การส่งเงินให้พ่อแม่ทุกเดือนคือasian cultureไหม หรือมีแค่ที่ไทย

ตามหัวข้อเลยค่ะ เราไปเรียนปท ในยุโรปที่เพิ่งออกbrexits ตั้งแต่จบม.6 ยันป.โท ทำงานที่นั่นแปปนึง
ตอนนี้กลับมาทำงานที่เมืองไทยแล้ว
ได้คุยกับเพื่อนฝรั่ง/เอเชียที่นั่นเรื่องบริหารเงิน  พอเราบอก หักส่งให้ที่บ้านรายเดือน ทุกคนงงมาก ถามว่าค่าอะไรๆ?
เราก็ไม่รู้จะตอบว่าค่าอะไร บอกค่ากตัญญูที่เขาเลี้ยงเรามา** เพื่อนบอก that's parents dutyนะ ที่ไทยพ่อแม่คิดเงินด้วยหรอ จุกมากก
ไม่มีใครต้องส่งให้ที่บ้านสักคน มีเราเนี่ย ขนาดเพื่อนฮ่องกง จีนมาเลยังไม่ส่งให้ที่บ้านเลย 
ทำให้งงว่า ตอนแรกคิดว่าasian culture พอเพื่อนเอเชียบอกไม่ได้ทำ เลยเอ๊ะว่า หรือเปนแค่ที่ไทย

Edit  * เราไม่ได้บอกว่าทุกครอบครัวต้องทำนะคะ เราเข้าใจดีว่าหลายท่านก็ไม่ได้ทำ แต่ก็เห็นว่า in general ในสังคมเรามันเหมือนผู้ใหญ่ปลูกฝังมารุ่นสู่รุ่นว่า นี่คือหนึ่งในหน้าที่ของลูกอะ ก็เลยแปลกใจว่ามีแค่ที่ไทยไหม หรือ เอเชียประเทศอื่นมีไหม หรือในโลกนี้มีที่ไหนอีกไหมที่มีแบบนี้

** ขยายความ ค่ากตัญญูค่ะ เราอธิบายไม่ชัดเจนต้องขออภัย เราก็ไม่ได้พูดไปตรงๆว่า ค่ากตัญญู ค่าน้ำนมอะไรแบบนี้นะคะ เราอธิบายไปเหมือนกันค่ะว่า เป็นการตอบแทนบุญคุณที่เขาเลี้ยงมาจนโต แต่เพื่อนมองว่านั่นคือหน้าที่ของพ่อแม่ปกติอยู่แล้วนี่นา ต้องตอบแทนหรอด้วยการให้เงินทุกเดือนหรอ? ทำกันเป็นปกติมานานแล้วหรอ? เราคิดว่าถ้าเราพูดเรื่องรัฐสวัสดิการที่บ้านเราไม่ได้มีมาก คิดว่าเพื่อนอาจจะเข้าใจมากขึ้นน่ะค่ะ
ใครคือคนต้นคิดไอเดียเน้ๆๆ อยากจะย้อนเวลาไปนั่งคุยด้วยสักที🥲🥲🥲
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 81
เราไม่แน่ใจว่าทุกคนตีความกระทู้ไปว่ายังไง
เราไม่ได้ขัดข้องกับการให้เงินพ่อแม่ ไม่ได้คิดว่ามันคือภาระ ใครจะให้หรือไม่ให้ก็สุดแล้วแต่ และ ไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องแปลก
ที่เรามาเล่า คือบนสนทนาในวงเพื่อน เพื่อนไม่รู้จักcultureนี้ =เขาเลยสงสัย แปลกใจ ถามว่าทำไมถึงต้องให้ในเมื่อหน้าที่ส่งเสียเลี้ยงดู คือหน้าที่พื้นฐานของพ่อแม่ ** อันนี้คือความคิดของเพื่อน ไม่ใช่ความคิดเรา** จึงเกิดคำถามว่ามีประเทศไหนมั้ยที่ส่งเสียพ่อแม่รายเดือนแบบไทย
ส่วนสาเหตุของการให้ แต่ละคนก็ต่างออกไป บ้างก็บอกว่าเพราะที่บ้าน เพราะลำบากลำบนเลี้ยงดูมา
แต่เราไม่ได้เติบโตมาในครอบครัวที่ลำบากค่ะ  การให้เงินพ่อแม่ของเรา จึงไม่ใช่เพราะที่บ้านเลี้ยงมาด้วยความยากลำบาก

