดปืนเล็กจิ๋วในปี 2008 ด้วยรุ่น LCP ซึ่งเป็นตัวย่อจาก Light, Compact Pistol ตั้งใจทำให้เล็กและเบา ใช้กระสุน .380 เช่นเดียวกัน ลำกล้อง 2.75 นิ้ว เท่า ๆ กัน ใช้วัสดุไนลอนเสริมใยแก้วเป็นโครงปืน หุ้มรางเหล็กไว้ด้านใน น้ำหนักตัวปืนเพียง 275 กรัม เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ เคล-เทค ด้วยระบบไกดับเบิลล้วน ใช้นกสับซ่อนในเหมือน ๆ กัน เทียบกับ คาห์ ใช้ระบบเข็มพุ่ง ไกกึ่งดับเบิลเหมือนปืนกล็อก สามยี่ห้อนี้ไม่จำเป็นต้องมีห้ามไก ส่วน โคลท์/ซิก/คิมเบอร์ ใช้ระบบนกสับ, ไกซิงเกิลล้วนคือขึ้นลำแล้วนกง้างสุด มีคันห้ามไกด้านนอก
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็น รูเกอร์ แอลซีพีที่พัฒนาใหม่หมด คือ LCP II จากเดิมที่เน้นความเนียน ลบเหลี่ยมมุมรอบตัว ปรับให้ดูเข้มกว่าเดิม เพิ่มความแข็งแรงดุดัน ระบบไกเปลี่ยนจากดับเบิลทุกนัดที่หนักและลากยาว เป็นซิงเกิลทุกนัด เพิ่มกระเดื่องหน้าไกทำงานเป็นคันนิรภัย และจุดที่โดดเด่นคือศูนย์หน้าหลังเนื้อเดียวกับลำเลื่อน ขนาดใหญ่เล็งง่ายเหมือนศูนย์ปืนยิงเป้า น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากรุ่นแรกเพียงเล็กน้อย ชั่งได้ 305 กรัม
แม้ว่าระบบการทำงานของไกจะเป็นแบบซิงเกิลล้วน แต่จากการออกแบบให้เซียร์จับค่อนข้างหนา และมุมเกาะเป็นบวก คือเมื่อเหนี่ยวไกแล้วนกจะง้างขึ้นอีกเล็กน้อย ทำให้ระดับความปลอดภัยเหมือนระบบเข็มง้างครึ่งทางของปืนกล็อก ข้อเสียคือไกหนักกว่าแบบมุมเกาะเป็นศูนย์ที่นกไม่ขยับ แต่จากผลการยิงจัดว่าดีมาก ถ้าจะแต่งไกควรทำเพียงขัดผิวให้เงา ไม่ควรแก้มุมเซียร์หรือลดสปริงนกสับในด้านความแรงของกระสุน .380 นี้ น้ำหนักหัวกระสุน 90-95 เกรน ยิงจากลำกล้องสั้น 2.75 นิ้ว ได้ความเร็วประมาณ 900 ฟุต/วินาที พลังงานระดับ 160 ฟุต-ปอนด์ เทียบได้กับปืนลูกโม่ลำกล้องสองนิ้ว ที่เป็นมาตรฐานของปืนพกซ่อน ใช้ลูก .38 สเปเชียล หัวกระสุน 158 เกรน ที่ทำความเร็วได้ 660 ฟุต/วินาที พลังงาน 153 ฟุต-ปอนด์
โดยรวม รูเกอร์ LCP II เป็นปืนในกลุ่มเล็กและเบาที่สุดในตลาด การทำงานระบบกึ่งอัตโนมัติ ขัดกลอนด้วยลำกล้องกระดกหน่วงเวลาเปิดลำเลื่อน ช่วยให้ใช้สปริงลำเลื่อนนิ่มขึ้นลำง่าย จุดเด่นคือการทำงานที่ไว้ใจได้ ศูนย์เล็งคมชัด ผลการยิงดีมากสำหรับตัวปืนเบาเพียง 300 กรัม กระสุนหน้าตัดใหญ่และให้ความแรงระดับเดียวกับลูกโม่ .38 ลำกล้องสั้น แต่ได้เปรียบจำนวนกระสุน 6+1 นัด และแบนบางพกสะดวกมาก วัสดุและการแต่งผิวช่วยให้ดูแลรักษาง่าย โครงสร้างแข็งแรงดีมากเมื่อเทียบกับปืนน้ำหนักตัวเท่า ๆ กัน.
