ชาวเลราไวย์ โอดถูกล้อมสังกะสี 14 วัน ขาดรายได้ ลั่นอย่าช่วยแต่กลุ่มทุนแซนด์บ็อกซ์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6626366
ชาวเลราไวย์ 2,000 กว่าคน ถูกล้อมสังกะสีปิด 14 วัน ออกไปทำมาหากินไม่ได้ ขาดรายได้ ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ลั่นอย่าช่วยแต่กลุ่มทุนแซนด์บ็อกซ์
เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2564 นาย
สนิท แซ่ซั่ว ชาวเลชุมชนหาดราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า จากกรณีจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งปิดชุมชนชาวเลราไวย์ ตั้งแต่วันที่ 15-28 ก.ย. ตามมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านกว่า 2,000 คน หรือกว่า 300 ครัวเรือน ถูกกักตัวอยู่ภายในชุมชนเป็นเวลา 14 วัน
โดยจะมีมาตรการตรวจคัดกรองโรคชาวบ้านทุกคน และฉีดวัคซีนแก่กลุ่มุผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางให้ครบทุกคน คาดว่าหากดำเนินการตามมาตรการเสร็จสิ้น จะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ผู้ติดเชื้อให้ลงลด และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาครบทุกคน
นาย
สนิท กล่าวต่อว่า ล่าสุดตัวเลขผู้ติดเชื้อประมาณ 260 ราย แต่ละครัวเรือนพบผู้ติดเชื้อเพิ่มไม่มากนักในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่เข้ามาคัดกรองและแยกผู้ติดเชื้อ และในวันจันทร์ที่ 20 ก.ย. ทีมแพทย์จะเข้ามาฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางให้ครบ เพราะบางคนยังไม่ได้วัคซีน และมีผู้สูงอายุเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย
นาย
สนิท กล่าวอีกว่า การปิดชุมชนล้อมรอบด้วยสังกะสี 14 วัน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านทุกคน เพราะอาชีพหลักคือการหาปลาและขายปลา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มานานเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ชาวบ้านจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ
“อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต(พมจ.ภูเก็ต) ให้การช่วยเหลือเร่งด่วนกับกลุ่มเปราะบาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า รวมถึงเตรียมแผนการฟื้นฟูวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนชาวเลด้วย ไม่ใช่ออกนโยบายภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เพื่อดูแลกลุ่มธุรกิจเพียงอย่างเดียว”
นาย
สนิท กล่าวต่อว่า ชาวบ้านทุกคนอึดอัดที่ต้องถูกปิดชุมชนแบบนี้ แต่เรามีการคุยกันภายในทุกวัน ใครมีปัญหาอะไรก็พยายามเสนอให้หน่วยงาน แต่การแจกข้าวสารอาหารแห้งอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะยังต้องการของใช้จำเป็นส่วนตัว เช่น นมเด็ก ผ้าอนามัย แต่ชาวบ้านพยายามให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงการช่วยเหลือก่อน ที่สำคัญปัญหารายได้ บางคนยังพอหาปลาหาหอยได้ แต่ไม่สามารถส่งขาย น่าจะพอมีทางส่งต่อปลาถึงคนซื้อ หรือ พมจ.ควรจะชดเชยรายได้แก่ชาวบ้านในชุมชนอย่างน้อยรายละ 2,000 บาท โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และคนตกงาน
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก :
Wichot Kraithep
https://www.facebook.com/wichot.kraithep
จวกเละ! เสนอตัดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า ให้แค่คนจน อ้างประหยัดงบ ชี้รัฐถอยหลังลงคลอง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2945186
จวกเละ! เสนอตัดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า ให้แค่คนจน อ้างประหยัดงบ ชี้รัฐถอยหลังลงคลอง
เมื่อวันที่ 17 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กบำนาญแห่งชาติ ได้โพสต์เรื่องหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งมี นพ.