ตอนนี้ท่านก็สบายดีไม่ได้ลำบากอะไร  แต่เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ส่งเสียเลี้ยงดูคุณปู่คุณยาย จ่ายค่ารักษา ค่าโรงพยาบาล  เราก็เลยทำตามเพราะรู้สึกว่ามันคือหนึ่งในหน้าที่ของเรา อันนี้คือความคิดเรา* ส่วนใครจะมองไม่ใช่หน้าที่ เราก็ไม่ว่าอะไร ก็ไม่ผิด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
คำตอบที่คุณให้เพื่อนนั่นแหละค่ะที่พี่ว่าแปลก (คหสต) ...........*มีเพิ่มข้อความด้านล่างสุดนะคะ*

ถ้าตอบว่ายินดีให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่ายส่วนตัว อะไรก็ว่าไป แต่ตอบว่า "ค่ากตัญญูที่เขาเลี้ยงเรามา" ชาวต่างชาติเค้าว่าเราแปลกมันก็ไม่แปลกหรอกค่ะ  เพราะวิธีตอบวิธีที่อธิบายให้เค้าฟังนี่ล่ะค่ะ สร้างภาพพจน์ที่แปลกๆ ให้ชาวต่างชาติมองเราแปลก เอ๊ะ มีคำว่าแปลกเยอะเนอะ

เพื่อนต่างชาติถามว่าทำไมยูต้องดูแลครอบครัว พี่นี่ตอบเป็นฉากๆ เลย เพราะว่าตอนเด็กๆ พ่อแม่และพี่ๆ ลำบากมาก พ่อแม่และพี่ๆ ดูแลฉันมาอย่างดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ตอนนี้ฉันมีเงินเดือนฉันยินดีตอบแทนพ่อแม่และครอบครัว  เพื่อนพี่ไม่เคยเห็นตอบว่ามันแปลกสักคน ...

จากที่ จขกท เพิ่มเติมข้อมูล อธิบายเรื่องคำว่า ค่ากตัญญู มาแบบนี้
** ขยายความ ค่ากตัญญูค่ะ เราอธิบายไม่ชัดเจนต้องขออภัย เราก็ไม่ได้พูดไปตรงๆว่า ค่ากตัญญู ค่าน้ำนมอะไรแบบนี้นะคะ เราอธิบายไปเหมือนกันค่ะว่า เป็นการตอบแทนบุญคุณที่เขาเลี้ยงมาจนโต แต่เพื่อนมองว่านั่นคือหน้าที่ของพ่อแม่ปกติอยู่แล้วนี่นา ต้องตอบแทนหรอด้วยการให้เงินทุกเดือนหรอ? ทำกันเป็นปกติมานานแล้วหรอ? เราคิดว่าถ้าเราพูดเรื่องรัฐสวัสดิการที่บ้านเราไม่ได้มีมาก คิดว่าเพื่อนอาจจะเข้าใจมากขึ้นน่ะค่ะ
ใครคือคนต้นคิดไอเดียเน้ๆๆ อยากจะย้อนเวลาไปนั่งคุยด้วยสักที🥲🥲🥲

โอเคค่ะ เข้าใจกันได้ เพราะ จขกท. อาจจะไปเรียน ตปท. นาน บางที บางคำอธิบายเป็นภาษาไทยมันไม่ตรงกับที่พูดภาษาอังกฤษ ...

