'คู่กรรม-ทวิภพ-ใบไม้ที่ปลิดปลิว' ผลงานโดดเด่นในนามปากกาทมยันตี

ผลงานในนามปากกาทมยันตี คาดว่ามีกว่า 70 เรื่อง นวนิยายหลายเรื่องได้นำไปสร้างเป็นบทภาพยนตร์ และบทโทรทัศน์ 



คู่กรรม



ทมยันตีเขียนเรื่อง “คู่กรรม” เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2508 เป็นนวนิยายตีพิมพ์รายตอน ลงนิตยสารศรีสยาม ในเครือนิตยสารขวัญเรือน และได้รับการรวมเล่มเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นได้รับการเรียกร้องจากแฟนๆ ให้เขียนตอนที่ 2 และกล่าวได้ว่าเป็นผลงานสร้างชื่อสูงสุดของ “ทมยันตี” เป็นเรื่องราวของหญิงไทยที่ได้แต่งงานกับชายหนุ่มชาวญี่ปุ่น ที่เสียชีวิตในสงคราม

ละครคู่กรรม

คู่กรรมในเวอร์ชันละคร ปีที่โด่งดังที่สุดคาดว่าเป็นเวอร์ชัน ธงไชย แมคอินไตย์ และกมลชนก โกมลฐิติ รับบทเป็นคู่พระนาง ที่เศร้าซึ้ง กินใจผู้ชม และได้รับการกล่าวขานมากที่สุด คู่กรรมเป็นนวนิยายที่ได้รับความนิยม ถูกนำมาทำเป็นละครถึง 6 ครั้ง ได้แก่

1. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2513 ช่อง 4 บางขุนพรหม โกโบริ รับบทโดย มีชัย วีระไวทยะ อังศุมาลิน รับบทโดย บุศรา นฤมิตร

2. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2513 ช่อง 4 บางขุนพรหม โกโบริ รับบทโดย ชนะ ศรีอุบล อังศุมาลิน รับบทโดย ผาณิต กันตามระ

3. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2521 ช่อง 9 อสมท โกโบริ รับบทโดย นิรุตต์ ศิริจรรยา อังศุมาลิน รับบทโดย ศันศนีย์ สมานวรวงศ์

4. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2533 ช่อง 7 สี โกโบริ รับบทโดย ธงไชย แมคอินไตย์ อังศุมาลิน รับบทโดย กมลชนก โกมลฐิติ

5. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2547 ช่อง 3 โกโบริ รับบทโดย ศรราม เทพพิทักษ์ อังศุมาลิน รับบทโดย พรชิตา ณ สงขลา

6. คู่กรรมเวอร์ชัน พ.ศ. 2556 ช่อง 5 โกโบริ รับบทโดย สุกฤษฎ์ วิเศษแก้ว อังศุมาลิน รับบทโดย หนึ่งธิดา โสภณ

หนังคู่กรรม



คู่กรรมในบทภาพยนตร์ หรือเวอร์ชันหนังจอเงินนี้ สร้างชื่อให้กับพระนางทุกคู่ที่ได้รับบทโกโบริและอังศุมาลิน หนังเรื่องคู่กรรมทำมาแล้ว 4 ครั้ง ได้แก่

1. คู่กรรม พ.ศ. 2516 โกโบริ รับบทโดย นาท ภูวนัย อังศุมาลิน รับบทโดย ดวงนภา อรรถพรพิศาล และ มร. หลิงลีจู

2. คู่กรรม พ.ศ. 2531 โกโบริ รับบทโดย วรุฒ วรธรรม อังศุมาลิน รับบทโดย จินตหรา สุขพัฒน์

3. คู่กรรม พ.ศ. 2538 โกโบริ รับบทโดย ธงไชย แมคอินไตย์ อังศุมาลิน รับบทโดย อาภาศิริ นิติพน

4. คู่กรรม พ.ศ. 2556 โกโบริ รับบทโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ อังศุมาลิน รับบทโดย อรเณศ ดีคาบาเลส

