สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
อินโดนีเซียฉีดได้แค่ 10% ของประชากรแล้วยอดลด หมายความว่าเกิดภูมิคุ้มกันหมู่จากการติดเชื้อไปแล้วก่อนที่วัคซีนจะมีผล
UAE มีมาตรการอื่นเข้มข้นด้วย ไม่งั้นคุมการระบาดไม่ได้
ประสบการณ์ส่วนตัวของผม โรงงานพนักงาน 3000 คนและครอบครัวทุกคนของพนักงานพอฉีดแล้วก็ยังติดกันเยอะ
สัปดาห์ละเป็นร้อยคน มีคนเสียชีวิตด้วย ต่อมาก็หลักสิบหลังจากมีมาตรการเข้มข้นขึ้น
ติดแล้วคนในครอบครัวก็ติดยกครัว 5 - 7 คนอย่างที่ผมเคยรายงาน ซึ่งทำให้ผมหมดความเชื่อมั่นและไปบู๊ตเป็นไฟเซอร์อีก 2 เข็มตอนนี้
ช่วงเริ่มต้นฉีดคือเดือนธันวามคมปีที่แล้วเป็นช่วงเดียวกับที่อัลฟ่าเข้าประเทศ
UAE เห็นท่าไม่ไหว ออกมาตรการให้พนักงานรัฐบาล พนักงานสาธารณะ โชเฟอร์ ศูนย์การค้า ร้านอาหาร ต้อง PCR ทุกเดือน
แล้วไปสร้าง โรงพยาบาลสนามไว้จำนวนมากเพื่อรองรับ เสียเงินไปเยอะมาก
ส่วนมาตรการก่อนหน้าก็ยังคงไว้ แมสก์ การเดินทางระหว่างเมืองต้องมี PCR จำกัดผู้เข้ารับบริการร้านอาหาร งานปาร์ตี้ง การชุมนุม ยังคงงดต่อไป
และมีการควบคุมเข้มงวดมาก มีการสุ่มตรวจร้านอาหารสถานบริการ ไม่ทำตามกฏเจอปรับ เจอปิด เอาจริงกันมาก มีนอกเครื่องแบบตรวจจริงจัง
ผลคือยอดก็ลงมาได้แต่ไม่ลงมาต่ำแบบประเทศที่ใช้ mRNA
พอเดลต้ามา ก็เอาไม่อยู่อีก ยอดเริ่มพุ่งขึ้นอีกครั้งเดือนพฤษภาคมทั้งที่ฉีดไปเกือบหมดประเทศแล้ว
ต้องปรับมาตรการคือให้พนักงานรัฐบาลและสาธารณะต้องไปทำ PCR ทุก 2 อาทิตย์ ผมถึงวันนี้ก็ PCR 11 ครั้งแล้ว
ยอดสะสม PCR รวมทั้งหมดของ UAE คือ 7 ล้านกว่าแล้วตอนนี้ แต่ละวันก็ประมาณ 3 แสน ทั้งที่ประชากรแค่ 10 ล้านคน
สรุปว่าจะใช้วัคซีนประสิทธิภาพต่ำมีค่าใช้จ่ายเยอะมากจึงจะควบคุมการระบาดได้
การทำ PCR แต่ละครั้งค่าใช้จ่ายเท่ากับวัคซีน 1 เข็ม ยิ่งต้องทำมากก็ไม่คุ้ม เทียบกับประเทศที่ใช้วัคซีนประสิทธิภาพสูง
และการติดเชื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องมี รพ สนามจำนวนมากเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมา
ยังไม่รวมถึงยา sotrovimab ที่เป็น monoclonal antibody ราคาแพง $2100 ที่ต้องรีบให้ทันทีกับคนที่ PCR ได้ผลบวก
ทีแรกเห็นราคาเข้าใจว่าน่าจะให้กลุ่มเสี่ยง แต่เพื่อนพนักงานอายุไม่ถึง 50 บอกว่าได้รับเช่นกัน ที่นี่ประกันสังคมครอบคลุมค่ารักษาทั้งหมด
ตอนนี้ที่นี่บู๊ตเตอร์มาเป็นเดือนแล้ว ตามความสมัครใจ ถ้าเลือกวัคซีนไฟเซอร์ สามารถบู๊ตได้ 2 เข็ม เท่ากับได้วัคซีนทั้งหมด 4 เข็ม
ตอนนี้ยอดรายวันเริ่มจะลงแล้ว แต่ยังต้องคงมาตรการไว้ ต้องใช้จ่ายกับ PCR กับยารักษา กับค่าใช้จ่ายที่ รพ สนามเพื่อคุมการระบาดต่อไป
ดังนั้นผมสรุปว่าการใช้ซิโนฟาร์มควบคุมการระบาดมีค่าใช้จ่ายสูงที่ต้องแลกกับการลดจำนวนผู้เสียชีวิต และจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ยาก
ไทยเราคงไม่ได้มีงบแบบนั้นไปทุ่ม ราคาที่ต้องจ่ายจึงเป็นจำนวนคนเสียชีวิตแทน
UAE มีมาตรการอื่นเข้มข้นด้วย ไม่งั้นคุมการระบาดไม่ได้