และที่ออกความเห็นไป ไม่ได้หมายถึง จขกท. ทำผิดอะไรนะคะ  มีบางคนมาเมนท์ตอบเราว่าเพ้อฝันเปลี่ยนคำพูดให้ดูดี อันนั้นก็แล้วแต่คุณนะคะ มันเรียกว่า "ความฉลาดทางวาจา" ค่ะ  ไม่มีผิดถูกค่ะ   ส่วนคำถามที่ว่าเป็น Asian Culture มั้ย คหสต. น่าจะอยู่ที่ตัวบุคคลค่ะ มีปัจจัยของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมด้วยค่ะ  

ความคิดเห็นที่ 10
น่าจะแล้วแต่บ้าน แต่หลายๆ ครอบครัวก็มีลูกเพื่อหวังให้ส่งเสียเลี้ยงดูตัวเองตอนแก่ โดยเฉพาะคนกลุ่มรากหญ้า  บางคนยังไม่ทันจะเรียนจบ หนี้ก็มากองท่วมหัวให้ช่วยชดใช้แล้ว

แต่อีกมุมนึง บ้านเราลูกก็พึ่งพ่อแม่มากเกินไป บางคนขอเงินพ่อแม่ยันจบ ป.โท หรือเอาเงินเค้าไปเรียนต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ  ส่วนประเทศพัฒนาแล้ว  ​หลายๆ บ้านลูกแยกตัวออกไปดูแลตัวเองตั้งแต่จบ high school มีเงินก็เรียนมหาวิทยาลัย ไม่มีเงินก็ทำงานเลย  ถ้าจะเปลี่ยน culture ก็คงต้องทำตั้งแต่ต้นทางอ่ะ  พ่อแม่ก็จะได้ไม่ลำบากต้องเอาเงินมาจมกับลูกหมด   ไม่ใช่ว่าตอนเด็กอยากได้ culture ประคบประหงมแบบไทย  แต่พอหาเงินได้อยากได้ culture ดูแลตัวเองแบบฝรั่ง
ความคิดเห็นที่ 24
เมื่อ 40-50 ปีมาแล้ว
การศึกษาภาคบังคับไม่มีเรียนฟรี อุปกรณ์ฟรี -- พ่อแม่ต้องหาเงินมาจ่ายค่าเทอมค่าหนังสือเรียน ทุกเปิดเทอม
บางบ้าน ลูกได้เรียนแค่ภาคบังคับ จบ ป.4 เพราะครอบครัวไม่มีเงินส่งเรียนต่อ
พ่อแม่เรา ยอมเอาเงินทุกบาททุกสตางค์ในบ้าน ส่งลูกเรียนจนจบ ป.ตรี
พ่อแม่ ไม่เคยเก็บเงินไว้ เพื่อดูแลตัวเองเลย เขาทุ่มเทให้ลูกทุกอย่าง
ถ้าพ่อแม่ทำแค่ that's parents duty เราคงได้เรียนแค่ ป.4 แล้วไปทำงานใช้แรงงาน
ตอนนี้ เรายินดีที่จะส่งเงินให้พ่อแม่ทุกเดือนตลอดไปค่ะ
ความคิดเห็นที่ 7
อ่านแล้วถึงกับงงเลยว่าเดียวนี้คนรุ่นใหม่ๆมีแนวคิดเป็นแบบนี้แล้วเหรอ ส่งเงินให้พ่อแม่เป็นเรื่องแปลก
ความคิดเห็นที่ 2
ครอบครัวเดิมลำบากไหมคะ  พ่อแม่มีลูกหลายคน กู้หนี้ยืมสิน ส่งคุณเรียน
เรียนจบ คุณก็อยากช่วยเหลือพ่อแม่ ช่วยน้องให้เรียน แบ่งเบาภาระพ่อแม่

ถ้าครอบครัวเดิม พ่อแม่มีเงินเดือนสูง ไม่ได้ลำบาก ส่วนใหญ่ลูกไม่ต้องส่งให้ค่ะ

แค่ครอบครัวคนไทย  ก็ต่างกันแล้ว

ไม่ต้องถามถึงต่างชาติค่ะ  บ้านเค้าสวัสดิการคนสุงวัยดี  เพราะจ่ายภาษีสุงตอนทำงาน
มันเทียบกันยากนะ กับบ้านเรา

เอาเป็นว่า ให้เงินพ่อแม่ สะดวกให้ก็ให้ค่ะ  ไม่สะดวกก็ไม่ต้อง
มีคนเยอะแยะที่ไม่ได้ให้เงินพ่อแม่  แต่ดุแลท่านในรูปแบบอื่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่