นอกจากนี้คู่กรรมยังได้เฉิดฉายในรูปแบบละครเวทีอีกหลายครั้ง

ทวิภพ



ทมยันตีเขียนเรื่อง “ทวิภพ” เป็นตอน ลงในนิตยสารสกุลไทย โดยใช้ระยะเวลาถึง 2 ปี เนื้อหาของเรื่องทวิภพผูกเข้ากับช่วงเวลาสมัยใหม่ และสมัยโบราณ ทำให้เรื่องประวัติศาสตร์ในอดีตได้รับความสนใจจากคนยุคใหม่

ความโดดเด่นของทวิภพคือ “มณีจันทร์” นางเอกผู้เป็นหญิงสาวหัวสมัยใหม่ และได้ย้อนกลับไปสู่อดีตผ่านกระจกโบราณ ได้เจอกับหลวงอัครเทพวรากร ผู้เป็นข้าหลวงประจำกรมเจ้าท่า ทำให้เธอต้องใช้ความรู้ด้านภาษา ช่วยด้านการทูตไม่ให้ไทยตกเป็นเมืองขึ้นของการล่าอาณานิคม ผู้ชมต่างลุ้นว่ามณีจันทร์จะกลับสู่ยุคปัจจุบันอย่างไร

ทวิภพโด่งดังเช่นเดียวกับคู่กรรม โดยนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครหลายครั้ง ได้แก่

ทวิภพในบทภาพยนตร์

1. ทวิภพในบทภาพยนตร์ พ.ศ. 2533 หลวงอัครเทพวรากร รับบทโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช มณีจันทร์ รับบทโดย จันทร์จิรา จูแจ้ง สร้างโดยค่ายสหมงคลฟิล์ม

2. ทวิภพในบทภาพยนตร์ พ.ศ. 2547 หลวงอัครเทพวรากร รับบทโดย รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง มณีจันทร์ รับบทโดย ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์ สร้างโดยค่าย ฟิล์มบางกอก

ละครทวิภพ

1. ละครทวิภพ พ.ศ. 2537 หลวงอัครเทพวรากร รับบทโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง มณีจันทร์ รับบทโดย สิเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์ ฉายทางช่อง 7 สี

2. ละครทวิภพ พ.ศ. 2554 หลวงอัครเทพวรากร รับบทโดย อรรคพันธ์ นะมาตร์ มณีจันทร์ รับบทโดย เขมนิจ จามิกรณ์ ฉายทางช่อง 7 จากค่ายดาราวิดีโอ

ใบไม้ที่ปลิดปลิว



"ใบไม้ที่ปลิดปลิว" ละครช่อง ONE21 ฉายเมื่อปี 2562 เป็นละครที่โด่งดังเรื่องหนึ่งแห่งยุค โดยบทละครโทรทัศน์มีเค้าโครงมาจากนวนิยายใบไม้ที่ปลิดปลิว อันเป็นผลงานชิ้นหนึ่งของทมยันตี

อาภาศิริ นิติพล ผู้เคยรับบทอังศุมาลินในเวอร์ชันภาพยนตร์ ปี พ.ศ. 2538 นางเอกของทมยันตีได้กลับมาเล่นละครของทมยันตีอีกครั้งในบท นิรมล แม่ของ นิรา เด็กชายผู้ผ่าตัดแปลงเพศเป็นหญิงสาวเพื่อกลับมาแก้แค้นพ่อของตน ผู้เป็นต้นเหตุให้แม่และเธอมีชีวิตที่น่าเศร้า

พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ตีบทนิราแตกละเอียด ดึงคนดูเข้าไปอยู่ในความรู้สึกของนิราจนคว้ารางวัลนาฏราช ครั้งที่ 11 สาขารางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม



“ทมยันตี” เป็นนักเขียนนวนิยายระดับตำนาน ในช่วงบั้นปลายชีวิต คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือคุณยายทมยันตี ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายในจังหวัดเชียงใหม่ในอาชีพนักเขียนสุดท้ายในวัย 85 ปี

ที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2192525
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่