การการุณยฆาต ทำไมคนอื่นต้องมายุ่งด้วย???

ในสมัยที่เด็กๆ มีใครเคยคิดถึงอนาคตมากันขึ้นบ้างรึเปล่าครับ เช่น จะได้ทำงานอะไรกัน จะแต่งงานตอนไหนอยากได้ธีมงานเป็นแบบนั้นเป็นแบบนี้  มีลูกกี่คนดี นี่อาจเป็นพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่คิดกัน และอาจมีคร่าวๆบ้างที่คิดถึงเรื่องเจ็บป่วยตอนแก่ ( กระทู้นี้ไม่ขายประกัน สบายใจได้ )   แต่ในวันนี้อยากคุยกันคิดถึงจุดสุดท้ายในชีวิต " การตาย " เรื่องแบบนี้ทุกคนต้องรู้อยู่แล้วล่ะว่าต้องเกิดกับเราแน่ ๆ แต่ไม่รู้จะมาในรูปแบบไหน “การตาย” ควบคุมได้บ้างไม่ได้บ้าง  ถึงควบคุมได้ก็ไม่มีใครอยากตายหรอกใช่มั้ย? แต่สิ่งที่ผมคิดว่าแย่ที่สุดคือควบคุมไม่ได้  ลองคิดดูสิถ้าเป็นตัวเราป่วยติดเตียงขึ้นมา นอน ICU เป็นผัก ให้คนอื่นมาเช็ด อึเช็ดฉี่ ตัวขยับไม่ได้ และทางการแพทย์คือยื่นยันไม่สามารถกลับมาได้แน่นอน เป็นแบบนั้นจนสิ้นลม...........  (แล้วชั้นเลือกอะไรได้มั้ยยยยยยT.T) 

               ส่วนตัวตอนสมัยยังเด็กเคยมีคุณตาที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ในปีแรกๆ มีความสุขได้เห็นลูกหลานมาเยี่ยม แต่ในปีถัดๆ ไป เริ่มซึม บ่นอยู่บ่อยๆ “เป็นหมู เป็นหมาคงจะสบายกว่านี้” พอเข้าสู่ช่วงสุดท้ายที่สมองเริ่มเสื่อม ก็เริ่มเพ้อ “ คุณฆ่าผมเถอะ ให้ผมตายเถอะ “ (เป็นคำหยาบนะครับ แต่ไม่รู้จะพิมพ์มยังไง นี่ไม่ใช่เรื่องแต่งนะครับ บางบ้านอาจเคยเจอ)  พอคุณตาเสียก็คิดมาตลอดจะทำยังไงไม่ให้ป่วยแบบตา เราจะเป็นแบบตามั้ย ใครจะดูแลเรา  เริ่มหาประกันที่ตอบโจทย์ (เบี้ยโคตรแพง เก็บไว้เถอะ) บ้างอันก็น่าสนใจ (แต่ก็ดูแลได้ชั่วหนึ่ง) คิดไปคิดมาเริ่มเครียด เห้อออออ  จนมาสุดที่ความคิดถึง  ก็ฆ่าตัวตายสิยากไร !!!!  ลองมาวางแผนย่อย ๆ กัน คิดในกรณีที่หนักที่สุดคือ เป็นอัมพาต ขยับแบบไม่ได้เลย ดมกลิ่นของเสียตัวเองอยู่อย่างงั้น จิตใจเริ่มย่ำแย่ จะปลิดชีวิตยังไง ???

               เริ่มเลย กั้นหายใจ .....(ข้าม)  กัดลิ้นตัวเอง  แรงคงไม่พอ      อดข้าว  คนดูแลคงให้ทางสายยาง    ทำสายเครื่องช่วยหายใจพันคอ  ถ้าขยับตัวพอได้นะแต่คงทรมานน่าดู  พยายามดิ้นถอดเครื่องช่วยหายใจ อาจสำเร็จหรือไม่สำเร็จ  แต่ทรมานมากแน่ๆ  พอผมคิดเสร็จไปหาวิธีการฆ่าตัวตายแบบทรมานน้อยที่สุดแบบโฮมเมดตามสถานะร่างกายข้างต้น   ผลคือ........ไม่มีครับ ให้เกณฑ์ สุดๆเลย ทรมานน้อยกว่า 10 นาที  