ประสบการณ์ส่วนตัวของผม โรงงานพนักงาน 3000 คนและครอบครัวทุกคนของพนักงานพอฉีดแล้วก็ยังติดกันเยอะ
สัปดาห์ละเป็นร้อยคน มีคนเสียชีวิตด้วย ต่อมาก็หลักสิบหลังจากมีมาตรการเข้มข้นขึ้น
ติดแล้วคนในครอบครัวก็ติดยกครัว 5 - 7 คนอย่างที่ผมเคยรายงาน ซึ่งทำให้ผมหมดความเชื่อมั่นและไปบู๊ตเป็นไฟเซอร์อีก 2 เข็มตอนนี้
ช่วงเริ่มต้นฉีดคือเดือนธันวามคมปีที่แล้วเป็นช่วงเดียวกับที่อัลฟ่าเข้าประเทศ
UAE เห็นท่าไม่ไหว ออกมาตรการให้พนักงานรัฐบาล พนักงานสาธารณะ โชเฟอร์ ศูนย์การค้า ร้านอาหาร ต้อง PCR ทุกเดือน
แล้วไปสร้าง โรงพยาบาลสนามไว้จำนวนมากเพื่อรองรับ เสียเงินไปเยอะมาก
ส่วนมาตรการก่อนหน้าก็ยังคงไว้ แมสก์ การเดินทางระหว่างเมืองต้องมี PCR จำกัดผู้เข้ารับบริการร้านอาหาร งานปาร์ตี้ง การชุมนุม ยังคงงดต่อไป
และมีการควบคุมเข้มงวดมาก มีการสุ่มตรวจร้านอาหารสถานบริการ ไม่ทำตามกฏเจอปรับ เจอปิด เอาจริงกันมาก มีนอกเครื่องแบบตรวจจริงจัง
ผลคือยอดก็ลงมาได้แต่ไม่ลงมาต่ำแบบประเทศที่ใช้ mRNA
พอเดลต้ามา ก็เอาไม่อยู่อีก ยอดเริ่มพุ่งขึ้นอีกครั้งเดือนพฤษภาคมทั้งที่ฉีดไปเกือบหมดประเทศแล้ว
ต้องปรับมาตรการคือให้พนักงานรัฐบาลและสาธารณะต้องไปทำ PCR ทุก 2 อาทิตย์ ผมถึงวันนี้ก็ PCR 11 ครั้งแล้ว
ยอดสะสม PCR รวมทั้งหมดของ UAE คือ 7 ล้านกว่าแล้วตอนนี้ แต่ละวันก็ประมาณ 3 แสน ทั้งที่ประชากรแค่ 10 ล้านคน
สรุปว่าจะใช้วัคซีนประสิทธิภาพต่ำมีค่าใช้จ่ายเยอะมากจึงจะควบคุมการระบาดได้
การทำ PCR แต่ละครั้งค่าใช้จ่ายเท่ากับวัคซีน 1 เข็ม ยิ่งต้องทำมากก็ไม่คุ้ม เทียบกับประเทศที่ใช้วัคซีนประสิทธิภาพสูง
และการติดเชื้อที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็ต้องมี รพ สนามจำนวนมากเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมา
ยังไม่รวมถึงยา sotrovimab ที่เป็น monoclonal antibody ราคาแพง $2100 ที่ต้องรีบให้ทันทีกับคนที่ PCR ได้ผลบวก
ทีแรกเห็นราคาเข้าใจว่าน่าจะให้กลุ่มเสี่ยง แต่เพื่อนพนักงานอายุไม่ถึง 50 บอกว่าได้รับเช่นกัน ที่นี่ประกันสังคมครอบคลุมค่ารักษาทั้งหมด
ตอนนี้ที่นี่บู๊ตเตอร์มาเป็นเดือนแล้ว ตามความสมัครใจ ถ้าเลือกวัคซีนไฟเซอร์ สามารถบู๊ตได้ 2 เข็ม เท่ากับได้วัคซีนทั้งหมด 4 เข็ม
ตอนนี้ยอดรายวันเริ่มจะลงแล้ว แต่ยังต้องคงมาตรการไว้ ต้องใช้จ่ายกับ PCR กับยารักษา กับค่าใช้จ่ายที่ รพ สนามเพื่อคุมการระบาดต่อไป
ดังนั้นผมสรุปว่าการใช้ซิโนฟาร์มควบคุมการระบาดมีค่าใช้จ่ายสูงที่ต้องแลกกับการลดจำนวนผู้เสียชีวิต และจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ยาก
ไทยเราคงไม่ได้มีงบแบบนั้นไปทุ่ม ราคาที่ต้องจ่ายจึงเป็นจำนวนคนเสียชีวิตแทน
แสดงความคิดเห็น
อินโด ยอดตายเหลือ 300 ติด 5000 อิมิเรท ตาย 1
แนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง
คงเปิดประเทศได้ในเร็วๆนี้
รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว
เร่งฉีด ระดมฉีดหน่อยครับ
จะได้เปิดประเทศเสียดี เศรษฐกิจจะได้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง
กดยอดตายให้ลดเหลือน้อยๆ ไม่ต้องสนใจยอดติด