วิชัย โชควิวัฒน รองประธานอนุกรรมการคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (ผส.) เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ปรากฏข้อหารือสำคัญคือ การหารือเพื่อกำหนดการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งระบุว่า “
มีแนวโน้มว่า จะให้จ่ายเบี้ยยังชีพเฉพาะกลุ่มคนยากจน” ซึ่งกำลังถูกวิพาก์วิจารณ์หนักในโลกออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันเป็นสวัสดิการให้ถ้วนหน้านั้น
แหล่งข่าวที่ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ครั้งที่ 1/2564 กล่าวว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่องดังกล่าวจริง แต่ยังเป็นเพียงข้อเสนอที่เมื่อพูดขึ้นมาก็ถูกถกเถียงหนักมาก เพราะคอนเซ็ปต์รัฐสวัสดิการผิดไปหมด จริงๆ มีหลากหลายความคิดเห็น บางคนก็มองว่าหากให้ถ้วนหน้า ผู้สูงอายุบางคนที่ได้สวัสดิการบำนาญอื่นๆ ของรัฐ ก็จะได้ซ้ำซ้อน ฉะนั้นต้องให้เฉพาะคนยากจน เพื่อจะไม่เปลืองงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะตอนนี้เป็นเพียงหลักการ ที่หากจะขับเคลื่อนต้องไปหาแนวปฏิบัติ ซึ่งคงขับเคลื่อนไม่ง่ายในเร็วๆ นี้
ขณะที่ กองประชาสัมพันธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงว่า คณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแสวงหาแนวทาง ในการดำเนินการเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่วนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ยังเป็นขั้นตอนที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุและสังคมสูงวัยของประเทศไทย
วันเดียวกัน มีการจัดเสวนาออนไลน์เรื่อง อยากมีรัฐสวัสดิการ ทำไมต้องเริ่มที่บำนาญแห่งชาติ ผ่านเพจเฟซบุ๊กบำนาญแห่งชาติ ซึ่งมีประเด็นพูดคุยถึงการประชุมดังกล่าว โดย นาย
นิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network) กล่าวว่า เครือข่ายจะจับตาแนวคิดหรือกระบวนการทำงานกระทรวง พม. ผ่านคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีการประชุมและตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการรับบำนาญทับซ้อนของผู้สูงอายุ ด้วยการเลือกให้เบี้ยผู้สูงอายุยากจนเพื่อแก้ปัญหานี้ ก็ฝากทุกคนช่วยตามดูว่ารัฐที่มาจาก คสช. รัฐที่ยังมีอำนาจสืบต่อ รัฐที่ผ่านคะแนนเสียงไว้วางใจในสภาแบบปริ่มๆ เราจะดูว่าเขาจะดำเนินการอย่างไร มันจะถอยหลังลงคลองไหม
ขณะที่
หนูเกณฑ์ อินทจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า แทนที่จะคิดว่าเบี้ยผู้สูงอายุมันน้อย ผู้คนต่างลำบากจากโควิด-19 จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเพิ่มเบี้ยขึ้น เพื่อตัวเองได้คะแนนเสียง กลายเป็นว่าถอยหลังลงคลอง รัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็มาจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เริ่มต้นให้เบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า แล้วจะมาปรับ เอาอะไรมาคิด ปัจจุบันผู้สูงอายุลำบากขนาดไหน หากบอกว่ากลัวรับเบี้ยและสวัสดิการของรัฐซ้ำซ้อน จริงๆ ก็เป็นสิทธิของลูกเขาที่พ่อแม่ควรได้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีภาระทางบบประมาณ ก็ควรมาพูดคุยกับประชาชนก่อน ไม่ใช่จู่ๆ จะมาบอกว่าไม่ให้ ให้เฉพาะคนจน แล้วสุดท้ายต้องมาคัดคนได้สิทธิ อย่างนี้มันไม่ใช่สวัสดิการ
https://www.facebook.com/pension4all/videos/259812566013390/
"วิโรจน์" ชี้ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ ไม่มีที่อยากเห็น เป็นแค่ทาสีใหม่บนกะลาใบเก่า
https://www.thairath.co.th/news/politic/2196266
วันที่ 17 ก.ย. 64 ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ นาย
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า บทบาทของการศึกษาในโลกยุคใหม่ ต้องเป็นการเอาโจทย์ของโลกอนาคต มาใช้เตรียมคนในยุคปัจจุบัน เพื่อทำให้เด็ก และประชาชนทุกคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย มีความพร้อมในการเรียนรู้ และมีอธิปไตยในการเรียนรู้เป็นของตนเอง ให้กลายเป็นขีดความสามารถที่พร้อมแข่งขัน และร่วมมือกับใครก็ได้ในโลก