https://www.dailynews.co.th/article/574804/
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 847 รูเกอร์ แอลซีพี มาร์คทู เล็ก เบา ไกซิงเกิล
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ตัวเล็กจิ๋วขนาดฝ่ามือปิดมิด แต่เดิมใช้ระบบลำเลื่อนอัดสปริง ไม่ขัดกลอน อาศัยน้ำหนักของลำเลื่อนกับแรงสปริงต้านเป็นตัวหน่วงเวลา ให้หัวกระสุนพ้นปลายลำกล้องก่อนปลอกกระสุนพ้นท้ายรังเพลิง เมื่อตัวปืนเล็ก ลำเลื่อนเล็กลงตามส่วน จึงจำเป็นต้องใช้สปริงต้านลำเลื่อนค่อนข้างแข็ง และเป็นข้อจำกัดให้ใช้กระสุนขนาดเล็ก ความแรงต่ำ ปกติจะเป็นขนาด .25 ACP (6.35 มม.) หรือ .22 ลูกกรด
โคลท์ เป็นรายแรกที่นำระบบขัดกลอนแบบลำกล้องกระดกมาใช้กับปืนตัวเล็ก คือ มัสแตง พ็อคเก็ตไลท์ ทำให้สามารถใช้กระสุนใหญ่ขึ้นมาในระดับ .380 ACP ซึ่งต่อมาทั้ง ซิก และคิมเบอร์ นำแบบเดียวกันไปผลิต ใช้โครงอัลลอย ได้น้ำหนักตัวปืนไม่ถึง 400 กรัม ต่อมามี คาห์ กับ เคล-เทค ใช้โครงโพลิเมอร์ควบคู่ไปกับการทำงานแบบขัดกลอน ทำให้ได้ตัวปืนเบาลงไปอีก คือ คาห์ .380 หนัก 320 กรัม และ เคล-เทค เบาสุดในตลาด หนักเพียง 260 กรัม
รูเกอร์ เริ่มจับตลาดปืนเล็กจิ๋วในปี 2008 ด้วยรุ่น LCP ซึ่งเป็นตัวย่อจาก Light, Compact Pistol ตั้งใจทำให้เล็กและเบา ใช้กระสุน .380 เช่นเดียวกัน ลำกล้อง 2.75 นิ้ว เท่า ๆ กัน ใช้วัสดุไนลอนเสริมใยแก้วเป็นโครงปืน หุ้มรางเหล็กไว้ด้านใน น้ำหนักตัวปืนเพียง 275 กรัม เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ เคล-เทค ด้วยระบบไกดับเบิลล้วน ใช้นกสับซ่อนในเหมือน ๆ กัน เทียบกับ คาห์ ใช้ระบบเข็มพุ่ง ไกกึ่งดับเบิลเหมือนปืนกล็อก สามยี่ห้อนี้ไม่จำเป็นต้องมีห้ามไก ส่วน โคลท์/ซิก/คิมเบอร์ ใช้ระบบนกสับ, ไกซิงเกิลล้วนคือขึ้นลำแล้วนกง้างสุด มีคันห้ามไกด้านนอก
นายแบบสัปดาห์นี้ เป็น รูเกอร์ แอลซีพีที่พัฒนาใหม่หมด คือ LCP II จากเดิมที่เน้นความเนียน ลบเหลี่ยมมุมรอบตัว ปรับให้ดูเข้มกว่าเดิม เพิ่มความแข็งแรงดุดัน ระบบไกเปลี่ยนจากดับเบิลทุกนัดที่หนักและลากยาว เป็นซิงเกิลทุกนัด เพิ่มกระเดื่องหน้าไกทำงานเป็นคันนิรภัย และจุดที่โดดเด่นคือศูนย์หน้าหลังเนื้อเดียวกับลำเลื่อน ขนาดใหญ่เล็งง่ายเหมือนศูนย์ปืนยิงเป้า น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากรุ่นแรกเพียงเล็กน้อย ชั่งได้ 305 กรัม
แม้ว่าระบบการทำงานของไกจะเป็นแบบซิงเกิลล้วน แต่จากการออกแบบให้เซียร์จับค่อนข้างหนา และมุมเกาะเป็นบวก คือเมื่อเหนี่ยวไกแล้วนกจะง้างขึ้นอีกเล็กน้อย ทำให้ระดับความปลอดภัยเหมือนระบบเข็มง้างครึ่งทางของปืนกล็อก ข้อเสียคือไกหนักกว่าแบบมุมเกาะเป็นศูนย์ที่นกไม่ขยับ แต่จากผลการยิงจัดว่าดีมาก ถ้าจะแต่งไกควรทำเพียงขัดผิวให้เงา ไม่ควรแก้มุมเซียร์หรือลดสปริงนกสับในด้านความแรงของกระสุน .380 นี้ น้ำหนักหัวกระสุน 90-95 เกรน ยิงจากลำกล้องสั้น 2.75 นิ้ว ได้ความเร็วประมาณ 900 ฟุต/วินาที พลังงานระดับ 160 ฟุต-ปอนด์ เทียบได้กับปืนลูกโม่ลำกล้องสองนิ้ว ที่เป็นมาตรฐานของปืนพกซ่อน ใช้ลูก .38 สเปเชียล หัวกระสุน 158 เกรน ที่ทำความเร็วได้ 660 ฟุต/วินาที พลังงาน 153 ฟุต-ปอนด์
โดยรวม รูเกอร์ LCP II เป็นปืนในกลุ่มเล็กและเบาที่สุดในตลาด การทำงานระบบกึ่งอัตโนมัติ ขัดกลอนด้วยลำกล้องกระดกหน่วงเวลาเปิดลำเลื่อน ช่วยให้ใช้สปริงลำเลื่อนนิ่มขึ้นลำง่าย จุดเด่นคือการทำงานที่ไว้ใจได้ ศูนย์เล็งคมชัด ผลการยิงดีมากสำหรับตัวปืนเบาเพียง 300 กรัม กระสุนหน้าตัดใหญ่และให้ความแรงระดับเดียวกับลูกโม่ .38 ลำกล้องสั้น แต่ได้เปรียบจำนวนกระสุน 6+1 นัด และแบนบางพกสะดวกมาก วัสดุและการแต่งผิวช่วยให้ดูแลรักษาง่าย โครงสร้างแข็งแรงดีมากเมื่อเทียบกับปืนน้ำหนักตัวเท่า ๆ กัน.
https://www.dailynews.co.th/article/574804/
...................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช