เพื่อน ๆ ครับ ขอพาไปเที่ยวทิพย์อีกกระทู้นะครับ
เวลาไปเที่ยวพวกเราก็จะเจอสิ่งที่น่าชื่นชม น่าประทับใจหลายอย่าง เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สิ่งก่อสร้างสวย ๆ วิวทิวทัศน์ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ นานา ยิ่งถ้าได้ฟังหรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็จะยิ่งทำให้เวลานึกย้อนหลังมีความสุข มีความประทับใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น
ขณะเดินทางเราอาจผ่านถนนที่เจริญอย่าง super highway หรืออาจเป็นถนนเล็ก ๆ ตามหมู่บ้าน บางครั้งอาจมีสะพานหรืออุโมงค์ช่วยให้การเดินทางสะดวก สะพานแต่ละแห่งก็มีความเป็นมาแตกต่างกัน บางแห่งผ่านกาลเวลามานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายชั่วอายุคน กระทู้นี้ขอนำเสนอสะพานที่ผมประทับใจมาเล่าสู่กันฟังสัก 5 แห่งนะครับ ได้แก่
1. สะพาน Mehmed Paša Sokolović สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
2. สะพาน Stari แห่งเมือง Mostar สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
3. สะพาน Latin เมืองซาราเจโว สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
4. สะพาน Storseisundet ประเทศนอร์เวย์
5. สะพานมอญ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
สะพานทั้ง 5 แห่งไม่ได้เป็นสะพานที่ใหญ่โตมโหฬารหรือก่อสร้างอย่างพิสดารพันลึก แต่เป็นสะพานที่มีความเป็นมาและการคงอยู่อย่างน่าสนใจมาก มาดูกันครับว่าแต่ละแห่งมีความน่าประทับใจอย่างไรกันบ้าง
เริ่มกันที่สะพาน “Mehmed Paša Sokolović”
สะพาน “Mehmed Paša Sokolović” เป็นสะพานเก่าแก่สร้างข้ามแม่น้ำดรินา (Drina river) ในเมือง Visegrad ทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า สะพานนี้เริ่มสร้างในปีค.ศ. 1551 สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1577 เป็นผลงานชิ้นเอกของมิมาร์ ซินัน (Mimar Sinan) ผู้เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคออตโตมันคลาสสิกและอยู่ร่วมสมัยของอิตาลียุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Italian renaissance) โดยได้รับมอบหมายจากอัครมหาเสนาบดีเมห์เม็ด-ปาซา โซโกโลวิช (Mehmed Pasha Sokolović) ผู้มีอำนาจของอาณาจักรออตโตมันในขณะนั้นให้สร้างสะพานนี้ขึ้น สะพานจึงมีชื่อตามผู้ให้ก่อสร้าง เดี๋ยวจะเล่าเหตุผลที่เขาให้สร้างให้ฟังต่อนะครับ
สะพานนี้แสดงลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธาที่ยิ่งใหญ่ของตุรกี มีซุ้มประตูก่ออิฐจำนวน 11 ซุ้ม มีความยาวตั้งแต่ 11 ถึง 15 เมตร และมีทางลาดเข้าที่มุมขวา โดยมีสี่โค้งบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ สะพานมีความยาว 179.5 เมตร (589 ฟุต) ตรงกลางสะพานมีแผ่นป้ายและที่นั่ง ซุ้มโค้งสามแห่งจากทั้งหมด 11 แห่งถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และห้าโค้งได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ได้รับการบูรณะในเวลาต่อมา จนมีสภาพสมบูรณ์เหมือนในปัจจุบัน
สะพานนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปีพ.ศ. 2550 โดยเข้าเกณฑ์ข้อ 2 และข้อ 4
เกณฑ์ข้อที่ 2 เนื่องจากสะพานนี้อยู่ในจุดภูมิยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เป็นจุดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างคาบสมุทรบอลข่าน อาณาจักรออตโตมัน และพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมโยงเรื่องราวระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม ผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนาน การบริหารจัดการและการซ่อมแซมสะพานต้องใช้พลังผสมผสานทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรม จากอาณาจักรออตโตมันสู่อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia) จนถึงสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่าในปัจจุบัน
เกณฑ์ข้อที่ 4 สะพานนี้เป็นหลักฐานสำคัญทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นถึงจุดสูงสุดของยุคคลาสสิกของอาณาจักรออตโตมัน บ่งถึงคุณค่าและความสำเร็จในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
Ref
https://whc.unesco.org/en/list/1260
[CR] สะพานที่ผมประทับใจ
เพื่อน ๆ ครับ ขอพาไปเที่ยวทิพย์อีกกระทู้นะครับ