"การศึกษา จึงไม่ใช่กระบวนการในการสร้างให้ใคร มาเป็นแรงงานรับใช้ใครอีกต่อไป ปัจจุบันเขาเลิกที่จะถามเด็กๆ กันแล้วว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ในอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะมีอาชีพอะไรสูญสลายหายไปบ้าง และจะมีอาชีพอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง การศึกษา ไม่ใช่การเอาโจทย์ของอดีตของคนที่เกิดก่อน มาบงการให้คนที่เกิดทีหลัง ว่าต้องเรียนอย่างนั้น โตขึ้นมาแล้วต้องเป็นอย่างนี้ นี่ไม่ใช่การศึกษา แต่เป็นกระบวนการผลิตเป็นก้อนอิฐที่หายใจได้ ที่จะถูกเอาไปก่อเป็นกำแพงเพื่อทานกระแสโลก ซึ่งทานอย่างไรก็ทานไม่ได้"
ทั้งนี้
วิโรจน์ จึงกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่สังคมอยากเห็นใน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คือ การศึกษาที่เป็นระบบในการพัฒนาคน ทำให้เด็กๆ มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ควรมีระบบการคัดเลือกแบบแพ้คัดออก แต่อยากเห็นการกระจายอำนาจ ให้กับโรงเรียน ได้ตัดสินใจในการจัดการการศึกษาให้สอดรับกับบริบทพื้นที่ แต่ร่างฉบับนี้ กลับรวมศูนย์อำนาจมาที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งพยายามที่จะเอากะลามาครอบประเทศนี้ให้ได้
เนื่องจากสิ่งที่อยากเห็น คือการศึกษา ที่เลิกโยนบาปไปที่พ่อแม่ และความไม่พร้อมของครอบครัวมาเป็นข้ออ้างเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเหลื่อมล้ำ แต่ควรเอามาเป็นโจทย์ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับเด็กทุกคน ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของนักเรียน ไม่ใช่แค่หลักสูตร และอยากเห็นการศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับ สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางเพศ ลดงานธุรการ เพื่อคืนครูสู่ห้องเรียน
"เราจะยอมรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่เป็นเพียงการเอาสีที่สดใส มาทาลงบนกะลาใบเก่าให้ดูใหม่ได้อย่างไร นี่จึงเป็นเหตุผล ที่ผมไม่อาจยอมรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่เสแสร้งแกล้งทันสมัยฉบับนี้ได้จริงๆ" วิโรจน์ ระบุ
JJNY : 4in1 ชาวเลราไวย์โอด│จวก เสนอตัดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า│วิโรจน์ชี้ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ│WBGยกเลิกรายงาน"น่าทำธุรกิจ"
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6626366
ชาวเลราไวย์ 2,000 กว่าคน ถูกล้อมสังกะสีปิด 14 วัน ออกไปทำมาหากินไม่ได้ ขาดรายได้ ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ลั่นอย่าช่วยแต่กลุ่มทุนแซนด์บ็อกซ์
เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2564 นายสนิท แซ่ซั่ว ชาวเลชุมชนหาดราไวย์ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดเผยว่า จากกรณีจังหวัดภูเก็ตมีคำสั่งปิดชุมชนชาวเลราไวย์ ตั้งแต่วันที่ 15-28 ก.ย. ตามมาตรการควบคุมการระบาดโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านกว่า 2,000 คน หรือกว่า 300 ครัวเรือน ถูกกักตัวอยู่ภายในชุมชนเป็นเวลา 14 วัน
โดยจะมีมาตรการตรวจคัดกรองโรคชาวบ้านทุกคน และฉีดวัคซีนแก่กลุ่มุผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางให้ครบทุกคน คาดว่าหากดำเนินการตามมาตรการเสร็จสิ้น จะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ผู้ติดเชื้อให้ลงลด และผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาครบทุกคน
นายสนิท กล่าวต่อว่า ล่าสุดตัวเลขผู้ติดเชื้อประมาณ 260 ราย แต่ละครัวเรือนพบผู้ติดเชื้อเพิ่มไม่มากนักในแต่ละวัน เจ้าหน้าที่เข้ามาคัดกรองและแยกผู้ติดเชื้อ และในวันจันทร์ที่ 20 ก.ย. ทีมแพทย์จะเข้ามาฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางให้ครบ เพราะบางคนยังไม่ได้วัคซีน และมีผู้สูงอายุเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย
นายสนิท กล่าวอีกว่า การปิดชุมชนล้อมรอบด้วยสังกะสี 14 วัน ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านทุกคน เพราะอาชีพหลักคือการหาปลาและขายปลา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มานานเกือบ 2 ปีแล้ว แต่ชาวบ้านจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ
“อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต(พมจ.ภูเก็ต) ให้การช่วยเหลือเร่งด่วนกับกลุ่มเปราะบาง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า รวมถึงเตรียมแผนการฟื้นฟูวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชุมชนชาวเลด้วย ไม่ใช่ออกนโยบายภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์เพื่อดูแลกลุ่มธุรกิจเพียงอย่างเดียว”
นายสนิท กล่าวต่อว่า ชาวบ้านทุกคนอึดอัดที่ต้องถูกปิดชุมชนแบบนี้ แต่เรามีการคุยกันภายในทุกวัน ใครมีปัญหาอะไรก็พยายามเสนอให้หน่วยงาน แต่การแจกข้าวสารอาหารแห้งอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะยังต้องการของใช้จำเป็นส่วนตัว เช่น นมเด็ก ผ้าอนามัย แต่ชาวบ้านพยายามให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงการช่วยเหลือก่อน ที่สำคัญปัญหารายได้ บางคนยังพอหาปลาหาหอยได้ แต่ไม่สามารถส่งขาย น่าจะพอมีทางส่งต่อปลาถึงคนซื้อ หรือ พมจ.ควรจะชดเชยรายได้แก่ชาวบ้านในชุมชนอย่างน้อยรายละ 2,000 บาท โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และคนตกงาน
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก : Wichot Kraithep
https://www.facebook.com/wichot.kraithep
จวกเละ! เสนอตัดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า ให้แค่คนจน อ้างประหยัดงบ ชี้รัฐถอยหลังลงคลอง
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2945186
จวกเละ! เสนอตัดเบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า ให้แค่คนจน อ้างประหยัดงบ ชี้รัฐถอยหลังลงคลอง
เมื่อวันที่ 17 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊กบำนาญแห่งชาติ ได้โพสต์เรื่องหารือในที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน รองประธานอนุกรรมการคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (ผส.) เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ปรากฏข้อหารือสำคัญคือ การหารือเพื่อกำหนดการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งระบุว่า “มีแนวโน้มว่า จะให้จ่ายเบี้ยยังชีพเฉพาะกลุ่มคนยากจน” ซึ่งกำลังถูกวิพาก์วิจารณ์หนักในโลกออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันเป็นสวัสดิการให้ถ้วนหน้านั้น
แหล่งข่าวที่ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ครั้งที่ 1/2564 กล่าวว่า ที่ประชุมมีการหารือเรื่องดังกล่าวจริง แต่ยังเป็นเพียงข้อเสนอที่เมื่อพูดขึ้นมาก็ถูกถกเถียงหนักมาก เพราะคอนเซ็ปต์รัฐสวัสดิการผิดไปหมด จริงๆ มีหลากหลายความคิดเห็น บางคนก็มองว่าหากให้ถ้วนหน้า ผู้สูงอายุบางคนที่ได้สวัสดิการบำนาญอื่นๆ ของรัฐ ก็จะได้ซ้ำซ้อน ฉะนั้นต้องให้เฉพาะคนยากจน เพื่อจะไม่เปลืองงบประมาณ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง เพราะตอนนี้เป็นเพียงหลักการ ที่หากจะขับเคลื่อนต้องไปหาแนวปฏิบัติ ซึ่งคงขับเคลื่อนไม่ง่ายในเร็วๆ นี้
ขณะที่ กองประชาสัมพันธ์กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ชี้แจงว่า คณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแสวงหาแนวทาง ในการดำเนินการเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่วนการพิจารณาของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ยังเป็นขั้นตอนที่ต้องขับเคลื่อนต่อไป เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุและสังคมสูงวัยของประเทศไทย
วันเดียวกัน มีการจัดเสวนาออนไลน์เรื่อง อยากมีรัฐสวัสดิการ ทำไมต้องเริ่มที่บำนาญแห่งชาติ ผ่านเพจเฟซบุ๊กบำนาญแห่งชาติ ซึ่งมีประเด็นพูดคุยถึงการประชุมดังกล่าว โดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ (Welfare Watch Network) กล่าวว่า เครือข่ายจะจับตาแนวคิดหรือกระบวนการทำงานกระทรวง พม. ผ่านคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติที่มีการประชุมและตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการรับบำนาญทับซ้อนของผู้สูงอายุ ด้วยการเลือกให้เบี้ยผู้สูงอายุยากจนเพื่อแก้ปัญหานี้ ก็ฝากทุกคนช่วยตามดูว่ารัฐที่มาจาก คสช. รัฐที่ยังมีอำนาจสืบต่อ รัฐที่ผ่านคะแนนเสียงไว้วางใจในสภาแบบปริ่มๆ เราจะดูว่าเขาจะดำเนินการอย่างไร มันจะถอยหลังลงคลองไหม