               คิดไปคิดมา ก็เห้อออออ  แต่ที่น่าสนใจจากที่หาวิธีการจบชีวิตของโรคข้างต้นคือ  “การการุณยฆาต” แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในประเทศไทย ด้วยเหตุผลด้านศีลธรรม (หราาาาาาาา....)   ลองมาคิดถึงศีลธรรมที่เค้าว่ามา น่าจะมีอะไรบ้างเอาแบบพูดขึ้นในหัวเราแบบปุ๊บปั๊บเลยนะ.....   บาป  ของทุกศาสนา  แต่โดยส่วนตัวนับถือ พุทธวจนอยู่แล้ว เลยไม่อินกับเรื่องฆ่าตัวตายแล้วบาป (เพราะมันมีแยกไปอีก อะไรบาป ไม่บาป) ส่วนศาสนาอื่นคงไม่สนใจ  สำหรับตัวผมนะ ไม่ได้อยู่ลัทธิคุณจะลงนรกพวกคุณอยู่หรือ (แต่ถ้าเถียงคงออกนอกประเด็นไปไกลแน่ กระทู้นี้)   การรู้สึกผิดของญาติและลูกๆ  แน่นอนว่าถ้าเราต้องตัดสินความเป็นความตายให้ พ่อให้แม่ หรือญาติเรา มันคงมีตราบาปกันตัวเราไปจนตาย มันคงรู้สึกผิดต่อตัวเองแน่  แต่!!!!!!นะ ในไลฟ์สไตล์ของผม ผมบอกพ่อแม่พี่น้องและแฟนของผมอยู่เสมอ ว่าถ้าผมป่วยในกรณีข้างต้น  ห้าม!!!!! ยื้อไว้เด็ดขาดดดด  แต่ทุกคนก็ตอบกลับมาเสมอว่า “คงทำอย่างงั้นไม่ได้หรอก  ใครจะทำลง T.T”  ได้ยินก็ซึ้งล่ะแต่สงสารเราบ้างก็ได้ จนทุกวันนี้ผมต้องพิมพ์มจดหมายน้อยในกระเป๋าเผื่อมีคนเปิดดู พร้อมใบรับบริจาคร่าง เผื่อได้ผลนะ 555+
               จนมาถึงตามหัวข้อ "การการุณยฆาต ทำไมคนอื่นต้องมายุ่งด้วย"   แรงเนอะคำนี้  คนอุส่าเป็นห่วง !!!  ผมต้องการถามคำถามนี้กับทุกคน วันสุดท้ายพวกคุณ  พวกคุณไม่ต้องการ การจบชีวิตแบบมีประสิทธิภาพหรือ??  ในเมื่อคุณภาพการมีชีวิตที่ป่วยก็เลวร้ายแล้ว ถึงญาติกับคนรักจะดีใจ ที่ยังได้เห็นหน้าได้สัมผัสตัวเป็นๆ ถึงจะพูดไม่ได้ แต่!!!!!!!! มัน ไม่ ใช่ ที่ ผม ต้อง การ  ในทางศีลธรรมควรมองใครเห็นแก่ตัว คนที่ตัดสินใจให้อยู่เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกผิด หรือ คนที่ตัดสินใจจบชีวิตเพราะทรมาน ทิ้งคนข้างหลังให้เสียใจ  ???
 
               ช่วงสุดท้ายแถมเป็นเกร็ดความรู้เรื่องการุณฆาต  อุส่าหามา แชร์ๆกันเนอะ .........  ที่ผมหามาได้มีตั้งแต่ แคปซูลก๊าซพิษ, ฉีดยาพิษ, ถ้าเลือกวิวสวยๆคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า 3 ล้าน แต่ทุกวิถีทางคือทรมานไม่เกิน 5 นาที จบแบบไม่ทรมาน (เค้าเครมมาแต่ไม่แน่ใจไม่มีคนรีวิว)  แต่มีอันหนึ่งที่น่าสนใจ คือให้ผู้ป่วยที่สามารถรู้สึกตัวด้วยการกระพริบตาหรือขยับนิ้วได้ เค้าจะถามคำถามยืนยันซัก 2 - 3 คำถามผ่านเครื่องตรวจจับ เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยรับรู้จริง และให้ผู้ป่วยเลือกเองมาจะกดปุ่มให้หลอดฉีดยาทำงานมั้ย ?  

 
 สุดท้ายนี้ก็อยากรู้ ทำไมตัวเราถึงไม่มีสิทธิ์ในการจบชีวิตของตัวเองอย่างมีคุณภาพ?  

 
ขอบคุณทุกท่านมี่อ่านจนจบครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่