โคราช เขตเศรษฐกิจซบเซา แห่ขายอาคาร-ปล่อยเช่า แบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6615413
โคราช เขตเศรษฐกิจซบเซา แห่ขายอาคาร-ปล่อยเช่า แบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว แม้จะมีคำสั่งผ่อนคลายก็ตาม คาดจะเป็นแบบนี้ไปอีกหลายเดือน
12 ก.ย. 2564 – ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการค้าขาย ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด พบว่าบรรยากาศการค้าขายเป็นไปด้วยความซบเซา อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ร้อยละ 70 ปิดเงียบ และมีการประกาศให้เช่า รวมทั้งประกาศขาย หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19
จากการสอบถามชาวบ้านที่อาศัยในละแวกดังกล่าว เล่าาว่า ช่วงกลางวันพอมีวิ่งบ้าง แต่ช่วงค่ำถนนทุกสายจะโล่งมาก โล่งจนมีวัยรุ่นสามารถพากันมาเล่นเซิร์ฟสเก็ตบนถนนได้อย่างไม่ต้องกลัวรถชน ซึ่งบรรยากาศความซบเซาเช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นาย
ศักดิ์ชาย ผลพาณิชย์ ปธ.หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เศรษฐกิจในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เริ่มซบเซาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 แต่มาหนักสุดช่วงเดือน ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา หลังมีการระบาดของโควิด-19 จนถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม มีคำสั่งให้ปิดร้านอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ พากันปิดกิจการ เพราะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงทำให้มีภาพการประกาศขาย-ปล่อยเช่า อาคารพาณิชย์กันเต็มไปหมด
แม้ล่าสุดช่วงเดือน ก.ย. จะมีคำสั่งผ่อนคลายให้เปิดร้านค้าได้ตามปกติ แต่ผู้ประกอบการไม่อยากเปิดแล้ว เพราะรู้ว่าเปิดแล้วคนก็ไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะซบเซาเช่นนี้ไปอีกหลายเดือน
หมอชนบทจี้รัฐบาลประกาศวาระชาติ คืนชีวิต นร.-นศ.ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตตุลาฯ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2935659
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์เพจเฟซบุ๊ก
“ชมรมแพทย์ชนบท” เรียกร้องให้รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศวาระแห่งชาติ ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้นักเรียน นักศึกษา โดยใช้วัคซีนไฟเซอร์ ล็อตที่จะนำเข้ามาในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า
ก้าวสู่ยุคการอยู่ร่วมกันกับโควิด ตอนที่ 1
คืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตตุลาคม
โควิดไม่ได้ส่งผลกระทบแต่เรื่องสุขภาพเท่านั้น ผลกระทบใหญ่กว้างขวาง รวมทั้งการเรียนรู้และการศึกษาของเยาวชนด้วย เรียนออนไลน์กันจนปวดหลังปวดตาไปหมด สูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ในมิติอื่น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและสังคมไทยจะร่วมกันคืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา
เด็กนักเรียนนักศึกษาอายุ 12-18 ปี ในประเทศไทยมี 4.8 ล้านคน สำหรับเด็กกลุ่มนี้ วัคซีนที่เหมาะสมที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกคือวัคซีนไฟเซอร์ และสำหรับ อย.ไทยเองก็รับรองเพียงตัวเดียวก็คือไฟเซอร์เช่นกัน
กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศออกมาว่า ในเดือนตุลาคมจะมีไฟเซอร์นำเข้ามาได้ 8 ล้านโด๊ส และอีก 2 ล้านโดสที่จะมาสิ้นเดือนกันยายน ทำให้ไทยมีวัคซีนไฟเซอร์อย่างเดียวราว 10 ล้านโดส หากเด็กกลุ่มนี้ทุกคนได้รับไฟเซอร์คนละ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ ก็ต้องใช้วัคซีน 9.6 ล้านโดส ซึ่งแทบจะพอดิบพอดี ดังนั้นในเดือนตุลาคม ขอบรรดาผู้ใหญ่อย่ามาแย่งไฟเซอร์ของหนูๆนะ เพราะหนูๆจะได้เปิดเทอมกับเขาสักที ก้าวออกจากการเรียนทางหน้าจอไปสู่การเรียนรู้ในห้องเรียนและชีวิตจริง