เวลาไปเที่ยวพวกเราก็จะเจอสิ่งที่น่าชื่นชม น่าประทับใจหลายอย่าง เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สิ่งก่อสร้างสวย ๆ วิวทิวทัศน์ ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ นานา ยิ่งถ้าได้ฟังหรือสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมแล้วก็จะยิ่งทำให้เวลานึกย้อนหลังมีความสุข มีความประทับใจในเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น
ขณะเดินทางเราอาจผ่านถนนที่เจริญอย่าง super highway หรืออาจเป็นถนนเล็ก ๆ ตามหมู่บ้าน บางครั้งอาจมีสะพานหรืออุโมงค์ช่วยให้การเดินทางสะดวก สะพานแต่ละแห่งก็มีความเป็นมาแตกต่างกัน บางแห่งผ่านกาลเวลามานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายชั่วอายุคน กระทู้นี้ขอนำเสนอสะพานที่ผมประทับใจมาเล่าสู่กันฟังสัก 5 แห่งนะครับ ได้แก่
1. สะพาน Mehmed Paša Sokolović สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
2. สะพาน Stari แห่งเมือง Mostar สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
3. สะพาน Latin เมืองซาราเจโว สาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า
4. สะพาน Storseisundet ประเทศนอร์เวย์
5. สะพานมอญ จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
สะพานทั้ง 5 แห่งไม่ได้เป็นสะพานที่ใหญ่โตมโหฬารหรือก่อสร้างอย่างพิสดารพันลึก แต่เป็นสะพานที่มีความเป็นมาและการคงอยู่อย่างน่าสนใจมาก มาดูกันครับว่าแต่ละแห่งมีความน่าประทับใจอย่างไรกันบ้าง
เริ่มกันที่สะพาน “Mehmed Paša Sokolović”
สะพาน “Mehmed Paša Sokolović” เป็นสะพานเก่าแก่สร้างข้ามแม่น้ำดรินา (Drina river) ในเมือง Visegrad ทางภาคตะวันออกของสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่า สะพานนี้เริ่มสร้างในปีค.ศ. 1551 สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1577 เป็นผลงานชิ้นเอกของมิมาร์ ซินัน (Mimar Sinan) ผู้เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคออตโตมันคลาสสิกและอยู่ร่วมสมัยของอิตาลียุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Italian renaissance) โดยได้รับมอบหมายจากอัครมหาเสนาบดีเมห์เม็ด-ปาซา โซโกโลวิช (Mehmed Pasha Sokolović) ผู้มีอำนาจของอาณาจักรออตโตมันในขณะนั้นให้สร้างสะพานนี้ขึ้น สะพานจึงมีชื่อตามผู้ให้ก่อสร้าง เดี๋ยวจะเล่าเหตุผลที่เขาให้สร้างให้ฟังต่อนะครับ
สะพานนี้แสดงลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธาที่ยิ่งใหญ่ของตุรกี มีซุ้มประตูก่ออิฐจำนวน 11 ซุ้ม มีความยาวตั้งแต่ 11 ถึง 15 เมตร และมีทางลาดเข้าที่มุมขวา โดยมีสี่โค้งบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ สะพานมีความยาว 179.5 เมตร (589 ฟุต) ตรงกลางสะพานมีแผ่นป้ายและที่นั่ง ซุ้มโค้งสามแห่งจากทั้งหมด 11 แห่งถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และห้าโค้งได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ได้รับการบูรณะในเวลาต่อมา จนมีสภาพสมบูรณ์เหมือนในปัจจุบัน
สะพานนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปีพ.ศ. 2550 โดยเข้าเกณฑ์ข้อ 2 และข้อ 4
เกณฑ์ข้อที่ 2 เนื่องจากสะพานนี้อยู่ในจุดภูมิยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เป็นจุดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างคาบสมุทรบอลข่าน อาณาจักรออตโตมัน และพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมโยงเรื่องราวระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม ผ่านประวัติศาสตร์อันยาวนาน การบริหารจัดการและการซ่อมแซมสะพานต้องใช้พลังผสมผสานทั้งด้านการเมืองและวัฒนธรรม จากอาณาจักรออตโตมันสู่อาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย (Socialist Federal Republic of Yugoslavia) จนถึงสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวิน่าในปัจจุบัน
เกณฑ์ข้อที่ 4 สะพานนี้เป็นหลักฐานสำคัญทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นถึงจุดสูงสุดของยุคคลาสสิกของอาณาจักรออตโตมัน บ่งถึงคุณค่าและความสำเร็จในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
Ref https://whc.unesco.org/en/list/1260
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้