ขณะที่ หนูเกณฑ์ อินทจันทร์ ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า แทนที่จะคิดว่าเบี้ยผู้สูงอายุมันน้อย ผู้คนต่างลำบากจากโควิด-19 จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเพิ่มเบี้ยขึ้น เพื่อตัวเองได้คะแนนเสียง กลายเป็นว่าถอยหลังลงคลอง รัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็มาจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เริ่มต้นให้เบี้ยผู้สูงอายุถ้วนหน้า แล้วจะมาปรับ เอาอะไรมาคิด ปัจจุบันผู้สูงอายุลำบากขนาดไหน หากบอกว่ากลัวรับเบี้ยและสวัสดิการของรัฐซ้ำซ้อน จริงๆ ก็เป็นสิทธิของลูกเขาที่พ่อแม่ควรได้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีภาระทางบบประมาณ ก็ควรมาพูดคุยกับประชาชนก่อน ไม่ใช่จู่ๆ จะมาบอกว่าไม่ให้ ให้เฉพาะคนจน แล้วสุดท้ายต้องมาคัดคนได้สิทธิ อย่างนี้มันไม่ใช่สวัสดิการ
https://www.facebook.com/pension4all/videos/259812566013390/
"วิโรจน์" ชี้ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ ไม่มีที่อยากเห็น เป็นแค่ทาสีใหม่บนกะลาใบเก่า
https://www.thairath.co.th/news/politic/2196266
วันที่ 17 ก.ย. 64 ในการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า บทบาทของการศึกษาในโลกยุคใหม่ ต้องเป็นการเอาโจทย์ของโลกอนาคต มาใช้เตรียมคนในยุคปัจจุบัน เพื่อทำให้เด็ก และประชาชนทุกคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย มีความพร้อมในการเรียนรู้ และมีอธิปไตยในการเรียนรู้เป็นของตนเอง ให้กลายเป็นขีดความสามารถที่พร้อมแข่งขัน และร่วมมือกับใครก็ได้ในโลก
"การศึกษา จึงไม่ใช่กระบวนการในการสร้างให้ใคร มาเป็นแรงงานรับใช้ใครอีกต่อไป ปัจจุบันเขาเลิกที่จะถามเด็กๆ กันแล้วว่า โตขึ้นอยากเป็นอะไร เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ในอนาคตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า จะมีอาชีพอะไรสูญสลายหายไปบ้าง และจะมีอาชีพอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง การศึกษา ไม่ใช่การเอาโจทย์ของอดีตของคนที่เกิดก่อน มาบงการให้คนที่เกิดทีหลัง ว่าต้องเรียนอย่างนั้น โตขึ้นมาแล้วต้องเป็นอย่างนี้ นี่ไม่ใช่การศึกษา แต่เป็นกระบวนการผลิตเป็นก้อนอิฐที่หายใจได้ ที่จะถูกเอาไปก่อเป็นกำแพงเพื่อทานกระแสโลก ซึ่งทานอย่างไรก็ทานไม่ได้"
ทั้งนี้ วิโรจน์ จึงกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่สังคมอยากเห็นใน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ คือ การศึกษาที่เป็นระบบในการพัฒนาคน ทำให้เด็กๆ มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง ไม่ควรมีระบบการคัดเลือกแบบแพ้คัดออก แต่อยากเห็นการกระจายอำนาจ ให้กับโรงเรียน ได้ตัดสินใจในการจัดการการศึกษาให้สอดรับกับบริบทพื้นที่ แต่ร่างฉบับนี้ กลับรวมศูนย์อำนาจมาที่ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งพยายามที่จะเอากะลามาครอบประเทศนี้ให้ได้
เนื่องจากสิ่งที่อยากเห็น คือการศึกษา ที่เลิกโยนบาปไปที่พ่อแม่ และความไม่พร้อมของครอบครัวมาเป็นข้ออ้างเพื่อดำรงไว้ซึ่งความเหลื่อมล้ำ แต่ควรเอามาเป็นโจทย์ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับเด็กทุกคน ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของนักเรียน ไม่ใช่แค่หลักสูตร และอยากเห็นการศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับ สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันทางเพศ ลดงานธุรการ เพื่อคืนครูสู่ห้องเรียน
"เราจะยอมรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่เป็นเพียงการเอาสีที่สดใส มาทาลงบนกะลาใบเก่าให้ดูใหม่ได้อย่างไร นี่จึงเป็นเหตุผล ที่ผมไม่อาจยอมรับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่เสแสร้งแกล้งทันสมัยฉบับนี้ได้จริงๆ" วิโรจน์ ระบุ