สำหรับครูในโรงเรียน แม่ครัว ภารโรง และแม่ค้าในโรงเรียนทุกคน ก็ต้องได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีน 2 เข็มด้วย โดยใช้สูตร ซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้า ซึ่งจะจบใน 3 สัปดาห์ เช่นกัน เดือนพฤศจิกายนก็จะพร้อมสำหรับการเปิดเทอม2 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและช่วงเวลาแห่งการกลับไปเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมและอาชีวะรวทั้งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
ที่สำคัญ การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะตามมาด้วยพลังการบริโภคที่ค่อยๆกลับคืน เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วขึ้น ผู้คนที่หน้าแห้งจากเศรษฐกิจที่ชะงักงัน จะได้พอจะยิ้มและมีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป
ส่วนเด็กประถมนั้น ต้องรอถกกันอย่างหนักอีกรอบ เพราะวัคซีนหลายยี่ห้อ กำลังศึกษาวิจัยความปลอดภัยในเด็กต่ำกว่า 12 ปี แต่ผลการศึกษายังไม่เสร็จ ซึ่งแปลว่า การเปิดเทอมสำหรับนักเรียนประถมยังจะต้องเลื่อนออกไป
แม้กระทรวงสาธารณสุขจะได้ประกาศไปแล้วว่า เด็ก 12-18 ปีคือหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของไฟเซอร์ในเดือนตุลาคม แต่บรรดาบุคคลที่ได้ฉีดซิโนแวคสองเข็มหลายล้านคน ต่างก็คาดหวังที่จะได้รับไฟเซอร์เข็มสามเหมือนกัน ในนี้มีบรรดาวีไอพีน้อยด้วยที่ได้สิทธิ์ฉีดซิโนแวคสองเข็มไปก่อนใครจำนวนมากด้วย
จึงถึงเวลาที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จะประกาศวาระแห่งชาติดังๆชัดๆร่วมกันว่า “จะคืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา ด้วยไฟเซอร์ล็อตตุลาคม”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5006519069375210&id=142436575783508
'นพดล' ชี้ บัตร 2 ใบ ไม่เอื้อพรรคใด เชื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า นโยบาย- ผลงานพรรคจะเป็นตัวชี้ขาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2935481
‘นพดล’ ชี้ บัตร 2 ใบ ไม่เอื้อพรรคใด เชื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า นโยบาย- ผลงานพรรคจะเป็นตัวชี้ขาด
เมื่อวันที่ 12 กันยายน นาย
นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวกรณีมีผู้วิจารณ์ว่าการแก้รัฐธรรมนูญไปใช้บัตร 2 ใบ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ว่า ตนเห็นว่าบัตร 2 ใบทำให้ประชาชนมีสิทธิเลือก right to choose คนและพรรคแยกกัน ระบบพรรคเข้มแข็งลดการต่อรองทางการเมือง เปิดทางคนเก่งเข้าสู่การเมืองเป็นส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแยกคำนวณจากส.ส.เขตชัดเจน และสูตรคำนวณส.ส. ชัดเจนสามารถประกาศผลเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลแก้ปัญหาประชาชนได้เร็วขึ้น สิ่งข้างต้นประชาชนได้ประโยชน์
นาย
นพดล กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบในตัวของมันเองไม่ได้ทำให้พรรคใดได้เปรียบ แต่ทำให้ไม่มีพรรคใดเสียเปรียบ เพราะทุกพรรคแข่งในสนามเลือกตั้งและสามารถส่งผู้สมัครได้เท่าเทียม ตนเห็นว่าผลการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้งว่านโยบาย โดน ผู้สมัคร ดี แคนดิเดทนายกฯ ดัง ผลงานพรรค เด่น หรือไม่ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ปัจจัยสำคัญคือนโยบายและแนวทางที่จะกู้วิกฤตโควิด และวิกฤตเศรษฐกิจ ที่แต่ละพรรคจะเสนอก่อนเลือกตั้งนั้นต้องคมชัดตรงเป้า และผลงานและชื่อเสียงพรรคว่าเคยทำสำเร็จตามนโยบายหรือไม่
JJNY : โคราชเขตศก.ซบเซา│หมอชนบทจี้คืนชีวิตนร.-นศ.ด้วยไฟเซอร์ล็อตตุลาฯ│'นพดล'ชี้บัตร2ใบไม่เอื้อพรรคใด│'กรมชลฯ'เตือนฝนหนัก
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6615413
โคราช เขตเศรษฐกิจซบเซา แห่ขายอาคาร-ปล่อยเช่า แบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว แม้จะมีคำสั่งผ่อนคลายก็ตาม คาดจะเป็นแบบนี้ไปอีกหลายเดือน
12 ก.ย. 2564 – ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการค้าขาย ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด พบว่าบรรยากาศการค้าขายเป็นไปด้วยความซบเซา อาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ร้อยละ 70 ปิดเงียบ และมีการประกาศให้เช่า รวมทั้งประกาศขาย หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19
จากการสอบถามชาวบ้านที่อาศัยในละแวกดังกล่าว เล่าาว่า ช่วงกลางวันพอมีวิ่งบ้าง แต่ช่วงค่ำถนนทุกสายจะโล่งมาก โล่งจนมีวัยรุ่นสามารถพากันมาเล่นเซิร์ฟสเก็ตบนถนนได้อย่างไม่ต้องกลัวรถชน ซึ่งบรรยากาศความซบเซาเช่นนี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
นายศักดิ์ชาย ผลพาณิชย์ ปธ.หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เศรษฐกิจในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เริ่มซบเซาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 แต่มาหนักสุดช่วงเดือน ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา หลังมีการระบาดของโควิด-19 จนถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม มีคำสั่งให้ปิดร้านอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าต่าง ๆ พากันปิดกิจการ เพราะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว จึงทำให้มีภาพการประกาศขาย-ปล่อยเช่า อาคารพาณิชย์กันเต็มไปหมด
แม้ล่าสุดช่วงเดือน ก.ย. จะมีคำสั่งผ่อนคลายให้เปิดร้านค้าได้ตามปกติ แต่ผู้ประกอบการไม่อยากเปิดแล้ว เพราะรู้ว่าเปิดแล้วคนก็ไม่มีกำลังซื้อ ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะซบเซาเช่นนี้ไปอีกหลายเดือน
หมอชนบทจี้รัฐบาลประกาศวาระชาติ คืนชีวิต นร.-นศ.ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตตุลาฯ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2935659
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” เรียกร้องให้รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศวาระแห่งชาติ ดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้นักเรียน นักศึกษา โดยใช้วัคซีนไฟเซอร์ ล็อตที่จะนำเข้ามาในเดือนตุลาคมนี้
ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า
ก้าวสู่ยุคการอยู่ร่วมกันกับโควิด ตอนที่ 1
คืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ล็อตตุลาคม
โควิดไม่ได้ส่งผลกระทบแต่เรื่องสุขภาพเท่านั้น ผลกระทบใหญ่กว้างขวาง รวมทั้งการเรียนรู้และการศึกษาของเยาวชนด้วย เรียนออนไลน์กันจนปวดหลังปวดตาไปหมด สูญเสียโอกาสในการเรียนรู้ในมิติอื่น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลและสังคมไทยจะร่วมกันคืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา
เด็กนักเรียนนักศึกษาอายุ 12-18 ปี ในประเทศไทยมี 4.8 ล้านคน สำหรับเด็กกลุ่มนี้ วัคซีนที่เหมาะสมที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกคือวัคซีนไฟเซอร์ และสำหรับ อย.ไทยเองก็รับรองเพียงตัวเดียวก็คือไฟเซอร์เช่นกัน
กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศออกมาว่า ในเดือนตุลาคมจะมีไฟเซอร์นำเข้ามาได้ 8 ล้านโด๊ส และอีก 2 ล้านโดสที่จะมาสิ้นเดือนกันยายน ทำให้ไทยมีวัคซีนไฟเซอร์อย่างเดียวราว 10 ล้านโดส หากเด็กกลุ่มนี้ทุกคนได้รับไฟเซอร์คนละ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ ก็ต้องใช้วัคซีน 9.6 ล้านโดส ซึ่งแทบจะพอดิบพอดี ดังนั้นในเดือนตุลาคม ขอบรรดาผู้ใหญ่อย่ามาแย่งไฟเซอร์ของหนูๆนะ เพราะหนูๆจะได้เปิดเทอมกับเขาสักที ก้าวออกจากการเรียนทางหน้าจอไปสู่การเรียนรู้ในห้องเรียนและชีวิตจริง
สำหรับครูในโรงเรียน แม่ครัว ภารโรง และแม่ค้าในโรงเรียนทุกคน ก็ต้องได้รับสิทธิ์ในการฉีดวัคซีน 2 เข็มด้วย โดยใช้สูตร ซิโนแวค ตามด้วยแอสตร้า ซึ่งจะจบใน 3 สัปดาห์ เช่นกัน เดือนพฤศจิกายนก็จะพร้อมสำหรับการเปิดเทอม2 เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและช่วงเวลาแห่งการกลับไปเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมและอาชีวะรวทั้งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
ที่สำคัญ การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะตามมาด้วยพลังการบริโภคที่ค่อยๆกลับคืน เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วขึ้น ผู้คนที่หน้าแห้งจากเศรษฐกิจที่ชะงักงัน จะได้พอจะยิ้มและมีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไป
ส่วนเด็กประถมนั้น ต้องรอถกกันอย่างหนักอีกรอบ เพราะวัคซีนหลายยี่ห้อ กำลังศึกษาวิจัยความปลอดภัยในเด็กต่ำกว่า 12 ปี แต่ผลการศึกษายังไม่เสร็จ ซึ่งแปลว่า การเปิดเทอมสำหรับนักเรียนประถมยังจะต้องเลื่อนออกไป
แม้กระทรวงสาธารณสุขจะได้ประกาศไปแล้วว่า เด็ก 12-18 ปีคือหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายของไฟเซอร์ในเดือนตุลาคม แต่บรรดาบุคคลที่ได้ฉีดซิโนแวคสองเข็มหลายล้านคน ต่างก็คาดหวังที่จะได้รับไฟเซอร์เข็มสามเหมือนกัน ในนี้มีบรรดาวีไอพีน้อยด้วยที่ได้สิทธิ์ฉีดซิโนแวคสองเข็มไปก่อนใครจำนวนมากด้วย
จึงถึงเวลาที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จะประกาศวาระแห่งชาติดังๆชัดๆร่วมกันว่า “จะคืนชีวิตให้นักเรียนนักศึกษา ด้วยไฟเซอร์ล็อตตุลาคม”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=5006519069375210&id=142436575783508
'นพดล' ชี้ บัตร 2 ใบ ไม่เอื้อพรรคใด เชื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า นโยบาย- ผลงานพรรคจะเป็นตัวชี้ขาด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2935481
‘นพดล’ ชี้ บัตร 2 ใบ ไม่เอื้อพรรคใด เชื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า นโยบาย- ผลงานพรรคจะเป็นตัวชี้ขาด
เมื่อวันที่ 12 กันยายน นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวกรณีมีผู้วิจารณ์ว่าการแก้รัฐธรรมนูญไปใช้บัตร 2 ใบ ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ ว่า ตนเห็นว่าบัตร 2 ใบทำให้ประชาชนมีสิทธิเลือก right to choose คนและพรรคแยกกัน ระบบพรรคเข้มแข็งลดการต่อรองทางการเมือง เปิดทางคนเก่งเข้าสู่การเมืองเป็นส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแยกคำนวณจากส.ส.เขตชัดเจน และสูตรคำนวณส.ส. ชัดเจนสามารถประกาศผลเลือกตั้ง และตั้งรัฐบาลแก้ปัญหาประชาชนได้เร็วขึ้น สิ่งข้างต้นประชาชนได้ประโยชน์
นายนพดล กล่าวต่อว่า การเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบในตัวของมันเองไม่ได้ทำให้พรรคใดได้เปรียบ แต่ทำให้ไม่มีพรรคใดเสียเปรียบ เพราะทุกพรรคแข่งในสนามเลือกตั้งและสามารถส่งผู้สมัครได้เท่าเทียม ตนเห็นว่าผลการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้งว่านโยบาย โดน ผู้สมัคร ดี แคนดิเดทนายกฯ ดัง ผลงานพรรค เด่น หรือไม่ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ปัจจัยสำคัญคือนโยบายและแนวทางที่จะกู้วิกฤตโควิด และวิกฤตเศรษฐกิจ ที่แต่ละพรรคจะเสนอก่อนเลือกตั้งนั้นต้องคมชัดตรงเป้า และผลงานและชื่อเสียงพรรคว่าเคยทำสำเร็จตามนโยบายหรือไม่